อนุทินล่าสุด


สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

จริงๆ เราไม่ติดเรื่องที่วินทร์จะเขียนโปรเลือดน้ำเงิน โปรเจ้าอะไรนะ คือด้วยบริบท (พอเขียนคำว่าบริบทแล้วดูเท่เลยสัส) อ่อ คือฉากของเรื่องมันอยู่ในแดน 6 เรือนจำบางขวาง สถานที่ที่คุมนักโทษการเมือง ตัวเอกและคนอื่นๆ ที่อยู่ในคุกนี้ก็มาจากคดีฐานก่อกบฏบวรเดช จะให้คนในนั้นพูดเชิดชูถึงความสวยงามของคณะราษฎร์ที่ออกมาปฏิวัติก็ดูจะไม่ใช่...

อ่านต่อได้ที่:https://freeclubblog.wordp">https://freeclubblog.wordpress...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

แผ่นดินอื่นเป็นผลงานรวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ปี 2539 ของคุณกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักเขียนชาวอ.ควนขนุน จ.พัทลุง คุณกนกพงศ์เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2509 มีผลงานทั้งที่เป็นบทกวี และเรื่องสั้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับ และได้รับรางวัลหลายครั้ง โดยเฉพาะงานเขียนเรื่องสั้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สะท้อนภาพสังคมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นบ้านเกิดของเขา โดยเฉพาะเรื่องราวความขัดแย้งรุนแรงทั้งในแง่วัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง 

คุณกนกพงศ์เสียชีวิตด้วยอาการน้ำท่วมปอดจากโรคปอดชื้น ในเช้าวันที่ 13 กพ. 2549 ด้วยอายุเพียง 40 ปี

แผ่นดินอื่นเป็นหนังสืออีกเล่มที่ดิฉันใช้เวลาในการอ่านหลายวัน เพราะเนื้อหาที่นำเสนอสะท้านสะเทือนใจ อ่านเรื่องหนึ่งจบก็มีการพักให้น้ำก่อน หลายเรื่องที่อ่านเจอแล้วคิดว่าช่างโหดร้าย รุนแรง (แล้ว) ก็ยังได้พบสิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นอีก การเล่าเรื่องของคุณกนกพงศ์เป็นไปอย่างหนักแน่น สำเนียงสั้นกระชับ แต่ก็ฟังเพลิน ได้อารมณ์ เหมือนที่รู้สึกกับสำเนียงทางใต้ แม้เนื้อหาจะหนักหน่วง รุนแรง แต่ภาษาก็ประณีตงดงามค่ะ....

อ่านต่อได้ที่:https://www.bloggang.com/mainb...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

   พันท้ายนรสิงห์ มีนามเดิมว่า สิงห์ แต่ก่อนท่านก็เป็นนักมวยที่เก่งมากและก็เคยขึ้นชกกับพระเจ้าเสือมาแล้ว แต่ว่าเสมอกัน พระเจ้าเสือรู้สึกประทับใจจึงให้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก แล้วเลื่อนขึ้นมาเป็นราชองครักษ์

พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)  ได้รับ   ยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต  จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต 

                เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฏ    อยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ  ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ.๒๒๔๖ - ๒๒๕๒   สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่๘ ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง     การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีในครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ...

อ่านต่อได้ที่:http://oknation.nationtv.tv/bl...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

เด็กๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับ พระอุ้มหมา ชีอุ้มแมว ตำนานสุดสะพรึง ที่ทำเอาคนในยุคนั้นไม่กล้าเข้าใกล้พระหรือแม่ชีกันเลยทีเดียว

     เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกเล่าลือกันมานานแล้วว่า จะมีพระอุ้มสุนัขสีดำ และแม่ชีอุ้มแมวสีดำ เดินคู่กันและจะเดินไปเรื่อยๆตามบ้านต่างๆ จากนั้นจะร้องเรียกหรือเคาะประตูบ้านของชาวบ้านในระแวกนั้น หากใครที่เผลอขานรับหรือเปิดประตูต้อนรับพร้อมกับสบตาพระ แม่ชี คู่นั้นเข้า ผู้นั้นก็จะตายในทันทีแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือหากใครเคยพูดคุยกับพระและแม่ชีคู่นี้ก็จะต้องมีอันเป็นไปในไม่ช้า...

อ่านต่อได้ที่:https://horoscope.thaiza.com/c...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ไร่ มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดมหาสารคาม

พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ 700,000 ไร่ อยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณอำเภอโพนทราย อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอปทุมรัตน์

สาเหตุที่ทุ่งนี้มีชื่อว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาแสนนาน และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ บนสถานที่แห่งนี้ มีเรื่องเล่ากันมาว่า

ชนเผ่ากุลา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศมอญ (ปัจจุบันประเทศมอญได้ถูกพม่ายึดไป)  กุลากลุ่มนี้มีอาชีพค้าขายระหว่างเมือง นำสินค้าประเภทสีย้อมผ้า เครื่องทองเหลืองต่าง ๆ...

อ่านต่อได้ที่ : https://esan108.com/%E0%B8%97%...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

   หากพูดถึงเรื่องราวของ พญานาค สัตว์ในตำนาน เชื่อว่าหลายคนคุ้นชื่อจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ในคืนวัน 15 ค่ำเดือน 11 อีกทั้งมักมีข่าวรอยประหลาดที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นรอยพญานาคปรากฏอยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงมีการนำมาสร้างเป็นละครเพื่อความบันเทิง เรียกได้ว่าเป็นความเชื่อที่สั่งสมมาช้านาน จากเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้หลายคนอยากรู้ถึงความจริงที่มีการถกเถียงกันมานานว่า พญานาคมีจริงหรือไม่ และเรื่องเล่า ตำนานที่มีมาแต่โบราณเป็นอย่างไร ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่ครอบคลุมทุกเรื่องราวของพญานาคมาฝากกัน...

อ่านต่อได้ที่:https://hilight.kapook.com/vie...

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

  ตำนานเล่าว่า มีแม่และลูกชายซึ่งเป็นชาวนายากจน ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ชายทุ่ง ตั้งแต่พ่อถึงแก่กรรมแล้วเป็นหน้าที่ของลูกชายจะต้องไถนา ส่วนแม่อยู่หุงหาอาหาร ตักบาตรพระ เสร็จแล้วแม่จะนำก่องข้าวไปส่งลูกชายที่นาเพื่อให้ทันมื้อเที่ยง
          วันหนึ่งแม่รู้สึกไม่สบายและนอนตื่นสาย แต่ด้วยความเป็นห่วงลูก จึงรีบเร่งเอาอาหาร
ใส่ก่องข้าว เนื่องจากที่นาอยู่ไกลบ้าน ประกอบกับความชรา และรู้สึกว่าตัวเองเป็นไข้ จึงไปที่นาบ่าช้าผิดไปจากวันก่อนๆ ฝ่ายลูกชายเฝ้ารอแม่จนเลยเที่ยงวัน อาหารมื้อเช้ายังไม่ได้ตกถึงท้องจึงรู้สึกหิวและตาลาย ยิ่งเห็นแม่เดินมาแสนล่าช้าและเห็นก่องข้าวใบเล็กจึงทำให้โมโหหนักขึ้น เมื่อแม่เดินงกๆ เงิ่นๆ เข้ามาใกล้ๆ ...

อ่านต่อได้ที่:https://thaiculturebuu.wordpre...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

ม้าก้านกล้วย เป็นกวีนิพนธ์ แต่งโดยไพวรินทร์ ขาวงาม โดยอาศัยจินตนาการจากวัยเยาว์ เชื่อมโยงเข้ากับโลกปัจจุบันที่เติบวัยและเติบโตเชิงความคิด เป็นความผูกพันของนักเขียนที่ยังไม่ลืมถิ่นเก่าบ้านเกิด แม้จะมาใช้ชีวิตเพื่อหน้าที่การงานในกรุงเทพฯ แต่อารมณ์ “ถวิลหา” ต่อทุ่งนา และน้ำใสใจจริงของคนชนบทยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย และเป็นจุดเริ่มให้กวีอาสาเป็น “สารถี” ขี่ม้าก้านกล้วยหนีโลกแห่งความแออัดแบบวิถีเมือง ทะยานสู่โลกแห่งความงามธรรมชาติแบบวิถีชนบท เพื่อนำมาสู่การตริตรองและแสวงหา “ถิ่นใด” ที่ควรค่าแก่การรอนแรมมาพักพิง และชื่นชมความงามในระดับจิตวิญญาณ...

อ่านต่อได้ที่ :https://wikivisually.com/lang-...

รูป:http://www.rimkhobfabooks.com



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

วันที่ 30 ต.ค. ที่มติชนอคาเดมี สโมสรศิลปวัฒนธรรมจัดเสวนา อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ และพระบารมีของพระเจ้าตาก โดยอาจารย์ปรามินทร์ เครือทอง นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ผู้เขียนหนังสือชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี, พระเจ้าตากเบื้องต้น และอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์และพระบารมีของพระเจ้าตาก กล่าวว่า ข้อมูลจากหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ปรากฏบันทึกเรื่องราวปาฏิหาริย์ของพระเจ้าตากสินตั้งแต่เกิด โดยเฉพาะเมื่อเป็นพระยาตากในปี 2309 เรื่อยมาจนถึงปี 2314 เกิดปาฏิหาริย์หลายครั้ง เช่น เกิดฝนตกห่าใหญ่ก่อนการรบกับพม่า ทรงทำพิธีเรียกฝน ถูกยิงไม่ตาย เรียกน้ำ สั่งลม ทำให้คลื่นลมสงบ แต่หลังจากนั้นไม่พบว่ามีปาฏิหาริย์อีกจนสิ้นกรุงธนบุรีในปี 2325 

พระยาตากเป็นขุนนางในเมืองเล็กๆ แต่เป็นคนเก่ง คุมเส้นทางการค้าในลุ่มแม่น้ำยม.............................

อ่านต่อได้ที่:https://www.khaosod.co.th/view...

รูป:Thai Tribune





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

    รวมเรื่องสั้น "สิงโตนอกคอก" คว้ารางวัลซีไรต์ 2560 ยกเนื้อหาท้าทายความคิดผู้อ่าน ภาษาง่ายแต่คมคาย

           วันที่ 6 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาแล้ว มีมติว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช 2560 ได้แก่ รวมเรื่องสั้น สิงโตนอกคอก ของ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท โดยมีคำประกาศรางวัล ดังนี้

           รวมเรื่องสั้น สิงโตนอกคอก ของ จิตานันท์ เหลืองเพียรสมุท ซึ่งประกอบด้วยเรื่องสั้นจำนวน 9 เรื่อง มีเนื้อหาหลากหลายที่ตั้งคำถามและวิพากษ์ความเป็นมนุษย์ อำนาจนิยม มายาคติของความรู้และความเชื่อในสังคม ท้าทายความคิดของผู้อ่าน ทำให้ย้อนกลับมาใคร่ครวญถึงสังคมที่เราอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
 
           ด้านกลวิธีใช้การเล่าเรื่องแบบอุปมานิทัศน์ (allegory) ที่มีโครงสร้างของเรื่องซ้อนกันหลายชั้นอย่างสัมพันธ์กัน โดยเชื่อมโยงตัวบทอื่น ๆ เช่น ตำนานและเรื่องเล่าที่ผู้อ่านคุ้นเคย การสร้างตัวละครและฉากที่ไม่อยู่ในบริบทสังคมไทยเป็นการข้ามพรมแดนของการเล่าเรื่องไปสู่ความเป็นสากล ผู้เขียนใช้ภาษาในการเล่าเรื่องอย่างเรียบง่ายทว่าลุ่มลึกและคมคาย จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้รวมเรื่องสั้น "สิงโตนอกคอก" ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช 2560

    อ่านต่อได้ที่:https://hilight.kapook.com/vie...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สุรศักดิ์ ปิสายะโส
เขียนเมื่อ

ระวังนะจ้ะน้องสาว นี่รถยนต์นะ ไม่ใช่กระดอ เวลาชนจะได้สนุก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท