ดอกไม้


ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

หลักง่ายๆในการดู "พระกรุ" แท้ๆ อย่างรวดเร็ว เมื่อไปเดินตลาดพระ

1. หลากโทนสี ทั้งแนวราบ(บนพื้นผิว) และแนวดิ่ง (การงอกทับกันหรือตามรอยสึกกร่อน)
2. ผุหรือกร่อนอย่างน้อยสองแบบ คือจากในกรุ (รอบองค์เสมอกัน) และจากการใช้ (ส่วนนูน)
3. เนื้อในแกร่งแน่น เนื้อนอก(ตามร่องที่ผิวยังเหลือ)จะดูยุ่ย
4. ศิลปะ มีที่มาชัดเจน (ต้องศึกษาพุทธศิลป์ของแต่ละยุคแต่ละเมือง)
5. มีพิมพ์ทรง และตำหนิถูกต้อง

แล้วจึงค่อยขอส่อง เพื่อดู

6. มีชั้นต่างๆครบ ตามหลักการแต่ละเนื้อ ทั้งดินและโลหะ
7. ถ้ามีเม็ดทราย ผิวนอกจะต้องมน และกร่อนเป็นริ้วละเอียดทุกเม็ด และมักมีร่องทรายรอบเม็ด
8. ถ้าดินดิบ จะฉ่ำใน แห้งนอก (ถ้าแก่ว่านจะฉ่ำทั้งในและนอก)
9. ถ้าดินเผา จะเห็นชั้นของการเผา และชั้นของการผุสวนทางกัน
10. พระรอดเนื้อหินเผา เนื้อจะต้องเป็นหินกร่อน มีทั้งชั้นการเผา และชั้นการผุสวนทางกัน

เห็นดังนี้แล้วจึงค่อยหยิบ

สำหรับคนที่ดูเป็นจริงๆแล้ว ดูชัดๆเพียงข้อเดียวก็ผ่านเลยครับ

7
1
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ความยากในการส่องพระสมเด็จ มีสองขั้นตอน

ขั้นที่ 1. ดูพระเก๊เป็นพระแท้ และ
ขั้นที่ 2. ดูพระแท้เป็นพระเก๊

ขั้นแรกมาจากยังตามฝีมือช่างไม่ทัน เห็นอะไรก็ดูแท้ไปหมด

ขั้นที่สอง เริ่มตามฝีมือช่างทันบ้าง แต่ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายของเนื้อพระสมเด็จยังไม่พอ เห็นแปลกๆ ก็ตีเก๊ไว้ก่อน

ดังนั้น จึงต้องมาทำความเข้าใจถึงความหลากหลายของ
...
ก. ระดับปูนดิบ มาก ปานกลาง น้อย
ข. ระดับปูนสุก มาก ปานกลาง น้อย
ค. ระดับตั้งอิ้ว มาก ปานกลาง น้อย

แค่นี้ก็มีตั้ง 3x3x3 =27 แบบ แล้ว

ยังจะมี
ก. เนื้อปากครก ก้นครก เนื้อหยาบ เนื้อละเอียด
ข. การกดพิมพ์ แน่น ไม่แน่น เนื้อหนา เนื้อบาง

หลังจากนั้น ก็จะมีการลงรักแบบต่างๆ หรือไม่ลงรัก
การเก็บไว้ในที่ ร้อน เย็น แห้ง ชื้น
และการใช้งานแบบต่างๆ
การล้าง การดูแล การใส่ตลับ การเลี่ยมกรอบ

สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อผิวและเนื้อพระแท้
ที่ทำให้พระสมเด็จเนื้อผงปูนเปลือกหอยแต่ละองค์แทบจะไม่เหมือนกันเลย

ผมลองนั่งส่องวันนี้ ทึ่งจริงๆ บางองค์ยังอ่านกระบวนการยังไม่ออกเลย

ยังไม่ต้องพูดถึงองค์ที่เรายังไม่เคยเห็น

ดังนั้น แม้จะมีสองร้อยองค์ ก็จะยังหาที่เนื้อเหมือนกันได้ยาก

แล้วเราจะไปเคยเห็นเนื้อพระหมดทุกแบบ จนผ่านขั้นที่สอง ได้อย่างไร

คงจะต้องตีเก๊พระแท้ไปอีกนานพอสมควรทีเดียว

นี่คือปัญหาของผมในวันนี้ครับ

อิอิอิอิอิอิอิ

7
2
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

เมื่อวาน 18 เมย 56 มีนักเรียนรุ่นใหญ่ ที่เป็นนักธุรกิจรุ่นกลางๆ จาก กทม ขับรถเบนซ์มาเรียนวิธีดู พระเนื้อผง เนื้อดิน และเนื้อชิน ที่บ้านผม

ขนพระเก๊มา 2 กระเป๋าใหญ่ ผมใช้เวลาดู ทั้งหมดประมาณ 10 นาที ก็ตีเก๊ได้หมดทุกกล่อง
โดยการดูทีละกล่อง เพราะเก๊ตาเปล่าล้วนๆ รวมแล้วเกือบร้อยกล่อง
ที่น่าจะมีทุนการหยิบมาหลายล้าน มีเลี่ยมทอง ตลับทอง ไม่ต่ำกว่า 20 องค์ เต็มสองกล่อง

ผล...... เก๊ 100%

หลังจากนั้น ผมก็ให้หัดดู "วัสดุการสอน" ของแท้ ทั้งเปลือกหอย ดิน หิน ทราย ฯลฯ

พอทดสอบความรู้แล้ว จึงให้เริ่มดูจากพระแท้ดูง่าย ไปหาพระแท้ดูยาก

พอดูเป็น ก็เริ่มอธิบายหลักการดูพระแท้ ทีละองค์

โดยเน้นหลักการ และพัฒนาการของพระแต่ละเนื้อ

ทำให้เขาเพิ่งเข้าใจวิธีการดูพระแท้
และรู้ว่าตัวเองหลงทางมานาน หมดไปหลายล้าน

พออธิบายจบ ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

เขาก็พูดออกมาอย่างโล่งใจ ว่า

"ผมรู้สึกว่า "ดูพระแท้ เป็นแล้ว" อย่างน้อยก็อีกระดับหนึ่ง"

เป็นเช่นนี้เอง
555555

11
1
ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เขียนเมื่อ

หลักที่สำคัญในการดูพระเนื้อโลหะโบราณ ที่มักจะมีโลหะปะปนกันมากมายแบบโละโบราณ

จึงจำง่ายๆ ว่า

"คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนกลับบ้านได้"

หมายถึง

1. การดูพระเนื้อโลหะโบราณแท้ๆ นั้น สนิมต้องมีอย่างน้อยที่สุด 2 ชนิด มีชนิดเดียว แบบเดียว วางเลย เพราะเก๊แน่นอน
2. แต่ควรจะมี ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป จึงจะมั่นใจได้
และ ที่สำคัญพอๆกัน ก็คือ
3. สีของสนิมต้องตรงกับชนิดโลหะที่มีอยูในเนื้อพระนั้นๆ เท่านั้น
...
ดังนั้น
ถ้าสนิมมีชนิดเดียว และหรือชนิดสนิมไม่ตรงกับโลหะในเนื้อพระนั้นๆ  แม้แต่ชนิดเดียว ก็ต้องวาง "นำกลับบ้านไม่ได้" ครับ

อิอิอิอิอิอิ


9
2
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท