ดอกไม้


บัณฑิตา อ้อซ้าย
เขียนเมื่อ

10 วิธีในการสอนเด็ก ๆ ให้เรียนรู้สถานการณ์โลกจากข่าว


วิธีที่ 1 การจำกัดการรับชมภาพและเสียงจากสื่อ
ข่าวที่ซ้ำๆ และลดเสียงที่เป็นข่าวเกี่ยวกับความรุนแรง
วิธีที่
2 การอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรอธิบายแต่เพียงข้อมูลพื้นฐานและเล่าถึงบริบทที่เกิดขึ้น
วิธีที่
3 การเล่าถึงเหตุการณ์อย่างพอดี ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กบริโภคข่าวสารมากจนเกินไป
วิธีที่
4 แคร์ความรู้เด็กเมื่อตื่นกลัว หากพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยน จากการพูดเก่งเป็นพูดน้อยและดูครุ่นคิดมากขึ้น เด็กๆอาจจะพยายามตีความสารนั้นๆ กระตุ้นให้เด็กพูดออกมาถึงสิ่งที่เขาคิดอยู่
วิธีที่
5 การเรียนรู้ร่วมกัน
วิธีที่ 6
ตั้งสติในการให้ข้อมูล เมื่อข่าวที่เกิดขึ้นทำให้เด็กๆรู้สึกเครียด
วิธีที่
7 รักษาเวลา หากเด็กรู้สึกเครียด กังวลกับข่าว รักษาเวลาในการดูทีวีให้ปกติ
วิธีที่
8 เล่นกับลูก เด็กจะเล่นเพื่อให้หายจากความกลัว
วิธีที่
9 เน้นเรื่องเชิงบวก หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรง
วิธีที่
10 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ จากศูนย์ฉุกเฉิน หรือผลกระทบจากภัยพิบัติแห่งชาติ
ไม่ว่าเหตุการณ์ในข่าวจะเป็นอะไร หลีกเลี่ยงการอธิบายเพื่อให้จบๆไป แต่ใช้โอกาสในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ลูกหลานได้เรียนรู้เชื่อมโยงกับโลก กับข่าวนั้นๆ

เขียนโดย suthasinee 01 | 12/27/2011 5:20:37 PM

2
0
ปริยากร เพชรรัตน์
เขียนเมื่อ

โครงการเด่นด้านพัฒนาทักษะการคิด

5. SQ3R กับการพัฒนากระบวนการคิดด้วยคำถามหมวกความคิด 6 ใบ โดยใช้อัตลักษณ์ของโรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ – โครงการที่นำเทคนิคทางจิตวิทยาทั้งเทคนิคการอ่านหนังสือจับใจความ SQ3R และหมวกความคิด 6 ใบ ซึ่งเป็นการกำหนดรูปแบบของความคิดพิจารณาสิ่งเดียวกันในหลายมุมมอง มาใช้สอนนักเรียนในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ของโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสรรค์) จ.พัทลุง เพื่อให้เกิดการศึกษาเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่อย่างสร้างสรรค์ จากความเข้าใจ ไม่ใช่การท่องจำ

SQ3R เทคนิคการอ่านหนังสือจับใจความ ที่พัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา มีเทคนิค 5 ขั้นตอน คือ S = Survey สำรวจ Q = Question ตั้งคำถาม R = Read อ่าน R = Recite ท่อง R = Review ทบทวน ซึ่งโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสรรค์) จ.พัทลุง นำมาใช้ร่วมกับกระบวนการคิดด้วยคำถามหมวกความคิด 6 ใบ โดยใช้อัตลักษณ์ของโรงเรียนคือการเป็นโรงเรียนยุวเกษตร ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมถึงการเป็นศูนย์เกษตรชุมชน ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางถึง 133 ไร่ เป็นฐานในการเรียนรู้

สำหรับกระบวนการคิดด้วยคำถามหมวกความคิด 6 ใบ นั้นเป็นการกำหนดรูปแบบของความคิดพิจารณาสิ่งๆเดียวกันในหลายมุมมอง คิดค้นโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน ปรมาจารย์ด้านการคิด เขาเห็นว่าคนส่วนใหญ่มักจะนำข้อเท็จจริง อารมณ์ และเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียง ซึ่งผิดและเสียเวลา ดังนั้น เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบหมวกความคิด 6 ใบขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆอย่างชัดเจน จากนั้น จึงวิเคราะห์หาเหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ ซึ่งจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆได้ครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น หมวก 6 ใบแบ่งเป็น 6 สีแทนความคิดในด้านต่างๆคือ

หมวกสีขาว หมายถึง ข้อเท็จจริง

หมวกสีแดง หมายถึง อารมณ์ความรู้สึก

หมวกสีดำ หมายถึง การตั้งคำถาม หรือตั้งข้อสงสัย

หมวกสีเหลือง หมายถึง การมองในแง่ดี เต็มไปด้วยความหวัง

หมวกสีเขียว หมายถึง การคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา

หมวกสีฟ้า หมายถึง การคิดอย่างมีระบบระเบียบ

3
0
Rattana sutiprom
เขียนเมื่อ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง ดี เด่น

โครงการ ความสำคัญเป็นลำดับแรก คือ การประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างครู ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ปกครอง และนักเรียน รวมทั้งเชิญหน่วยงานต่างที่เกี่ยวข้องมาให้คำแนะนำ

การจัดกิจกรรมเพื่อมุ่งเน้นการเรียนการสอนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฝึกทักษะชีวิตในการประกอบอาชีพ ที่เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 ฐานการเรียนรู้ คือ

1. ฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน มีทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ผลิตอาหารสัตว์ และการแปรรูปผลผลิต ทั้งนี้ นอกจากจะนำเงินที่ได้จากผลผลิตมาใช้จ่ายหมุนเวียน ยังนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ

2. ฐานเรียนรู้ด้านพลังงาน จัดทำเตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ แล้วนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ในการเกษตรต่อไป นอกจากนี้ยังคิดค้นวิธีการอนุรักษ์พลังงานด้วยการประดิษฐ์จักรยานปั่นน้ำด้วยแรงคน ทำชุดตัดกระแสไฟฟ้าในเครื่องทำความเย็นของโรงเรียน

3. ฐานเรียนรู้ขยะรีไซเคิล ให้เด็กๆช่วยกันเก็บขยะในโรงเรียนที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อไปขายแล้วนำเงินที่ได้มาหมุนเวียนภายในโครงการ กิจกรรมนี้ทำให้เด็กๆได้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ของอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

4. ฐานเรียนรู้น้ำและการส่งเสริมสุขภาพ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ การจัดระบบน้ำทิ้งในโรงอาหารให้กลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ได้ และการรักษาห้องน้ำของโรงเรียนให้สะอาดอยู่เสมอ

ในการเรียนรู้แต่ละฐาน นอกจากเด็กจะได้ฝึกความรับผิดชอบและความอดทนแล้ว ยังบูรณาการวิชาอื่นๆมาใช้ได้ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ในการสังเกต ทดลอง แก้ปัญหา วิชาคณิตศาสตร์ในการนับจำนวนผลิตผลและการจำหน่าย

เขียนโดย ireadyweb ireadyweb | 12/06/2556 16:00:57

http://www.qlf.or.th/Home/Contents/1006

2
0
นางสุพิชฌาย์ เกื้อหนุน
เขียนเมื่อ

ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ อย่างไร ?

ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4Cซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ

4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คือ

นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Changing Education Paradigms)โดย เซอร์เคน โรบินสัน

วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21

(สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf)

หรือชมวีดีทัศน์ "วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" โดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิ

3
0
ปริยากร เพชรรัตน์
เขียนเมื่อ

โครงการเด่นด้านพัฒนาทักษะการคิด

SQ3R กับการพัฒนากระบวนการคิดด้วยคำถามหมวกความคิด 6 ใบ โดยใช้อัตลักษณ์ของโรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ – โครงการที่นำเทคนิคทางจิตวิทยาทั้งเทคนิคการอ่านหนังสือจับใจความ SQ3R และหมวกความคิด 6 ใบ ซึ่งเป็นการกำหนดรูปแบบของความคิดพิจารณาสิ่งเดียวกันในหลายมุมมอง มาใช้สอนนักเรียนในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ของโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสรรค์) จ.พัทลุง

SQ3R เทคนิคการอ่านหนังสือจับใจความ ที่พัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา มีเทคนิค 5 ขั้นตอน คือ S = Survey สำรวจ Q = Question ตั้งคำถาม R = Read อ่าน R = Recite ท่อง R = Review ทบทวน

สำหรับกระบวนการคิดด้วยคำถามหมวกความคิด 6 ใบ นั้นเป็นการกำหนดรูปแบบของความคิดพิจารณาสิ่งๆเดียวกันในหลายมุมมอง คิดค้นโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน ปรมาจารย์ด้านการคิด เขาเห็นว่าคนส่วนใหญ่มักจะนำข้อเท็จจริง อารมณ์ และเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียง ซึ่งผิดและเสียเวลา ดังนั้น เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบหมวกความคิด 6 ใบขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆอย่างชัดเจน จากนั้น จึงวิเคราะห์หาเหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ ซึ่งจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆได้ครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น หมวก 6 ใบแบ่งเป็น 6 สีแทนความคิดในด้านต่างๆคือ

หมวกสีขาว หมายถึง ข้อเท็จจริง

หมวกสีแดง หมายถึง อารมณ์ความรู้สึก

หมวกสีดำ หมายถึง การตั้งคำถาม หรือตั้งข้อสงสัย

หมวกสีเหลือง หมายถึง การมองในแง่ดี เต็มไปด้วยความหวัง

หมวกสีเขียว หมายถึง การคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา

หมวกสีฟ้า หมายถึง การคิดอย่างมีระบบระเบียบ


http://www.qlf.or.th/Home/Contents/645

เขียนโดย ireadyweb ireadyweb | 05/06/2556 14:17:38



2
0
นาฏยาณี เทพนรินทร์
เขียนเมื่อ

5 ธันวา "วันดินโลก" เทิดพระเกียรติมหาราชา

ในปี 2556 ที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดินโลก" และในปี 2558 กำหนดให้เป็น "ปีแห่งดินสากล" เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินต่อการพัฒนาการเกษตร โภชนาการและความมั่นคงทางอาหารทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อรับมือต่อความท้าทายของการเพิ่มจำนวนประชากรโลกอย่างต่อเนื่อง

พระอัจฉริยภาพ ในการพัฒนา "ดิน" ของพระเจ้าอยู่หัว

"หญ้าแฝก" กำแพงมีชีวิตในการอนุรักษ์หน้าดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ "หญ้าแฝก" พืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและยังเป็นการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน

ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้

เขียนโดย ผู้ดูแลระบบ สสค. | 02/12/2557 15:53:06

แหล่งข้อมูล http://www.qlf.or.th/Home/Contents/972

3
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท