ดอกไม้


ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

นิทานอีสป

นิทานอีสป นับว่าเป็นนิทานที่ได้รับความนิยมและเชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากที่สุดรวมถึงในประเทศไทย นอกจากจะมีเรื่องราวที่สนุกสนานแล้ว ด้านหลังเล่มยังมีคติสอนใจจากเนื้อเรื่องด้วยประโยคจำที่ว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ….” ตอนนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับที่ไปที่มาของ นิทานอีสป ว่ามีต้นกำเนิดมาจากที่ใด และเกิดการแพร่หลายมาจนถึงบ้านเราได้อย่างไร

อีสป เป็นชื่อของชายคนหนึ่งซึ่งเกิดในเมืองฟรีเยีย ราว 620 - 560 ปีก่อนคริสตกาล หรือก่อนสมัยพุทธกาลเพียงเล็กน้อย  ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า เอเซียไมเนอร์ เป็นดินแดนที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรปมาชนกันจนกลายเป็นดินแดงที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคสมัยของอีสป แต่เนื่องจากดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งรวมของพ่อค้าวาณิช ทูต และนักท่องเที่ยว เป็นดินแดนที่มีการค้าทาสกันอย่างแพร่หลายในสมัยนั้น อาจกล่าวได้ว่า อีสป ก็เป็นทาสคนหนึ่ง มีสมญานามว่า Ethiop (เอธิออป) หมายถึง คนผิวดำ เชื่อกันว่าที่มาของชื่อมาจากชื่อประเทศเอธิโอเปีย กลายมาเป็น อะบิสซีเนีย ต่อมาชาวยุโรปได้ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจนกลายเป็น Aesop (อีสป) ในบางตำนานได้มีการถกเถียงกันว่า ตำนานอีสป นั้นอาจจะมาจากเมืองเทรซ ไพรเกียเอธิโอเปีย ซามอส เอเธนส์ หรือเมืองซาร์ดิส ซึ่งยังไม่มีใครรู้ข้อมูลตรงนี้อย่างแน่ชัด

อ่านต่อที่ https://guru.sanook.com/8649/

1
0
พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมพื้นบ้านของภาคต่างๆ

วรรณกรรม (Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ

แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ

วรรณกรรมของภาคเหนือ เช่น 

ตำนานจามเทวี

เป็นตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของอาณาจักหริภุญไชยและล้านนา ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ.๒๐๓๙ ถึง พ.ศ.๒๐๖๘ ในยุคสมัยสมัยของพระญาเมืองแก้ว แห่งราชวงศ์มังราย ปรากฏทั้งเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะในสำนวนชาวบ้านและวรรณกรรมลายลักษณ์ เป็นเรื่องราวของพระนางจามเทวี ที่เกี่ยวกับประวัติการเข้ามาของพุทธศาสนาในเขตหริภุญไชย และเรื่องราวความเป็นมาของเมืองหริภุญไชย โดยเริ่มเรื่องตามธรรมเนียมของตำนานศาสนาทั่วไปที่เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าเพื่อมาโปรดเวไนยสัตว์ในอาณาจักรหริภุญไชย

วรรณกรรมของภาคกลาง เช่น

ตำนานแม่นากพระโขนง

เป็นนิทานเรื่องผีของภาคกลาง ลักษณะเด่นของแม่นาคพระโขนงอยู่ที่เป็นนิทานเรื่องผี แสดงอภินิหารให้ปรากฏ คนจึงอยากรู้อยากเห็นตลอดมา นอกจากนี้ยังแสดงถึงความรักแท้ของหญิงไทย ซึ่งรักสามีเมื่อมีชีวิตอยู่ และเมื่อตายไปก็ยังกลับมาปรากฏร่าง ทำหน้าที่ภรรยา และคุ้มครอง สามี ลูก ทรัพย์สมบัติของครอบครัว ในท้ายที่สุดตำนานเรื่อง “แม่นากพระโขนง” แสดงลักษณะเด่นของคำสอนทางศาสนาพุทธ ที่แสดงว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” และการหมดสิ้นบาปกรรมก็คือการอโหสิกรรม ยอมรับชะตากรรม ประพฤติตนเป็นคนดี เพื่อหวังผลจะได้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://dewkwt.blogspot.com/p/b...

1
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท