อนุทินล่าสุด


ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ความยากในการส่องพระสมเด็จ มีสองขั้นตอน

ขั้นที่ 1. ดูพระเก๊เป็นพระแท้ และ
ขั้นที่ 2. ดูพระแท้เป็นพระเก๊

ขั้นแรกมาจากยังตามฝีมือช่างไม่ทัน เห็นอะไรก็ดูแท้ไปหมด

ขั้นที่สอง เริ่มตามฝีมือช่างทันบ้าง แต่ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายของเนื้อพระสมเด็จยังไม่พอ เห็นแปลกๆ ก็ตีเก๊ไว้ก่อน

ดังนั้น จึงต้องมาทำความเข้าใจถึงความหลากหลายของ
...
ก. ระดับปูนดิบ มาก ปานกลาง น้อย
ข. ระดับปูนสุก มาก ปานกลาง น้อย
ค. ระดับตั้งอิ้ว มาก ปานกลาง น้อย

แค่นี้ก็มีตั้ง 3x3x3 =27 แบบ แล้ว

ยังจะมี
ก. เนื้อปากครก ก้นครก เนื้อหยาบ เนื้อละเอียด
ข. การกดพิมพ์ แน่น ไม่แน่น เนื้อหนา เนื้อบาง

หลังจากนั้น ก็จะมีการลงรักแบบต่างๆ หรือไม่ลงรัก
การเก็บไว้ในที่ ร้อน เย็น แห้ง ชื้น
และการใช้งานแบบต่างๆ
การล้าง การดูแล การใส่ตลับ การเลี่ยมกรอบ

สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อผิวและเนื้อพระแท้
ที่ทำให้พระสมเด็จเนื้อผงปูนเปลือกหอยแต่ละองค์แทบจะไม่เหมือนกันเลย

ผมลองนั่งส่องวันนี้ ทึ่งจริงๆ บางองค์ยังอ่านกระบวนการยังไม่ออกเลย

ยังไม่ต้องพูดถึงองค์ที่เรายังไม่เคยเห็น

ดังนั้น แม้จะมีสองร้อยองค์ ก็จะยังหาที่เนื้อเหมือนกันได้ยาก

แล้วเราจะไปเคยเห็นเนื้อพระหมดทุกแบบ จนผ่านขั้นที่สอง ได้อย่างไร

คงจะต้องตีเก๊พระแท้ไปอีกนานพอสมควรทีเดียว

นี่คือปัญหาของผมในวันนี้ครับ

อิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (2)

อาจารย์ครับแล้วศิษย์จะทำอย่างไร ขอบคุณครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

หลักง่ายๆในการดู "พระกรุ" แท้ๆ อย่างรวดเร็ว เมื่อไปเดินตลาดพระ

1. หลากโทนสี ทั้งแนวราบ(บนพื้นผิว) และแนวดิ่ง (การงอกทับกันหรือตามรอยสึกกร่อน)
2. ผุหรือกร่อนอย่างน้อยสองแบบ คือจากในกรุ (รอบองค์เสมอกัน) และจากการใช้ (ส่วนนูน)
3. เนื้อในแกร่งแน่น เนื้อนอก(ตามร่องที่ผิวยังเหลือ)จะดูยุ่ย
4. ศิลปะ มีที่มาชัดเจน (ต้องศึกษาพุทธศิลป์ของแต่ละยุคแต่ละเมือง)
5. มีพิมพ์ทรง และตำหนิถูกต้อง

แล้วจึงค่อยขอส่อง เพื่อดู

6. มีชั้นต่างๆครบ ตามหลักการแต่ละเนื้อ ทั้งดินและโลหะ
7. ถ้ามีเม็ดทราย ผิวนอกจะต้องมน และกร่อนเป็นริ้วละเอียดทุกเม็ด และมักมีร่องทรายรอบเม็ด
8. ถ้าดินดิบ จะฉ่ำใน แห้งนอก (ถ้าแก่ว่านจะฉ่ำทั้งในและนอก)
9. ถ้าดินเผา จะเห็นชั้นของการเผา และชั้นของการผุสวนทางกัน
10. พระรอดเนื้อหินเผา เนื้อจะต้องเป็นหินกร่อน มีทั้งชั้นการเผา และชั้นการผุสวนทางกัน

เห็นดังนี้แล้วจึงค่อยหยิบ

สำหรับคนที่ดูเป็นจริงๆแล้ว ดูชัดๆเพียงข้อเดียวก็ผ่านเลยครับ



ความเห็น (1)
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

บทเรียนในการศึกษา "วิธีการดูพระเครื่อง"

นักส่องมือใหม่จำนวนมาก (รวมทั้งผมด้วย) มักไม่เริ่มจากง่ายไปยาก ไปจับยากทีเดียว คือพระเก่าๆดังๆ เก๊เยอะๆ

แทบไม่สนใจกับพระใหม่ๆ แท้ๆ ดูง่ายๆ ที่จะเป็นบันไดให้เราเรียนรู้ตามลำดับ ตามอายุ ตามการพัฒนาการ

ทำให้พวกเรายังหลงทางกับพระเก๊หลากฝีมือ แบบโงหัวไม่ขึ้น

ผมก็เคยเป็นเช่นนี้ แต่ปัจจุบันผมกลับมาศึกษาพระใหม่ๆ จนเข้าใจพัฒนาการ และหลงทางน้อยลง

แต่ก็ยังเป็นห่วง "นักส่องมือใหม่" ที่ยังหลงทาง

อีกทั้งคนกลุ่มนี้ ยังใช้วิธี "ยอกันเอง" แบบต่างคนต่างไม่รู้ความจริง ว่าแท้หรือเก๊

พอใครสะกิดว่าอาจจะเก๊ จะโดนต่อว่า หรือรุมอัดทันที

ปัจจุบัน บางท่านยังไปหวังพึ่ง

  • วงการประกวดพระเก๊
  • ใบรับรองพระเก๊

เชื่อว่าจะทำให้ "พระเก๊" กลายเป็น "พระแท้" เป็นหลัก

พอเข้าระบบตลาดพระจริงๆ เซียนเขาก็ "ตีเก๊" มา บางคนก็ไปว่าเขาจะหลอกซื้อพระราคาถูก (ซึ่งก็จริงบางส่วน) โดยไม่หันกลับมาดูพระของเรา ว่าเขาตีเก๊ด้วยเหตุใด

เป็นเช่นนี้เอง ช่วยอะไรไม่ได้จริงๆ

ก็คงต้องปล่อยให้เจ็บไปก่อน แล้วให้เขาเรียนรู้เองมั้งครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (1)

จริงๆครับอาจารย์ขอสนับสนุน ขอบคุณครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

การแยกเนื้อพระแท้ออกจากพระเก๊


ก็แค่ดูความเก่าจริงๆ ของเนื้อและผิว ตามชนิดของวัสดุและองค์ประกอบ (ที่จะเรียงเป็นลำดับ ตามอายุของการเกิดก่อนหลัง)
ทับซ้อนกันเป็นเวลา สิบปี ร้อยปี พันปี ที่เรียงซ้อนกันทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง จนดู "เหี่ยว" อยู่ในเนื้อ
เป็นระบบและกลมกลืนกันทั้งหมด ไม่มีอะไรที่ดูเป็นส่วนเกิน หรืออะไรที่หายไป

แยกออกจากพระเก๊ ที่เป็นคราบโปะที่มั่วๆ (ที่ช่างทำพระเก๊จะพยายามใช้สารเคมี ประเภท "กาว" ต่างๆ ที่มีสีและเนื้อใกล้เคียงกับของแท้ แต่งขึ้นมาในเวลาสองสามวัน)
ทำให้ผิวพระเก๊ ดูแล้ว ตึงๆ เละๆ เลอะๆ มั่ว ไม่เป็นระบบตามหลักและลำดับของการเกิด บางอย่างเกิน บางอย่างหายไป

เท่านั้นเองครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ปัญหาทาง "จิตวิทยา" ของการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว คือ

อาการ "เหี่ยว" ของผิวหนัง ที่เคยห่อหุ้มก้อนไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกายไว้ แต่ตอนนี้ก้อนไขมันได้ละลายไปแล้ว

ที่ต้องใช้เวลาอีกเป็นเดือน ก่อนที่ผิวหนังจะหดตัวกลับเข้ามารัดรูปเช่นเดิม

ที่บางท่านอาจไม่เข้าใจ วิตกกังวล ทำใจไม่ได้ หรือรอไม่เป็น ก็จะหงุดหงิด เลยท้อ และหันกลับมาทำตัวให้ "อ้วน" ด้วยก้อนไขมันอีกเช่นเดิม

ที่ผมก็ยอมรับว่า ตอนแรกๆ ผมไม่เข้าใจ จึงแก้ปัญหาด้วย พยายามทำใจยอมรับ "กรรม" ของข้อด้อยข้อนี้ ว่าผิวหนังที่เหี่ยว อาจจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป เพราะเราไปหลงปล่อยให้ตัวเองมีไขมันส่วนเกินไว้นานเกินไป 

แต่พอสองเดีอนผ่านไป ไม่น่าเชื่อเลยครับ ผิวหนังก็หดกลับเข้ากระชับเหมือนเดิม

เช่นเดียวกับที่ผมมีญาติคนหนึ่ง อายุ 70 ปี เคยบวมจากสาเหตุไตอักเสบ เกิดปัญหาไตพิการชั่วคราว ทำให้มีน้ำหนักถึง 98 กก. พอรักษาแล้วหายบวม น้ำหนักปัจจุบันเหลือ 31 กก. ก็ออกอาการเหี่ยวจัดอยู่พักหนึ่ง หลังจากนั้นก็กลับมา "รัดรูป" ตามอายุเช่นเดิม

ดังนั้น จึงไม่ควรกลัวครับ

ไขมันส่วนเกิน หนักแบบไม่มีประโยชน์ เอาทิ้งไปเลย ทนรอสักสองเดือน ทุกอย่างจะกลับเข้าที่ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ทุกวันจะมี "นักส่องมือใหม่" ที่ออกอาการว่า "ไม่ค่อยอยากเรียน แต่อยากรู้" ส่งรูปพระเนื้อผงศิลปะเละๆ ผิวเลอะๆ มาให้ดู ผมเลยแนะนำไปว่า

"หลักในการดูพระอย่างรวดเร็ว และพลาดน้อยมาก ก็คือ อะไรที่เละๆ เลอะๆ นั้นมักจะเก๊ครับ

ของแท้มักจะสะอาด และศิลปะสวยงาม ผิวเหี่ยวในเนื้อตามตำราครับ

ถ้าคุณไม่เริ่มต้นจากของแท้ เช่น หัดส่องเปลือกหอยแท้ๆ หรือหัดหยิบพระเนื้อผงใหม่ๆ แท้ๆ องค์ละยี่สิบบาทไปก่อน  ก็เล่นของเก๊ทั้งชาติ

พระของแท้ในตลาดหายากมาก ต้องลอดทั้งตาคนขายพระ และลอดตาเซียน และยังต้องแข่งกันเองในกลุ่มนักส่องทั้งหลาย

ดังนั้น ถ้าไม่ชัดพอก็ยากที่จะหาได้เจอครับ

ข้อแนะนำวันนี้ก็คือ ควรเริ่มดูของแท้ และหรือพระแท้อย่างที่ว่า ที่ท่านพอจะหาได้จนชินตา

แล้วค่อยก้าวขยับไปหาพระดูยาก

แต่วันนี้ ดูเหมือนว่าท่านคิดจะเริ่มจากพระดูยาก

เล่นอย่างนี้ โดนทั้งปีครับ ไม่มีอนาคต ไม่มีทางพัฒนา และไม่มีทางออกด้วยครับ

ลองไปอ่านวิธีการดูที่ผมบันทึกไว้แล้ว อ่านจบแล้วสักสองสามรอบ ยังสงสัยโทรมาถามได้ครับ

แต่ไม่ควรโทรมาก่อนจบ 3 รอบครับ"

เพราะโทรมาแบบไม่อ่าน จะออกอาการมั่วๆ และเสียเวลามากในการคุยกันครับ



ความเห็น (1)

ต้องขอความรู้บ้างนะคับอาจารย์

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

มีคนจำนวนมาก บอกว่า มีพระเก่าเก็บ ปู่เก็บไว้ให้บ้าง พ่อสะสมไว้ให้บ้าง อยากออกตัวไปทำทุน

พอส่งมาให้ดู ผมก็ไม่ทราบจะช่วยยังไง เพราะพระเก๊ตาเปล่าทั้งนั้น

นี่คือบทเรียนที่ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจ ว่า

ถ้ารุ่นเราไม่เรียน เราก็ไม่มีทางจะกลายเป็นปู่เป็นตาที่ดี เก็บของดีๆไว้ให้ลูกหลาน 
 
 นี่คือ ส่วนที่ผมช่วยได้จริงๆนะครับ

พอผมเสนอว่าจะสอนให้ดูให้เป็น ก็อิดออด ไม่อยากเรียน อ้างสารพัด
แต่หวังฟลุคอย่างเดียว ยากครับ

ขนาดคนที่ดูออกยังหายากเลย

อย่างนี้แหละครับ เห็นใจ แต่ไม่รู้จะช่วยยังไง

บอกให้สร้างเหตุ เป็นปู่เป็นตาที่ดี รู้วิธีการหาพระแท้ เก็บไว้ให้ลูกหลาน ก็ไม่ยอม

หวังแต่จะได้โดยบังเอิญ แล้วลูกหลานของท่านจะเอาอะไรมาฟลุ๊คละครับ

เป็นเช่นนี้เองครับ อิอิอิอิอิ



ความเห็น (2)

แล้วจะเรียนกับอาจารย์ได้ทางใหนคับ

ทุกเส้นทางการสื่อสาร ขอ 4 อย่าง

1.  ในระหว่างเรียนให้นำตากับสมองมาด้วย (สำคัญมาก) 2. อย่าใจร้อน เรียนทีละหลัก ทีละขั้น ทีละเนื้อ

3. อย่าเรื่องมาก มีวัสดุการเรียนอะไรก็เรียนไปตามนั้น และ 4. ใครที่สมองเปื้อนความรู้ขยะ ควรล้างมาก่อน

 

อิอิอิอิอิอิอิอิอิ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

การปฏิบัติธรรมในเบื้องต้น จะ "ไม่ได้อะไร"  เพราะ มีแต่เสียอย่างเดียว

แต่สิ่งที่เสียนั้น เป็นสิ่งไม่ดี จึงทำให้บางคน "รู้สึก" ว่า "ได้" อะไรบางอย่าง เกิดความสุข และความสบายใจ

แต่ แท้ที่จริง ก็คือ แค่ "เหลือเฉพาะ" สิ่งที่ดีๆ แท้ๆ  ที่เรามีอยู่เดิม ตามธรรมชาติแท้ๆ เท่านั้น

ถ้าจะได้จริงๆ ก็ต้องดำเนิน ไปถึงเบื้องปลาย คือ "การหลุดพ้น"

ที่ทำให้ "มนุษย์"  เหนือ "สัตว์เดรัจฉาน"
 
เพราะ สัตว์เดรัจฉาน ไม่มีทั้งกิเลส และ การหลุดพ้น

คนที่มีกิเลสจึงมีทุกข์ และ คุณภาพ "ชีวิต" ต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉาน

การปฏิบัติธรรมในเบื้องต้น ก็แค่ทำให้ตัวเองมีคุณภาพชีวิตเทียบเท่ากับ "สัตว์เดรัจฉาน" เท่านั้น

แต่มนุษย์ เป็น "เวไนยสัตว์" ควรจะมีชีวิตสูงกว่าสัตว์เดัจฉาน

นั่นคือควรปฏิบัติสู่ "การหลุดพ้น" นั่นเอง

ผมสดับมา และเข้าใจอย่างนี้ครับ



ความเห็น (2)

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ
ติดตามอาจารย์นันท์ ภัคดี จึงโชคดีรู้จักอาจารย์ เริ่มจะเข้าใจเรื่องวัชพืช และการพึ่งพาธรรมชาติได้ดีขึ้น
ตอนนี้กำลังปรับใช้กับที่นาอยู่ครับ

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นประโยค "สัตว์เดรัจฉาน ไม่มีกิเลส" ครับว่า
สัตว์เดรัจฉาน มีกิเลส "อย่างหยาบ" เนื่องจากยังคงต้อง "กิน อยู่ สืบพันธุ์" ตามสัญชาติญาณ
โดยไม่มีปัญญากำกับหรือรู้เท่าทันว่าเป้นกิเลส
ผิดถูกต้องกราบขออภัยครับยังต้องศึกษาอีกมาก

เขาใช้สัญชาตญาณ โดยไม่มีกิเลส ตัณหา ราคะ ไม่โลภ ไมโกรธ ไม่หลง ทุกอย่างเป็นไปโดย "ธรรม" อย่างเดียว โดยไม่เกี่ยวข้องปัญญา และไม่มีโอกาส "หลุดพ้น" ครับ

จุดฟันธง จึงอยู่ที่ ถ้าเรามีกิเลส เราจะต่ำกว่าสัตว์พวกนี้ทันที ทุกข์มากกว่าเขา แต่ถ้าเราวางกิเลสได้ จะสร้าง ศืล สมาธิ ปัญญา ได้ เราก็จะสูงกว่า ดีกว่าเขาทันที

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ความแข็งแรงของวัวควาย วัดกันที่ความสามารถในการดิ้นหรือถีบตัวเองออกจาก "หลุมโคลน" ที่ลึกสุดปลายขาจะหยั่งได้

สัตว์ที่อ่อนแอ จะดิ้นจนหมดแรง แต่ก็จะยังจม และตายอย่างสิ้นหวังอยู่ในหลุมโคลนเหล่านั้น

ความแข็งแรงของมนุษย์ วัดกันที่ ความสามารถในการดิ้นและถีบตัวเองออกจากหลุมของกิเลสที่ลึกเกินกว่าใจจะหยั่งถึงได้
 
คนที่อ่อนแอ จะติด จมไปในหลุมกิเลส และเสวยผลของความทุกข์ แม้จะดิ้นสุดแรง ก็แค่ดิ้นไปจนตายในหลุมของกิเลสนั้นๆ เท่านั้น

ฉันใดก็ฉันนั้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

"ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง"

คือ    การทำอย่างไรก็ได้ให้ชีวิตผู้เรียนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

มิใช่ตามใจผู้เรียน อย่างที่นักการศึกษาบางคนเข้าใจกัน

ที่ต้องอาศัยความเข้าใจ และความจำเป็นของผู้เรียนเป็นหลัก

ยอมรับตามที่เขาเป็น และช่วยให้เขาพัฒนาชีวิตในทางที่ถูกต้อง

เพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ถูกต้อง

ที่อาจต้องมีการเตรียมการ เตรียมตัวที่ดี และถูกต้อง จึงจะได้ผลจริงๆ

ตามหลักการที่วางไว้ในคำว่า "การศึกษา"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

การลดน้ำหนัก ไม่ยากอย่างที่คิด

หลังจากผมลองลดการรับประทานอาหารลงเหลือ ครั้งเดียวต่อวัน โดยเน้นความสะดวก ไม่กำหนดเวลาตามนาฬิกา หรือเวลาของวัน
และลดจำนวนลงให้เหลือครึ่งหนึ่งของมื้อที่เคยทาน

และออกกำลังกายเพิ่มขึ้นในตอนเย็นทุกวัน
 
ทำให้ลดน้ำหนักลง 8 กก. ในระยะประมาณสองเดือนที่ผ่านมา

จาก 79 กก เหลือ 71 กก 

(และตั้งใจจะลดต่อไปจนถึงระดับมาตรฐานของผม ที่ 68 กก.)


 เฉลี่ย ลดลง ครึ่ง กก. ต่อสัปดาห์ หรือประมาณวันละ 100 กรัม

ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารลงเหลือน้อยกว่าครึ่ง
ใส่เสื้อผ้าที่เคยมีได้ทุกตัว


เดินทางและใช้ชีวิตคล่องตัวขึ้น ไม่ต้องแวะทานอาหารระหว่างทาง
หรือกังวลเรื่องการทานอาหารครั้งต่อไปในวันนั้น

มีชีวิตสะดวกสบายขึ้นในทุกเรื่อง อย่างไม่เคยทราบมาก่อน

การลดน้ำหนักนี่ไม่ยากอย่างที่เคยคิด ทำแล้วจึงรู้จริงๆ

อิอิอิอิอิ



ความเห็น (5)

..... สุขภาพดีดี เป็นที่แรารถนา เป็นของขวัญ "ลำ้ค่าที่สุด" นะคะท่าน

ขอบคุณบทความดีดี นี้ต่ะ

-สวัสดีครับ...

-คงต้องขอนำไปเป็นแบบอย่างแล้วหละครับ..

-คิดแบบง่าย ๆ ได้กำลังใจดีนะครับ.

-ขอบคุณครับ

ผมเคยอ่านบทความไม่นานมานี่เองว่าการกินอาหารสามมื้อเป็นของใหม่ครับ ผมคิดว่าคนไทยแต่โบราณก็ไม่ได้กินอาหารสามมื้อครับ

Breakfast, lunch and dinner: Have we always eaten them?

ขอบคุณครับสำหรับประเด็นกระตุ้นความคิด

ผมคิดว่า...

ปัญหาตั้งต้นของเรื่องนี้ อยู่ที่การสร้างค่านิยมและความเชื่อในการบริโภคกันทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และระดับโลก

ที่มักถือว่าการรับประทานบ่อยๆ หรือ ตลอดเวลา เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จและความสุขของชีวิต

จนกระทั่งปัจจุบันการประชุมจะจัดอาหารว่างแทรกเข้ามาอีก เป็นระบบคิดมาจากฝรั่งโดยแท้

และ

สังคมทั่วไป ดดยรวม ก็ยังใช้การรับประทานอาหารเป็นสัญญลักษณ์ของน้ำใจ การต้อนรับ และ การฉลอง

ที่ทำให้คน "หลง" ไปกับการบริโภคเกินความจำเป็น สะสมโภชนะส่วนเกิน สะสมสารพิษ สิ้นเปลืองทรัพยากร และเวลาของชีวิต ที่ควรนำไปสร้างสรรค์สิ่งที่ดี และมีคุณค่ามากกว่าการมาใช้เวลาเพื่อการบริโภคในสิ่งที่ไม่จำเป็น

พอมาถึงจุดนี้ ผมเริ่มไม่เข้าใจสังคม ว่าเรากำลังทำอะไรกัน ทำไปทำไม เพื่ออะไร

มีเรื่องต้องหาคำอธิบายอีกเรื่องแล้วครับ

 

ขอบพระคุณครับ ที่มาให้กำลังใจ

ขอบคุณครับอาจารย์ ;)...

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

คนจำนวนมาก "รักตัวเองแบบไม่เข้าใจตัวเอง"

 

มักคิดว่า และชอบบอกว่า "รักตัวเอง" และ "รู้จักตัวเอง" มากที่สุด กว่าสิ่งอื่นใด

ที่มีวิธีการทดสอบง่ายๆ

โดย ลองให้อยู่กับตัวเอง ทำความรู้จักตัวเอง สักสองสามวัน คนกลุ่มนี้จะ "ทนไม่ได้" และ "ทำไม่ได้"

จะหงุดหงิด เบื่อ เหงา หว้าวุ่น เครียด ซึมเศร้า และหว้าเหว่ ฯลฯ

จะพยายามหาอะไรทำ อ่านหนังสือ ดูทีวี นอนหลับ ฯลฯ

เพื่อจะลืมตัวเอง


บางคนทนไม่ได้ ถึงระดับที่คิดจะ "ฆ่าตัวตาย" ก็มี

แค่ลองอยู่กับตัวเองสักสองสามวัน ก็ยังไม่ได้

แล้วยังกล้าคิด กล้าพูดว่า "รักตัวเอง" "เข้าใจตัวเอง" "รู้จักตัวเอง" ได้อย่างไร


นี่ก็แปลก แต่จริง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

เคล็ดของการมี "ความสุข"

คือ "การมองเห็นความสุข" ที่มีอยู่แล้วในตัวเรา

เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้ "ค่าของความสุข" ก็ต่อเมื่อความสุขที่มีนั้นได้หายไปแล้ว

เลยทำให้รู้สึกว่า "ไม่มีความสุขสักที" ไปวื่งไขว่คว้าหา "ความสุข" จากภายนอก

สรุปว่า "ความสุข" ที่มีอยู่มองไม่เห็น ที่พอจะนึกออก มันก็หายไปแล้ว

แปลกแต่จริง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

การอวยพร ที่ดี มีประโยชน์จริงๆ น่าจะเป็นอย่างไร

ในระยะสองสามวันนี้ ผมตามดูการอวยพรในทุกระบบ

พบว่า ส่วนใหญ่ "ยากที่จะเป็นจริง"

เช่น คำหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด  "ขอให้พบแต่สิ่งดีๆ"

คำนี้นะครับ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในระบบสังคมปัจจุบัน ที่เป็นระบบสังคม ที่สั่งสมปัญหามากมาย ซ้อนทับกันจนแทบแยกและนับชั้นที่ซ้อนกันอยู่ไม่ได้
 

ว่าง่ายๆเลยครับ ขนาดคนที่อวยพรนี้มาให้คนอื่น เท่าที่รู้ที่เห็น เท่าที่รู้จัก ก็ไม่เคยมีอะไร "ดีๆ" ให้คนอื่น เห็นมีแต่เรื่องไร้สาระ ทั้งกับตัวเอง และสิ่งรอบๆข้าง อย่างมากที่สุด ก็แค่คำอวยพรนี้เท่านั้น ที่ว่า "ดี"

แล้วจะหวังว่า คนอื่นๆ จะพบแต่สิ่งดีๆ กว่าเดิม มาจากไหน

ตามหลักพุทธ นะครับ
ทุกสิ่งเกิดมาแต่เหตุ

ชีวิตจะดีได้ ก็ต้องมีเหตุแห่งความดี จะพบสิ่งดีๆ ได้ก็ต้องฉลาดเลือกเส้นทางและการพัฒนาชีวิต

ดังนั้น หลักทางโลกเลยครับ

เราจะต้องเดินเข้าหาสิ่งดี และหลีกไกลจากสิ่งไม่ดี
 

และหลักทางธรรมก็คือ

หมั่นชำระจิตใจให้สะอาด ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง

แม้จะอยู่ในแวดล้อมของสิ่งเศร้าหมอง รอบตัว ก็ไม่ต้องไปรับเข้ามา รู้จักตัวเอง รู้จักกลั่นกรอง

เฉกเช่นเดียวกับต้นไม้ที่ฝังรากลงไปในดิน แต่มันก็ไม่เคยกินดิน

มันกินแต่น้ำ และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นโทษก็พยายามไม่รับเข้ามา

แม้พลาดรับเข้ามา ก็พยายามกำจัดออกไปอย่างรวดเร็ว

นี่คือกลไกการอยู่รอดของต้นไม้ ที่เชื่อกันว่า "ไม่มีสมอง"

แต่คนเรามีสมอง กลับทำในทางตรงกันข้าม
และพอตัวเองทำ ก็กลัวคนอื่นจะว่า ก็ไปชวนคนอื่นทำแบบ "นิทานหมาหางด้วน"

ดังนั้น

ผมเชื่อว่า การอวยพรที่ดีคือ คำพูดอะไรก็ได้ ที่...

"การอวยพรให้คนได้พัฒนาความสามารถในการ "กรอง" ให้สามารถรับแต่ "สิ่งดีๆ" เข้ามาสู่ระบบของชีวิต และ "กัน" ไม่ให้สิ่งไม่ดี ได้ผ่านเข้ามา และถ้าผ่านเข้ามา ก็ขอให้รีบกำจัดออกไปเสีย

จะพูดอย่างไรก็ได้
และคนที่พูดก็ควรต้องทำในสิ่งดีๆ ให้คนอื่นด้วย จึงจะเป็นคำอวยพรที่มีความหมาย

ผมคิดและเชื่ออย่างนี้ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ธกส. ช่วยชาติได้

เท่าที่ผมวิเคราะห์สถานการณ์ หนี้สินภาคเกษตรกรรม

พบว่า

หน่วยงานที่จะช่วยเหลือ "นักกู้" มีอาชีพ ระดับ อมตะนีรันดร์กาล ก็คือ ธกส.

และการช่วยนี้ สามารถทำง่ายมาก

แค่เปลี่ยนคำจำกัดความ ของ "ลูกค้าชั้นดี" เท่านั้นเอง

เป็น ว่า

"เป็นลูกค้าที่สามารถปลดหนี้ได้ ในเวลา 5   10  15 ปี"   ก็ว่ากันไป

ว่าแบบ ดีมากที่สุด ดีมาก และดี ธรรมดา

 

และลูกค้าที่มีแต่หนี้เพิ่มขึ้น หรือเป็นลูกค้ามาสิบปี หนี้ก็ยังไม่ลดลง

เป็น "ลูกค้าชั้นเลว เลวมาก และ เลวที่สุด" ตามความรุนแรงของปัญหา

และพวกที่ไม่มีแววจะใช้หนี้หมดในชาตินี้ เป็น

"ลูกค้า ทาสพันปี" หรือ "ลูกค้าระดับทาส 7 ชั่วโคตร" ก็ว่ากันไป

ผมว่า พวก นักกู้ "มืออาชีพ" จะได้มีโอกาส เข้าใจตัวเองบ้าง

และประเทศไทยจะมีทางรอดครับ

ง่ายแค่นี้เองครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

คำแนะนำ: การส่งพระมาให้ช่วยดูให้

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่แปลก......แต่จริง

แทบทุกคน ที่ส่งรูปพระมาให้ผมดู
ส่วนใหญ่จะพยายามอธิบายว่าพระได้มาอย่างไร ปู่ของปู่ หรือพ่อเก็บไว้นานเป็น 50 ปี หรือ ร้อยๆ ปีมาแล้ว

ช่วยดูให้หน่อยว่าแท้หรือเปล่า

ที่ส่วนใหญ่เกือบร้อย 100% "เก๊" แบบพระใหม่ๆ  หรือ เก๊ตาเปล่าทั้งนั้น บางองค์ไม่น่าจะเกินสิบปี

ถ้ามั่นใจในบรรพบุรุษของตน ยังต้องการนับถืออยู่ และคิดว่าแท้ เลี่ยมทองขึ้นคอเลย ก็ไม่ต้องส่งมาให้ผมหรือใครๆ ดูให้เสียเวลา

 
แต่ถ้าไม่แน่ใจ ก็ส่งมาได้ แบบไม่ต้องเล่านิทานประกอบฉาก 

เพราะยังไงๆ ผม "ไม่ใช้หูดูพระ" อยู่แล้ว

ผมใช้แต่ตาดูอย่างเดียว และวิเคราะห์ในระบบสมอง โดยไม่ผ่านหู

จึงเรียนมาเพื่อโปรดเข้าใจ วิธีการดูพระของผมครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

พุทธศิลป์

คำว่า "พุทธศิลป์" เป็นคำที่คนไม่มีหัวศิลป์ แบบผมเข้าใจยากมาก ว่า หมายถึงอะไร และแปลว่าอะไรกันแน่

เหมือนกับมีคนบอกว่า "ลูกคนนี้แววตาเหมือนปู่"

ที่ยากมากที่พ่อ แม่ หรือใครก็ตาม จะบอกใครให้รู้ได้โดยง่าย

ยกเว้น คนที่รู้จัก "ปู่" อย่างใกล้ชิด จึงจะรู้ว่าแปลว่าอะไร

ไม่ใช่แค่เคยเห็นหน้ามาครั้งหนึ่งแล้วจะจำได้

ดังนั้นการเข้าใจพุทธศิลป์ จึงเป็น Tacit knowledge ของการศึกษาพระเครื่องอย่างแท้จริง

ที่น่าจะยากสำหรับ "มือใหม่" หัดส่อง

ที่ผมขอแนะนำให้ศึกษา "เนื้อ" เชิงวิทยาศาสตร์ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

โดยดูคู่กับโครงสร้าง และองค์ประกอบขององค์พระ

โดยไม่ต้องเข้าหา "พุทธศิลป์"

น่าจะง่ายกว่ากันเยอะเลย

พอนานๆไป ก็จะเข้าใจ "พุทธศิลป์" ได้ง่ายขึ้น

นี่คือคำแนะนำจากประสบการณ์ตรงๆ ของผมเลยครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ผมศึกษา "พระเครื่อง" ทำไม (ตอบครั้งที่ 2599 อิอิอิอิ)

Kruasri Visetsuvarnabhumi เทพธิดาแห่งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาแซวผม
"เป้ เห็น อาจารย์ชอบ "พระเครื่อง" นะคะ...."

ผมคิดว่า ผมตอบประเด็นนี้หลายครั้ง ก็ยังมีคนแซวอีกบ่อยๆ
เลยขอตอบอีกครั้ง

ว่า.......................
 
เข้าใจผิดแล้วครับ ผมไม่ได้ชอบพระเครื่อง

แต่ผมเข้ามาเพื่อสร้างความรู้ให้กับวงการพระเครื่อง
โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์
...
ตอนนี้เขาใช้หลัก "ไสยศาสตร์" และวิชามาร เพื่อหาผลประโยชน์
ทำให้วงการนี้ สกปรกมากๆ
จนกระทั่งคนทุกคน ที่เข้าหาพุทธศาสนาโดยเส้นทางนี้โดนทำร้ายแทบทุกคน

ผมจึงมีเป้าหมายเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา
ช่วยให้คนเข้าหาศาสนาพุทธโดยเส้นทางนี้เดินได้ง่ายขึ้น

นอกจากผมแล้ว
ก็ยังไม่เห็นคนเรียนสายวิทยาศาสตร์คนไหน
ที่จะตั้งใจ และทุ่มเทกับการทำงานนี้

ผมไม่ทำแล้วจะมีคนทำไหมครับ

ปณิธานของผมทั้งชีวิต
ผมจะทำงานที่ไม่มีคนทำเท่านั้น ครับ

อิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (10)

อาจารย์ครับ คือว่าผมอยากเขียนถามอาจารย์ แต่ไม่รู้ต้องเขียนตรงไหนอาจารย์ถึงจะเห็น ผมเพิ่งสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกนะครับ ผมอยากรู้เกี่ยวกับพระบางกับพระคง ว่าทั้งสององค์นี้แตกต่างกันอย่างไร ช่วยตอบทีนะครับ

ต่างที่พิมพ์ครับ ไปดูเทียบเลยครับ หายากทั้งคู่ ผมยังไม่มีสักองค์เลย อิอิอิอิอิ

อาจาคย์คับการล้างพระทำไ้ด้ใหมคับช่วยแนะนำด้วยคับ

ไม่ควรทำจนกว่าจะเรียนการดูพระจบ

เพราะเนื้อพระมีประวัติให้อ่าน ยิ่งมีมากยิ่งดี

การล้างคือการทำลายหน้าประวัติศาสตร์บางหน้าออกไป

ที่จะดี ถ้าเราอ่านออกแล้วและรู้แล้วว่าหน้านั้นไม่มีประโยชน์อะไร

 

แต่ถ้าเรายังอ่านไม่เป็น ไปล้างมั่ว จะมีโอกาสเสียมากกว่าดี

 

อิอิอิอิอิอิอิอิ

อาจารย์ครับ ผมเพิ่งหัดดูพระมาไม่นานอยากได้แนวทางและวิธีการดูพระแท้ควรเริ่มจากตรงไหน ถ้าอยากจะรบกวนให้อาจารย์ช่วยสอนจะต้องทำอย่างไรบ้างครับ

เป็นในครึ่งชั่วโมง ต้องมาที่ขอนแก่นครับ คุ้มค่าเวลาแน่นอน อิอิอิอิอิอิ

ไม่งั้นก็เรียนทางเนต ทางโทรศัพท์ อาจจะสองสามปีมั้งครับ

 

แล้วแต่สะดวก ทุกทาง ฟรี ครับ

 

อาจารย์ครับพระรอดเนื้อเรซิ่นจะมีสีและแตกต่างจากเนื้อดินยังไงครับและความย่นของเนื้อสามารถทำปลอมได้ไหมครับ

 

พระรอดเนื้อดินไม่มีครับ มีแต่เนื้อหิน เรซินจะเนื้ออ่อนกว่า และไม่เกิดสนิมครับ

แล้วสนิมที่เกิดขึ้นมาบนเนื้อพระรอดจะมีลักษณะที่แตกต่างกันมากไหมครับเช่นสีของสนิมหน่ะครับจะมีสีเป็นอย่างไรครับอาจารย์

 

ก็สนืมเหล็ก แบบเดียวกิบหินอัคนี (หินภูเขาไฟ)ผุนะครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ชีวิต คือ ละคร

ที่ใครๆก็ว่า มีสุข มีทุกข์ คละเคล้ากันไป

ผมคิดว่า "ไม่น่าจะจริงเช่นนั้น เสมอไป"

แต่.....ที่เกิดขึ้นมาในแบบนั้น ก็น่าจะมาจาก

คนส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจ  ประมาทชีวิต และปล่อยให้คนอื่นเขียนบทให้ กำกับให้ โดยตัวเองทำหน้าที่แสดงอย่างเดียว

ก็เลย "ทุกขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข์" สาหัสครับ

ผมเห็นตัวอย่างในชีวิตจริง จากคนที่เขาไม่ทุกข์ และเมื่อตัวเองตั้งใจจริง ก็จะทำได้จริง

แม้.......เขาเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกทำ และเลือกรูปแบบของชีวิตได้

เลือกบท เขียนบท กำกับเอง และแสดงเอง อย่างถูกต้อง เพื่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมแห่งความสุข

ที่เมื่อเขียนเอง แสดงเองแล้ว ก็ย่อมไม่เบียนเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม

ให้เกิดความสับสน วุ่นวาย

ผลก็คือ ตัวเองจึงไม่ทุกข์ มีแต่ความสะดวก สบาย สงบ

ผมว่า "ละคร" แบบนี้ น่าจะดีกว่าเยอะเลย

อิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

"ฉลอง" ที่ไหนดี

มีคนชอบถามทุกวาระ ว่า.....ไป "ฉลอง" ที่ไหน

ผมเข้าใจ และตีความว่า "ไปทำอะไรพิเศษๆ" ให้กับชีวิต ที่ไหน

ผมเลยตอบว่า....

ขนาดผมไม่ได้ชื่อว่า "ฉลอง" แต่ชีวิตของผม "ฉลอง" ทุกวัน

เลยไม่ต้องออกไปไหน 
 
เพราะ จากประสบการณ์มาตั้งแต่เด็ก จนถึงปัจจุบัน

พอบอกว่า "ไปฉลอง" อะไรก็ตาม

ผลที่เกิดขึ้น มันมักจะตรงข้าม

และ

ไปก็ลำบาก และ มักกลับมา ลำบากกว่าเดิม

ผมเลยตัดสินว่า "ฉลองอยู่ที่บ้านดีกว่า"
 
และ ถ้าจะออกนอกบ้านไป "ฉลอง" ที่ไหน ทำอะไร ขอไปกับคนที่ "รู้ใจ" จะดีที่สุด

ที่เป็นการ "ฉลอง" ที่ผมเชื่อว่าเป็น "ของจริง" กว่า

ผมเห็นมาอย่างนี้ จึงคิดอย่างนี้ และ "พยายาม" ทำอย่างนี้มาตลอดชีวิตครับ

อิอิอิอิอิอิอิ



ความเห็น (5)

อ่านแล้วรู้สึกดีครับ ผมเองก็เห็นด้วยว่าพักผ่อนอยู่ที่บ้านตัวเองสบายที่สุดครับ

ครับ มีที่ไหนในโลก ที่จะสบายใจเท่าได้อยู่กับ "คนรู้ใจ" ละครับ อิอิอิอิอิอิ

เดี๋ยวผมไปหา "คนรู้ใจ" ก่อน อยู่ไหนน้า ;)...

อิอิ ตัวเราเอง ไง

ใครจะมารู้ใจเราเท่าตัวเราเอง จริงป่ะ 5555

555

ขอบคุณครับอาจารย์ ;)...

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

กลยุทธ์การตลาด "พระกรุใหม่"

เป็นวิธีการที่โรงงานพระเก๊ทั้งหลาย แสดงอาการ "ยอมรับ" ว่าฝีมือตัวเองไม่ถึงที่จะทำพระเก๊ให้เหมือน "กรุเก่า"

แต่ "ไม่ยอมแพ้"  จึงหาวิธีใหม่  โดยใช้กลยุทธ์ "พระกรุใหม่" 

โดยการสร้างพระเก๊ ไปฝังไว้ แล้วให้คนไปขุดเจอโดยบังเอิญ หรือโดยตั้งใจก็แล้วแต่

แล้วก็มีการประชาสัมพันธ์กันโด่งดัง ปั่นกระแสการตลาด

ที่ผ่านมาในอดีต

มีบางครั้งที่เป็นจริง เป็นพระเก่าที่พบใหม่

ที่พอจริงจริงแบบ "กึ่งๆ" ก็มี เป็นกรุเก็บพระที่สร้างในยุคหลังๆ

แต่ระยะหลังๆนี้ มักเป็นพระใหม่ๆ กรุสมมติ หรือเป็นพระข้ามยุค ข้ามศิลปะไปเลย แต่นำมาฝังรวมกัน
 
ที่ค่อยๆหมุนไปเรื่อยๆ ทั่วประเทศ

สองปีที่แล้วก็ภาคเหนือตอนล่าง ปีที่แล้วก็ภาคกลางตอนบน  ปีที่ผ่านมาก็ภาคอีสาน

คนเล่นพระที่แม้แต่ กรุเก่า ก็ยังดูไม่เป็น มีแนวโน้มจะวิ่งตาม "กรุใหม่" ได้โดยง่าย

กลยุทธ์ระบบการตลาดแบบนี้มีทุกวงการ

เช่น แชร์ลูกโซ่ ธุรกิจหลอกลวง สินค้าขยะ ขายตรง ชิงโชคไร้สาระ และ การเกษตรเพ้อฝันสารพัดรูปแบบ เป็นต้น


 พวกตื่นตัวเร็ว ที่ภาษาวิชาการว่า Early Innovators หรือ Early Birds แต่ไม่รอบคอบ ความรู้ไม่พอใช้ ก็มักจะเป็นเหยื่อเขาทุกครั้ง

การตื่นตัวเร็วเป็นข้อดี แต่เราควรอยู่กับความรู้ที่พอใช้ อะไรจะมา ไม่ว่าใหม่หรือเก่า  ก็ใช้ความรู้เข้าไปจับโอกาสพลาดน้อยครับ

ดังคำพระท่านสอนว่า

"ไม่หลงของเก่า ไม่เมาของใหม่ เป็นหัวใจของการพัฒนา"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ข้อแนะนำสำหรับ "มือใหม่ หัดส่อง"

การเริ่มดูพระจากการ "ดูพิมพ์" เหมาะสำหรับ

1. คนที่ต้องการศึกษาพระพิมพ์เดียววัดเดียว และ

2. มีระบบความจำในสมอง "ไม่จำกัด"

3. เป็นคนที่เห็นอะไรจำรายละเอียดและสาระสำคัญได้หมด

แต่....

การดูเนื้อเหมาะสำหรับ

1. คนที่มีระบบความจำในสมอง "จำกัด" แต่

2. ต้องการศึกษาพระแบบทั่วไป ไม่จำกัดวัด ไม่จำกัดพิมพ์ครับ

และ "มือใหม่" ควรเริ่มที่เนื้อ เพราะ

ไม่มีพระเนื้อปลอมได้เหมือน หรือแม้เนื้อใกล้เคียงก็หายากมากในสนามพระ
แต่

พิมพ์ปลอมได้เหมือนมากๆ มีมากมาย และส่วนใหญ่ก็ใกล้เคียงมากๆ ทั้งนั้น

ที่จะทำให้มือใหม่หลงทางง่ายๆ ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

มีคนส่งเมล์มาขอให้ผมช่วยสอนวิธีการดูพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังทั้ง 5 พิมพ์

ผมตอบไปว่า.......

ผมไม่สอน และไม่แนะนำให้มือใหม่เน้นการดูพิมพ์ครับ
เพราะปลอมง่าย ทำได้รวดเร็วด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
ใกล้เคียงและดูยาก 
ต้องใช้เวลาศึกษามาก
ใช้ระบบความจำมาก
ลองไปดูบันทึกและตำราที่ผมเขียนไว้นะครับ
...
แต่ผมคิดตรงกันข้าม

ผมสอนการดูเนื้อที่ยังปลอมไม่ได้
ถ้าเนื้อได้ พิมพ์ไหนผมก็เล่นครับ

พระเนื้อผงมีเป็นร้อยๆวัด
ที่มีหลักของการดูเนื้อแบบเดียวกันหมด

แต่พิมพ์นั้นมีเป็นพันๆ
สมองผมมีขีดจำกัดไม่พอที่จะจำได้หมดครับ

เฉพาะวัดระฆังก็มีจุดที่ต้องจำเป็นหลายร้อยจุดแล้วครับ
ผมยังจำได้ไม่หมดเลย

ถ้าสนใจการดูพิมพ์ไปซื้อหนังสือตำราพระสมเด็จ ในตลาด เยอะแยะครับ พระทุกองค์ในหนังสือ สวยกว่าที่ผมมีเสียด้วย

แต่....
ถ้าสนใจเรียนการดูเนื้อ
ไปอ่านหนังสือที่ผมเขียนไว้ วางขายที่ SE-ED ทั่วประเทศ

หรือโทรมาคุย "ฟรี" ที่ DTAC 0897119684 AIS0811832323 ครับ



ความเห็น (2)

หนังสือชื่่อว่าอะไรครับ

จะไปหามาศึกษาของอาจารย์อะครับ

ตามชื่อพระเลยครับ  พระสมเด็จก็ชื่อว่า "พระสมเด็จ"  พระอื่นๆก็เหมือนกันครับ

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ปุจฉา-วิสัชนา เปรียบเทียบ พระกรุศรีเทพ กับพระกรุนาดูน

มีคนส่งเมล์มา ถาม.........

สวัสดีครับอาจารย์   ผมอยากจะทราบข้อมูลพระกรุศรีเทพหน่อยครับ  ว่ามีอยู่จริงหรือเปล่าครับ   ถ้ามีอยู่จริง ทำไม เขาไม่ค่อยนิยม   และส่วนในอินเตอร์เน็ตเขาก็ว่าเก๊ยกกรุ  กระผมขอขอบพระคุณครับ

ผมตอบไปว่า................................

ผมก็สนใจพระกรุนี้ จึงเดินทางไปศึกษาหลายครั้งหลายมิติแล้ว ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ และระบบตลาดพระ

พบว่า
ปัญหาอยู่ที่......................

1. หลักฐานทางโบราณคดีไม่ชัดเจน และขัดแย้งกับระบบพระที่วางขายในตลาด
2. พระที่พบไม่เด่นมากนัก ธรรมดาๆ และมีไม่มากพอที่วงการจะตื่นตัว
3. พระยัดกรุเยอะมาก หลายแบบหลายรุ่น
4. ไม่มีคนโปรโมทจริงจัง มีแต่เล่นเฉยๆ

ที่ถ้าเทียบกับพระกรุนาดูน จะตรงกันข้ามกันเกือบทุกข้อเลยครับ โดยเฉพาะข้อ 4 มีคนเล่นพระนาดูนเป็นหลักอยูจำนวนมาก โดยเฉพาะที่มหาสารคาม

แต่ข้อ 3 นั้นของกรุนาดูนเพิ่งจะมีพระยัดกรุ ในขณะที่กรุศรีเทพมีมานานแล้ว

ข้อมูลผมมีประมาณนี้ครับ



ความเห็น (2)

อาจารย์ครับ  ผมอยากทราบข้อมูลพระนางพญา กรุวัดราษฯ ที่แตกล่าสุด  ว่าทันพระนางพญาที่เขานิยมกันหรือไม่ครับ   คือผมได้พิมพ์เข่าโค้งมา 1 องค์   ดูในเน็ตฯ   เขาว่าหลวงพ่ออ่ำ ฯ   เป็นผู้สร้างยัดกรุ   มีอีกเรื่องครับพระกรุศรีเทพ  ที่ผมได้มา  คือคุณตาผมเขาไปทำงานที่พิพิธฯ  เมื่อประมาณ ปี 34  และสอบถามกับคนที่ไปทำงานกับคุณตา  ว่าได้กันมาคนละ 4-5 องค์   โดนซ่อนเอาออกมา    มีเรื่องรบกวนแค่นี้แหละครับ

ดูเนื้อเป็นหลัก ดูพุทธศิลป์เป็นรองครับ ส่งรูปชัดๆมาก็ได้ครับ


 

ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

คนมาถามว่า:
ท่านเคยเจอประสบการณ์จากที่มีพระรอดไว้บูชาอย่างไรบ้างครับท่าน?

ผมตอบว่า:
ผมไม่เล่นพุทธคุณ ที่เป็นหลักไสยศาสตร์ ผมเล่นประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ผมเรียนมาสายนี้ ไสยศาสตร์ไม่เคยเรียนครับ เลยไม่ทราบ ไม่มีตัวชีวัด และวัดไม่เป็นครับ

เขาถามต่อว่า:
แล้วเป้าหมายในการเล่นพระของท่านคืออะไรครับ?

ผมตอบว่า:
เพื่อทราบว่าพระเก่าและใหม่ แท้และเก๊ต่างกันอย่างไร
เพื่อทำให้ทุกคนรู้เท่าๆกัน การโกหกหลอกลวงน่าจะลดลงนะครับ
และจรรโลงพระศาสนา
เปิดทางให้คนอยากปฏิบัตืธรรมเส้นนี้ไม่โดนทำร้ายครับ

ตอนนี้ตลาดพระสกปรกมาก และคนจะเข้าหาพระถูกทำร้ายตลอดเวลา น่าสงสารมาก

คือ เราน่าจะใช้หลักเดียวกับการซื้อขายทอง เพราะแพงมาก และบางองค์น้ำหนักเท่ากันแพงกว่าทองเสียอีก

ใครขายพระเก๊ควรถูกฟ้อง และโดนลงโทษสถานหนัก

แบบเดียวกับขายทองเก๊
โรงงานพระเก๊ควรถูกทำลาย แบบเดียวกับการทำเหรียญเก๊ หรือเงินเก๊

เพราะคนซื้อทองยังไม่เคยต้อง "ดูเอาเอง" เลย ทำไมซื้อต้อง "ดูเอาเอง" เก๊ก็บอกว่าเก๊ แท้ก็บแกว่าแท้ แบบขายทองแท้ ทองชุบ หรือทองเหลืองทำสีคล้ายทองไม่ได้หรืออย่างไร

แล้วให้คนซื้อเขาเลือกหยิบเอง ใตรโกหก ถิอว่า "โกง"
 
ถ้าเป็นใจผมนะใครขาย หรือผลิตพระเก๊ขั้นต่ำควรโดนจำคุกครับ

คำถามนี้คนถามบ่อย และผมก็ตอบซ้ำๆ จนเซ็งแล้ว

เลิกถามและเลิกเล่นพระเก๊ เลิกขายพระเก๊กันได้ไหมครับ
ตลาดพระจะได้สะอาดสมคำว่า "พระ" อีกสักหน่อยนะครับ

อิอิอิอิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท