อนุทินล่าสุด


pattra
เขียนเมื่อ

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ที่เรียนโดยใช้นิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5   โรงเรียนชุมชนบ้านคลองลาน

ผู้วิจัย                      ภัทรา  สมนึก

ปีที่วิจัย                   2550

 

บทคัดย่อ

 

                   การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนชุมชนบ้านคลองลาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้  ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ปีการศึกษา  2550  โรงเรียนชุมชนบ้านคลองลาน  จำนวน  1  ห้องเรียน  จำนวน  38  คน  โดยได้จากการสุ่มอย่างง่าย  (Random  Sampling)  เครื่องมือ ที่ใช้ในศึกษาวิจัย  ประกอบด้วย  1)  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  จำนวน  12  แผน   2)  นิทาน  จำนวน  12  เรื่อง   3)  แบบทดสอบความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน  และ  4)  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นสื่อ  ส่งเสริมการอ่าน   คิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย   การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1)  หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นสื่อ  ส่งเสริมความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน  โดยพิจารณาค่า  /  2)  เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน  ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยใช้การทดสอบค่า  (t-test  แบบ  dependent)    3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่เรียนโดยนิทาน  ใช้สถิติ  คือ  ค่าเฉลี่ย   ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.) 

                   ผลการวิจัย  พบว่า

                   1.  ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นสื่อ  ส่งเสริมการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียนภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนชุมชน  บ้านคลองลาน  จังหวัดกำแพงเพชร ของนักเรียนรายบุคคล  มีประสิทธิภาพ  75.93/75.00  เมื่อพิจารณากลุ่มเล็ก  พบว่า  มีประสิทธิภาพ  77.55/75.42 และเมื่อพิจารณากลุ่มใหญ่  มีประสิทธิภาพ  80.32/82.08

                   2.  ความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นสื่อ   สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นสื่อ   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

             3.  ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นสื่อ  ส่งเสริมการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียนภาษาไทย   โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ  มาก  ( = 4.49,  S.D. = 0.51)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท