ดอกไม้


Jane_Amoure
เขียนเมื่อ

                                                                     บันทึกอนุทิน                             ครั้งที่ 4วันที่ 8กันยายน พ.ศ. 2557

                                 อบรมเรื่อง การพัฒนาการคิด                  โดย รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ   สุเสารัจ
   
    
โดย นางสาว ณัฐพร   เครือทองศรี รหัสนักศึกษา 57C0103102 ระดับปริญญาโท ภาคปกติ   สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                  ********************************************************************************************

                                                                  ารจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT

           ก่อนที่จะเข้าเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT จะขอพูดถึง ”สมอง”ก่อน สมองของมนุษย์ประกอบไปด้วย 2 ซีก จะมีซีกซ้าย กับ ซีกขวา

สมองซีกซ้าย จะมีศักยภาพเกี่ยวกับภาษา การฟัง ความจำ การวิเคราะห์ การ จัดลำดับ การคำนวณสัญลักษณ์ เหตุผลเชิงตรรกะ และวิทยาศาสตร์

สมองซีกขวา จะมีศักยภาพเกี่ยวกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ ความรู้สึก การรับรู้ภาพรวม การรับรู้ทางประสาทสัมผัส ศิลปะความงาม รูปทรง รูปแบบ สี ดนตรี มิติสัมพันธ์ และการเคลื่อนไหว

เนื่องจากมนุษย์เกิดมาจะถนัดการใช้สมองไม่เหมือนกัน ฉะนั้นก็จะมีความสามารถต่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องกีฬา เรื่องดนตรี เราจะเห็นได้ว่าบางคนเรียนไม่เก่งแต่เล่นกีฬาเก่ง เป็นต้น

          การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เป็นการจัดการเรียนรู้ตามวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เช่น ชอบสังเกต ชอบฟังเฉยๆ ชอบทดลอง ชอบปฏิบัติ ชอบนำความรู้ไปปรับใช้ ไม่ชอบทำตามครูบอก อาจจะไม่ชอบทำอะไรเลย ชอบเป็นผู้ตามอย่างเดียว ซึ่ง มอร์ลิส(Susan Moris)และแมคคาร์ธี (Mc Carthy) พบว่า ผู้เรียนมีการใช้สมองแต่ละซึกต่างกัน ดังนั้น มอร์ลิสและแมคคาร์ธี จึงเสนอวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนออกเป็น 4 แบบ

1.พวกที่เรียนรู้จากการดู การสังเกต ซักถาม พูดคุย = WHY

      บทบาทของครูในแบบที่ 1 ครูเป็นผู้กระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนโดยการให้เขาฟัง ซักถาม คิด แล้วก็ตั้งคำถามว่า “ทำไม”

2.พวกที่เรียนรู้จากการฟัง คิด จดจำข้อมูล = WHAT

      บทบาทของครูในแบบที่ 2 ครูจะเป็นผู้บอก อธิบาย เล่ารายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งบทบาทนี้ครูจะเป็นผู้สอน ผู้เรียนจะมีหน้าที่ฟัง

3.พวกที่เรียนรู้จากการลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ = HOW

      บทบาทของครูในแบบที่ 3 ครูจะเป็นผู้ชี้แนะ สร้างสถานการณ์ ผู้กำกับ ซึ่งขั้นนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ

 4.พวกที่เรียนรู้จากการคิดค้น ทดลอง พิสูจน์ จินตนาการ ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง = IF

      บทบาทของครูในแบบที่ 4 ครูจะเป็นผู้ประเมิน ผู้เรียนจะเป็นผู้ค้นคว้า แสวงหาความรู้ใหม่ๆ เช่น ครูให้นักเรียนปลูกต้นคริสมาสด้วยปุ๋ยธรรมชาติ ขณะเด็กปลูกก็จะเห็นว่าต้นไม้เป็นยังไง ผู้เรียนมักจะถามว่า “ถ้า…” (If) เช่น ถ้าปลูกด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ล่ะ จะได้ไหม ใช้ทิชชู่แบบถั่วงอกได้ไหม เป็นต้น

           สรุป การเรียนรู้แบบ 4 MAT คือการดึงความสามารถเฉพาะตัวของผู้เรียนออกมา ให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถของตนเอง ไม่ว่าผู้เรียนจะเป็นแบบที่1 2 3 4 ต่างก็เป็นความสามารถทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าแบบที่ 2ที่นั่งฟังเฉยๆจะเป็นคนไม่ฉลาด แต่เขาสามารถเข้าใจจากการฟังมากกว่า ในความคิดของผู้เขียนการเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ที่ดีแบบหนึ่ง เป็นการทำให้เด็กรู้ เข้าใจว่าตัวเองมีความสามารถแบบไหน เหมือนกับการอ่านหนังสือ บางคนอ่านหนังสือไปต้องฟังเพลงเบาๆ บางคนต้องอ่านเสียงดังๆถึงจะจำได้ เป็นต้น

 อ้างอิง

หนังสือ การพัฒนาการคิด ฉบับ ปรับปรุงใหม่ ของ รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ  สุเสารัจ

4
0
Jane_Amoure
เขียนเมื่อ

The Virtues Project.docx


                                                                    บันทึกอนุทิน                      ครั้งที่ 3วันที่ 25-26 สิงหาคม พ.ศ. 2557
                                             อบรมเรื่อง The Virtues   Project โดย Derek W. Patton
โดย นางสาว ณัฐพร เครือทองศรี รหัสนักศึกษา 57C0103102 ระดับปริญญาโท ภาคปกติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                            ************************************************************************************************

1.มีข้อสงสัยอะไรบ้าง?แล้วได้คำตอบที่ตัวเองสงสัยไหม? ถ้าได้ คืออะไร?

      ต้องยอมรับเลยค่ะว่า ตอนแรกได้ยินว่ามีอบรม The Virtues Projectก็ยังงงนะคะคืออะไรพอมาเห็นชื่อวิทยากรยิ่งงงกว่าเดิมเลยค่ะว่า   แล้วจะฟังรู้เรื่องหรอ? พอได้ฟังการบรรยายจบ   ได้รู้ว่า The Virtues   Projectคือ   การใช้คำพูดกับผู้อื่นด้วยความอ่อนน้อม พูดแบบสุภาพ รู้จักขอบคุณ ขอโทษ ผู้อื่น   และควรบอกเหตุผลเวลาพูดขอบคุณ

เช่น Thank you for   your helpfulness in carrying the packages.ประโยคนี้แปลได้ว่า   ขอบคุณที่คุณช่วยถือของให้นะคะ คือ เราบอกเหตุผลที่เราขอบคุณเขาด้วย

ประโยคขอบคุณสามารถใช้ได้กับทุกๆคน ทุกๆที่   เช่น เราไปทำผม ช่างทำผมให้เราเสร็จเราก็บอกว่า ขอบคุณที่ทำให้เราสวยนะคะ   จะทำให้คนฟังรู้สึกดีขึ้น 90% เราก็ได้สิ่งที่ดี   คนฟังก็รู้สึกดี เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า มีแต่ได้กับได้ ได้ทั้งความสุข   ได้มิตรภาพใหม่ด้วย

          สรุป เราควรระมัดระวังในการใช้คำพูด   เพราะบางทีเราพูดๆไป ไม่ได้คิดอะไร แต่คนฟังถ้าฟังแล้วไม่คิดอะไรก็ไม่เป็นไร   แต่ถ้าเขาฟังแล้วเก็บไปคิดมาก คนที่เสียใจก็คือเขา   เพราะเราไม่รู้หนิว่าทำให้ใครเสียใจ อาจจะทำให้เสียมิตรภาพไปได้ง่ายๆ   คำพูดเมื่อเราได้พูดไปแล้ว มันเอาคืนไม่ได้ ก่อนพูดเราเป็นนายของคำพูด   แต่หลังจากพูดไปแล้วคำพูดเป็นนายเรา ฉะนั้นเราควรจะคิดก่อนพูด คิดถึงใจเขา ใจเรา   ให้มากที่สุด

2.บรรยากาศในห้องเรียนเป็นยังไง

        บรรยากาศในห้องเรียนเป็นแบบเน้นให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายกันในกลุ่ม   สิ่งนี้ทำให้ดิฉันได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนใหม่ๆ มีทั้งพี่ๆปริญญาเอก   พี่ๆภาคพิเศษคณะอื่นๆอีก ทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างดี และร่วมมือในงานที่ได้รับมอบหมาย   ทำให้ในห้องเรียนเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ ภาพคนช่วยกันทำงาน   เป็นภาพที่หาได้ยากจริงๆในสังคมสมัยนี้   เพราะสังคมสมัยนี้เป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง   จึงไม่ค่อยเห็นภาพแบบนี้สักเท่าไหร่   แต่ภาพแบบนี้สามารถเห็นได้จากห้องเรียนห้องนี้ที่ได้ชื่อว่า The   Virtues Project

4
0
Jane_Amoure
เขียนเมื่อ

ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์.docx

                 

                                                                     บันทึกอนุทิน                           ครั้งที่ 2วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

                             อบรมเรื่อง Flipped Classroom ห้องเรียนกลับด้าน โดย ดร.ปกรณ์   สุปินานนท์
   
โดยนางสาว ณัฐพร  เครือทองศรี รหัสนักศึกษา 57C0103102 ระดับปริญญาโท ภาคปกติ   สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                         ********************************************************************************************

มีข้อสงสัยอะไรบ้าง?แล้วได้คำตอบที่ตัวเองสงสัยไหม? ถ้าได้ คืออะไร?

     -ได้คำตอบค่ะ ตอนแรกที่ได้ยินคำว่า Flipped Classroom ห้องเรียนกลับด้าน ก็งงมากค่ะ คิดไปหลายอย่างเลยค่ะว่าหรือว่าให้เราดูว่ามิติของห้องเรียนคืออะไร ห้องเรียนควรเป็นยังไงที่จะทำให้เด็กสนใจ คิดแล้วก็งงๆว่าเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอนตรงไหน พอฟัง ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ ค่อยหายสงสัยค่ะว่า Flipped Classroom คือ กระบวนการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่เปลี่ยนรูปแบบจากเมื่อก่อนคือ ครูบรรยายหน้าชั้นเรียน แล้วให้การบ้านเด็กไปทำที่บ้าน ก็เปลี่ยนมาเป็นครูให้เด็กไปหาข้อมูลหรือศึกษาที่บ้าน อาจจะด้วยวิธีการ ดูจากทีวี อินเตอร์เน็ท เนื่องจากสมัยนี้ สื่อและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมมาก ข้อมูลต่างๆแค่พิมพ์ใน google ก็สามารถรู้ได้ทุกอย่างในโลกนี้ แล้วก็เอาการบ้านมาทำที่ห้องเรียน อาจจะมาทำพร้อมกับเพื่อน หรือครูคอยดูเวลาเด็กทำก็ได้ เนื่องจากเวลาเด็กทำการบ้าน แล้วติดขัด คนที่เด็กต้องการเจอมากที่สุดก็คือครู แต่ครูไม่อยู่ด้วยแล้วเด็กจะถามใคร พอไปถึงโรงเรียนครูก็คอยเฉลย แล้วจะถามว่าเข้าใจไหม ต้องเข้าใจสังคมเมืองไทยก่อนว่า เราจะคิดว่าคนตอบไม่ได้คือคนโง่ ฉะนั้นเด็กก็จะไม่กล้าตอบว่า ไม่เข้าใจ ฉะนั้นจึงเกิด Flipped Classroom ขึ้น คอนำการบ้านมาอภิปรายกันในห้อง ครูจะได้รู้ว่าเด็กเข้าใจจริงหรือป่าวและเป็นการแก้ปัญหาการสอนแบบ นกแก้ว นกขุนทอง ท่องอย่างเดียวไม่ได้เข้าใจ ถ้าเราใช้วิธีการเข้าใจ เราจะไม่มีวันลืมสิ่งนั้น แต่ถ้าเราจำเพื่อสอบ หลังจากสอบเสร็จก็ลืม

       สรุป Flipped Classroom เป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากคำนึงว่าเรียนแบบท่องจำผู้เรียนอาจจะไม่ได้ความรู้อย่างแท้จริง จึงได้มีวิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนใหม่ โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางในความคิดของดิฉันข้อเสียของการเรียนการสอนแบบนี้คือ เด็กไทยมีนิสัยขี้อาย และ ขี้เกรงใจ อาจจะทำให้ยังไม่เปิดใจกับวิธีการสอนนี้มากเท่าที่ควร

3
1
Jane_Amoure
เขียนเมื่อ


                                                               บันทึกอนุทิน                                ครั้งที่  5 วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

วิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ รหัสวิชา 102611ผู้สอน   อาจารย์ ผศ.ดร.อดิสร เนาวนนท์
โดยนางสาว ณัฐพร  เครือทองศรี รหัสนักศึกษา 57C0103102 ระดับปริญญาโท ภาคปกติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

               ********************************************************************************************

KM.( Knowledge Management : การจัดการความรู้ )เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือที่ได้จากการเรียนรู้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรโดยกระบวนการต่างๆเช่น การสร้าง การรวบรวม การจัดเก็บ การแลกเปลี่ยน วงจรของ KM. มี 6 อย่าง คือ 1.การจัดการให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร 2.การสื่อสาร สื่อเพื่อให้เข้าใจว่า องค์กรกำลังทำอะไร ทำเพื่ออะไร ทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร 3.กระบวนการและเครื่องมือ ช่วยให้กระบวนการความรู้เกิดขึ้นได้สะดวกและรวดเร็ว เลือกใช้ให้เหมาะสมระหว่าง TACIT KNOWLEDGE:ความรู้ที่แฝงในตัวคน เช่น ประสบการณ์ ทักษะ ภูมิปัญญา และ EXPLICIT KNOWLEDGE :ความรู้ที่เป็นรูปธรรม ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร ส่วนเครื่องมือมี 2 ส่วน คือ เกี่ยวกับ IT และ ไม่เกี่ยวกับ IT ด้าน IT จะเข้ามาเกี่ยวข้องในขั้นตอน ค้นหา รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล เข้าถึงข้อมูล IT จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้ประเภท EXPLICIT KNOWLEDGE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.กำหนดวิธีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ให้เหมาะกับวัฒนธรรมขององค์กร การฝึกอบรมและการเรียนรู้ อบรมแนวทางและหลักการของ KM. ให้แก่บุคลากรเพื่อสร้างความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของ KM.5.แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นำไปใช้ในงานประจำวันได้ 6.ยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล สร้างแรงจูงใจที่สนับสนุนการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้สรุปได้ว่า การที่เราเราจะทำให้ KM.มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ คน สถานที่ และ สิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งต้องมีกระบวนการ 6 อย่าง มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการความรู้คือ1.การที่คิดว่าความรู้คืออำนาจ กลัวอำนาจจะหมดหรือหายไปจึงไม่แบ่งปัน/แลกเปลี่ยนความรู้คนอื่น 2.มองคนอื่นว่าอวดรู้ กลัวเขาว่าจึงไม่บอก ไม่อยากเป็นจุดเด่น ในสังคมไทยบางส่วนจะมองคนที่ชอบตอบคำถามว่าอวดฉลาดหรืออยากเอาหน้า แล้วก็จะโยนภาระให้คนที่ตอบได้เป็นผู้ทำงาน ฉะนั้นจึงไม่มีใครอยากตอบ อยากแสดงความเห็น เพราะกลัวได้รับผิดชอบงานแค่คนเดียว จริงๆแล้วเราน่าจะลองมาเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าคนที่กล้าแสดงความคิดคือคนที่เก่ง ที่ยอมบอกความรู้ที่เขามีให้เราได้ฟัง ทุกๆคนจะได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา ทุกความคิดไม่มีผิด คิดแบบนี้จึงจะกล้าแสดงความคิดเห็นออกมา พอคิดได้อย่างนี้สังคมทุกๆที่ก็จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

บรรยากาศในห้องเรียน

เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เลยค่ะ ทุกคนได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ แสดงความคิดเห็นกันตลอด ได้ความรู้จากเพื่อนๆมากๆเลยค่ะ

2
0
หลวงพี่พล Phra Chatsaphon Chanwongduen
เขียนเมื่อ

                                                                         AAR 

                 วันอังคาร ที่ 2 กันยายน 2557 สัปดาห์ที่สาม ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (Educational for Learning Society Development) แต่สัปดาห์นี้เป็นพิเศษที่ อาจารย์ ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์ ได้เชิญ อาจารย์สิริรัตน์ นาคิน เข้าบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ AAR เป็นอีกหลักการหนึ่งที่ใช้เกี่ยวกับ KM ในการจัดการความรู้ ซึ่งอาจารย์ ก็ได้พูดถึงหลักการที่เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้ (KM) ที่ได้มาว่ามีวิธีไหนบ้าง ซึ่งมีหลากหลายช่องทางมากในการจัดการความรู้ ซึ่งวันนี้ อาจารย์ได้เลือกวิธีการสร้างบล็อก ในการจัดการความรู้ โดยเริ่มตั้งแต่หลักทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็นความหมาย ความสำคัญ หลักการที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงวิธีการสร้างบล็อก และการใช้งานบล็อกในการบันทึกความรู้ที่ได้รับ ซึ่งจะได้อธิบายตามความรู้ความเข้าใจจากการรับฟังบรรยาย กาจดบันทึก และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น ดังต่อไปนี้ 

                 AAR ย่อมาจาก After Action Review ถ้าพูดถึงการทำงาน หมายถึง เรียนรู้ก่อนทำงาน เรียนรู้ระหว่างทำงาน เรียนรู้หลังทำงาน ซึ่งถ้าจะตีความหมายที่พูดมาข้างต้นก็จะว่าเกี่ยวอะไรกับการเรียนการสอนในวิชานี้ เพราะความหมายก็ตรงตัวอยู่แล้วว่าเรียนรู้ก่อนทำงาน เรียนรู้ระหว่างทำงาน และเรียนรู้หลังทำงาน แต่ AAR ในที่นี้อยากจะให้ความหมายว่า การบันทึกทบทวนความรู้หลังกิจกรรมการเรียนการสอน น่าจะเข้ากับบริบทการเรียนการสอนมากกว่า และเกี่ยวกับ KM ซึ่ง AAR ถ้าจะพูดถึงมีความสำคัญในการบระบวนการทำกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะก่อนที่จะทำกิจกรรม ต้องรู้เป้าหมาย ความรู้ที่ได้รับ ส่วนที่ยังไม่รู้ คิดวางแผนทำอะไรต่อไป หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับบทเรียนอะไรบ้างในการเรียนครั้งนี้ เป็นกระบวนการเกี่ยวกับ AAR และที่สำคัญความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ เราจะทำอย่างไรให้เกิดเป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากที่สุดต่อตนเองและผู้อื่น นั้นก็คือการนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้คนอื่นรับรู้ (KM) ซึ่งมีอยู่มากมายหลายช่องทางแตกต่างกันไป แต่ที่อาจารย์สิริรัตน์ นาคิน ได้นำมาบรรยายก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีความสำคัญ และนิยมมากพอสมควรในการจัดการความรู้ นั้นก็คือ การจัดการความรู้ทางบล็อก (Gotoknow) เพื่อให้สมาชิกที่มีความสนใจในองค์ความรู้เดียวกัน ได้เข้ามาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สิ่งที่ตนได้ศึกษามา อันจะเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในรูปแบบเดียวกัน ร่วมไปถึงปัจจุบันถือว่าเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากพอสมควร การจัดการความรู้ในรูปแบบนี้ จึงถือว่ามีบทบาทต่อองค์กรต่าง ๆ หรือแม้กระทั้งตัวบุคคลเอง ใช้ช่องทางนี้เพื่อจัดการความรู้ ซึ่งตัวนักศึกษาเองก็เห็นว่าการจัดการความรู้ทางด้านนี้ มีความสะดวก รวดเร็ว เหมาะสมในกระบวนการต่าง ๆ ที่จะจัดการความรู้ของตนเองที่ได้เรียนรู้มา อันทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ และต่อยอดความรู้เดิมโดยที่ไม่มีที่สิ้นสุดแห่งสังคมการเรียนรู้                                              

             สรุป การทำ AAR คือ การบันทึกบทบวนความรู้หลังกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยการจัดการความรู้ที่ได้เรียนมา (KM) ทางบล็อก (Gotoknow) ให้บุคคลที่มีความสนใจในเนื้อหาความรู้เดียวกันได้มาแชร์ความรู้ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

               บรรยากาศการเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนวันนี้ โดยภาพร่วมนักศึกษามีความตั้งใจในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลาทุกท่าน ทุกท่านดูตื่นเต้นกับบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน เพราะวันนี้เป็นอาจารย์รับเชิญมาให้ความรู้ เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน ถาม-ตอบประสบการณ์เรื่องราวต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้ประสบพบเจอที่ผ่านมา พร้อมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างอาจารย์ผู้บรรยายและนักศึกษา ไม่เน้นทฤษฎีมาก ค่อนข้างไปทางด้านปฏิบัติ เนื่องจากการจัดกิจกรรมวันนี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างบล็อก เพื่อจัดการองค์ความรู้ที่นักศึกษาได้เรียนมาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญความรู้ประสบการณ์แหล่งนั้นอาจจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นในการนำไปศึกษาต่อยอดเพิ่มเติมก็ได้

บันทึกโดย.....พระชัษษพณขิ์  จันวงค์เดือน    นักศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน 

3
1
หลวงพี่พล Phra Chatsaphon Chanwongduen
เขียนเมื่อ

                                                                                Virtue

             วันที่ 25 – 26 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา นักศึกษาระดับปริญญาเอก และระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายจาก Prof. Derek Patton ในโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม การปลูกคุณธรรมภายในตนด้านคุณธรรม (Awakening the Inner Gifts of Virtue) ณ ห้อง 9.08.05-06 ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา                                                                                                                                                                                    

                  หลายครั้งที่นักศึกษาได้เข้าร่วมรับฟังบรรยายเกี่ยวกับสาขาวิชาที่เรียน แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมในเชิงเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม ปลูกคุณธรรมภายในตนด้านคุณธรรม (Awakening the Inner Gifts of Virtue) บรรยายโดย วิทยากรชาวต่างชาติ ซึ่งการเข้าร่วมรับฟังบรรยายในครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านหลักคุณธรรม ระหว่างผู้บรรยาย และผู้ที่เข้าร่วมรับฟังบรรยายด้วยกันเอง โดยมีนักศึกษาปริญญาเอก และปริญญาโท ซึ่งทุกท่านแหล่านี้ก็ล้วนมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การการศึกษา เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง และถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ในครั้งนี้ให้กับเด็กนักเรียน                                                                                

               ณ ปัจจุบันสังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากทางด้านเทคโนโลยี ทำให้สังคมเปลี่ยนไปจากอดีตที่ผ่านมา การดำเนินชีวิตก็ยุ่งยากขึ้นมากกว่าเดิม เป็นสังคมที่เห็นแก่ตัว เพราะคนในสังคมขาดคุณธรรมจริยธรรม คุณธรรมแหล่งนี้จึงเปรียบเหมือนยาที่คอยรักษาสังคมให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การเข้าร่วมรับฟังบรรยายในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งดีจะได้เรียนรู้ในเรื่อง หลักคุณธรรม เทคนิค วิธีการพัฒนาคุณธรรมของเด็ก การคิดเชิงบวก เป็นต้น ก็จะขอกล่าวถึงความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ ไม่ว่าคำคุณธรรม Service Self-Discipline Thankfulness Friendliness Helpfulness เป็นต้น ซึ่งมีวิธีที่เราจะใช้คำแหล่านี้กับเด็กเมื่อเขาขาดคุณธรรม ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องมี 7 ข้อ ได้แก่ หยุดพฤติกรรมและให้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง ให้โอการเด็กแก้ตัว ให้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ปฏิบัติตามกฎ บอกสิ่งถูกผิด ดึงเข้าสู่คุณธรรมทันทีที่รู้ผลการกระทำ ถามเด็กว่าเรียนรู้อะไรจากผลนั้น และข้อสุดท้ายให้รางวัลเมื่อเขาพยายามปรับปรุงตัว นี้คือวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการสร้างคุณธรรมกับเด็ก เมื่อเขาขาดคุณธรรมสิ่งที่ไม่ถูกต้องดีงาม ซึ่งบางครั้งการขาดคุณธรรมของเด็กก็มาจากพฤติกรรมที่แสดงออกของครูเสียเอง ต้องระวังพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ อย่างเช่น ดุนักเรียนเกินไปทำให้เกิดความอับอาย พูดให้เด็กในด้านลบ ใช้วาจาที่ทำร้าย ทำร้ายตบตี ปกป้องเด็กมากไป ลงโทษเด็กมากเกินไป และข้อสุดท้าย เพิกเฉยต่อความพยายามปรับปรุง พฤติกรรมเหล่านี้ ถือเรื่องที่ครูไม่ควรทำโดยเด็ดขาด เมื่อเราสอนคุณธรรมกับเด็กสิ่งที่จำเป็นที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเด็กทำความดี ประพฤติตัวถูกต้องครูก็ต้องชมเด็ก พูดคำคุณธรรมกับเด็ก อย่างเช่น เมื่อเด็กช่วยถือของให้ ก็ต้องรู้จักขอบคุณ เด็กทำการบ้านมาส่งก็ต้องชมเขาว่ามีความรับผิดชอบ อย่างนี้เป็นต้น และหัวข้อสุดท้ายที่ได้จากการเข้ารับฟังการบรรยายในครั้งนี้ คือ รู้จักรมองโลกในแง่ดี หรือคิดเชิงบวกนั้นเอง ไม่คิดร้าย คิดทำลายคนอื่น คิดแต่สิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา ถ้าคิดแต่เรื่องลบเราทำอะไรก็ติดขัดไปหมด ระแวงไปหมด เกิดความหดหู่ใจ สุดท้ายสิ่งที่ไม่ดีก็นำพาเข้ามาหาตัวเรา แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราคิดดี คิดแต่ด้านบวก ให้กำลังใจตัวเองอยู่ตลอดเวลา แม้จะเจอปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ นานา ก็จะทำให้เรามีสติสัมปชัญญะ ไม่โทษคนอื่น มองที่ตัวเราเองเป็นหลักว่าปัญหาเกิดมาจากไหน มีวิธีแก้ไขไหม แก้ไขอย่างไร วางแผนแก้ไขปัญหาไปตามลำดับขั้นตอน สุดท้ายก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี พูดแล้วก็คิดถึงคำพูดของอาจารย์ท่านหนึ่งได้ให้ข้อคิดไว้เมื่อยามท้อว่า “ไม่มีอะไรที่คนเราทำไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่าเรายังไม่ทำ” บางครั้งเรามักตัดสิ้นเรื่องราวต่าง ๆ (ความคิด) โดยที่เรายังไม่ได้ลงมือทำ สุดท้ายก็เป็นคนแพ้ตั้งแต่ความคิด โดยไม่มีสิทธิ์ที่จะทำ

              สรุปว่า ความรู้ความเข้าใจที่ได้ในการเข้าร่วมโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมในครั้งนี้คือ คุณธรรมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนที่จะกระทำต่อตนเอง และบุคคลอื่นรอบข้าง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เมื่อเรารู้หลักคุณธรรมแล้ว ก็ต้องรู้จักหลักการใช้คำคุณธรรมในการปฏิบัติด้วย ตลอดจนละเอียดเข้าไปสู่เรื่องของความคิด จะต้องคิดในเชิงบวก เพราะทุก ๆ ความคิดสามารถปรับเปลี่ยนชีวิตคุณตลอดเวลา                                                                     

4
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท