อนุทินล่าสุด


ปภัสสโร
เขียนเมื่อ

เรื่องเล่าจากมุมหนึ่งของคนทำงาน

             การทำงานกับผู้ป่วยจิตเวชมองมุมของผู้ป่วยจิตเวช เมื่อช่วยเหลือเขาให้รู้จักการฟื้นฟูในชุมชนจนผู้ป่วยจิตเวชสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนสังคมแล้ว ก็ทำให้เรามีความสุขได้ เมื่อเห็นผู้ป่วยจิตเวช ยิ้ม หัวเราะ และสามารถทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนได้  แต่ก็มีบางส่วนและเป็นส่วนมากที่ทำให้ผู้ป่วยยังถูกรังเกียจจากสังคมโดยความไม่เข้าใจใน โรคทางจิตเวช ซึ่งผู้ป่วยจิตเวชเขาก็ไม่อยากป่่วยเป็นโรคจิตเวช แต่โรคมันมาหารเอง เหมือกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ มะเร็ง ไม่มีใครอยากป่วยเป็นโรคเหล่านี้หรอกมันมาเองแต่เมื่อโรคเหล่านี้มาแล้วทำอย่างไรเราจะอยู่กับโรคเหล่านี้ได้ ผู้ป่วยจิตเวชก็เหมือนกันเมื่อเป็นแล้วทำอย่างไรจะอยู่กับโรคทางจิตเวชได้ แต่โรคทางกายนี้เมื่อป่วยเป็นโรคเหล่านี้ข้างต้นแล้ว ชุมชนสังคมยอมรับ ไม่รังเกียจให้ร่วมกิจกรรมของชุมชน แต่ถ้าผู้ป่วยจิตเวชป่วยเป็นโรคทางจิตแล้วชุมชนจะเกิดอคติคือไม่ยอมรับรังเกียจ ไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน หรือมองว่าครอบครัวนั้นป่วยทั้งครอบครัว (ตีตรา) นี้ก็เป็นเพราะความไม่เข้าใจของชุมชน ทำอย่างไรผู้ป่วยจะได้รับการยอมรับจากชุมชนสังคมเหมือนกับที่มีหลายชมรมฯที่ทำงานในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 

ประชุมคณะกรรมการชมรมฯในเครือข่ายชมรมส่งเสริมดูแลผู้ปว่ายจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ ในจังหวัดนครราชสีมา ๙ ชมรม เพื่อติดตามงานเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ผู้ป่วยที่บอกว่าไม่ต้องรับประทานยาแล้ว 

ซึ่งผู้ป่วยรายนี้รับประทานยามา 20 กว่า ปี แต่ทุกวันนี้ก็อยู่กับชุมชนได้อย่างปกติ

กิจกรรมเยี่ยมบ้าน เป็นการเยี่ยมเยียนผู้ป่วยและญาติ โดยการให้กำลังใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้รู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ และการทำให้ชุมชนยอมรับผู้ป่วยมากขึ้น

วิธีการเยี่ยมบ้านเราอย่าไปเยี่ยมแต่ครอบครัวผู้ป่วย ควรเยี่ยมบ้านที่อยู่รอบๆบ้านผู้ป่วยด้วย เพื่อจะได้หาข้อมูลและเป็นการทำให้บ้านรอบๆบ้านผู้ป่วยได้หันกลับมาดูผู้ป่วยด้วย

ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการฟื้นฟูทักษะการงาน คือการฟื้นฟูในเรื่องอาชีพที่เข้ากับบริบทของชุมชนเพื่อให้ผู้ป่วยจนสามารถทำงานและประกอบอาชีพได้ (การฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชทุกคนจะมองว่าเมื่อรักษาแล้วต้องได้รับการฟื้นฟูแต่ทุกคนจะมองว่าเป็นเรื่องของโรงพยาบาลหรือหมอเท่านั้นที่จะฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช แต่การฟื้นฟูที่โรงพยาบาลนั้น ส่วนมากฟื้นฟูเรื่องอาชีพไม่ค่อยเข้าบริบทของชุมชน เช่น พับถุงกระดาษ พรมเช็ดเท้า พอผู้ป่วยจิตเวชกับมาสู่บ้าน ผู้ป่วยจิตเวชจะพับถุงกระดาษ พรมเช็ดเท้า ไปขายให้ใคร ดังนั้นจึงตองมองว่าผู้ป่วยอยู่ที่ใหน ถนัดเรื่องอะไร แล้วก็ฟื้นฟูเรื่องนั้น ดังนั้นชุมชนจึงต้องมีส่วนช่วยในการฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเกิดกำลังใจ เกิดความมั่นใจ และมองว่าชุมชนให้โอกาสในการดูแลตนเอง และคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ป่วยจิตเวช)



ความเห็น (1)

นมัสการท่าน

ชอบใจมากเลยครับ

ช่วยดูแลผู้ป่วย

เอาไปเขียเป็นบันทึกนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท