อนุทินล่าสุด


ภูริวัฒน์ เธียรสถิตธรรม
เขียนเมื่อ

วิเคราะห์วิจารณ์ตัวละครในวรรณคดี

นางพันธุรัต

นางพันธุรัตเป็นยักษ์ใจดี  เลี้ยงดูพระสังข์และรักเหมือนลูก  แต่ความรักของนางกลับทำลายตัวนางเอง  เพราะเท่ากับว่าเมื่อพระสังข์  “ปีกกล้าขาแข็ง” แล้วก็หนีจากนางไป
ผู้นิพนธ์ได้ชี้ให้เห็นความขัดแย้งระหว่างนางพันธุรัดกับพระสังข์ตั้งแต่แรก ที่ท้าวภุชงค์ส่งพระสังข์มาเป็นลูกคือ  โหรไม่เห็นด้วย  แต่นางไม่ฟังคำทักท้วงเพราะรักใคร่เอ็นดูพระสังข์เสียแล้ว  แต่วิตกว่าตนเป็นยักษ์  พระสังข์เป็นมนุษย์จะกลัวยักษ์  จึงสั่งให้พวกยักษ์จำแลงกายเป็นมนุษย์ทั้งหมด  ซึ่งสุนันทา
โสรัจจ์  วิจารณ์ไว้ว่า  “นางยักษ์เริ่มต้นด้วยการหนีความจริง เมื่อโหรทำนายว่าพระสังข์จะก่อความวิบัติให้นาง ก็ไม่ตัดไฟต้นลมเสียก่อน นอกจากนี้ยังไม่ยอมรับฟังเหตุผลโมโหร้ายที่ถูกขัดใจ ถือเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่”
นางพันธุรัตแปลงกายอำพรางไม่ให้พระสังข์รู้จนเวลาผ่านไปร่วมสิบปี  แต่นางก็กลัวว่าพระสังข์จะหนีไป  จึงคอยระวังอยู่ตลอดเวลา  แม้เวลาที่จะไปป่าก็ยังหลอกพระสังข์จนพระสังข์สงสัย  แต่เราจะสังเกตได้ว่า  ผู้นิพนธ์ได้กล่าวย้ำถึงความเป็นยักษ์ของนางอยู่ตลอดเวลา
ถึงแม้จะเป็นยักษ์  นางพันธุรัตก็เป็นแม่ที่อุ้มชูพระสังข์มาเป็นเวลานานให้ความห่วงใยเสมอต้น เสมอปลาย  พระสังข์เองก็อดที่จะโศกเศร้าอาลัยอาวรณ์ไม่ได้  ครั้นพอเห็นพระสังข์ไม่ยอมลงมาหาแน่แล้ว  นางก็เขียนมหาจินดามนตร์ไว้ให้  เพื่อเป็นการเตรียมการให้พระสังข์ไปผจญกับอุปสรรคและแก้ไขอุปสรรคได้  การกระทำของนางคือการเสียสละเพื่อลูกอย่างแท้จริง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท