อนุทินล่าสุด


nitiroj tanarojtanakul
เขียนเมื่อ

                โดยปกติแล้ว การตั้งครรภ์จะทำให้ร่างกายของว่าที่คุณแม่ทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างมาก เพื่อปรับตัวให้ครรภ์คุณแม่พร้อมที่จะดูแล ให้ความอบอุ่น และพัฒนาลูกน้อยอย่างสมบูรณ์ที่สุดตลอดระยะเวลา 9 เดือน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนี้อาจส่งผลต่ออวัยวะส่วนอื่นๆรวมถึงใน “ช่องปาก” ด้วย
เรื่องที่น่ากลัวที่สุดสำหรับว่าที่คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์นี้ คือ ภาวะเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบชนิดรุนแรง สามารถส่งผลให้ครรภ์มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด (น้อยกว่า 37 สัปดาห์) และลูกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ (น้อยกว่า 2,500 กรัม) ได้ นอกจากนี้คุณแม่มักมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคฟันผุเพิ่มมากขึ้น จากการรับประทานอาหารจุบจิบ และคลื่นไส้ อาเจียนบ่อย จึงอาจทำให้แปรงฟันได้ไม่สะอาดเพียงพอและส่งผลให้เกิดภาวะปริทันต์อักเสบได้ ซึ่งหากรุนแรง ภาวะนี้จะกระตุ้นให้ว่าที่คุณแม่มีการหลั่งสารบางชนิดเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้เกิดการบีบตัวของช่องคลอด เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ได้ โดยจากการสำรวจพบว่า 1 ใน 5 ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้น เกิดจากช่วงขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่มีภาวะปริทันต์อักเสบ
ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร ในระหว่างตั้งครรภ์ ?
แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวัน อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 นาที เพื่อกำจัดคราบไบโอฟิล์มบนผิวฟัน นอกจากนี้สารฟลูออไรด์ในยาสีฟันจะช่วยให้ฟันแข็งแรงทนต่อกรดมากขึ้น ฟันจึงผุยากขึ้น
ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ อย่างน้อยวันละครั้งเพื่อทำความสะอาดซอกฟันในบริเวณที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
ใช้ น้ำยาบ้วนปาก ที่มีส่วนผสมของสารระงับเชื้อที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของเหงือกอักเสบและโรคฟันผุได้ในขั้นตอนสุดท้าย
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากๆ เช่น นม ไข่ ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และใช้สารเสพติด ซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากของว่าที่คุณแม่แล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพทั่วไปของว่าที่คุณแม่และลูกน้อยด้วย
ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและช่องปากในช่วงอายุครรภ์ที่ปลอดภัยได้แก่ช่วง 4 -6 เดือน หากตรวจพบโรคในช่องปากระยะเริ่มแรกควรรับการรักษาทันที เช่น การอุดฟัน การขูดหินปูน และรับคำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องจากทันตแพทย์เช่นกัน
รู้กันอย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมปฏิบัติตาม 6 วิธีง่ายๆข้างต้นนี้อย่างเคร่งครัดกันนะคะ
ที่มา 1. Journal of Dental Hygiene2007;81. 2. BJOG 2006;113(Supplement):S3.

ติดตามบทความดีๆเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากอีกมากมายได้ที่
http://www.mouthwashcare.com/
http://www.mouthwashtalk.com/
http://www.น้ํายาบ้วนปาก.com/
http://www.กลิ่นปาก.com/



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท