Club ชมรมช่างภาพสารพัดช่างสี่พระยา สาขาวิชาการถ่ายภาพและวิดีทัศน์ วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา


ผู้แนะนำ
แผนกวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์ วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา
Username
siphraya_photo
สมาชิกเลขที่
153811
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

                แผนกวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์ เป็นชื่อเรียกตามชื่อวิชาของการเตรียมเปิดสอนหลักสูตร ปวส.(ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง) หลักสูตรปี 2545 ปรับปรุงในปี 2550  ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีสาขาวิชาการถ่ายภาพบรรจุอยู่ด้วย เดิมเรียกแผนกนี้ว่า“แผนกวิชาช่างภาพ” (เรียกตามการเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2533)และ“แผนกช่างถ่ายรูป”(เรียกตามการเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2525)  วิชาการถ่ายภาพเปิดสอนครั้งแรกปี  2490 โดยกรมอาชีวศึกษา(ชื่อในขณะนั้น) จ้างครูทหารเรือมาสอน จนพ.ศ. 2494  นายเสน่ห์  โกมลมิศร์ บรรจุในอัตราครูโท  ต่อมาปี พ.ศ. 2508  อาจารย์ชุมพล  สังขะมาน นายช่างถ่ายรูปประจำกรมอาชีวศึกษา  ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูสอนวิชาช่างถ่ายรูป  ได้สั่งสอนจนมีลูกศิษย์มากมาย (จนปี พ.ศ. 2540   ได้เกษียณอายุราชการ) 

ปี 2526  ครูสุนทร   ทับอัตตานนท์  เข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ 1  ระดับ 3  (ตำแหน่งสมัยนั้น) มีการเปลี่ยนแปลงทางวงการถ่ายภาพมากมายและจำเป็นต้องจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่สังคมอ้าง “ความทันสมัย” และ “ความเหมาะสม” จากหลักสูตรช่างถ่ายรูปขาว-ดำ 300 ชั่วโมง (หลักสูตรปี 2518) มาเป็นหลักสูตรงานถ่ายรูป (หลักสูตรปี 2525) และเป็นหลักสูตร 225 ชั่วโมง โดยมีวิชาช่างถ่ายรูปขาว-ดำ, ช่างถ่ายรูปสี, ช่างถ่ายภาพยนตร์   

ปี 2528  มีการพัฒนาการสอนจากงานภาพขาว-ดำ มาเป็นภาพสี และสไลด์สี

ปี 2532  สร้างหลักสูตรถ่ายภาพอบรมSMEsเป็นรากฐานการจัดทำหลักสูตรปี 2533  

ปี2533  จัดทำหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นทั้งแบบของกรมอาชีวศึกษา และแบบท้องถิ่น

ปี 2540  ปรับเปลี่ยนเนื้อหาการสอนเน้นการถ่ายภาพดิจิตอลด้วยกล้อง DSLR

ปี 2542  ประยุกต์การถ่ายภาพจาก DSLR กับ Compact ทั้ง ธรรมดาและ SLR

ปี 2545  วางรากฐานที่ชัดเจนในการพัฒนาผู้เรียนโดยยึดหลักการเรียนรู้สู่ความจริงแห่งโลกกว้างทั้งแบบฝึก-ฝาก-ดู งาน, แบบสอบด้วยภาพทั้งแบบ Trip ต่างจังหวัดและกำหนดหัวข้อสอบท้ายรุ่น

ปี 2550  กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและจับต้องสัมผัสได้ (ที่สำคัญต้องเป็นของจริงที่สังคมยอมรับ)                        

              “เร่งพัฒนาทักษะ   มุ่งบูรณาการฝีมือ”

ปี 2551 – ปัจจุบัน จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความต้องการและจุดประสงค์ในการถ่ายภาพให้ดี, มีประสิทธิภาพ และมารยาทนักถ่ายภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท