อนุทินล่าสุด


สร้อยทอง ประทุมทอง
เขียนเมื่อ

นโยบายและความสัมพันธ์ของไทยกับต่างประเทศประเทศ

การศึกษานโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับนานาประเทศนั้น สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ ปัจจัยของการกำหนดนโยบายต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงลักษณะของนโยบายต่างประเทศ ตลอดจนผลและแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับนานาประเทศ

ประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา
นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา
1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ คือ


                 1) การเมือง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมารัฐบาลที่ทำการปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลภายใต้ผู้นำทหารที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งมีอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์คล้ายกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาอำนาจเพียงประเทศเดียวที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่มีนโยบายสอดคล้องกับตน เช่น ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2501 – พ.ศ. 2506) และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (พ.ศ. 2506 – พ.ศ. 256) ซึ่งจะปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านอำนาจการปกครองของตนโดยยัดเยียดข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกันปฏิบัติการทางทหารในสงครามอินโดจีน เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์อีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะเป็นการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารแล้ว ยังทำให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนในการตัดสินนโยบายต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้สึกชาตินิยมเห็นว่าการมีกองกำลังของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย เป็นการเสียอำนาจอธิปไตยและเสื่อมเสียศักดิ์ศรีของชาติ ประกอบกับสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงไป เช่น การผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตทำให้การเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นแฟ้นในลักษณะเช่นที่เป็นมา ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ไทยอีกต่อไป กลุ่มนิสิตนักศึกษาจึงได้เดินขบวนประท้วงและขับไล่กองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 ขณะเดียวกัน ม.ร.ว. ศึกฤกธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ยื่นคำขาดให้สหรัฐอเมริกาถอนทหารของตนออกจากประเทศไทยโดยเร็ว

                การปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518 และรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519 ที่ต้องการปรับความสัมพันธ์กับประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนนั้น สืบเนื่องจากสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงไป คือ สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามอินโดจีน มีการปรับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรับประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2515 ในขณะที่เขมร เวียดนามใต้ และลาวตกอยู่ภายใต้การยึดครองของคอมมิวนิสต์อย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2518 ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลผลักดันให้ไทยต้องปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ


       2) การพัฒนาประเทศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะที่ต้องรับผลกระทบจากสงครามสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจประเทศเดียวในขณะนั้นที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือฟื้นฟูแก่ประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ การมุ่งแสวงหาความช่วยเหลือเพื



ความเห็น (1)

เขียนเป็น “บันทึก” เถอะครับ มันยาวเกินความเป็นอนุทิน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท