อนุทินล่าสุด


ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

"ทรัพย์" นั้น บางท่านคิดว่ามีเกินพอไว้ก่อนน่าจะดี

เป็นหลักคิดของการมีชีวิตอยู่กับความ "เสี่ยง"

เช่น พ่อแม่ผมจะเก็บข้าวไว้ในยุ้งให้มากที่สุด ที่มีโอกาส
จะขายข้าว ก็ต่อเมื่อมั่นใจว่ามีข้าวใหม่และจำนวนมากกว่ามาแทน

เพราะบ้านผมมีนาเพียง 4 ไร่ บางปีแล้ง บางปีท่วม

จึงต้องเก็บสำรองเพื่อความมั่นใจ
...


หรือ
ความคิดแบบชาวเกาะ ที่ต้องมีชีวิตเสี่ยงกับการขาดอาหาร และเดินทางไกลๆ โดยไม่มีอาหาร จะมีความคิดและนับถือว่า "คนอ้วน" เป็นคนที่มีความปลอดภัยในชีวิตสูง

บางคนอาจได้รับแนวคิดนี้มาโดยไม่ปรับใช้

สะสมทรัพย์สินเกินความจำเป็น
สะสมไขมันแบบไม่มีโอกาสได้ใช้

ข้อเสียเบื้องต้นคือ ทำให้ตัวเองลำบาก ยุ่งยาก
ข้อเสียทางสังคม คือการเอาเปรียบคนอื่น

สิ่งที่คนอื่นควรจะได้ใช้ตามความจำเป็นของเขา เราเอามายึดครองไว้

ที่เป็นการเปลือง และทำลายทรัพยากรโดยรวมได้อย่างมากมาย

เมื่อทุกคนทำเช่นนั้น
ก็แข่งกันสะสม และแข่งกันทำลาย

แล้วสังคมและทรัพยากรโดยรวมจะอยู่ได้อย่างไร

คิดไม่ออก ขอคิดดังๆ จะได้มีคนช่วยคิดบ้างครับ

อิอิอิอิอิอิ


ความเห็น (3)

ได้ยินความคิดของอาจารย์แล้วครับ  อยากให้พ่อแม่เด็กทั้งหลายหรือครูบาอาจารย์เข้าใจความคิดนี้แล้วช่วยถ่ายทอดไปยังเด็กและเยาวชนให้ได้มากที่สุดต่อไปครับ

หลักความพอเพียง แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากความยากจนครับ

 

คนชอบคิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันครับ

ที่จริงนั้น ตรงข้ามกันเลย และยังตรงกันข้ามกับความฟุ่มเฟือยด้วยครับ

 

เป็นสามเส้าเลยครับ

It is difficult to tell people "not to keep some for later on" when resources are low and not enough for everyone.  

Excessive hoarding comes about because of "trade" and "money" (in number).

{I have just done my thinking exercises on "air" when air is like water or food or necessity in short supply. I do recommend thinking about air.}

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

"ทรัพย์" มีไว้ใช้หล่อเลี้ยงชีวิต และ จิตใจ

ไม่ได้มีไว้สะสม 

ของทุกอย่างเป็นของส่วนรวม

เรามีสิทธิ์ใช้ขณะที่เรามีชีวิตอยู่เท่านั้น
เพราะไม่มีใครที่จะอยู่ค้ำฟ้า เกินร้อยปีก็หายาก
เกินแปดสิบปีก็แทบไม่ใช้อะไรแล้ว

ใช้เสร็จแล้วก็คืนให้โลกไป
 
เลยขอระบายความคิดนิดหน่อย ว่า

ผมคิดอย่างไร กับสิ่งที่ผมมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน

สิ่งใดๆ ที่ "มี" แต่ "ไม่ได้ใช้" มีค่าเท่ากับ "ไม่มี" 

รกรุงรัง และเป็นภาระ เสียเวลาชีวิตในการดูแลรักษา ที่ทำให้ชีวิตยุ่งยาก

แต่ ตรงกันข้าม

สิ่งใดๆ ที่แม้จะไม่มี แต่ก็ยังได้ใช้ มีค่าเท่ากับ "มี" ที่ง่ายที่สุดในชีวิต

และกลางๆ ก็คือ

มี และ ได้ใช้ 
และ


 การใช้ที่แท้จริง คือการใช้อย่างเป็นประโยชน์ มีคุณค่า มีความหมาย เกืดผลลัพธ์ที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

คือการใช้ "จริงๆ"


 การใช้ที่ไม่จริง ไม่มีประโยชน์ ไร้ค่า ไร้ความหมาย เท่ากับ การ "ทิ้งเปล่า" เฉยๆ

และ

ประโยชน์ที่แท้จริงคือการ "ให้แบบสร้างสรรสังคม" ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ที่ผมจะใช้ในการตัดสินว่า

สิ่งที่ทำไปแล้วนั้น
 "ได้ หรือ เสีย"
ก็โดยหลักการนี้ครับ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

มีบางคนยังสงสัยและมาถามว่าทำไมต้องมี "บัณฑิตคืนถิ่น"


ผมจึงต้องตอบซ้ำๆ ประโยคเดิมๆ ว่า เพราะ

1. 
ระบบสังคมในชนบทกำลังอ่อนแอ
คนที่อยู่ส่วนใหญ่ เป็นพวกที่ไปไหนไม่รอด ความคิดจะอยู่แบบรักท้องถิ่น
และพัฒนาท้องถิ่นมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มี

2. 
คนในภาคเกษตรกรรมขาดความรู้ที่ถูกต้องในการพัฒนาการเกษตร
ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน และสูญเสียความภาคภูมิใจ

3. 
หนี้สินภาคเกษตรกรรมพุ่งสูงมาก
และมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจแก้ไขจริงจัง ที่ทำกันอยู่
มีแต่หาทางเพิ่มหนี้สินให้มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะบีบบังคับทางอ้อมให้เกษตรกรขายที่ให้นายทุนท้องถิ่น
และต่างชาติ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

4. 
ปัญหาหนี้สิน
ทำให้คนในภาคเกษตรกรรมขาดความมั่นใจ และภูมิใจในอาชีพและชีวิตตนเอง

5. 
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชนบทเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว เพราะปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
ที่ต้องการคนที่มีความรู้จริง มาพัฒนาเป็นตัวอย่างให้เป็นแหล่งขยายผล
และแหล่งเรียนรู้ดูงาน ให้กับคนรุ่นต่อๆไป

ถ้าคนมีความรู้ไม่มาช่วยกันพัฒนา
ปล่อยให้คนที่ขาดความรู้ ขาดความภาคภูมิใจมาพัฒนา ยังไงก็ไม่น่ารอด

จึงจำเป็นต้องมีบัณฑิตคืนถิ่นครับ

หวังว่าพอจะเข้าใจนะครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ภาษากับความคิด

ผมเคยถกประเด็นกับเพื่อนต่างชาติทางตะวันตก ว่า "การมีสติ (consciousness)" การรู้ตัวอยู่เสมอๆ เป็นเรื่องธรรมดา ที่ทุกคนควรมี 
แต่เพื่อนชาวอเมริกันบอกว่าเป็นเรื่องของนักบวช (saint) เท่านั้นที่ทำได้
คนธรรมดาทำไม่ได้
ผมก็งง ว่าการรู้ตัวมันเกี่ยวกับการเป็นนักบวชตรงไหน

จึงจบการคุยกันแบบไม่รู้เรื่องเลย

ตั้งแต่นั้นมา ผมก็พยายามไม่คุยกับชาวต่างชาติต่างภาษาเรื่องระบบคิดและความเชื่ออีกเลย
เพราะยังไงก็ไม่ม
ีทางสื่อกันได้ เสียเวลาเปล่าๆ

สมัยผมไปทำงานองค์กรต่างประเทศ สิบปีที่แล้ว
ผมพยายามแปลสื่อความหมายคำว่า คนควรจะรู้จักว่าตัวเองคือใคร กำลังทำอะไร ควรและไม่ควรทำอะไรบ้าง โดยใช้คำว่า "Self actualization"

เขาก็ว่าผมกำลังจะเผยแพร่หลักการของศาสนาพุทธ

ผมเลยหยุดอธิบายเลย ทั้งๆที่เป็นแนวคิดกลางธรรมดาๆ ไม่เกี่ยวกับศาสนาใดเลย

ใครเก่งภาษาช่วยผมหน่อยครับ อิอิอิอิอิ



ความเห็น (1)

I can't see the issue. 

I hear people say this *"you have to know what your are doing"* very often. 

And is that not the same as what your are preaching ("to know enough to do")?  

BTW to those who jabbed about you invoking promoting Buddhism -- there is no better friend than one who keeps us "awake".

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ธุรกิจ เหมือนดาบสองคม

จะใช้คมไหนต้องระวัง

ธุรกิจสร้างสรรเพื่อสังคมโดยรวม ที่มีข้อดีมากมาย

  แต่ธุรกิจปัจจุบันใช้ความโลภนำทาง มีเท่าไหร่ ได้เท่าไหร่ไม่มีคำว่าพอ

ไม่คิดจะแบ่งปัน จึงมีแต่ทำลายๆๆๆๆๆๆๆๆ ในทุกมิติ 

เพียงเพื่อผลประโยชน์ในทางธุรกิจ
 
...

แล้วท่านผู้มั่งคั่งแบบนี้ทั้งหลาย เขายังคิดว่า เขาจะรอดอยู่อีกครับ
โดยการยืนบนหัวคนอื่น
แม้คนอื่นจะจมน้ำตายหมด เขาก็จะยืนบนซากศพ
และจะจมน้ำตายเป็นคนสุดท้าย

นี่คือปรัชญาการพัฒนาที่ผิดพลาด

คงเป็นวิบากกรรมของมนุษยชาติโดยรวมที่หันคืนยากมาก

แม้เขาจะคิดได้และแก้ทันทีวันนี้อีก 100 ปีก็ยังไม่ฟื้นครับ

เพราะทรัพยากรเสื่อมโทรมมากๆเลยครับ

แต่ยิ่งไม่คิด ไม่มีทางออกเลยครับ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

การเรียนรู้ต้องมีขั้นตอน

บางทีเราผู้สอน และผู้เรียนจะใจร้อน ไม่ชอบปูฐาน จะจับยอดอย่างเดียว

  แบบเดียวกับทุกประเทศ แทบไม่สนใจว่าทรัพยากรและสังคมจะเป็นอย่างไร GDP สูง ก็พอใจแล้ว

เป็นกันทั้งโลกครับ ที่เป็นอันตรายต่ออนาคตจริงๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

โทษของ "วิกาลโภชนา"

เมื่อวานผมมีแผนการเข้าร่วมงานเลี้ยงสังสรร "บุหงาอันดามัน" ของสมาคมชาวปักษ์ใต้ จังหวัดขอนแก่น

ผมเลยเลื่อนเวลาการรับประทานอาหารจากกลางวัน "1 ครั้ง" ที่กำลังปฏิบัติอยู่ ไปเป็นตอนเย็น ตามเวลาของงานที่เริ่ม 6 โมงเย็น กว่าจะได้ทานก็ประมาณทุ่มหนึ่ง กลับประมาณ 4 ทุ่ม

แม้จะพยายามทานน้อยๆ แต่พอดี

แต่พอกลับมานอน รู้สึกอึดอัด และนอนไม่ค่อยสบายเลย

สงสัยจะผิดศืลข้อที่ 6 เสียแล้ว

จึงโดนลงโทษ

แล้วผมจะทำอย่างไรกับการเข้าสังคมแบบนี้ มีบ่อยเสียด้วย
55555555555555555555555555



ความเห็น (3)

อาจารย์ค่ะ พบ.ขอแซวนิดสสส์  ...  อาจารย์ ทานอาหาร แบบ ไม่เคยตรงเวลา ชลัญว่า ร่างกายคงเริิ่มงงว่า  เอ๊ะ อาหารจะมาตอนไหนนี่  น้ำย่อยก็นอนรอจนเหนื่อย อาหารก็ไม่มาสักที  ก็เลยเผลหลับไป  ไม่ยอมทำงานตอนที่มีอาหาร จึงเกิดอาการแน่นอึดอัด  พอดื่นขึ้นมา เอ้าอาหารมาเมื่อไหร่หว่า  รีบพากันทำงานใหญ่  อาการแน่นอึดอัดก็เลยหายไปน่ะ  .... ประมาณนี้หรือเปล่า  อิ อิ อิ 

ไม่ต้องเลื่อนเวลาอาหารค่ะ. พอไปงานก็คุยเยอะๆค่ะ

ผมเคยนั่งร่วมโต๊ะอาหารเย็นกับ นพ.มงคล ณ สงขลา สังเกตว่าท่านทานแต่กับข้าวครับ ไม่เอาข้าวครับ ทานเหมือน "กับแกล้ม" ครับ ผมคิดว่าท่านก็น่าจะมีเหตุผลที่ทานอย่างนั้นเหมือนกันครับ เสียดายไม่ได้มีโอกาสถามครับ ผมว่าน่าจะเป็นวิธีที่อาจารย์อาจจะประยุกต์ใช้ได้ครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ผมตั้งคำถามคนจนจากภาคไหนจนที่สุดในเมืองไทย

แจกรางวัลมูลค่า 100000 เบี้ย ไม่มีใครมาตอบเลย
สงสัยจะยากไป

งั้นถามใหม่

คนที่ว่า "ไม่มีเงิน" กับ "คนไม่มีสตังค์" คนไหนน่าจะจนกว่ากัน

รางวัลเท่าเดิม
100000 เบี้ย 1 รางวัล ตอบถูกคนแรกได้รางวัลทันที

...

มารับเองที่ขอนแก่น

อิอิอิอิ


ความเห็น (3)

น่าจะไม่มีเงินนะอาจารย์  เพราะเวลาพูดคนมักบอก ไม่มีเงินสักบาท  (หน่วยเป็นบาท)  แต่ไม่มีสตางค์สักแดง ( แดงนี่หน้าจะหมายถึงแบงค์ร้อยมั๊ย?  )  อันนี้ พบ.มิค่อยรู้เรื่องคร้าบ เดาล้วน  

คำถามเพื่อรู้จักความเป็น "ไทย" ครับ

เงิน มีค่ามากกว่า ทองแดงครับ

คนไม่มีทองแดงจะจนกว่าคนไม่มีเงินครับ อิอิอิอิ

เย้ เย้ เย้  ตอบผิด  กลัว ได้รางวัล 555555 

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

เมื่อสักสิบกว่าปีมาแล้ว ผมได้รับเชิญให้ไปเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทรัพยากรที่ดิน และสิ่งแวดล้อมที่จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา

ก่อนผมจะไปประมาณ 1 เดือนทางโครงการพัฒนาฯได้ถางป่าที่มีอยู่ด้วยรถบูลโดเซอร์ขนาดใหญ่ กวาดต้นไม้ ไปเผา ตามขอบแปลงเป็นพื้นที่กว้าง หลายร้อยไร่

เริ่มนำเกษตรกรเข้ามาทำกินในพื้นที่ดังกล่าว

ผมเห็นแล้วตกใจมาก
พื้นที่ดินทรายจัดขนาดนั้น จะทำการเกษตรให้ยั่งยืนได้อย่างไร
ปุ๋ยอินทรีย์เท่า
ไหร่จึงจะพอ คิดไม่ออกเลยครับ

ผมเลยเสนอแนะประโยคเดียว ที่ทางโครงการไม่ค่อยจะขำเท่าไหร่
(They were not amused!)
ว่า

"ให้นำต้นไม้ขนาดใหญ่ๆ ทั้งหมด ที่กวาดไปกองรวมกันตามแนวรั้วนั้นกลับคืนมา จัดให้เป็นแถวๆ ไม่บังแดดกับพืชที่ปลูก แล้วจะทำเกษตรยั่งยืนได้แน่นอน"

ตั้งแต่นั้นมา เขาไม่ติดต่อผมมาอีกเลย

5555555555555555555



ความเห็น (3)

อ่านแล้วน่าตกใจเหมือนกันครับ แบบว่าไม่ต้องมีความรู้ทางเกษตรแค่พอปลูกต้นไม้เป็นก็พอจะรู้ว่าทำอย่างนั้นปลูกอะไรไม่ขึ้นแน่ๆ ครับ

นี่คือวิธีคิดของนักวิชาการเกษตรกระแสหลักครับ เมืองไทยเราก็เป็นครับ

ผมยังหาเพลงร้องไม่ได้เลยครับ อิอิอิอิ

เหมือนแถวภาคใต้นี่สวนยางเต็มไปหมดจนถึงยอดเขาแล้วครับ ต้นไม้อย่างอื่นถูกโค่นหมดครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของ "บัณฑิต" ที่พยายามจะ "คืนถิ่น"

ก็คือ

1. ครอบครัวของตัวเองไม่มีทรัพยากรรองรับ และ
2. ครอบครัว และญาติพี่น้องไม่เห็นด้วย กับการกลับบ้าน เพราะ "อาย" คนอื่น

ตัวอย่างหนึ่ง
จากเหตุการณ์จริงๆ ที่บัณฑิตคืนถิ่นต้องเผชิญหน้ากับพ่อของตัวเอง แค่ขอหารือว่าอยากจะกลับไปอยู่บ้าน ไปทำนา และพัฒนาบ้านเกิด

...

พ่อบังเกิดเกล้า ตะโกนใส่หน้าว่า

"กูทำนามาห้าสิบกว่าปี กูยังเอาตัวไม่รอด (จึงส่งมีงไปเรียนหนังสือ และหางานทำที่กรุงเทพ ได้เงินเดือนสองสามหมื่นที่ดีและสำเร็จในชีวิตอยู่แล้ว) มึงแค่ลูกกู ไม่เคยทำนาจริงๆ สักไร่ มึงจะแน่แค่ไหน ที่จะกลับมาทำนา"

"ให้เลิกคิดเลย (ถ้ายังนับถือว่าเป็นพ่อลูกกันอยู่)"

ถ้าท่านนี้เป็นคนที่ยังลังเลในแนวคิด คงเลิกคิดไปเลย
และคงสูญเสียบัณฑิตคืนถิ่นที่ชัดเจน มั่นคง และสำเร็จ ไปอย่างน้อย 1 คน
ให้เป็นตัวอย่าง "ชีวิตจริงๆ" ให้เห็นกันในปัจจุบัน

และยังมีอีกหลายอุปสรรค ที่บัณฑิตทั้งหลายยังต้องก้าวผ่าน
ก่อนที่จะได้คืนถิ่น จริงๆ

มันเป็นเช่นนั้นเอง
อิอิอิอิอิอิ


ความเห็น (2)

จริงครับ ผมเคยคุยกับบัณฑิตว่าถ้ากลับบ้านไม่ได้ไปทำงานกรุงเทพฯ​ แสดงว่าไม่ประสบความสำเร็จครับ แค่ทำงานบริษัทในจังหวัดบ้านเกิดยังถูกดูถูกเลยครับ ไปเป็นพนักงานขายในห้างที่กรุงเทพฯ​ ยังดีกว่าครับ

ผมว่าปัญหาของประเทศไทยคือเรื่อง "วัฒนธรรมหน้าตา" ที่แทรกอยู่ในเกือบทุกเรื่องครับ

ใช่ครับ เราคงต้องสร้างตัวอย่างดีๆ และภูมิคุ้มกันทางสังคมครับ ไม่งั้นยากแน่นอนครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

สาเหตุหนึ่งของ "บัณฑิต" ยังไม่คืนถิ่น

เพราะ
  สังคมยัง "ดูถูก" ว่า คนที่คืนถิ่น ก็เพราะ "ไปไหนไม่รอด"

ที่ก็ มีจริงๆเสียด้วย

ดังนั้น
ถ้าเรามีบัณฑิตที่ "ไปไหนก็ได้" เยอะๆ
แต่อยากจะคืนถิ่น และคืนได้ด้วย
...

และยิ่งกว่านั้น
ยังกลับคืนมาสร้างครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อมทั้งตำบล ได้ดีกว่าเดิม

นี่คือ "ภาพฝัน" ของบัณฑิตคืนถิ่น "ตัวจริง"

ที่มีตัวอย่างจริงๆในเครือข่ายปราชญ์อีสาน

ผมพูดจริงๆนะครับ ไม่ได้โม้

ไม่ลองไม่รู้ ไม่ดูไม่เห็น ไม่ทำไม่เป็น

555555555555


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

หลังจากลดการรับประทานอาหารเหลือเพียง "วันละครั้ง"

และครั้งละ "ครึ่งเดียว" ของจำนวนที่เคยทานในแต่ละครั้งในสมัยที่ทานวันละสองครั้ง

ตอนแรกร่างกายก็ไม่งอแงอะไร

หลังสองสัปดาห์ เริ่มจะงอแงมากขึ้น เริ่มจะ "ทำท่าหลอก" ว่า "ขาดอาหาร"

โดยการเตือนว่า "หิว" แบบหลอกๆ บ่อยมากขึ้น
ทั้งๆที่อาหารสะสมในร่างกายผมเหลือไม่ต่ำกว่า 5 กก.
...

(ประเมินจาก standard body mass index)

ผมรู้ว่าโดนหลอก ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ สักพักพอผมไม่สนใจจริงๆ มันก็ลืมไปเอง

เลยมาเข้าใจว่านี่คือ ที่บางท่านอาจจะมีปัญหา
ไม่แยกออกระหว่าง "หิวจริง" กับ "หิวหลอก"

พอโดนหลอกบ่อยๆ ก็กินบ่อย เลยเก็บสะสมไว้โดยไม่ได้ใช้ตลอดชีวิต

ไปไหนทีก็ลำบาก ต้องหอบหิ้วกันกันไปตลอด หนักมาก ไม่เคยได้ใช้จริงๆสักที เก็บไว้บ้านไม่เอาไปด้วยก็ไม่ได้
ลำบากไปยาวไกล จนถึงสับปะเหร่อ ที่ต้องเผานาน เปลืองฟืน เปลืองไฟ เปลืองพลังงานในการเผาก้อนไขมันที่เก็บไว้ และเผายากมาก

ผมเคยไปนั่งเฝ้าการเผาศพแบบกองฟอน
ส่วนที่จะหมดช้าที่สุดก็ตรงส่วนที่เราไม่ได้ใช้นี่แหละครับ

เป็นหลักฐานหนึ่งของ "ชีวิตที่โดนหลอก" มากน้อยก็ดูกันเอาเอง

อิอิอิอิอิอิ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

คนชอบถามผมว่าทานอาหารวันละกี่ครั้งจึงจะพอดี

ผมก็เลยต้องถามกลับว่า "ท่านเติมน้ำมันรถยนต์ของท่าน วันละกี่ครั้ง"

รถบางคันจอดไม่ใช้เลย บางคันใช้งานทั้งวัน ควรจะเติมน้ำมันวันละสามครั้งเหมือนกันไหม

ขอให้ตอบผมก่อน
แล้วผมจะตอบได้อย่างชัดเจนว่าเราควรทานอาหารวันละกี่ครั้ง จึงจะพอ

คำตอบมีในคำถามแล้วครับ
555555555555555555555



ความเห็น (2)

บางวันก็ 1 ครั้ง บางวัน ก็ 2 ครั้ง บางวันก็ไม่ทาน เพราจอดอยู่บ้านเฉยๆ เอ๊ย!.....ไม่ใช่  เพราะบางวันไม่ใด้ใช้พลังงานมากน่ะ  ทานแค่น้ำกับผลไม้ก็อยู่ได้ค่ะ

ถูกต้องแล้วครับ บางวันทานผลไม้พอได้เกลือแร่ชดเชยนิดหน่อยก็พอครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

พระแท้ต่างจากพระเก๊อย่างไร

มีคนถามว่า ถ้าเราไม่เคยเห็นพระแท้ๆในกลุ่มนั้นๆเลย จะมีหลักการพิจารณาเบื้องต้นอย่างไร ว่าพระอะไรควรจะแท้ หรือ น่าจะเก๊

ผมตอบไปว่า
ให้สังเกตเลยว่า ศิลปะงดงาม ละเอียดอ่อนช้อยไหม

พระที่ทั้งเนื้อและศิลปะเละๆ เลอะๆ ไม่ควรเล่นครับ

เพราะคนที่สร้างพระแต่ละครั้ง แต่ละชุมชนนั้น เขาบรรจงคัดสรรมาจากความศรัทธาอันแรงกล้า

มักจะหาช่างฝีมือดีๆ จงใจ ใช้เวลาประดิษฐ์ประดอย
...


จนทำให้เกิดศิลปะคมชัดลึก งดงามทั้งนั้นครับ

เนื้อสวย ทนทาน

พระที่เละๆ เลอะๆ มักมาจากพวกไม่ตั้งใจทำครับ

อย่างมากก็ทำขายครับ

หวังว่าคงเข้าใจนะครับ

อิอิอิอิอิ
 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

"เบี้ย" คือหน่วยเงินที่เล็กที่สุดของไทย

แปลก!!!!!!!!! แต่จริง คนไทยส่วนใหญ่คงไม่ทราบ หรือลืมไปแล้วว่า

"เบี้ย" คือหน่วยเงินที่เล็กที่สุดของไทย

50 เบี้ย เป็นหนึ่ง โสฬส หรือ อัฐ

2 โสฬส เป็นหนึ่ง เซี่ยว (เสี้ยว) หรือ ไพ 

2 เซี่ยว เป็นหนึ่ง สิ้ก (ซีก)

2 สิ้ก เป็นหนึ่ง เฟื้อง

2 เฟื้อง เป็นหนึ่ง สลืง

4 สลืง เป็นหนึ่ง บาท...

4 บาท เป็นหนึ่ง ตำลึง

20 ตำลึง เป็นหนึ่ง ชั่ง 

ตอนนี้ คนจำนวนหนึ่ง รู้จักแค่  เบี้ยเลี้ยง เบื้ยบำนาญ เบี้ยใบ้รายทาง ฯลฯ 

แต่ไม่รู้ว่า "เบี้ย" แปลว่าอะไร 

บางคนคิดว่าเป็นชื่อหอย (หอยเบี้ย) หรือ ชื่อต้นไม้ (ผักเบี้ย) ไปโน่น 

เรียกว่า ลืมรากเหง้าของตัวเองไปเลย

ผมเลยชอบถามว่า คนจนที่จนที่สุดของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคไหนของประเทศไทย 

ลองตอบดูนะครับ 

ถ้าใครตอบถูกเป็นคนแรก มีเงินรางวัล หนึ่งแสนเบี้ย

เท่ากับเงินที่ใช้สร้างวัดโบราณในกว๊านพะเยาเลยครับ

โปรดมารับที่ขอนแก่นครับ 

อิอิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ผมทานข้าวมากที่สุดในบ้าน เพราะผมปลูกเอง สีเอง กินเอง

หลังจากผมลดการรับประทานอาหารเหลือวันละ 1 ครั้ง และลดจำนวนต่อครั้งลงครึ่งหนึ่งของที่เคยบริโภค

ภรรยาผมรายงานว่า อัตราการหุงข้าวกล้องพอทานเหลือวันละ 200 กรัม จากเดิม 400 กรัม (สี่ถ้วยตวง) หรือหุงเท่าเดิมทานได้ 2 วัน

ถ้าผมรักษาระดับการรับประทานข้าวระดับนี้

ครอบครัวผมจะต้องการข้าวกล้อง ปีละประมาณ 70 กก. จากเดิม 150 กก.

...

ผมจำเป็นต้องปลูกข้าวให้ได้ข้าวเปลือก ประมาณ 100 กก. หรือ 3 ถุงปุ๋ยก็จะพอรับประทาน (แต่เดิม  6 ถุงปุ๋ย หรือ 200 กก.)

ข้าวไร่หนึ่ง ปล่อยให้งอกเอง ตามสบาย ไม่ต้องสนใจอะไร ไร่หนึ่งก็จะได้ประมาณ 500 กก. ถ้าดูแลหน่อยก็จะได้ 800 กก.

แค่ถ้ามีที่นาเพียงไร่เดียวผมก็จะมีข้าวพอกินทั้งปี แล้วยังเหลือข้าวไว้แจกหรือขายอีกตั้ง 300-400 กก.
นี่ว่าขั้นต่ำเลยนะครับ ถ้าดูแลหน่อย ไร่เดียวก็น่าจะเหลือ 600-700 กก.

แล้วผมจะทำเยอะๆทำไมเนื่ยะ
แต่ให้มันงอกเอง โตเอง คอยแต่เกี่ยวมากินบ้าง ก็พอละมั้ง

อิอิอิอิอิ


ความเห็น (2)

ชอบมากๆเลยค่ะท่าน ดร. ปลูกข้าวไว้กินเองขอบคุณที่ให้ความคิดดี ๆค่ะ

ของง่ายๆ อย่าทำให้ยากซิครับ อิอิอิอิ

 

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

พืชอะไรเอ่ย????????????

1. จะปลูกก็ทำลายป่า ตัดต้นไม้อย่างกว้างขวาง

2. คนปลูก(ส่วนใหญ่) ต้องไปกู้หนี้ยิมเงินก้อนใหญ่

3. ปลูกไปก็ทำลายดิน ใช้สารพิษ เครื่องจักรกลขนาดใหญ่

4. เก็บเกี่ยวก็ทำลายอากาศ เผาจนเกิดควันพิษทั่วไทย


 5. ขนส่งเข้าโรงงานก็ทำลายถนน

6.เข้าโรงงานแล้วก็ทำลายแหล่งน้ำ เกิดมลพิษทางน้ำ

 7. ขายก็เอากำไรมากกว่าซื้อจากตลาดโลก 2 เท่า ทำลายเศรษฐกิจของประเทศ และผู้บริโภค

 8. คนปลูก มีแต่หมุนหนี้ใช้หนี้ 

 9. คนบริโภค ต้องจ่ายแพงกว่าซื้อจากต่างประเทศ ทั้งๆที่เราผลิตเอง

 10. มีแต่โรงงานและเจ้าของเงินร่ำรวย

 11. พอบริโภคแล้วไม่ระวังดีๆ ก็เป็นโรคฟันผุ โรคอ้วน โรคเบาหวาน

12. และเป็นที่มาของแขกที่ท่านไม่ยินดีต้อนรับ "เบาหวานและคณะฯ"

ใครคิดไม่ออกให้ไปถามกระทรวงอุตสาหกรรมครับ

อิอิอิอิอิ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ประหลาดใจคนไทย

ผมไปนั่งดูต้นกระบองเพชร ดูแล้วมันดูดน้ำไว้ในต้นเยอะมาก ถ้าให้น้ำมากๆ มันจะดูดไว้จนเน่าตายไปเลย

มันคงชินกับการเก็บน้ำไว้ในต้น เพราะมันเกิดอยู่ในเขตแห้งแล้ง และทะเลทราย

ติดนิสัย อยู่ที่ไหนมันก็ทำอย่างนั้น เพื่อความอยู่รอดของมัน

แต่กลับกันเลย

ต้นไม้ในเขตชุ่มชื้น มันจะดูดน้ำไว้แค่พอใช้แค่วันต่อวันเท่านั้น แต่....มันก็ไม่เคยขาดน้ำเลยตลอดชีวิตชั่วลูกชั่วหลาน

แต่........งงงงงงงงงงงงงง
ผมสงสัยคนไทยจำนวนหนึ่ง

ทั้งๆที่เราอยู่ในเขตอาหารอุดมสมบูรณ์ ไม่มีคำว่าอดอยาก แทบทุกเวลาและสถานที่จะมีอาหารขาย หรือแจกฟรี มีโรงทาน โรงบุญก็มี เสมอๆ

แต่ทำไมคนไทยเราต้องกักตุนอาห
ารสำรองไว้รอบเอวกันเป็นมัดๆ หนักอึ้ง

(จนต้องซื้อเสื้อผ้าใส่กันใหม่เรื่อยๆ ของเก่ามันเล็กไปซะแล้ว 5555555)

บางคนเบาะๆ ก็ห้า กก. บางคนสิบ กก. บางคนกว่า ยี่สิบ กก. ก็มีมากมาย
(ข้อมูลนี้ได้จากหลักการทางการแพทย์ เรื่อง Standard body mass index)

ที่ถ้าประเทศไทยเรามีปัญหาการขาดแคลนอาหาร ท่านเหล่านั้นน่าจะสามารถอยู่รอดวิกฤติ แบบไม่ต้องกินอาหารได้อีก สามเดือน หกเดือน หรือเป็นปี หรือหลายปีไปโน่น

ท่านทำยังกะว่า ประเทศเราจะไม่มีอาหารกิน กันอีกนานอย่างนั้นแหละ หรือคิดว่าประเทศเราจะขาดแคลนอาหารในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ท่านคงลืมไปว่า ถ้าประเทศไทยอดอาหารเมื่อไหร่ ทั้งโลกจะอดตายก่อนเรา

เพราะเราเป็นประเทศหนึ่งที่ อยู่ในเขตที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก เพียง 7% ของโลกเท่านั้น
 
แปลก แต่จริง
ขนาดต้นไม้ไม่มีสมองนะครับ ยังทำได้ขนาดนั้น เรามีสมองน่าจะทำได้ดีกว่าครับ 
อิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (2)

อัน อ้อยตาลหวานลิ้น แล้ว สิ้นซาก

โอ! แรงงงงงงส์  ขอบคุณที่เตือนสติ เตือนสมอง

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

การโพสต์รูปพระในเฟสอย่างมีประโยชน์



ใครที่จะโพสต์พระมาให้ดู



ผมว่านะครับ อย่าเพิ่งตั้งประเด็นว่าเก๊-แท้



ผมว่า เราค่อยๆ แยกประเด็น มาดูกันทีละเรื่อง อย่างเป็นขั้นตอน



คนที่รู้แล้วก็อย่าใจร้อน ค่อยๆเจาะทีละจุด



จะดูเนื้อหรือดูพิมพ์ก่อนก็ได้



มาวิจารณ์กันแบบเปิดอก มือใหม่ก็จะเรียนรู้ได้เร็ว
มือเก่าก็จะรอบคอบมากขึ้น



แล้วค่อยสรุปเก๊-แท้ทีหลังตามหลักการ



ทำแบบนี้น่าจะสนุกกว่ากัน
และได้ความรู้เยอะเลย



การคัดกรองพระเก๊ก็จะทำได้ดีขึ้น
หน้าเวบก็จะดูดีขึ้น



ทุกคนได้ความรู้ และมีทักษะของการดูพระ
และระวังพระเก๊ได้ดีขึ้น



ทั้งเจ้าของพระ และคนที่ศึกษาร่วมกัน





แต่ที่ผ่านมา



ส่วนใหญ่ที่โพสต์มา ตั้งการ์ดสูงว่า แท้แน่นอน



ขนาดพระเนื้อ และพิมพ์ดูก้ำกึ่ง หรือบางทีเก๊ชัดๆ ยังยืนเป็นพระแท้มาก่อนเลย



แล้วเวลาเสนอมา บอกว่ามาศึกษาร่วมกัน
พอใครจะเริ่มวิจารณ์ก็หงุดหงิด



พอคนชมแบบมั่วๆ กลับชอบ



ถ้ามาแบบนี้ ผมว่าน่าจะไปชวนช่างทำพระโรงงานมากกว่า



ว่าพระเก๊ หรือแท้ก็แล้วแต่ องค์นี้ ดูดี หรือไม่ดีตรงไหน
ตรงไหนดูดีแล้ว



คราวหน้าจะทำให้เหมือน หรือเฉียบ เนียน และดีกว่าที่เคยทำมาได้อย่างไร


ตรงไหนยังดูไม่เรียบร้อย
จะทำอย่างไรจึงจะดูเรียบร้อยกว่าเดิม



ใช้สารเคมีอะไร ทาแบบไหน อบแบบไหน หมักแบบไหน



กี่รอบ กี่ครั้ง


น่าจะมีประโยชน์มากกว่าเยอะครับ



5555555555555555555





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ทดสอบตัวเอง จริงแท้หรือแค่ราคาคุย

ปกติผมจะทานอาหารวันละสองครั้งแบบไม่กำหนดมื้อ ไม่กำหนดเวลา

เมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อจะทานต้องรู้สึกหิว เมื่อยังไม่สะดวกต้องไม่รู้สึกหิว

ทำเช่นนี้มาหลายปี จนชิน เป็นธรรมดา

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนำเสนอผลการปฏิบัตินี้แล้ว ลองทำอีกขั้นหนึ่ง

...

ลดจำนวนการบริโภคลงเหลือมื้อเดียว และลดจำนวนต่อมื้อเหลือครึ่งเดียว

ทดสอบว่า
1. ยังหิวนอกเวลาอาหารไหม ..............พบว่ายังไม่เกิด
2. รู้สึกเหนื่อย และหมดแรงไหม ............พบว่าแค่สองสัปดาห์ ยังไม่เกิด ยังทำงานต่างๆ ออกกำลังกายตามปกติ
3. น้ำหนักลดไหม .......ลดนิดหน่อย แต่คลำดูแล้ว อาหารสะสมไว้รอบเอว ยังมีพอสมควร ไม่ควรแก่ความกังวลใดๆ

เลยรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ทำได้ ไม่ยากเท่าไหร่ .............ถ้าจิตคิดจะทำ

ตอนคุยในเฟสครั้งที่แล้ว เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ............ยังคิดว่าต้องใช้ความเคยชินนานๆ เหมือนที่ทำมาเป็นปี จึงจะไม่หิวนอกเวลา

สรุปว่าใจความสำคัญ อยู่ที่การกำหนดจิตครับ

เราตั้งจิตมั่นคงไว้แล้ว ร่างกายดูเหมือนจะไม่กล้างอแงเลยครับ

อิอิอิอิอิอิอิ
ตั้งใจว่าจะลองทำดูไปเรื่อยๆ เพื่อลดน้ำหนักลงสักห้ากิโลกรัมเป็นอย่างน้อย
แล้วค่อยๆปรับความสมดุลของการนำเข้าอาหารสู่ร่างกายใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ทั้งจำนวนครั้งและปริมาณ ให้เหลือน้ำหนักพอๆกับที่เขาว่ามาในคำแนะนำของแพทย์แผนปัจจุบัน
อิอิอิอิอิ




ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ลองดูนะครับ

ถ้าได้ผลอย่างไรมาเล่าสู่กันฟังบ้าง

ผมอยากทราบว่าที่ผมคิดอยู่มันเป็นความจริง หรือแค่จิตหลอนนะครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

สีเลนะโภคสัมปทา สีเลนะ นิพพุติงยัติ ตัสมาฯ

ศีลห้า ถ้าถือจริงๆ ก็เกือบ "บรรลุ" แล้วครับ

เช่นข้อที่ 1 ปาณาติบาต ถ้าตีความชัดๆ ถือจริงๆก็ต้องไม่บริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านการ "ฆ่า" ด้วย

คือถ้าตัวเองถือว่าบริสุทธิ์ในศีล ไม่ทำบาป ก็ไม่ควร "ยืมมือ" ให้คนอื่นทำให้กับตัวเอง

ดังนั้นผู้ที่ยังบริโภคผลิตผลที่มาจาก "ปาณาติบาต" อยู่

ผมถือว่าท่านผิดศีลข้อที่ 1 ครับ และผิดข้อ มุสาวาทา ด้วย

เพราะไปบอกใครๆว่าตัวเองรักษาข้อ 1 แต่ไม่จริง 

แสดงว่า "โกหก" ชัดๆเลยครับ
อิอิอิอิอิอิ




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ระบบการประกัน หรือคนในระบบการประกันมีปัญหา

มีผู้เสนอข้อมูล
ฟังคล้ายๆว่า ระบบนี้กำลังบ่มเพาะความกะล่อนปลิ้นปล้อนให้กับคนที่เข้ามาทำอาชีพนี้
เป็นเช่นนั้นหรือครับ
เพราะ มีข้อมูลว่า ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ตรงไปตรงมา ก็ไม่สำเร็จในอาชีพ


 ถ้าเช่นนั้น มันอาจจะเป็นความผิดพลาดของระบบ(ที่ไม่ดี) ที่ทำให้คนดีๆ กลายเป็นคนปลิ้นปล้อนโกหกหลอกลวง

หรือ

กลับกัน ระบบอ่อนแอ จนเกิดปัญหาที่คนเลวๆ(ที่ขี้โกง โกหกหลอกลวง) บางคนหลุดลอดเข้ามาทำอาชีพนี้ บังเอิญปะปนแทรกเข้ามาเป็นตัวปัญหา ทำพฤติกรรมเสื่อมเสีย

 

 แต่กลับทำงานสำเร็จ

กลายเป็นต้นแบบที่ไม่ดี ความเลวที่ประสพผลสำเร็จ

และทำให้ระบบโดยรวม เสียภาพลักษณ์ และเสียหายไปด้วยครับ

ชักงงๆ

เราจะพูดความจริงอย่างหมดเปลือก ไม่ซ่อนเงื่อน ไม่เล่นคำกำกวม ไม่หลอกลวงจะได้ไหมครับ

อิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ประกันชีวิต หรือครับ

ผมลองทำมาทุกระบบแล้วครับ
ไม่ใช่ไม่เคยทำแล้วมาพูดส่งเดช

จุดที่น่าเบื่อที่สุด ก็ตรงที่ความปลิ้นปล้อนของนายหน้าประกัน เพื่อหลอกกินเงินค่านายหน้าก้อนใหญ่ ที่เขาฝึกกันมาอย่างดี และไม่มีอะไรต่างกันเลย ในทุกระบบที่ผมสัมผัส

และ
การซ่อนเงื่อนของกรมธรรม์ ใช้ภาษาหลอกล่อวกวน ยิ่งอ่านยิ่งงง อ่านมากจะไม่รู้เรื่องเลย

ไม่อ่าน เซ็นชื่ออย่างเดียว ฟังแค่นายหน้า "พล่าม" หลอกบอกให้ฟังแต่ข้อดี (ที่อาจมี)ให้ฟัง และซ่อนข้อเสีย(ที่มีจริงๆ) จะรู้สึกว่าตัวเองรู้เรื่องมากกว่า (เพราะโดนหลอกให้คิดว่าตัวเองรู้หมดแล้ว ทั้งๆที่รู้เพียงบางส่วน)

ผมพยายามทำความเข้าใจ หาตรรกะของคำและภาษาที่ใช้
ลองตามไปดู หวังว่าจะเข้าใจ จนเหนื่อย และเหนื่อยเปล่าๆ จริงๆ 


 เลยลองมาคิดดู และคิดใหม่ จึงคิดได้

เรามีความรู้ไม่ทันเกมเขาขนาดนี้ แล้ว....."ไปยุ่งกับเขาทำไม (วะ)"

หลังจากปิดบัญชีหมดแล้ว

ผมไม่รับใหม่อีกเลย

เพราะผมพบว่าเป็นการใช้เงินที่แทบจะ "ไร้สาระ" ที่สุดในชีวิตผม

ตอนผ่อนค่าเงินสูง เรามีเงินน้อย ต้องกระเบียดกระเสียน ตอนได้เงินมาค่าเงินลดลง มูลค่าแค่เศษเงิน แทบไม่มีความหมายอะไร
 
ได้ไม่คุ้มเสีย ยังไงเราก็ไม่ทันเกมเขาหรอก เขามืออาชีพ  คำพูดคำจา "ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ"

มากี่คนกี่คนก็ประโยคเดิมๆ
ดีอย่างนั้น อย่างนี้ ฟังจนเบื่อ ความจริงเป็นคนละเรื่อง

ก็คงจะดีจริงๆ ถ้าผมทำประกันเสร็จปุ๊บแล้วรีบๆตายทันที เห็นทีจะคุ้มอยู่แค่นั้น อย่างอื่นมองไม่เห็นประโยชน์อะไรเลย มีแต่เรื่องรำคาญใจตลอดอายุกรมธรรม์ ไม่คุ้มกันเลย
 
เทคนิคที่เขาโฆษณา ก็แค่กับดักทางจิตวิทยา เพื่อมาหาเหยื่อ ไม่มีจริงใจแต่อย่างใด

เราก็แค่เหยื่อตัวหนึ่งของระบบธุรกิจของเขาเท่านั้น

หมดภาระ หมดความเกี่ยวข้องกับเขาแล้ว เราอยู่อย่างสบายใจกว่ากันเยอะ
ไม่เชื่อลองเลยครับ

ผมรอดมาแล้วครับ

5555555555555555555555

ใครยังข้องเกี่ยวก็ทุกข์ต่อไปครับ

หรือไม่ ถ้าอยากพ้นทุกข์แบบดีๆหน่อย ก็หาทางตายเร็วๆ จะได้ประโยชน์แน่นอน

แต่อย่าให้เขารู้นะว่าท่านกำลังหาที่ตาย เขาจะงดการจ่ายเงินผลประโยชน์ทันที

และอาจลงโทษท่านด้วย ด้วยเงินของท่านเอง

 

เจ็บพอไหมครับ หรืออยากเจ็บมากกว่านี้อีก ยังมีอีกหลายวิธี

5555555555555555555555

ที่พูดมาทั้งหมด ผมไม่ได้ต่อต้าน "หลักการ"การประกันนะครับ เห็นด้วย 100%

แต่ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีการปฏิบัติที่เอาเปรียบคนที่"โง่กว่า"

ใช้เขาเป็นเหยื่อทางธุรกิจ มากเกินไปเท่านั้นเอง

อิอิอิอิอิ

 




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

เงินนี้มีเสน่ห์มาก แค่ได้กลิ่นก็มีคนวิ่งตามกันเป็นฝูงๆ เหยียบกันตายไม่รู้เท่าไหร่

ทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า ทั้งคุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ

แค่ขอให้ได้เงิน.........................

มีคนหวังว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยจะช่วยชี้นำสังคมได้
 
 ผมเลยรีบหันมามองดูเพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัยไทย

เห็นแล้ว.........................ชัดเลย

 
อาจารย์มหาวิทยาลัยนะหรือครับ เขาก็วิ่งตามกลิ่นเงินเหมือนกัน

ยอมทำลายทุกอย่างเพื่อเงินเหมือนกัน

กรูณานะครับ ขอร้องหนักๆเลยครับ อย่าฝากความหวังมากครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

มีเพื่อนๆในเฟสสงสัย ว่าผมกำลังทำอะไร ดูแกว่งไปแกว่งมา

ผมขอแจ้งให้ทราบว่า

ผมกำลังช่วยทุกคนที่ผมช่วยได้
ทำมานาน และกำลังทำต่อไป

ถ้าตามอ่านจะเข้าใจ อิอิอิอิอิ

ตอนนี้ทุ่มไปที่ บัณฑิตคืนถิ่น ครับ
...


เนื่องจาก....
ฐานทรัพยากรเรา ไม่มีใครดูแลเลย
ต้องมีคนกลับไปดูแลบ้างครับ

คืนถิ่น ณ ที่นี้ แปลว่า กลับไปดูแล ไม่ได้แปลว่ากลับบ้านเดิมนะครับ

เพราะ ตอนนี้จุดเปราะบางที่สุด อยู่ที่
การพัฒนาสังคมแบบปัจเจก ตัวใครตัวมัน และ
ทรัพยากรพื้นฐานถูกทำลายแบบไม่บันยะบันยัง

ผมอยากจะกลับไปทำงานสาขา Plant Nutrition ที่ถูกต้อง

เราหลงทางกันมานานเกินไปแล้วครับ

ตำราเรียนในมหาวิทยาลัย ใช้ผิดบริบทเกือบหมด น่าห่วงมากครับ

ทำเน้นการสนับสนุนธุรกิจเกษตรเป็นหลัก ใครจะเจ๊ง ช่างมัน

และดูแล้วไม่มีใครสนใจ ผมจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเรื่องนี้ครับ




ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท