อนุทินล่าสุด


Sornsawan5656
เขียนเมื่อ

นอกจากนี้ ในส่วนสมาชิกองค์ความรู้ ได้แก่ พนักงานทั่วไป มีหน้าที่เช่นกัน โดยพนักงานทุกคนต้องพร้อมที่จะให้ข้อเสนอแนะ จัดสรรเวลาแบ่งปันเวลา แบ่งเป็นความรู้และจัดส่งให้กับคณะทำงานได้นำความรู้นั้นไปรวบรวมเพื่อเข้าสู่ระบบKM ต่อไป "แก่นของการสร้างวัฒนธรรมองค์ความรู้ คือ การให้คนหรือพนักงานทุกระดับตั้งแต่บริหารจนถึงระดับทั่วไป มีส่วนร่วมด้วยกันใน KM"

ปัจจัยที่ทำให้KM ของบริษัท ปตท.ฯประสบความสำเร็จ
1. Leadership
2. Strategy to Knowledge
3. Governance & KPI
4. Effective Communication
5. Knowledge Sharing Culture
6. Efficiency CoP
7. Recognition & Reward
8. Information & ICT

ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำKM คือ องค์ความรู้ (Explicit Knowledge) ในการปฏิบัติงานที่เป็นรูปแบบ (model) /นวัตกรรม ซึ่งสามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sornsawan5656
เขียนเมื่อ

กระบวนการจัดการนำระบบKM มาใช้ ในเชิงโครงสร้างการทำงานของพนักงานนั้น โดดเด่น เพราะถูกกำหนดเป็นระดับชัดเจน โดยจัดเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับหนึ่ง เป็นมีการจัดตั้งคณะกรรมการทำงาน ( Steering Committee)มาจากผู้บริหาระดับสูงตั้งแต่ ผู้อำนวยการ และผู้จัดการบริษัท มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทาง กลุ่มขององค์ความรู้ที่ต้องการ พร้อมทั้งมีแผนดำเนินงานและผลักดัน จัดการองค์ความรู้ให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันกับการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนทรัพยากรดำเนินงาน

ระดับสอง ซึ่งเป็นส่วนคณะกรรมการทำงานนำแผนไปปฎิบัติ ซึ่งมีหน้าที่หลัก คือ วางแผนโครงการและแผนกลยุทธ์โครงการให้สำเร็จทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และจัดทำระบบที่เป็นDocument Controlของโครงการจัดเก็บ ค้นหา อัพเดท เรียกใช้ แก้ไขเพิ่มเติม ทำลาย และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดหาระบบสารสนเทศและเครื่องมือต่างๆมาใช้จัดการองค์ความรู้ กำหนดขั้นตอนระเบียบปฎิบัติ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะเดียวกันยังทำหน้าที่จัดกิจกรรมกระตุ้น จูงใจพนักงานร่วมมือในการทำและประชาสัมพันธ์ให้พนักงานนำความรู้ไปใช้

ระดับสาม เป็นคณะกรรมการนำองค์ความรู้ไปปฎิบัติ โดยทำหน้าที่กำหนดสาขา เรื่องหลักขององค์ความรู้ที่จะดำเนินการการสร้าง วิเคราะห์ ตรวจสอบ กลั่นกรองความถูกต้องขององค์ความรู้ ทั้งยังเขียน จัดทำองค์ความรู้ในสาขาที่กำหนด ตามขั้นตอน ระเบียบ ปฎิบัติ และนำความรู้ไปสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งยังสรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานให้กับ Steering Committee ทราบเป็นระยะต่อไป




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sornsawan5656
เขียนเมื่อ

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ปตท. ใช้ KM เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่ม( value added )ให้แก่คน/บุคลากรและองค์กร เพื่อการนำไปสู่สิ่งที่มุ่งหวัง/วิสัยทัศน์ คือ องค์กรที่ประสบความสำเร็จ มีผลงานเป็นเลิศ (High Performance Organization : HPO )โดยใช้ KM เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวคน เน้นสร้างความตระหนัก ทำ mindset คนให้มีความรู้เป็นฐานไปสู่ Knowledge Worker / Knowledge Assets ในการทำKMของบริษัท ปตท.ฯ มี 7 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1) สร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
2) คัดเลือกหัวข้อความรู้ (Knowledge Audit)
3) เลือกเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ (Prototype/Tool Selection)
4) ประเมินกิจกรรม (KM Assessment)
5) พัฒนาทีม (Developing Team)
6) ดำเนินการ (Implementation)
7) ประเมินผล (Evaluation)

พันธกิจ KM ขององค์กร มุ่งเน้น 3 ด้าน ได้แก่

1.คน (People)

2. กระบวนการ (Process)

3. เทคโนโลยี่ (Technology)

โดยแต่ละด้านนั้น ขยายความว่า ในด้านคนที่กำหนดไว้ คือ การมุ่งเน้นสร้างวัฒนธรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึง สร้างพนักงานให้เป็นแบบ Knowledge Worker เพื่อให้เป็นสังคมองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยให้มีโครงสร้างในการจัดการ เพื่อรับผิดชอบการบริหารจัดการอย่างชัดเจน ขณะที่ด้านกระบวนการ ได้เน้นผลักดันกระบวนการจัดการความรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของปฎิบัติงานประจำโดยผ่าน 3 กระบวนการ ได้แก่ การจัดการวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้เด่นชัด และความรู้ซ่อนเร้น ส่วนด้าน เทคโนโลยี่ ซึ่งถือว่าสำคัญมากสำหรับKMองค์กร ก็มีการนำมาสนับสนุนการจัดการความรู้ โดย อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งความรู้ สร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน พร้อมกับสร้างฐานความรู้ "เทคโนโลยี่ช่วยให้เข้าถึงความรู้ต่างๆได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยข้อมูลในระบบ sharepoint "



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Sornsawan5656
เขียนเมื่อ

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับการ ใช้ KM เป็นเครื่องมือ

ความเป็นมา

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)

ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2521 ซึ่งตรงกับระยะที่ทั่วโลกกำลังเกิดภาวะน้ำมันขาดแคลน (วิกฤติการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 2 ) ปตท. จึงเริ่มต้นการดำเนินงานด้วยการจัดหาน้ำมันสนองความต้องการใช้ในประเทศให้เพียงพออย่างเร่งด่วน ภาระอันหนักหน่วงดังกล่าวได้เป็นแรงสนับสนุนให้ ปตท. มุ่งจัดหาปิโตรเลียมจากแหล่งในประเทศเพิ่มเติม เป็นผลให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานได้ในระดับหนึ่ง ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก

บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) หรือ ปตท. จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 โดยการแปลงสภาพ จากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยรับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด สินทรัพย์ และพนักงานทั้งหมด ภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ปตท.มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยได้ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรก ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท