คำตอบ


รบกวนหน่อยค่ะ

Nurse Annita

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ลองติดต่ออาจารย์ผ่านทางเมลจาก GotoKnow ดูนะคะ 

รบกวนหน่อยค่ะ

Nurse Annita

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

โอ๊ย...เพิ่งเห็นคำถามนี้ค่ะ ไม่รู้ว่าหลุดรอดมาจากเมลได้อย่างไร แต่ไม่ได้เห็นจริงๆ ไม่รู้ว่าป่านนี้อ.สกลไปถึงสุราษฎร์หรือยัง และคุณอัจฉราน่าจะหาอาจารย์สกลเจอใน GotoKnow และติดต่อท่านแล้วนะคะ 

ยังไงก็ตามจะเอาไปส่งต่อให้ค่ะ (หลังจากสามปีผ่านไป) ต้องขอโทษจริงๆค่ะ

รบกวนหน่อยค่ะ

Nurse Annita

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

อยากถามเรื่อง pcr-rapdค่ะ

mj

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไม่มีประสบการณ์เรื่อง identify bacteria ด้วยวิธีนี้มาก่อนเลยค่ะ แต่หาคำตอบคร่าวๆมาจากเน็ตที่ http://en.wikipedia.org/wiki/RAPD น่าจะพอหาสาเหตุได้นะคะ

RAPD is an inexpensive yet powerful typing method for many bacterial species.

RAPD profiles, example Silver-stained polyacrylamide gel showing three distinct RAPD profiles generated by primer OPE15 for Haemophilus ducreyi isolates from Tanzania, Senegal, Thailand, Europe, and North America.

Selecting the right sequence for the primer is very important because different sequences will produce different band patterns and possibly allow for a more specific recognition of individual strains.

Limitations of RAPD

  • Nearly all RAPD markers are dominant, i.e. it is not possible to distinguish whether a DNA segment is amplified from a locus that is heterozygous (1 copy) or homozygous (2 copies). Co-dominant RAPD markers, observed as different-sized DNA segments amplified from the same locus, are detected only rarely.
  • PCR is an enzymatic reaction, therefore the quality and concentration of template DNA, concentrations of PCR components, and the PCR cycling conditions may greatly influence the outcome. Thus, the RAPD technique is notoriously laboratory dependent and needs carefully developed laboratory protocols to be reproducible.
  • Mismatches between the primer and the template may result in the total absence of PCR product as well as in a merely decreased amount of the product. Thus, the RAPD results can be difficult to interpret.

รบกวนถามเรื่องอาการปวดเข่าหน่อยครับ

ประยุทธ

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คุณประยุทธคะ

ต้องขอแสดงความเสียใจด้วยนะคะที่ไม่สามารถช่วยตอบคำถามนี้ได้เลยค่ะไม่มีความรู้ใดๆเกี่ยวกับเรื่องปวดเข่าเลย คุณประยุทธคงต้องหาสาเหตุให้พบแล้วถึงจะแก้ได้ถูกจุดนะคะ การปรึกษาคุณหมอที่เอาใจใส่ (ต้องหาจนเจอให้ได้นะคะ คุณหมอแบบนี้) ก็น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด ขอเอาใจช่วยให้หาสาเหตุและวิธีแก้ไขได้ในเร็ววันนะคะ การเจ็บป่วยกายนี่เป็นความทุกข์ที่ทำใจได้ยากจริงๆค่ะ

ไข้หวัด 2009

บุญส่ง

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คุณครูบุญส่งคะ โอ๋-อโณ เป็นนักเทคนิคการแพทย์ คือผู้ที่ทำงานตรวจในห้องปฏิบัติการค่ะ ไม่ใช่คุณหมอรักษาคนไข้ แต่ข้อมูลเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่นั้น มีคุณหมอใจดีจริงๆท่านหนึ่งได้ทำ PowerPoint สไลด์อธิบายให้เข้าใจได้อย่างดีเยี่ยม คุณครูลองอ่านและเอาไปเผยแพร่บอกเด็กๆและคุณครูรวมทั้งผู้ปกครองที่โรงเรียนได้เลยค่ะ ที่นี้นะคะ http://gotoknow.org/file/panothai/CopingwithNewInfluenza.pdf

เรียนอะไรดี

kruboon

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบช้าไปหน่อย ขอโทษนะคะ เพราะต้องไปหาความรู้ว่าดูตรงไหนยังไงค่ะ ทราบมาว่าให้ไปดูคะแนนสูงสุด ต่ำสุดของปีที่แล้วของแต่ละสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย ได้ที่ http://admission.cuas.or.th/maxmin51/index.html

ได้เข้าไปดูสาขาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งตอนนี้มีอยู่หลายที่มาให้แล้วค่ะ

ของจุฬา 6357 - 7185 คะแนน

ม.ขอนแก่น 6420-7050 คะแนน

ม.เชียงใหม่ 6351-6769 คะแนน

ม.ธรรมศาสตร์ 6263-6670 คะแนน

ม.นเรศวร 5995-6416 คะแนน

ม.มหิดล 6457-6929 คะแนน

ม.วลัยลักษณ์ 5302-6099 คะแนน

ม.สงขลานครินทร์ 6129-6492 คะแนน

คะแนนของน้องเลือกได้สบายๆเลยค่ะ ทุกสถาบันเลย โชคดีนะคะ 

สวัสดีปีใหม่..ช้าไปนิด

ป้าเจี๊ยบ

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ
1. โอ๋-อโณ
เมื่อ พ. 16 ม.ค. 2551 @ 00:00
519756 [ลบ] [แจ้งลบ]

ตามไปอ่านแล้วค่ะ ยิ่งรู้สึกรักป้าเจี๊ยบขึ้นอีกมากมายเลยนะคะ ป้าเจี๊ยบเป็นคนที่เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น และสื่อให้รู้ว่าป้าเจี๊ยบใส่ใจกับทุกรายละเอียดที่เราตั้งใจทำได้ครบถ้วนจริงๆ ขอบคุณมากๆค่ะที่ป้าเจี๊ยบทำให้รู้สึก "อิ่มอกอิ่มใจ" ไปอีกหลายวันทีเดียว 

ขอความรู้หน่อยนะคะ

ต่าย

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

พอดีพี่โอ๋ไม่ใช่คุณหมอทางด้านไหนๆทั้งสิ้นเลยน่ะค่ะ ก็เลยไม่ทราบเหมือนกันว่า เขาให้ทานโยเกิร์ตนานเท่าไหร่ แต่พบว่ามี paper ที่รายงานว่า กิน 4 สัปดาห์ลดจำนวน H.pylori ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้กินน่ะค่ะ ลองค้นอ่านดูรายละเอียดที่

American Journal of Clinical Nutrition 2006;83:864-869 นะคะ

แล้วก็มีรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมล่าสุดที่ http://www.physorg.com/news156956005.html ด้วยค่ะ

สอบถามเรื่องวิธีการวัดหาค่า 8-OHdG

ต่าย

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบคร่าวๆให้แล้วที่บันทึกนี้นะคะ http://gotoknow.org/blog/moleculartechnology/251394

อยากได้ ข้อความในกระดาษ ที่เชิญชวนให้คนเขียนบทความ ลงสายใยพยาธิ

พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เอาภาพขยายมาแปะเพิ่มในบันทึกแล้วนะคะ พี่หมอหน่อย

แต่เพิ่งจำได้ว่าเอามาแปะตรงนี้ได้ด้วย (เวลาถามแต่งไม่ได้ เลยจำสับสนค่ะ) เอามาฝากไว้ตรงนี้ด้วยเลยค่ะ

มารายงานตัว

นาง ลักษมี สารบรรณ

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตามไปอ่านบันทึกยอดคุณลิขิตของพี่หมีมาชิ้นหนึ่งแล้วนะคะ เยี่ยมจริงๆ จะรออ่านชิ้นอื่นๆต่อไปนะคะ

รบกวนสอบถามเรื่อง SSH ค่ะ

May

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คุณ May คะ ไม่ทราบรายละเอียดว่ามีนักวิจัยไทยที่ไหนใช้เทคนิคนี้บ้างหรือยังเลยค่ะ และจริงๆแล้วก็ไม่ได้ทราบเรื่องวิธี SSH (Suppression subtractive hybridization) แต่เห็นชื่อแล้วก็สนใจเลยเอาไปค้นในพี่ Google ดู มีคนทำเยอะแล้วนะคะ ต้นตำรับน่าจะเป็นของ Diatchenko et al. ปี 1996 ที่ http://www.pnas.org/content/93/12/6025 มีคน cite เยอะมากๆ และดูเหมือนจะเอาไป apply ใช้ได้หลายงานทีเดียว ลองเทียบดูใน papers ต่างๆที่ cite เขาว่าอันไหนใกล้เคียงกับงานของคุณ May ดูก็ได้นะคะ

เท่าที่อ่านผ่านๆและจากชื่อวิธีเขา คิดว่าน่าจะเป็นวัตถุประสงค์คนละแบบกับ Microarray นะคะ เพราะใน Microarray เราจะมี chip ที่รู้ว่า label อะไรไว้บ้าง เอาไปหา gene ต่างๆใน sample แต่ใน SSH ดูเหมือนเขาจะใช้วิธีแยกเอาส่วนที่ต่างจากตัวต้นแบบออกมาด้วย คือเป็นคนละลักษณะของการ identify กันน่ะค่ะ

การจะเลือกใช้วิธีไหน คงไม่ใช่เอา 2 วิธีนี้มาเปรียบเทียบกัน แต่น่าจะเป็นพิจารณาว่าวิธีไหนตรงตามวัตถุประสงค์ในงานของเรามากกว่ากันนะคะ

ขอบคุณที่เอามาถามนะคะ ทำให้ได้พลอยอัพเดตเทคนิคทาง molecular อีกแล้ว ความคืบหน้าของวิธีการนี่เรียกว่าต้องวิ่งตามกันทีเดียว ดีที่ว่าทุกอย่างอยู่บน internet ทั้งนั้น สงสัยอยากรู้อะไรก็หาได้ทันใจ  

พี่โอ๋ที่คิดถึ้ง...คิดถึง

DSS "work with disability" ( หนิง )

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณน้องหนิงนะคะที่มีใจดีเผื่อแผ่มาถึงพี่เขาด้วย ดีนะมาเห็นคำถามนี้ รู้สึกเพื่อนเบิร์ดของพี่โอ๋จะหายเงียบไปเลย คงต้องโทรไปถามไถ่กันหน่อยแล้วว่า ตอนนี้เป็นยังไงบ้าง เราก็ยุ่งกับเรื่องตัวเองจนลืมไปเลย

ขอ ให้แปล

พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

พี่หมอหน่อยคะ เปลี่ยนเรียกโอ๋เป็นน้องโอ๋ หรือคุณโอ๋ก็ดีนะคะ ปกติก็ไม่ใช่อาจารย์หรอกค่ะ นะคะ นะคะ

แล้วก็คงจะแปลเป็นเรื่องราวลงไม่ได้หรอกค่ะ ไม่ทราบว่ามีลิขสิทธิ์อะไรหรือเปล่า (น่าจะ) เพราะเป็นหนังสือเล่มๆ แต่ก็อยากจะแปลให้คนในวงการแพทย์เราอ่านเหมือนกันค่ะ เขาเขียนได้ดีๆกันทุกเรื่องเลย เอาเป็นว่าจะเลือกแปลส่งมาให้พี่หมอหน่อย พร้อมกับต้นฉบับเรื่องนั้นๆ (อาจจะสัก 2-3 เรื่อง) ที่คิดว่าน่าจะได้ใช้ก็แล้วกันนะคะ แบบนั้นคงจะไม่เป็นไร เพราะเราทำเป็นส่วนตัวกันเองไม่ได้เผยแพร่ อยากแนะนำให้ทางห้องสมุดร.พ.หาซื้อมาเก็บไว้นะคะ (ไม่รู้แพงไหม แต่ไม่น่าจะแพงเพราะเล่มห็ไม่หนามากค่ะ) รอนิ้ดนึงนะคะ แต่จะเริ่มทำคืนนี้เลยค่ะ จะทยอยส่งมาให้อ่านค่ะ

อยากถามเกี่ยวกับเรื่อง PCR ค่ะ

เกตุสมบูรณ์

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เป็นคำถามที่หาคำตอบด้วยตัวเองจะดีกว่าให้ใครคนใดคนหนึ่งตอบให้นะคะ หรือถ้าจะถามใคร ควรใช้วิธีเขียนสิ่งที่เราคิด แล้วถามว่าถูกต้องไหม มากกว่าถามสั้นๆแบบนี้นะคะ เพราะทุกคำถามมีคำตอบที่ไม่สั้นเลยค่ะ และการอ่านคำตอบจากคนอื่นโดยเราไม่ได้คิดเองไว้ก่อนเลยนั้น ไม่มีประโยชน์กับสมองเราเลย ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องในการเรียนรู้นะคะ ขออนุญาตสอนวิธีคิด แทนที่จะตอบคำถามนะคะ

ส่วนคำตอบที่พอจะใช้เพื่อเริ่มต้นได้อยู่ที่นี่ค่ะ แต่อยากให้ลองคิดดูเองจากพื้นฐานความรู้เรื่อง PCR ซึ่งสามารถคิด คาดคำตอบของคำถามทั้ง 3 ข้อนี้ได้อย่างแน่นอนค่ะ

ขอคำปรึกษา

pK

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เทคนิค suppression subtractive hybridization รู้สึกจะเริ่มที่ paper ชื่อ Suppression subtractive hybridization: a method for generating differentially regulated or tissue-specific cDNA probes and libraries. จาก  Proc Natl Acad Sci U S A. 1996 Jun 11;93(12):6025-30. ซึ่งมี free full text article เรื่องนี้ให้ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.pnas.org/cgi/content/abstract/93/12/6025 

ขอแนะนำให้ลองอ่านดูแล้วก็ทำความเข้าใจจาก paper นี้ก่อนแล้วค่อยดูงานอื่นๆที่อ้างถึง paper นี้นะคะ เห็นมีอยู่มากมายในเว็บไซต์ที่ลิงค์ไว้นั่นแหละค่ะ เลือกเรื่องที่ดูจะใกล้เคียงกับสิ่งที่เราต้องการทำให้มากที่สุด สัก 2-3 เรื่องก็พอ จะทำให้ได้ไอเดียว่าเราจะทำอะไรต่อไปดีนะคะ

บ้านโฟมหลังที่สองเสร็จแล้วค่ะ

ป้าเจี๊ยบ

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ
ขอบคุณพี่ป้าเจี๊ยบมากๆค่ะ ตามไปดูแล้วทึ่งและชื่นชมมากๆเลยค่ะ ฝันเอาไว้แล้วล่ะค่ะ ว่าต้องสร้างให้ได้สักวัน แม้ว่าวันนี้จะต้องเดินหน้าไปตามสมัยนิยมก่อนก็ตาม ไม่ทิ้งความตั้งใจนี้แน่นอนค่ะ

มาตอบคำถามครับ

kmsabai

โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ อุตส่าห์มาตอบถึงที่ เดี๋ยวนี้ GotoKnow มีส่วนที่ทำให้เราตามไปดูบันทึกต่างๆที่เราไปออกความเห็นไว้ได้ง่ายๆ ทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารกันนะคะ ช้อบ...ชอบ

ตามไปตอบต่อไว้อีกแล้วค่ะ เอามาแปะไว้ตรงนี้ด้วย เรามาร่วมด้วยช่วยกันนะคะ ถ้าพี่เขียนอะไรจากข้อมูลที่มีเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว จะส่งต่อมาให้คุณหมอใช้ในการประชาสัมพันธ์กับผู้ที่มาตรวจร่างกายด้วยนะคะ

ดีใจที่คุณหมอเห็นเหมือนกัน พี่อยากจะประชาสัมพันธ์ให้คนที่มาตรวจสุขภาพ สนใจกับค่าผลแล็บต่างๆของตัวเอง เพราะมีหลายๆคนที่พบว่า มีสัญญาณเตือนแล้ว หากเราช่วยกันทำให้เขาระวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง และช่วยในแง่ให้เขาตั้งใจดูแลตัวเองจริงๆ อาจจะด้วยการยกตัวอย่างคนที่ป่วยไปแล้ว มีข้อมูลให้เห็นว่า ระวังเสียตั้งแต่ตอนนี้ ดีกว่ารอจนถึงเวลาเกิดโรคเรื้อรังแล้วยิ่งต้องลำบากควบคุมโน่นนี่มากกว่าอีกเยอะ เราคงจะช่วยให้ประเทศชาติไม่ต้องรับภาระโรคเรื้อรังพวกนี้โดยไม่จำเป็นนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท