อนุทินล่าสุด


สามารถ บุญบาง
เขียนเมื่อ

                                                       

                                                ภาพพระยามหิธรมนูปกรณ์ โกศลคุณ (Tokichi Masao)

                                     นักกฎหมายชาวญี่ปุ่น นายมาซาโอะ โทคิจิ (Tokichi Masao)


          ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่น 120 ปี

                                                                                 บทนำ

ประเทศไทย หรือชื่อเดิมว่า "สยาม" เป็นประเทศหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชีย ที่สามารถรักษาเอกราชของตนเอาไว้ได้อย่างมั่นคงมาตั้งแต่สมัยโบราณ  มีเอกสารยืนยันได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย สามารถนับย้อนกลับได้ยาวไกลถึง 600 ปี ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์กับประเทศไทย ชาวญี่ปุ่นมักจะได้รับฟังว่า ระหว่างปีค.ศ.1609-1630 (พ.ศ. 2152 -2173) ซึ่งตรงกับสมัยเคโชถึงสมัยคังเอ ทั้งสองประเทศมีการติดต่อกัน มีการส่งเรือ "โกะชูอิน" เดินทางมาประเทศไทย เรื่องหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นที่อยุธยา ซึ่งเป็นเมืองหลวงในขณะนั้น ตลอดจนเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของชาวญี่ปุ่นในสมัยนั้น เช่น อะคุอุอิ สึมิฮิโร, ชิโรอิ คิวเอมอน และยามาดะ นางามาสะ สันนิษฐานว่าในสมัยดังกล่าว มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในเมืองไทยมากที่สุดถึงเกือบ 3,000 คน นอกจากการติดต่อแลกเปลี่ยนกันและกันในระดับประชาชนต่อประชาชนแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการและสาส์นระหว่างรัฐบาลโชกุนแห่งตระกูล "โตกุกาวะ" กับพระมหากษัตริย์แห่งอยุธยา แต่ไม่ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ จากการปิดประเทศในสมัยโชกุนอิเยะมิตสึ ทำให้การติดต่อกับต่างประเทศรวมถึงการติดต่อกับประเทศไทยได้หยุดชะงักลง แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า มีเรือสินค้าจากสยามเข้าเทียบท่าที่นางาซากิจนถึงปี ค.ศ.1756 (พ.ศ. 2299 ตรงกับปี โฮเรขิที่ 6)

ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยได้เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ และมีการติดต่อแลกเปลี่ยนทางการทูต เมื่อ 120 ปีมาแล้ว หลังจากที่ได้มีการลงนามในปฏิญญาทางพระราชไมตรีระหว่างญี่ปุ่นและไทย

                                            นักกฎหมายชาวญี่ปุ่น นายมาซาโอะ โทคิจิ (Tokichi Masao)

หนังสือราชการของไทยเรียกชื่อว่า “หมอมาเซา“ ท่านเป็นนักกฎหมายชาวญี่ปุ่นที่จบการศึกษาปริญญาเอกทางกฎหมายจาก Yale University และมหาวิทยาลัยโตเกียว เข้ามารับราชการในประเทศไทยเมื่อ ปี ๒๔๔๐ ทำหน้าที่ให้ข้อแนะนำและช่วยในการตรวจชำระกฎหมายลักษณะอาญา พระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่ นายมาซาโอะรับราชการในประเทศไทยเป็นเวลานานถึง ๑๕ ปี โดยตำแหน่งสุดท้ายเป็นกรรมการศาลฎีกา และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหิธรมนูปกรณ์ โกศลคุณ หลังจากนั้นในปี ๒๔๕๖ นายมาซาโอะได้ลาออกจากราชการ เพื่อกลับไปรักษาอาการป่วยที่ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาในปี ๒๔๖๓ นายมาซาโอะ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จึงได้เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๖๔ ที่กรุงเทพมหานคร (ท่านผู้สนใจสามารถหาอ่านประวัติเพิ่มเติมของนายมาซาโอะได้จากในหนังสือ ๑๐๐ ปีกระทรวงยุติธรรม และหนังสือประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย เล่ม ๒ กรมศิลปากร พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๙) 

นักกฎหมายชาวต่างประเทศเหล่านี้มีคุณูปการต่อการปฏิรูปกฎหมายและการศาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดานักกฎหมายชาวเบลเยี่ยม ซึ่งถือเป็นชาติที่เป็นกลาง เมื่อมาปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอังกฤษและฝรั่งเศสก็ย่อมไม่มีข้อรังเกียจสงสัยต่าง ๆ ในระหว่างสองชาติดังกล่าว ผลงานของนักกฎหมายชาวเบลเยี่ยมเหล่านี้มีมากมาย ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวของ ชาร์ลส บุลส์ นายกเทศมนตรีบรัสเซลส์ พ.ศ. ๒๔๓๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๗ ในหนังสือ “ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง“ ที่พิษณุ จันทร์วิทัน แปลและเรียบเรียงจากบันทึกต้นฉบับของหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรุงบรัสเซลส์ดังนี้
“ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการสมควรจะกล่าวเพิ่มเติมสักเล็กน้อยถึงภารกิจของ
เมซิเออร์ โรลัง จักแมงส์ และบรรดาผู้ช่วยชาวเบลเยี่ยม ภารกิจของคนเหล่านี้ได้แก่ การทำให้ชาวสยามซึ่งกำลังถูกคุกคาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในคุณค่าแห่งการธำรงอยู่อย่างเป็นเอกราช การติดอาวุธแห่งความรู้ด้านกฎหมายยุโรปเพื่อให้ชนชาวสยามสามารถใช้หลักนิติศาสตร์ตะวันตกในการขัดขวางการรุกรานจากตะวันตก การช่วยจัดกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ชาวสยามสามารถจะเรียกร้องความไม่ชอบธรรมเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต การจัดระเบียบการบริหารเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรของชาติอย่างมีแบบแผน ทั่งหลายทั้งปวงนี้คือการฟูมฟักให้ประเทศเล็ก ๆ ได้เติบใหญ่เป็นรัฐอันมั่นคงในภายภาคหน้า ข้าพเจ้าเห็นว่าภารกิจเหล่านี้นับเป็นสิ่งอันสมควรแก่การยกย่องบรรดาที่ปรึกษาเหล่านี้ล้วนมีความกล้าหาญและอดทนในการจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอยู่ในดินแดนอันห่างไกล ทั้งยังต้องเสี่ยงต่อสภาวะอากาศอันร้อนระอุและไม่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพเช่นในสยาม” 

ในส่วนของญี่ปุ่น มาซาโอะ โทคิชิ อดีตที่ปรึกษากฎหมายให้แก่ประเทศไทย อัครราชทูตญี่ปุ่นที่มารับตำแหน่งในปีค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464 ปีไทโชที่ 10 ) ได้เจรจาเพื่อการแก้ไขสนธิสัญญา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า มาซาโอะ โทคิชิ ได้เสียชีวิตที่กรุงเทพฯ การเจรจาจึงได้หยุดชะงัก ในที่สุด ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่ กล่าวคือ สนธิสัญญาว่าด้วยการพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างญี่ปุ่นและไทยฉบับปี ค.ศ.1924 (พ.ศ.2467) ได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 10 เดือนมีนาคม ค.ศ.1924 (พ.ศ.2467 ปีไทโชที่ 13) โดยประเทศไทยยินยอมข้อตกลงต่าง ๆ เช่น การอนุมัติให้ชาวญี่ปุ่นถือสิทธิในการถือครองกรรมสิท ธิ์ที่ดินดังที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาระหว่างไทยและอังกฤษ และสนธิสัญญาระหว่างไทยและฝรั่งเศส

                                                           

มาซาโอะ โทคิชิ ที่ปรึกษากฎหมายรัฐบาลไทย ถ่ายภาพพร้อมภรรยา (ซ้ายมือแถวหลัง และคนกลางในแถวกลาง) และนักเรียนจากประเทศไทยรุ่นแรกคือ นักเรียนชาย 4 คนในแถวหน้า และนักเรียนหญิงในแถวกลาง ถ่ายปี ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447 ปีเมจิที่ 37)

                                                           

มาซาโอะ โทคิชิ (Masao Tokichi) (คนกลางในภาพ) ได้รับเชิญจากรัฐบาลไทย ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี ถ่ายภาพร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ(ขวามือแถวหน้า) และกงสุลมิคูมะ (Mikuma) หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1921 (พ.ศ.2464 ปีไทโชที่ 10) ถ่ายขณะดำรงตำแหน่งอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

                                        การก้าวสู่การเป็นประเทศอธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ

ประเทศไทยได้ดำเนินการเจรจากับต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกเลิกเงื่อนไขในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และได้ประสบความสำเร็จในการให้ 9 ประเทศยินยอมแก้ไขสัญญายกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาล และให้ไทยมีอำนาจในการกำหนดภาษีศุลกากรได้ ในปีค.ศ.1925 และ1926 (พ.ศ. 2463 และ 2464) แต่ยังคงความไม่เสมอภาคในบางส่วน

ในปีค.ศ.1932 (พ.ศ. 2485 ปีโชวะที่ 7 ) ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยกลุ่มนายทหาร และข้าราชการ ภายใต้การนำของพันตรีหลวงพิบูลสงคราม (ยศในขณะนั้น ภายหลังได้รับยศจอมพล และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี), นายปรีดี พนมยงค์ ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม (ภายหลังดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หลังจากการเปลี่ยนแปลง 3 ปี รัฐบาลใหม่ได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่ 5 และ 6 และประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่ง และธรรมนูญศาลสถิตยุติธรรม เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบกฎหมายให้เป็นสากล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น จึงได้เจรจากับต่างชาติเพื่อขอทำสัญญาที่เสมอภาคแบบสมบูรณ์แบบในลักษณะต่างตอบแทน และในปีค.ศ.1937 (พ.ศ. 2480 ปีโชวะที่ 12) ก็ได้ประสบความสำเร็จในการทำสนธิสัญญาใหม่ กับประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ รวม 17 ประเทศ

ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นลงนามสนธิใหม่ในวันที่ 8 เดือนธันวาคม ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) ในนามสนธิสัญญาไมตรีด้านการพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างญี่ปุ่นและไทย จากสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่ไทยทำกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ รวม 17 ประเทศ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีอธิปไตยสมบูรณ์แบบ ไทยสามารถรักษาอำนาจในด้านกฎหมายและสิทธิในการจัดเก็บภาษีศุลกากร แต่เมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มต้นเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาและสามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็วกว่า นับได้ว่าไทยต้องใช้เวลาและสูญเสียมากมายเป็นการแลกเปลี่ยน จึงรู้สึกเห็นใจประเทศไทยในจุดนี้ในฐานะเป็นประเทศในเอเชียด้วยกัน 

แหล่งข้อมูล : หนังสือ "ญี่ปุ่นกับไทย" กันยายน 1987
เรียบเรียงโดย กระทรวงการต่างประเทศ
พิมพ์โดย Sekai no Ukoki Sya


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
สามารถ บุญบาง
เขียนเมื่อ




  • ประวัติวัดหน้าไม้

วัดหน้าไม้ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2466 ณ เลขที่ 1 หมู่ที่ 5 ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ตั้งขึ้นเป็นวัดเลย และได้รับพระราชทานวิสุงคามเมื่อ พ.ศ. 2467 ผู้ริเริ่มสร้างวัดมี นายทรัพย์ แผ่พร กำนันตำบลหน้าไม้ในขณะนั้นเป็นหัวหน้ากับ นายอ่อน แจ่มจันทร์ เป็นผู้ให้ที่ดินสร้างคนละ 8ไร่ ต่อมานายแหยม มีขันทอง ให้อีก 10 ไร่ รวมเป็นที่ดินทั้งหมด 28 ไร่

นายเล็ก กลมเกลา นายอยู่ โรจนาวี นายเปลี่ยน เลิศแล้ว ให้เรือนคนละ 1 หลังใช้เป็นกุฏิสงฆ์ แล้วได้ปลูกเป็นศาลาดินขึ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2468 ได้สร้างโบสถ์ชั่วคราวขึ้นเป็นเรือนไม้

เจ้าคณะหมวดได้ส่ง พระหนู นาคเสน มาเป็นเจ้าอาวาสเป็นองค์แรก กับพระลำดับอีก 5 องค์ ในพรรษาแรก นับมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีเจ้าอาวาสได้ 11 องค์ เรียงลำดับดังนี้

1. พระหนู นาคเสน พ.ศ. 2466 – 2473

2. พระตุ๊ (ไม่ทราบฉายา) พ.ศ. 2473 – 2475

3. พระอุทัย กลมเกลา พ.ศ. 2475 – 2480

4. พระสง่า พึ่งพักตร์ พ.ศ. 2480 – 2484

5. พระปุ่ม (ไม่ทราบฉายา) พ.ศ. 2484 – 2487

6. พระวน (ไม่ทราบฉายา) พ.ศ. 2487 – 2489

7. พระลบ จันทร์ พ.ศ. 2498 – 2493

8. พระเลิศ เนตรน้อย พ.ศ. 2493 – 2497

9. พระทอง วงศ์สมิง พ.ศ. 2497 – 2503

10. พระทองคำ จนฺทรํสี พ.ศ. 2503 – 251211. พระสังวาล ยี่สมบุญ รักษาการแทนองค์ปัจจุบันพระอธิการหนู นาคเสน เจ้าอาวาสองค์แรก มีประวัติที่ควรศึกษา ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้ เพียง 8 ปี ก็มอบให้พระองค์อื่น ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดปฏิบัติต่อพระธรรมวินัยมากมีเรื่องเล่าว่าเมื่อท่านชราภาพลง บรรดาทายกทายิกาได้อ้อนวอนให้ท่านถ่ายภาพตัวท่านไว้เป็นที่ระลึก เมื่อท่านทนต่อการอ้อนวอนไม่ได้ก็ยินยอมไปถ่ายที่กรุงเทพฯ เมื่อเข้าไปในร้านถ่ายภาพตกลงราคากันแล้ว

ก่อนที่จะทำการถ่าย นายช่างก็พาท่านเข้าไปในห้องแต่งตัวที่มีกระจกเงาบานใหญ่ เพื่อให้เรียบร้อยก่อนที่จะถ่าย เมื่อท่านมองดูเงาของตัวท่านในกระจกเงา ท่านก็พูดทักทายเงาในกระจกว่า“ อ้าว ? ท่านมาถ่ายรูปเหมือนกันรึ ” เงียบไม่มีเสียงตอบจากเงานั้น ท่านก็ถามอีกเป็นคำรบสอง แต่ก็ไม่มีเสียงตอบ เงียบตามเดิมท่านรู้สึกไม่พอใจ จึงพูดเสียงดังๆ ออกไปว่า “ บ้า ทำหยิ่งพูดด้วยก็ไม่ยอมพูด รึ เห็นฉันเป็นพระบ้านนอก ” แล้วก็บ่นพึมพำไม่ยอมมองกระจกอีกต่อไป เรื่องของท่านนี้แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่อุปสมบทแล้ว ท่านไม่เคยได้ส่องกระจกเลย จึงทำให้ไม่รู้จักตัวเอง ท่านเป็นพระสันโดษ วันหนึ่งๆ จะอยู่แต่ในกุฏิเท่านั้น นอกจากจะออกมาทำกิจวัตร ชาติภูมิของท่านเกินที่ตำบลทุ่งสีกัน อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร ได้อุปสมบทที่วัดหลักสี่ บางเขน ก่อนอุปสมบทท่านได้เป็นทหารได้ไปทัพปราบฮ่อที่เวียงจันทร์ ท่านเล่าว่าวันหนึ่งได้ลาดตระเวนเข้าไปในแคว้นนครจำปาศักดิ์ของลาว ได้พบพระภิกษุชราองค์หนึ่งจำพรรษาอยู่ในถ้ำกลางป่าลึกเพียงองค์เดียว

จึงได้มอบตัวเป็นศิษย์ขอเรียนวิชา ในระหว่างที่ท่านอุปสมบทจนท่านมรณภาพรวมอายุได้ 99 ปี ท่านได้เคยทำเครื่องรางของขลังแจกให้ไว้กันภัย ท่านจะให้ก็แต่ผู้ที่ท่านเห็นว่าดีจริงๆ เท่านั้นของที่ท่านทำนั้นท่านให้เปล่าเพื่อเป็นทาน เวลานี้หาได้ยากมาก และทุกอย่างปรากฏว่า ศักดิ์สิทธิ์

ต่อมาสมัย พระอุทัย กลมเกลา ได้ปลูกสร้างศาลาการเปรียญถาวรขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นสมัยที่การทำบุญและวัดรุ่งเรืองมาก มีการตั้งโรงเรียนสอนพระธรรมวินัยแก่ภิกษุ สามเณร และธรรมศึกษาแก่ฆราวาส ส่วนพระอุโบสถนั้นมาเริ่มก่อสร้างเมื่อสมัย พระอธิการทองคำ จนฺทรํสี พ.ศ. 2508 ด้วนแรงศรัทธาอันแรงกล้าจองนายพลบ แผ่พร อดีตกำนันตำบลหน้าไม้ ได้รวบรวมเงินทองจากบรรดาศิษย์และผู้มีจิตศรัทธา เวลานี้ใกล้จะสำเร็จ 80 % ขึ้นไปแล้วคงจะยกช่อฟ้าได้ในปีสองปีนี้ จำนวนพุทธศาสนิกชนที่ทำบุญกุศลอยู่ในวันนี้เป็นประจำ มีจำนวนประมาณ 300 ครอบครัวเศษคิดเป็นจำนวนประชากรในเขตนี้ราว 2,000 คนเศษ การทำบุญที่นอกเหนือไปจากการทำบุญเป็นประจำทางศาสนาแล้วทางวัดยังได้จัดทำบุญเป็นพิเศษประจำปีอีก เช่น การตักบาตรเทโว ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือการใส่บาตรรอบพระอุโบสถ แล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องโปรดพุทธมารดาของพุทธองค์ งานไหว้พระปิดทอง กำหนดวันไม่แน่นอนจะกำหนดเป็นปีๆ ไป จะจัดให้มีมหรสพกับปิดทองพระพุทธรูปและแสดงพระธรรมเทศนา เพื่อหาเงินบูรณวัดการหล่อเทียนเข้าพรรษาจัดให้มีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 แล้วจะหล่อในวันรุ่งขึ้น เสร็จแล้วมีพระธรรมเทศนาฉลองงานผ้าป่าห้าร้องประจำปี ทางวัดจะแจกฏีกาและกระป๋องให้เพื่อใส่สิ่งของ และนำมาทอดตามกำหนดเพื่อนำเงินมาใช้ก่อสร้างพระอุโบสถ หรือบูรณวัด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท