คำตอบ


Focus Group ชาวบ้านเป็นเช่นไรบ้าง

Kati

Samsunt Samsunt
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ผมทบทวน สอบทานใน 3 เรื่องครับ คือ

 

1. การยอมรับความยากจนของชาวบ้าน เป็นไปได้อย่างไร

2. อย่างไรจึงเรียกว่า ยากจน

 3. กระบวนการต่อรอง นิยามอัตลักษณ์เพื่อไปให้พ้นจากความจน และความยากจน

คำตอบเป็นไปดังที่สรุปกรอบความคิดไว้หลังเก็บข้อมูลเสร็จ สั้นๆ ก็คือว่า

ชาวบ้านยอมรับว่าตัวเองยากจน เพราะ

นำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่เข้ามาบอก คือเขาเข้ามาบอกว่าชาวบ้านยากจน รายได้ไม่พอ ชีวิตไม่สบาย เวลาเขาบอกเขามาพร้อมกับแสดงให้ดู(โดยไม่ตั้งใจ) เพราะขับรถเข้ามา แต่งตัวสวยๆ ดูทรงภูมิมีความรู้ (แต่ถ้าถ้ามชาวบ้านว่า ก่อนหน้าที่เขาจะมาบอกนั้นรู้สึกตัวเองยากจนมั้ยเขาไม่รู้สึกนะครับ)

เวลาคนนอกเข้าไปมักมีสิ่งที่ทำให้พ้นจากความยากจนเข้าไป "ให้" กับชาวบ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็น งบประมาณ ของแจก โดยเฉพาะคำมั่นว่าทำโครงการนี้แล้วจะพ้นจากความยากจน แต่คำมั่นสัญญาคนที่เข้าไปไม่ได้เป็นคนสัญญา แต่สิ่งที่สัญญาคือตัวโครงการ มันอยู่ในประโยชน์ที่จะได้รับไงครับ

ต่อมาก็คือ ความยากจนมันเป็นปึกแผ่นหนักแน่น ใคร ๆเข้ามาก็พูดเหมือนกัน ใช้วิธีวัดความยากจนแบเดียวกันคือรายได้ ชาวบ้านก็ชักจะเชื่อว่าเอ นี่ใครๆ ก็ว่าเรายากจน เราคงยากจนจริงๆ ซะแล้ว

ระบบตัวแทน เป็นระบบ Agent ซึ่งทุกฝ่ายที่เข้าไปล้วนตั้งตัวแทนไว้ในหมุ่บ้าน ตัวแทนเหล่านี้จะทำหน้าที่เผยแพร่วาทกรรมความยากจน เพื่อให้ชาวบ้านผลิตตอบสนองต่อศูนย์กลาง ซึ่งศูนย์กลางแต่ละศูนย์กลางก็จะมีสูตรสำเร็จที่ชี้วัดด้วย KPI  เป็นหนทางที่บอกว่าทำตามฉันสิแล้วจะพ้นจากความยากจน เช่น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ก็บอกว่าทำบัญชีแก้จน / กรมส่งเสริมการเกษตร ก็บอกว่า เกษตรทฤษฎีใหม่จะไม่จน / พัฒนาชุมชน บอกว่า ตั้งสถาบันการเงิน กลุ่มออมทรัพย์ แล้วไม่จน / อุตสาหกรรมบอกว่า กลุ่มอาชีพเสริมพ้นความจน / มหาดไทย บอกว่า มาลงทะเบียนเสียเถิดเราจะช่วยให้พ้นความจน / ธกส. ก็บอกว่าแปลงสินทรัพย์แล้วมีเงินทำทุนก้าวพ้นความจนแน่ๆ ผมเองก็เข้าไปบอกว่า ให้ข้อมุลผมสิแล้วผมจะบอกว่าทำไมจึงจนและทำไมจึงไม่จน ฮา

ยอมรับความยากจนแล้วมีแต่ได้ไม่มีเสีย อาจเสียเวลานิดหน่อยไปนั่งฟังอบรม รับของแจก แต่ก็ได้ค่าเสียเวลา แถมมีสถานะ และบทบาท ที่ใครๆ ก็เข้ามาช่วยเหลือเหมือนผู้มีสิทธิพิเศษที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ง่ายๆ แค่ยอมรับว่าตัวเองยากจน

ก็เลยยากจนกัน 70 % ของหมู่บ้าน (โดยประมาณ) อันนี้เขานิยามตัวเองนะครับ แต่ความยากจนแบบนี้ไม่ได้ยากจนในความหมายของเรานะครับ มันเป็นแค่ฉลากป้ายที่มาติดไว้ ตอนราชการเข้ามา แต่ลึก ๆแล้วเขารู้สึกว่าเขายากจนมั้ยเนี่ย มันเป็นความยากจนเชิงเปรียบเทียบครับ เปรียบเทียบดังนี้

ที่ดิน  มีน้อยยิ่งจนมาก

หนี้สิน  มีมากยิ่งจนมาก

บ้าน-รถ-วิถิชีวิตคนเมือง เป็นเครื่องบ่งชี้ว่ายากจนหรือไม่ยากจน

สามสิ่งนี้จะถูกประเมินร่วมกันครับว่า ยากจนหรือไม่ ฉะนั้นแล้วถ้าเขามองกันเองว่าใครจนใครไม่จน ก็จะมีเพียง 3-4 รายในหมู่บ้านเท่านั้นที่ยากจน

ค่อยแลกเปลี่ยนกันในหัวข้ออื่นนะครับ เดี๋ยวจะเยอะไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท