อนุทินล่าสุด


B-chai
เขียนเมื่อ

การถอดบทเรียน ต้องให้เห็นวิธีการ และเงื่อนไขของผลงานนั้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

B-chai
เขียนเมื่อ

เมื่อเราเลือกที่จะวางเฉย ให้รู้ว่ามีอีกคนที่ต้องรับผิดชอบ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

B-chai
เขียนเมื่อ

เวลาใครเชิญเราเข้าวงแลกเปลี่ยน ให้รู้ว่า

เชิญ = แชร์ (share)+ เลิน(learn) มาแบ่งปันและเรียนรู้กลับไป 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

B-chai
เขียนเมื่อ

วันนี้ มาอบรมยุวทูตโทรคมนาคม ในภาคเหนือ

ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  จังหวัดเชียงราย  

มีการนำเสนอโครงงานของเยาวชน 

มีหลากหลายทั้งโครงงานรณรงค์การคุ้มครองสิทธิ เยาวชนมัธยม และเยาวชนระดับมหาวิทยาลัยตอนปลาย 

มีงานทำเพิ่มเติมอีกแล้ว



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

B-chai
เขียนเมื่อ

บทเรียน จาก การทบทวนและติดตามความก้าวหน้างาน: การวางเป้าหมายในงานพัฒนา ต้องมีการกำหนดคำนิยามของคำที่นำมาใช้ในครั้งนั้น ด้วย เพราะไม่เช่นนั้น เวลาหยิบมาคุยกัน คงต้องมาตีความกันวุ่นวายอีกรอบ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

B-chai
เขียนเมื่อ

วันนี้มาอบรม การเป็นวิศวกรความรู้และการจับความรู้

โดยทีม ดร.นพสิทธิ์ จักรพิทักษ์ จากวิทยาลัยศิลปการสื่อสารและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จัดโดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 

ก็แปลกดี ได้เจอคำใหม่ๆที่ไม่เคยได้ยิน

แต่ concept ก็ยังคล้ายๆกัน 

แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

B-chai
เขียนเมื่อ

วันนี้ไม่สบาย  เป็นหวัด

ความสามารถในการเขียนบล็อกหายไป 

ทุกท่านดูแลตัวเองด้วยนะครับ

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

B-chai
เขียนเมื่อ

หลังจาก เขียนบันทึกเรื่องเครือข่ายความรู้ฟื้นฟูห้องราชดำเนิน ในพันทิปไปแล้ว วันนี้ แอบแว๊บเข้าไปชม

รู้สึกว่าจะกลับมา แนวเดิมอีกแล้ว การวิเคราะห์ การถากถาง กัน ยังแรงเหมือนเดิม การถกเถียงบนพื้นฐานความรู้เริ่มหายไป  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

B-chai
เขียนเมื่อ

ที่ 15 เมษายน 2549


วันนี้มีโอกาสได้ไปทำบุญวันสงกรานต์ พร้อมกับเอา เงินผ้าป่าที่ได้จากการสมทบทุนของ พี่ ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวมสช. ไปร่วมสมทบกับ เงินจากสายอื่น ๆ เพื่อไปทำบุญสมทบกันจัดซื้อคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนที่วัดโรงม้า อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งก็สมทบกันทุกสายแล้ว ได้เกือบ 20,000 บาท (เงินผ่าป่าส่วนใหญ่ก็มาจากสายที่มาจาก กรุงเทพฯ ประมาณ 14000 ) ก็อิ่มบุญกันไปตามๆ กัน ใครที่ทำบุญมา ก็รับบุญกันด้วยนะครับ


นั่งรอพระ ก็ฟังพิธีกรพูดไป เขาก็พูดเก่งนะ แกก็พูดไปว่ากองทุนผ้าป่า จะเอาไปทำอะไร (เราก็นึกในใจแหม 20,000 บาท อย่างดี ก็ได้คอมเครื่องเดียว กับ เครื่องพรินตเตอร์ สักเครื่อง ) นอกจากนั้น พิธีกรก็ยังพูดให้ร่วมสมทบ ทุนค่าผ้าสรงน้ำ พระ ก็ได้มา 1200 บาท อ้อ ลืมบอกไป คนที่เข้ามาร่วมงาน ก็ชาวบ้านแถบนั้น กับลูกๆหลานที่กลับมา ก็ประมาณ 60 – 70 คน เห็นจะได้ (แหมงานนี้ใครว่าชาวบ้านจน ทองอร่ามกันทั้งวัดเชียว)


เอาล่ะเข้าสิ่งที่คิดไว้ ระหว่างนั่งรอ ก็เอ๊ะใจคิดเรื่องการทำผ้าป่าของชาวบ้านกัน ก็เห็นว่าน่าจะมีประเด็นเรื่องการจัดการกองทุนของชาวบ้านมาแลกเปลี่ยนกัน




1)กองทุนผ้าป่านี่ ก็เหมือนกับการระดมทุนเพื่อจะทำกิจการอะไรอย่างหนึ่ง ของชาวบ้าน โดยมีวิธีการจัดการ คือเขาวางวัตถุประสงค์ให้ชัดว่าจะไปทำอะไร อย่างงานนนี้เขาระบุหน้าซองไปเลยว่าไปจัดซื้อคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การเรียน อะไรก็ว่าไป


2) ผ้าป่านี้เขามีกรรมการนะ รายชื่อกรรมการนี่ก็มีชื่อเราอยู่ด้วยนะ (อันนี้ก็แปลกใจ มีไปได้ไง เราไม่ได้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เป็นกรรมการ ดูๆไป ก็ไม่เห็นมี ศาสตราจารย์ หรือ ดร.เลย จะทำได้เหรอ ) แต่กรรรมการส่วนใหญ่ก็เป็นชาวบ้าน หรือชื่อลูกหลานที่ทำงานในกรุงเทพฯ หน้าที่กรรมการก็มีนะ ว่าหาเงินมา สมทบทุนแถมต้องมีเกณฑ์การใส่ซองด้วยนะ ประธานสายต้องเท่าไร รองประธานเท่าไร (อันนี้ไม่เหมือนกับกรรมการที่คุ้นเคย ประธานต้องจ่ายเท่าไร กรรมการที่มาประชุมจ่ายเท่าไร) อันนี้เป้าหมายหลักจะเป็นลูกหลานคนในชุมชนที่ทำงานอยู่ ก็มีกรรมการเป็นสายๆไป สายชื่อโรงงาน ถนนบ้าง เช่น สาย TPI สาย ถนนศรีนครินทร์ แต่ละสายก็มีประธานสาย รับผิดชอบเอาซองไปแจกระดมทุนจากเพื่อนร่วมงานมา (อันนี้ท่านๆคงคุ้นเคย) ได้มาก็เอามาร่วมกันเวลากลับมาสงกรานต์ ส่วนจะจัดซื้อจัดจ้างสืบราคาอย่างไร (ใช้ศัพท์ซะ) อย่างไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง


3) ผ้าป่า เป็นการจัดการกองทุนที่เรียบง่าย ของชาวบ้านนะ สิ่งที่เห็นก็คือ ชัดเจน ระยะเวลาสั้น ผลเห็นเป็นรูปธรรมดี


อย่างแรก ก็มีการตั้งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมนะ ว่า จะซื้ออะไร ไปทำอะไร ชาวบ้านเขาชอบวัตถุประสงค์ตรง ซื้อคอม ก็บอกว่าซื้อคอม คนจะให้เงินกล้าเสียสละเงินให้


การจัดการที่เรียบง่ายที่เชื่อมกับหลักศาสนา การประสานเป็นกองทุนผ้าป่าผ่านวัด สำหรับคนไทยแล้ว การให้เงินผ่านวัดก็ถือว่าเป็นการทำบุญ ส่วนวัดจะเอาไปทำอะไรก็อีกเรื่องหนึ่ง นอกจากนั้นการมีชื่อวัดหรือทำบุญผ่านวัด ก็เป็น หลักประกัน ความน่าเชื่อถือได้ระดับหนึ่ง (เอาเงินทำบุญก็บาป) ได้เงินมาก็มากองรวมกัน นับกันในวันงานบุญ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็เห็นอยู่ ว่ามีการงุบงิบเงินหรือไม่ นับเสร็จก็บอกยอดกัน อันนี้ก็น่าจะโปร่งใสในภาษาชาวบ้านแล้ว








กลยุทธระดมทุน การทำบุญผ่าป่า จะเป็นการระดมทุนของชาวบ้านก็จะมีอยู่ในสองส่วน คือ


ทุนภายในชุมชน คือ คนที่ทำงานหากินอยู่ในหมู่บ้านนั่นแหละ เงินนี้ก็มีระดับหนึ่งแต่ไม่เยอะเท่าไร เงินนี้ก็เป็นเงินที่ชาวบ้านเขาเสียสละมาจาก ค่าข้าว ค่าเรียนลูก ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเหล้า (อันนี้ลุงถิ้นบอกว่าเมียบังคับ) อย่างในงานนี้ ได้ 3,000 กว่า ๆทุนประเภทนี้ที่นักวิชาการทั้งหลายเรียกร้องให้เกิดขึ้นจะเอาไปตั้งมูลนิธิกองทุนชุมชนบ้าง เอาไปสมทบ กองทุน สปสช. บ้าง ก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือป่าว เพราะ เงินนี้รวมๆๆ กันแล้ว ยังไม่พอกับ ค่าปาล์มที่นักวิชาการนั่งจิ้มกันเลย)


พูดถึงตรงนี้ ก็มีข้อสังเกตนิดหนึ่ง คิดง่าย ๆ กองทุนชุมชน คือเงินที่ชาวบ้านเขาเสียสละ จาก ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เขา ขณะที่เงินที่เราบอกว่าจะสมทบ คือเงิน ที่เราจะเอามาจาก กองทุนที่รัฐบาลให้มา เจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้เลยอันนี้ว่ากันตรงๆๆ มันก็จะมีมุมมองนะ คนหนึ่งบริหารเงินที่ไม่ใช่เงินของตนเองซึ่งก็มีเป็น ล้านๆๆ แถมได้เงินเดือน นั่งในห้องแอร์ อีก ก็เรียกร้องให้คนที่มีเงินน้อยเดือนละไม่กี่พัน ซึ่งเป็นเงินค่ากินค่าอยู่เสียสละ เงินมาตั้งกองทุน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมแบบง่ายๆ (เงินไม่พอละสิถึงมาเรียกหาการมีส่วนร่วม) อันนี้ก็คิดแบบง่ายๆๆ ฝันไปหรือปล่าว แต่แน่ละเมื่อนักคิดหลายท่านเขาพูดจัง ก็แสดงว่าเป็นไปได้ อันนี้ก็ต้องมีทางออกที่จะต้องศึกษากันต่อไป ว่าจะทำอย่างไร เช่น ตั้งกองทุนออมทรัพย์ขึ้นมาแล้วเอาดอกผลนั้นมาสมทบ เป็นกองทุนชุมชน นี่ก็ไม่รบกวนชาวบ้านจนๆเท่าไร อันนี้ก็ว่ากันต่อไป คงต้องใช้เวลา และการจัดการความารู้อีกมากมาย ที่สำคัญ อย่าเป็นพวกตัดพยาพยามให้ดอกโป๊ยเซียน สวยเหมือนดอกกุหลาบล่ะ หรือทำบุญแค่บาทเดียวแต่ขอบ้านหนึ่งหลัง


ทุนจากภายนอกชุมชน อันนี้เป็น เงินส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากคนในชุมชน เงินส่วนนี้ก็มาจากความสามารถของลูกหลานที่รวบรวมมากจากภายนอกโดยเฉพาะที่มาจากกรุงเทพฯ อันนี้น่าสังเกตว่าคนที่ทำงานในเมืองหลวง มีความสามารถที่จะเสียสละได้มากกว่า คนในชนบท ตรงนี้กระมัง รายชื่อกรรมการจึงต้องเป็นลูกหลานที่ทำงานอยู่


กระบวนการผ้าป่า กระบวนการสานชุมชน นอกจากการทำบุญร่วมกันแล้ว ผ้าป่า ก็ยังเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันของคนในชุมชน ลูกหลาน ทีทำงานต่างจังหวัดก็เอาเงินกลับมาร่วมทำบุญ เอาเงินมาร่วมกันพัฒนาบ้านเกิด ตามศรัทธา ตัวเงินไม่ต้องคิดหรอก แต่ กระบวนการนี้สิทำเห็นว่า ชุมชนเขามีวิธีการจัดการพัฒนาบ้านเกิดได้ในระดับหนึ่ง แถมได้เป็นโอกาสกลับมาหาพ่อแม่ปู่ย่า ตาทวด และยังได้ช่วยพัฒนาบ้านเกิดเท่าที่ทำได้ให้เป็นรูปธรรมด้วย ไม่ต้องใช้เวลานาน มาก และไม่ยุ่งยากกับงานในชีวิตประจำวัน แค่ แจกซอง แล้วเก็บ มาสมทบกัน ได้เงินก็ไปซื้อคอม มาใช้ตามที่แจ้งไว้


นี่คือสิ่งที่คิดเห็น ได้จากการนั่งร่วมทำบุญประมาณ 2 ชั่วโมง ผมว่า ถ้าได้ศึกษาอย่างจริงจัง เราน่าจะได้คำตอบอะไร กับแนวทางกองทุนชุมชน ที่นักพัฒนากำลังเรียกร้องและดำเนินการกันอยู่ น่าเสียดายที่ไม่ได้อยู่จนเขานำเงินไปซื้อคอม มา จะได้รู้ว่าเขามีวิธีการจัดการเงินอย่างไร ตรวจสอบอย่างไร ( ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีที่เป็นที่ยอมรับ มาเซ็นให้หรือป่าวนะ) ถ้ามีโอกาสก็คงมาเล่าให้ฟังกันต่อ แต่สิ่งที่จะสื่อทั้งหมด ก็คือ เราได้เห็นการจัดการของชาวบ้านแห่งหนึ่ง ที่เรียบง่าย แหมจะไม่โดดเด่นมากนะ (จนน่าไปนำเขียนพิมพ์เป็นหนังสือ) แต่นี่ก็คือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นชาวบ้านในอำเภอเล็กๆๆ แต่ก็น่าภูมิใจที่ได้จัดการให้บ้านเกิดตัวเอง (ว่าแล้วเห็นที่ต้องไปตั้งผ้าป่าพัฒนาบ้านเกิดตนเองแล้วล่ะ)




นายชาย


เวลา12.00 น.15 เมษายน 2549



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท