คำตอบ


บิดาคนไทยมารดาคนลาวลูกเกิดอยู่ประเทศลาวลูกจะได้สัญชาติไทยหรือไม่และจะนำลูกเข้ามาไทยต้องทำอย่างไรบ้างแชะใช้เอกสารอะไรบ้างถึงจะเอาลูกเข้ามาได้ตอนนี้ลูกอายุได้1เดือนกว่าครับ

นาย บำรุง สกุลกาญจนรักษ์

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ต้องดูกฎหมายประเทศลาวด้วยว่า บุตรจะมีสิทธิในสัญชาติไทยหรือไม่ สำหรับกฎหมายไทย บุตรมีสิทธิได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ตามมาตรา 7 (1) แห่ง พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 แต่ต้องทำตามระเบียบขั้นตอน เช่น ต้องแจ้งเกิดต่อสถานทูตไทยในลาวด้วย, จดทะเบียนการสมรสกับมารดาเด็ก เป็นต้น ... รายละเอียดให้สอบถามจากสถานทูตไทยในลาวได้

เมียคนลาวจะออกลูกที่ไทยได้ไหมแต่ไม่มีพาสปอตร์

ไอซ์

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คลอดได้ทุกสถานที่ในประเทศไทย หากคลอดที่ รพ. หากมีเลขสิบสามหลักไหม เลข 00 ก็แจ้ง รพ. ไป และอย่าลืมแจ้งรายการของบิดาเด็ก้วยว่า เป็นบุคคลสัญชาติไทย ... แสดงทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนของบิดา ... และอย่าลืม สมุดสีชมพู (สมุดฝากครรภ์) ควรจมีชื่อบิดาเด็กด้วยว่าชื่อนาย..... (สัญชาติไทย).... บุตรที่เกิดมา "ได้สัญชาติไทย"

ตอนนี้เขาให้คนมีบัตรสิบปีโอนสัญชาติไทยได้ไหมค่ะ

พิ้ง

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มีครับ ตามมาตรา 7 ทวิ กรณีที่มีบิดามารดาเป็นต่างด้าว แต่เกิดในประเทศไทยหลัง 25 กพ. 2535 ขอสัญชาติไทยเป็นการเฉพาะรายได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนด ... ควรไปปรึกษาสำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นฯ ครับ

ลูกของหญิงลาวเข้าเมืองผิด(พ่อไทยซึ่งตามตัวไม่ได้) ได้ใบเกิดชาติลาว ขอ...

เชน เย็นสันเทียะ

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คำถามนี้น่าสนใจมาก ๆ....

ประเด็นว่า เด็กต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็นเด็กต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบ หรือ เข้าเมืองโดยมิชอบ (เด็กเลข 0, 00) จะสามารถเป็นบุตรบุญธรรมบุคคลสัญชาติไทยได้ หรือไม่ เพียงใด

ในความเห็นส่วนคัว (ยังไม่ได้ตรวจสอบข้อกฎหมาย) ตามหลักสิทธิมนุษยชน ทำได้หมดทุกกรณีครับ แต่การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเด็ก มีกฎหมาย

พรบ.การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522

กำหนดขั้นตอนฯไว้ ให้ปรึกษาพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พม.จังหวัด) จะดีที่สุดครับ

อยากมีสัญชาติไทย และบัตรประชาชน

พงษ์เทพ

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ข้อแนะนำข้อแรก.... ให้คุณพงษ์เทพไปยื่นคำร้องขอลงรายการ "บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน" หรือ "บุคคลเลข 0" ก่อน คือขอไปยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ตนเองอยู่...

หลังจากได้รายการบุคคลเลข 0 แล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการของสัญชาติ ... คุณพงษ์เทพอายุ 30 ปี เกิดประมาณ พ.ศ. 2528 เป็นช่วงที่เกิดก่อน 26 กุมภาพันธ์ 2535 บิดามารดาไม่ปรากฏสัญชาติ... คุณพงษ์เทพ...มีสิทธิได้สัญชาติไทย ตามมาตรา 23 พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

แต่คุณพงษ์เทพต้องมีพยานบุคคลรับรองการเกิด... หากมีปัญหาการประสานงาน ควรปรึกษาหน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชนช่วยเหลือโดยเฉพาะทางด้านกฎหมาย.... เพราะมีความซับซ้อนของข้อมูลประวัติส่วนตัว และพยานหลักฐานที่ประกอบ...

การขอตรวจDNA

ชินดนัย ยี่สน

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ
ก่อนการไปขอตรวจ DNA จะต้องมีคำรับรองของ "นายทะเบียนฯ" ให้ตรวจสอบ DNA ได้เสียก่อน มิใช่ทะเร่อทะร่าไปตรวจสอบ DNA เองโดยพลการ เพราะในบางกรณี ไม่ต้องตรวจ DNA ก็สามารถวินิจฉัย "สัญชาติ" ได้จากพยานเอกสาร พยานบุคคลแวดล้อมก็เพียงพอแล้ว... เพราะมิฉะนั้น จะเป็นการ "สร้างภาระ" เกินสมควรแก่ประชาชนตาดำ ๆ ที่เป็น ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ตกทุกข์ได้ยาก...

การขอตรวจDNA

ชินดนัย ยี่สน

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

อาจตรวจได้ หากเป็นญาติ "สายตรง" (บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด) หรือเป็นญาติที่มีจุดร่วมกับ "ญาติสายตรง" ซึ่งญาติคนนั้นต้องได้สัญชาติไทย "ตามหลักสายโลหิต" รายละเอียดต้องจัดทำผังเครือญาติดูก่อน ให้ไปปรึกษาสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่

ความแตกต่างบัตรเลข0กับบัตรเลข0 คนไร้รากเหง้า

ชินดนัย ยี่สน

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

โดยนัยยะแล้ว มีความหมาย "เหมือนกัน" ครับ ไม่แตกต่างกัน เพราะการ "ขอลงสัญชาติไทย" หรือ "การได้สัญชาติไทย" เขาจะดูกันที่พ่อหรือแม่เป็นหลัก ตาม "หลักสายโลหิต" (มีบิดาหรือมารดามีสัญชาติไทย) และต่อไปก็ขะดูกันที่ "หลักดินแดน" (เกิดในประเทศไทย)

เพียงแต่เลข "0" ไร้รากเหง้าจะพิเศษหน่อยว่า ไม่ปรากฏบุพการี (บิดามารดา) หรือบุพการีทิ้งไปตั้งแต่เด็ก และปัจจุบันไม่สามารถตามหาบุพการีมาพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลได้ สรุปง่ายๆว่า เลข "0" ไร้รากเหง้าก็คือ "ลูกไม่มีพ่อไม่มีแม่" นั่นเอง...

เพราะ หากเป็นเลข "0" ธรรมดาที่มีบิดามารดา หรือสามารถตรวจสอบหาบิดามารดาได้ จะเป็นอีกกรณีหนึ่ง กล่าวคือ แตกต่างกันเฉพาะ "ความซับซ้อนในการสืบหาพยานบุคคลที่เป็นบิดามารดาเพื่อมาพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลที่ถือเลข "0" เท่านั้นเอง" เพราะหากมีบิดามารดามาแสดงตน ก็จะทำให้สามารถวินิจฉัยการได้สัญชาติของบุคคลเลข "0" ได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเอง...

การขอตรวจDNA

ชินดนัย ยี่สน

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

หลักการเบื้องต้น การตรวจ DNA คือ

(1) การตรวจ DNA ต้องตรวจกับ "บุพการี" (บิดามารดา หรือ ปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็น "ญาติสายตรง") ที่ได้สัญชาติไทยมาก่อนแล้ว ตามหลักสายโลหิตหรือหลักดินแดน ตามมาตรา 7 แห่ง พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 รวมที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555 ซึ่ง "บุพการี" นั้นต้อง มิใช่การได้สัญชาติไทยมาทีหลังจากการ "ขอลงรายการสัญชาติไทย" หรือ "การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย" เพราะ มันเป็นกรณี "เฉพาะตัว" มิใช่หลัก "ตามหลักสายโลหิตหรือหลักดินแดน"

(2) การตรวจกับญาติ ก็ต้องเป็นญาติ ที่ได้สัญชาติไทยมาก่อนแล้ว ตามข้อ (1) การตรวจ DNA กับญาติทั่ว ๆ ไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวพันกันห่าง ๆ โดยไม่ใช่ "ญาติสายตรง" คงไม่ได้

(3) รายละเอียดให้ไปสอบถามที่ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ตนเองมีชื่ออยู่ เพราะก่อนการตรวจ DNA จะต้องมีการจัดทำ "ผังเครือญาติ" เพื่อดูความสัมพันธ์เกี่ยวญาติกันด้วย "ตามหลักสายโลหิตหรือหลักดินแดน" ตามที่กล่าวในข้อ (1) และ ข้อ (2)

หมายเหตุ หลักการนี้เป็นหลักทั่วไป แต่ในกรณีของ "คนไทยพลัดถิ่น" ที่แต่เดิมได้สัญชาติโดย "การแปลงสัญชาติเป็นไทย" นั้น ผู้เขียนยังเห็นว่า น่าจะใช้การตรวจ DNA เพื่อขอ "สัญชาติไทย" ได้ เพราะ กรณีของคนไทยพลัดถิ่นนั้น ใช้หลักการได้สัญชาติไทยตาม "หลักสายโลหิต" ซึ่งมีกฎหมายสัญชาติรองรับแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2555

พิสูจน์สัญชาติ ตรวจ DNA เพื่อให้ได้สัญชาติ จาก บิดา

อร

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สอบถามเพิ่มเติม... คุณ อร ไปตรวจดีเอ็นเอกับบิดา ปัจจุบันคุณอร ใช้ชื่อใด เลขประจำตัวใด กล่าวคือ คุณอรมีเลขประจำตัวบุคคล 13 หลัก และบัตรประจำตัวแล้ว ตามเลขทะเบียนที่อ.ทับสะแก ใช่หรือไม่...

ฝากเป็นข้อสังเกต...

(1) เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฐานข้อมูลที่อ.ทับสะแก ใช้ไม่ได้ เพราะเป็นฐานข้อมูลเท็จ... เป็นฐานข้อมูลคนไทยพลัดถิ่น "ตะนาวศรี" ไม่ใช่คนไทยพลัดถิ่น "เกาะกง"

(2) ฐานข้อมูลที่อ.ทับสะแก ชื่อบิดามารดา รายการ วดป. เกิด ก็ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ต้องแก้ไขรายการชื่อบิดามารดา วดป. เกิด ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงเสียก่อน แต่การแก้ไขรายการต้องให้นายอำเภออนุมัติให้แก้ไขได้

(3) จากข้อสังเกตทั้งสองข้อ ฐานข้อมูลที่อ.ทับสะแก เป็นฐาน "ข้อมูลอันเป็นเท็จ" ตาม มาตรา 10 แห่ง พรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 นายทะเบียนฯ ต้องยกเลิกจำหน่าย และอาจมีการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด และ จนท.ผู้เกี่ยวข้อง

(4) มีข้อแนะนำว่า ควรปรึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) หรือศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมายจะดีกว่าที่ไปดำเนินการด้วยตนเอง ด้วยเหตุ "ข้อมูลเท็จ" ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์.... เป็นความผิดอาญาครับ...

ท ร 38 ทำได้โดยอาศัยใคร

ชินดนัย ยี่สน

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ว่าด้วยการเรียกชื่อแบบพิมพ์การทะเบียนราษฎร

เนื่องจากแบบพิมพ์ต่าง ๆ มีมาก จนท. ผู้เกี่ยวข้องมักเรียกทับศัพท์ชื่อแบบพิมพ์ เช่น เรียก ท.ร. 14 ท.ร. 13 ท.ร. 1 ท.ร. 3 ท.ร. 4 เป็นต้น พอมาถึง บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน และ ต่างด้าว ก็เรียก ท.ร. 38 ท.ร. 38/1 ... ทำให้คนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ จนท. งง สับสน ไม่ทราบความหมาย...

ผู้เขียนขอสรุปความหมายสั้น ๆ จากระเบียบฯ ดังนี้

บุคคลจะมีชื่ออยู่ในทะเบียน 2 อย่างคือ
(1) บุคคลมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14 หรือ ท.ร.13) คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทยหรือต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย และบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวฯ (ได้แก่บุคคลเลข 6 และ บุคคลเลข 7)

(2) บุคคลมีชื่อในทะเบียนประวัติ (ท.ร. 38 ท.ร. 38/1) คือ บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน และ คนต่างด้าว (แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เมียนมา ลาว กัมพูชา)

ซึ่งมีชื่อเรียกแบบพิมพ์คล้าย ๆ กัน แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

(2.1) สรุปเรียกแบบพิมพ์บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บุคคลเลข 0)

แบบ 89 แบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ท.ร. 38 ก เป็นทะเบียนประวัติสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ท.ร. 38 ข เป็นแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งคัดจากฐานข้อมูลทะเบียนประวัติด้วยระบบคอมพิวเตอร์

(2.2) สรุปเรียกแบบพิมพ์แรงงานต่างด้าว3สัญชาติ เมียนมา ลาว กัมพูชา (บุคคลเลข 00)

แบบ 89/1 แบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับคนต่างด้าว (แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เมียนมา ลาว กัมพูชา)
ท.ร. 38 เป็นทะเบียนประวัติสำหรับลงรายการคนต่างด้าว
ท.ร. 38/1 เป็นแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวจากฐานข้อมูลของสำนักทะเบียน

หลักฐานหลังการได้บัตรหัว0

ชินดนัย ยี่สน

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขั้นตอนต่อไปของ "บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน" (บุคคลเลข 0) ก็คือ หากมีสิทธิใน "สัญชาติไทย" ก็ยื่นคำร้องขอสัญชาติไทย ตามขั้นตอน แต่ละรายอาจมีข้อมูลที่แตกต่างกัน ใครมีข้อมูลว่า "ตนมีสัญชาติไทย" ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อครั้งทำบัตรเลข 0 หรือ จะได้หลักฐานมาทีหลัง เช่น พยานบุคคลยืนยันรู้เห็นการเกิดในประเทศไทย, หลักฐานใบสูติบัตร ทร.3 ทร.03 ทร.031 หรือแม้กระทั่งหนังสืออรับรองการเกิดของ รพ.(ทร.1/1) หรือ ใบรับแจ้งการเกิด (ทร.1 ตอนหน้า) หรือ สมุดฝากครรภ์ (สมุดสีชมพู) หรือ หลักฐานที่ถูกต้องแท้จริงของบิดา มารดา หรือ บพการี หรือ ญาติพี่น้องใกล้ชิด เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือพี่น้องร่วมบิดา หรือพี่น้องร่วมมารดา ที่มีสัญชาติไทย (อ้างอิงเพื่อเอาไว้ตรวจ DNA)... เป็นค้น ให้นำพยานหลักฐานเหล่านี้มาทีหลัง... ไปยื่นคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย ตามกรณีที่ตนเองมีสิทธิ... ไปยื่นคำร้องต่อ "นายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นฯ" ที่ตนเองมีชื่อเลข 0 อยู่

สำหรับบุคคลที่มีเลขประจำตัว เลข 7 เลข 6 เลข 0 เลข 00 ที่จะได้สัญชาติไทย ....มันมีหลายกรณีมาก แตกต่างกันไป... แจกแจงไม่ได้... แล้วแต่ข้อมูลของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน....ให้ไปปรึกษาสำนักทะเบียนฯ เช่น

(1) บางคนอาจได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย ตามมาตรา 7 (1) ไม่ต้องขอลงรายการสัญชาติไทย ใช้ พรบ.การทะเบียนราษฎร และ ระเบียบสำนักทะเบียนกลางฯ ได้เลย มีหลายกรณี... กรณีนี้ส่วนใหญ่ก็คือ มีบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา คนใดคนหนึ่งเป็นไทย...

(2) บางคนอาจได้สัญชาติไทย โดยการของลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 ตามพรบ.สัญชาติฯ

(3) บางคนอาจได้สัญชาติไทย โดยการของลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ ตามพรบ.สัญชาติฯ

(4) บางคนอาจได้สัญชาติไทย โดยการของลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 วรรคสอง ตามพรบ.สัญชาติฯ กรณีมีบิดาเป็นคนไทยที่ไม่ได้สมรสกับมารดา (การพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการไดัสัญชาติไทยโดยการเกิด)

(5) บางคนอาจได้สัญชาติไทย โดยการของลงรายการสัญชาติไทย ตามระเบียบฯ การลงสัญชาติไทยของบุคคลบนพื้นที่สูงฯ

หากกรณีต่าง ๆ ไปปรึกษาสำนักทะเบียนฯ ไม่เป็นผล เนื่องจากมีปัญหาความซับซ้อนของข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือ ข้อกฎหมาย อันนี้แนะนำให้ปรึกษา "ผู้รู้กฎหมาย" "ทนายความ" "องค์กรพัฒนาเอกชน" (NGO) ... หรือ นักกฎหมาย "สอทธิมนุษยชน" ทุก ๆ ท่าน... มีหลายคน หลายหน่วยงาน ศึกษาดูจากเวบไซต์ หรือ สอบถามผู้รู้ทั้งหลาย รวมทั้ง ติดต่อสอบถามผู้เขียนก็ได้....

ขอคำปรึกษา แฟนเป็นคนพม่า

วรรณ

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

หากอยู่ประเทศพม่า ก็แนะนำให้ทำหนังสือเดินทางถูกต้องจากประเทศพม่า (เมียนมา) แล้วก็เดินทางมาประเทศไทย ก็แต่นั้นเอง อาจเดินทางมาประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว หรือ เพื่อการทำงานก็แล้วแต่ (เป็นกรณีการเข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย)

แต่สำหรับแรงงานต่างด้าว เข้าเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง... ไม่อยากแนะนำ เพราะไม่ถูกกฎหมาย...

ผอ. โรงเรียน สามารถรับรองการเกิดเราได้เหรอไม่

ชินดนัย ยี่สน

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ผอ.โรงเรียนสามารถเป็น "พยานบุคคลผู้มีฐานะมั่นคง" ไปรับรองตัวบุคคลของเด็กนักเรียนได้ ณ สำนักทะเบียนฯ แต่ไม่สามารถออกหนังสือรับรองการเกิดได้

หากเกิดในสถานพยาบาล หรือ รพ. จึงจะสามารถออกหนังสือรับรองการเกิดได้โดย หน.สถานพยาบาล หรือ ผอ.รพ.

แนะนำให้ไปติดต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือสำนักทะเบียนอำเภอจะดีที่สุด

ไปต่างประเทศได้ไหม

ปลาย

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มีข้อสงสัยในข้อมูลที่ถาม ขอถามกลับคุณปลายว่า...

(1) ใน ทร. 14 (ทะเบียนบ้านแบบเล่มสีน้ำเงิน) ระบุในช่องสัญชาติของคุณปลายว่ามีสัญชาติใด เช่น "พม่า" ใช่หรือไม่ หรือ สัญชาติอื่นที่มิใช่สัญชาติไทย

(2) มีเลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยเลขใด เลข 3 หรือ เลข 5 หรือ เลขใด

เพราะบุคคลที่จะมีชื่อใน ทร. 14 ได้นั้นมีอยู่ 2 ประเภทเท่านั้น คือ (1) คนมีสัญชาติไทย (2) คนสัญชาติอื่นที่เป็นต่างด้าว แต่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย ตามมาตรา 36 แห่ง พรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534

"มาตรา 36 ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านไว้ทุกบ้าน สำหรับผู้มีสัญชาติไทยและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร"


หากมีสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ก็ต้องมี "หนังสือเดินทาง" หรือ "พาสปอร์ต" (passport) ของประเทศที่ตนเองมีสัญชาติ เช่น ช่องสัญชาติระบุว่า "พม่า" ก็ต้องมีหนังสือเดินทางของ ประเทศเมียนมา (พม่า) เป็นต้น จึงจะเดินทางไปต่างประเทศได้...

แจ้งเกิดลูกแม่คนไทยพ่อกัมพูชา

สรัลชนา

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

แจ้งได้ รายการของบิดาตามที่เป็นจริง ลงรายการตามที่ทราบ บัตรหมดอายุไม่เกี่ยวกัน หากมีปัญหาก็สอบถามนายทะเบียนอำเภอ หรือนายอำเภอได้ (ในกทม. คือ ผอ.เขต)

ขอบคุณครับคำตอบแต่เด็กๆทุกคนมีใบเกิดครับแล้วเด็กยื่นขอสัญชาติต้องทำอย่างไีรครับ

สมศักดิ์

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเด็ก ได้แก่ วันเดือนปีเกิดเด็ก และ สัญชาติของบิดามารดาเด็ก เพื่อจะตอบคำถามให้.... เพื่อจะได้ไปติดต่อสำนักทะเบียนฯ ได้ถูกต้อง....

บัตรหมดอายุ

ชาคริตกิจพิทักษ์

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

บัตรหมดอายุต้องไปต่อบัตรภายใน 60 วัน หากเกินกำหนด นายทะเบียนฯจะสอบสวน มีผู้รับรองตัวบุคคล... รีบไปต่ออายุบัตร.... หากต่อไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ ก็ต้องขอให้สำนักทะเบียนฯ แก้ไขด่วน....

ดู "พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖"

มาตรา ๖ ตรี ผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ

ผู้ถือบัตรจะขอมีบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกสิบวันก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ"

(มาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๖ ทวิ มาตรา ๖ ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔)

จดทะเบียนสมรสที่ลาว

mongkol panpruk

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ได้ จดทะเบียนสมรสที่ลาว ตามกฎหมายลาวก็ได้ ถ้าเรามีคุณสมบัติครบเงื่อนไขตามกฎหมายลาว

แต่งงานกับคนไทยแล้วเปลี่ยนเป็นบัตรประชาชนได้ไหมครับ

สอง

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไม่ได้ครับ การขอสัญชาติไทย หรือการ "ขอลงรายการสัญชาติไทย" ของต่างด้าว เป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับการสมรสกับคนไทย เพียงแต่อาจเป็นเงื่อนไขในการ "ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย" ในอนาคตในกรณีของหญิงต่างด้าว(จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย)ที่มีสามีเป็นคนไทย.... แต่กรณีของคุณเป็นกรณีสามี...

แต่การมีภริยาเป็นไทย จะได้ว่า "บุตรที่เกิดมาได้สัญชาติไทย" ครับ ตามหลักสายโลหิตตามมารดา ไม่ว่าจะไปเกิดที่ไหนก็ตาม (บุตรเกิดพม่า มีแม่เป็นไทย บุตรก็ได้สัญชาติไทย)

แม่เป็นคนลาวอยู่ประเทศไทยมา24ปีแล้ว ยังไม่ได้สัญชาติไทยเลยคะ

กบ

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

แนะนำให้ "แปลงสัญชาติเป็นไทย" ตามสามี โดยทำตามขั้นตอน อาทิเช่น (1) มีชื่อ ใน ทร.13 หรือ ทร. 14 (2) จดทะเบียนสมรสกับพ่อ (3) มีใบพาสปอร์ตลาวที่ไม่หมดอายุ (4) มีอาชีพเป็นหลักเป็นฐานในประเทศไทย ... รายละเอียด ต้องปรึกษา ตม. ดู ...

ได้ดอกไม้ โดยไม่มี สมาชิกอ่านได้ใหมครับ

JJ

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ครับ เหมือนกัน เวบ น่าจะสับสน ฝาก Admin ดูด้วยครับ แล้วยังมีใครต่อใครมาโพสเรื่องผิดกฎหมายในหน้าถามตอบด้วย...

ขอบคุณครับคำตอบแต่เด็กๆทุกคนมีใบเกิดครับแล้วเด็กยื่นขอสัญชาติต้องทำอย่างไีรครับ

สมศักดิ์

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติม..... เด็ก ๆ (1) เกิดวันเดือนปีใด (2) เกิดที่ไหน (3) มีเลขบุคคลในใบเกิดหรือสูติบัตร ขึ้นต้นด้วยเลขใด "เลข7" หรือ "เลข0" หรือ "เลข00" และ (4) บิดามารดามีคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติเป็นไทยหรือไม่ (มีทะเบียนบ้านระบุว่ามีสัญชาติไทย)

... ถ้าบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทย บุตรก็จะได้สัญชาติไทย....

... แต่ถ้าบิดาหรือมารดาไม่มีสัญชาติไทย บุตรก็อาจได้สัญชาติไทย.... แต่ต้องมีเงื่อนไขอื่น ๆ ประกอบ ให้ไปสอบถามที่สำนักทะเบียนฯ ดูว่าจะเข้าเงื่อนไขในกรณีใด....

มีเเฟนเป็นคนลาว

ขนิษาท

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มีแฟนเป็นต่างด้าว ไม่ว่าฝ่ายหญิง ฝ่ายชาย แนะนำให้แฟน ไปทำหลักฐานประจำตัวไว้ เช่น ใบพาสปอร์ต หรือ บัตรบุคคล เลข "00" (บัตรชมพู-แรรงานต่างด้าว)... ไม่เป็นไรครับ เป็นเรื่องของมนุษย์ สิทธิมนุษยชน ที่ทุกคนมีสิทธิ "ก่อตั้งครอบครัว" บุตรเกิดมาก็มีสิทธิได้รับสัญชาติ... แต่ต้องมีหลักฐานประจำตัว หรือหลักฐานแสดงตัวตนไว้อ้างอิงเสียก่อน...

พี่สาวผมทุกคนก็ถือบัตรเลข6เหมือนกันครับและหลานผมทุกคนก็ได้แต่บัตรหัว0ครับแล้วเด็กๆจะยื่นขอสัณชาติได้ไหมครับและต้องทำอย่างไงครับ

สมศักดิ์

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เด็ก ๆ และพี่สาวคุณสมศักดิ์ หากเกิดในประเทศไทย มีสิทธิ์ได้รับสัญชาติไทย ให้ไปปรึกษากับ จนท.สำนักทะเบียนฯ ที่มีชื่ออยู่... เพราะ ต้องมีรายละเอียด ห้วงระยะเวลาการเกิด (วันเดือนปีเกิด) และ สัญชาติบิดามารดาประกอบด้วย... มีข้อมูลนิดเดียวตอบไม่ได้ แนะนำมากไม่ได้ครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท