อนุทินล่าสุด


OTs panadsada thabohung
เขียนเมื่อ

    จากการได้ฟังเพื่อนในclass นำเสนอทั้งหมดในวันนี้ ดิฉันมีความสนใจในกรณีศึกษาของเมธิตาค่ะ และขอเสนอแนะการบำบัดรักาาทางกิจกรรมบำบัดในเด้กออทิสติกที่ทีปัยหาต่าง ๆ ดังนี้ 

• เด็กที่มีความบกพร่องในด้านการประมวลผลการรับความรู้สึก: sensory processing disorder 

      นักกิจกรรมบำบัดจะใช้กรอบอ้างอิงการผสมผสานข้อมูลความรู้สึก  :  sensory integration

โดยการให้ข้อมูลความรุ้สึกแบบองค์รวม  มีการกระตุ้นในทุก ๆ  ระบบแบบผสมผสาน  เช่น  กระโดดพร้อมกับโยนลูกบอล  การนั่งชิงช้า  และนักกิจกรรมบำบัดต้องสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของเด็ก  เด็กบางคนอาจจะชอบหรือไม่ชอบในการทำกิจกรรม  นักกจกรรมบำบัดต้องคอยสังเกต  เข่นเด็กบางคนชอบให้กระตุ้นในจังหวะแตกกัน  และต้องยึดหลักของพัฒนาการแต่ละช่วงวัย  เพื่อให้สิ่งเร้าที่เหมาะสมกับเด็กไม่ยาก  หรือง่ายเกินความสามารถของเด็ก 

       รวมทั้งนักกิจกรรมบำบัดก็ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณืและวิเคราะห์หิจหรรมที่เหมาะสม  เพื่อให้เกิดขั้นตอนของการปรับระดับข้อมูลและพัฒนาความสามารถพื้นฐานต่อการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  สมองก็จะเกิดการเรียนรู้  แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม และการที่เด็กเล่นด้วยตัวของตัวเอง  หรือการที่เด็กแสดงออกถึงความต้องการว่าต้องการเล่นอะไร  เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กเกิดการปรับตัวตอบสนองได้ดี

 

• เด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิสั้น

     นักกิจกรรมบำบัดจะใช้การวิเคราะห์กิจกรรม  ( activity analysis )  ที่ใช้ในการฝึก  ให้เด็กสามารถทำได้สำเร็จ   โดยปรับที่กิจกรรมให้มีจำนวนมาก ๆ  ไม่ซับซ้อน  และสามารถเห็นผลสำเร็จ   ร่วมกับการปรับพฤติกรรม  (behavior modification)  โดยการให้แรงเสริมทางทางบวก  เมื่อเด็กสามารถนั่งทำกิจกรรมได้จนครบเวลาที่กำหนด   และการใช้  sensory integration  โดยการให้การกระตุ้น  3  ระบบหลัก  เพื่อให้เด็กมีระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรม

 

• เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในกิจกรรมรับประทานอาหาร   แต่งกายและการเข้าห้องน้ำ

     นักกิจกรรมบำบัดจะใช้การวิเคราะห์กิจกรรม  (activity  analysis)  วิเคราะห์ขั้นตอนของกิจกรรมว่าเด็กทำได้ถึงขั้นตอนไหนแล้วปรับกิจกรรม  ปรับวิธีการหรือปรับสื่อให้เด้กสามารถทำได้ด้วยตนเอง   การใช้การปรับพฤติกรรม (behavior modification)  เมื่อให้เด้กสามารถทำกิจกรรมได้สำเร้จก้ให้คำคำชมเชย   การใช้การปรับสิ่งแวดล้อม (environment adaptation)  โดยการจัดวางอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมให้ระบบ  มีตู้ใส่เสื้อผ้า  หรือลิ้นชักเก็บของ  และการใช้  PECS  โดยการใช้รูปภาพเป็นสื่อในการช่วยให้เด้กเข้าใจขั้นตอน  หรือเตือนเวลาที่เด็กที่เด็กจะลืมขั้นตอน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

OTs panadsada thabohung
เขียนเมื่อ

ความแตกต่างของการออกกำลังกาย ( Exercise) ระหว่างวิชาชีพกิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัด

• กายภาพบำบัด วิธีการที่สำคัญที่สุดทางกายภาพบำบัด คือ การออกกำลังกาย เนื่องจากทางกายภาพบำบัดมองว่าการออกกำลังกายนั้นมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม สามารถทำให้ผุ้ป่วยคืนสภาพได้อย่างรวดเร็วและป้องกันการเป็นซ้ำของโรคบางอย่างได้ เช่น การออกกำลังกายในผู้ป่วยแบ่งเป็นชนิดที่เฉพาะเจากจงกับชนิดทั่ว ๆ ไป เช่น ในผุ้ป่วยอัมพาตต่าง ๆ จะต้องใช้วิธีการออกกำลังกายเฉพาะสำหรับอัมพาตชนิดนั้น ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน จุดปรกสงค์ของการออกกำลังก็จะต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายร่วมที่กายภาพบำบัดให้การฝึกคือ ให้ผู้ป่วยได้มีกำลังเพียงพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ให้เกิดความพิการซ้ำซ้อน พยายามฟื้นสภาพให้ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด และทางกายภาพบำบัดจะมีการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัดโดยตรง ส่วนการออกกำลังกายเพื่อการรักษา เป็นหัวใจในการรักษาทางกายภาพบำบัดของผู้ป่วย หลังจากผู้ป่วยลดอาการเจ็บปวด อาการบวมจำเป็นต้องได้รับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันไม่ไห้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง และช่วยเร่งการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้นทั่วร่างกาย นอกจากนี้การเคลื่อนไววจะช่วยให้ข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกายได้ใช้งาน ไม่เกิดการข้อยึดหรือข้อติดแข็ง โยเป้าประสงค์ของการออกกำลังกายเพือการรักษานี้ มีจุดมุ่งหมายเพือเพิ่มความแข็งแรง และความทนทนของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด คงช่วงการเคลื่อนไหวของฃ้อต่อ และลดอาการเกร็ง ทำให้การหายใจดีขึ้น ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคปอด

• กิจกรรมบำบัด การออกกำลังกายเพื่อการรักษาในทางกิจกรรมบำบัดนี้ จะมีจุดประสงค์ที่เหมือนกันกับทางกายภาพบำบัดคือผลทางด้านร่างกาย เช่น การเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อ ป้องกันการติดของข้อ ส่งเสริมการคลื่อนไหวและพัฒนาให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ปกติ นอกจากนี้ในทางกิจกรรมบำบัดยังมีเป้าประสงค์ทางด้านจิตใจที่มีความแตกต่างจากกายภาพบำบัดคือ เพื่อให้เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด เป็นการระบายอารมณ์ในทางที่เหมาะสม ส่งเสริมทักษะในการเข้าสังคมกรณีที่เป็นการออกกำลังกายแบบกลุ่ม เป็นต้น และในทางกิจกรรมบำบัดนั้นจะมีการออกกำลังหลายชนิด ได้แก่ Isotonic resistive exercise, isotonic active exercise, active assistive exercise, passive exercise, passive stretch, isometric exercise with and without resistance และ coordination training. โดยทางกิจกรรมบำบัดนี้จะใช้กิจกรรมในการออกกำลังกายในแต่ละประเภท เช่น ในการออกกำลังกายแบบ Isotonic resistive exercise จะใช้กิจกรรมการขัดกระดาษทราย กิจกรรมการร้อยเชือกหนัง กิจกรรมการเลื่อยไม้ กิจกรรมการนวดแป้งโด หรือการปั้นดินเป็นรูปต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการเลือกกิจกรรมนี้จะพิจารณาจากความสามารถของผู้รับบริการ ความต้องการ บทบาท และบริบทต่าง ๆ ของผู้รับริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเชื่อมโยงไปสู่การทำกิจวัตรประจำวันในชีวิตจริงได้ เช่น ทักษะการปั้น เพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพหรือการทำงาน เป็นต้น

เลขที่ 26 - 30



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

OTs panadsada thabohung
เขียนเมื่อ

พฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม 2555 การนำเสนอในวิชา Seminar in occupational therapy II

 จากการฟังการนำเสนอของเพื่อนนักศึกากิจกรรมบำบัดด้วยกันนี้  รู้สึกประทับใจการนำเสนอของเพื่อน ๆ ทุกคน   โดยเฉพาะการนำเสนอของนางสาวกีรตินุช  ที่เป็นการนำเสนอในกรณีศึกษาที่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  โดยพยาธิสภาพดังกล่าวนี้ส่งผลต่อความสามารถทางด้านร่างกายคือ  ด้านการเคลื่อนไหว  ด้านการสื่อสาร  
•  ปัญหาด้านการสื่อสารนี้  เพื่อนเน้นไปที่การฝึกให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารในชีวิตประจำวันได้  เช่น  การบอกความต้องการเมื่อหิวน้ำ  พูดชื่อสิ่งของใกล้ตัว  
•  และการที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลับไปทำงานเดิมได้นั้น  เนื่องมาจากปัญหาด้านการสือสารและด้านการเคลื่อนไหวร่วมด้วย  ดังนั้นเพื่อนจึงให้การฝึกเพื่อให้สามารถทำ  หรือค้นหากิจกรรมที่ทำในเวลาว่างได้  เนื่องจากไม่สามารถกลับไปทำงานเดิมได้
กรณีนี้หากผู้ฟังมีบทบาทในการฝึกกรณีศึกษาในครั้งนี้  ก็จะเริ่มจากการฝึกสื่อสารโดยให้ผู้ป่วยสามารถบอกชื่อสิ่งของใกล้ตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้  บอกความต้องการพื้นฐานได้เช่นเดียวกันกับที่เพื่อนได้นำเสนอในครั้งนี้  แต่จะเป็นการฝึกการสื่อสารเพื่อเพิ่มทักษะในการสื่อสารให้แก่ผู้ป่วย  และเพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองสำหรับผู้ป่วยเองที่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นในชีวิตจริงได้  เนื่องจากการสื่อสารในชีวิตจริงนั้นส่วนมากจะเป้นการสื่อสารแบบสอทาง  คือมีทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารในขณะที่มีการสือสารเกิดขึ้น  รวมทั้งในการฝึกนี้จะมีการฝึกอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกเสียงร่วมด้วย
ด้านการทำงานนั้น  จะพิจารณาจากความสามารถสูงสุดของผู้ป่วยในปัจจุบัน  ความสนใจ  และทักษะความรู้ในการทำงานเดิม   และค้นหางานที่ผู้ป่วยสามารถทำได้   ให้ผู้ป่วยเลือกจากนั้นจึงมีการฝึกทักษะในการทำงานที่ต้องการเกี่ยวกับงานนั้น 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

OTs panadsada thabohung
เขียนเมื่อ

วิชาสัมมนากิจกรรมบำบัด 2 วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม 2555 จากการนำเสนอของนักศึกษาทั้ง วันนี้มีหนึ่งหัวข้อที่เคยเรียนคือหลักการในการรักษาผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพเกี่ยวกับการรับความรู้สึก หลักการนี้ได้แก่

Intervention strategies - loss of sensation • การชดเชย (compennsation)

  • diminished (decrease) of sensation • การชดเชย (compennsation)

                                                         •  sensory re - education / retraining
    
  • hypersensitivity • sensory re - education / retraining

                                                         •  desensitization
    

    ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ จึงอยากนำความรู้ที่เพื่อนไม่ได้นำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อนี้มาเพิ่มเติมเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ของตนเอง เนื้อหาที่เกี่ยวข้องนี้จะเป็นการใช้หลักการนี้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ในส่วนที่จะเพิ่มเติมนี้เกี่ยวข้องกับเทคนิคที่ใช้ และการใช้ในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของสมองส่วนกลาง (CNS dysfunction) และผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลาย (PNI)

Compensation techniques • ใช้ในกรณีที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับความรู้สึกในการป้องกันตนเอง (protective sensation) • เป้าประสงค์ของการใช้ compensation techniques คือ การป้องกันอันตราย

    1.  ปลอดภัยไว้ก่อน
    2.  เพิ่มความตระหนัก  ให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความปกพร่องของตนเองเกี่ยวกับการรับควารู้สึกที่มีความบกพร่อง
    3.   ลดความเสี่ยง  ในการทำให้เนื้อเยื่อได้รับความเสียหาย ( tissue damage )  โดย
            -  หลีกเลี่ยง  low pressure เป็นเวลานาน
            -  หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ  concentrated high pressure.
            -  หลีกเลี่ยง  ความร้อนหรือความเย็น  มากเกินไป
            -  หลีกเลี่ยง  mechanism  stress
            -  หลีกเลี่ยง  แรงกดบริเวณเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ
    4.   ใช้การรับความรู่สึกอื่นทดแทน
            -  ใช้การมองเห็น  ในการสังเกตความเคลื่อนไหวและบริเวณของร่างกาย (check skin condition)  
            -  hearing :  rubbing sounds.
    5.  หลีกเลี่ยงการใช้ร่างกายส่วนที่มีความบกพร่องในการรับความรู้สึก 
            -  ในการทดสอบอุณหภูมิ
            -  จับวัตถุที่มีความคม
    6.  การเปลี่ยนท่าทางบ่อย  ๆ 
            -  เพื่อลด  หรือพักแรงกดบริเวณที่มีความบกพร่องในการรับความรู้สึก
    7.  การดูแลผิวหนัง
            -  การป้องกัน  โดยการใช้หมอน, in – soles,  สายรัด, protective mitt.
            -  การดูแลแผล
    8.  ใช้การปรับอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์ช่วย
           -   การสร้างด้ามจับอุปกรณ์   เพื่อกระจายแรงกด
   9.   หลีกเลี่ยงในการให้ผิวหนังบริเวณที่มีความบกพร่อง  ต่อความร้อน  ความเย็น   และวัตถุมีคม
 10.   การจับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้วยความระมัดระวัง ไม่ใช้แรงมากเกินความจำเป็น
 11.   ระวังเมื่อจับวัตถุที่มีด้ามจับขนาดเล็ก  เพราะจะต้องออกแรงมากขึ้นและไม่กระชับมือควรเสริมด้าม
 12.   เปลี่ยนแปลงความถี่ในการทำงาน  เพื่อพักเนื้อเยื่อบริเวณนั้น
 13.   สังเกตความเครียดบริเวณผิวหนัง  เช่น  รอยแดง  บวม  อุ่น ๆ  จากแรงกดซ้ำ ๆ และมากเกินไป  และพักเมื่อมีอาการเหล่านี้

Sensory Re - ed / retraining มี 2 แบบ PNI : peripheral nerve injury CNS dysfunction : central nervous system

• sensory re - education for PNI Focus : Hand esp. fingertips

  -  cortical map  :  reorganization
  -  reinnervation  (nerve repair  n’  recovery)
     1.  time                                        3.   atrophy of sensory receptor
     2.  limited by scar tissue             4.   malalignment of axonal fiber.

Note ; การที่ nerve เจริญออกมา หากไม่เจริญออกมาในแนวเดิมจะทำให้มีการรับบความรู้สึกที่ผิดแปลกไป Purpose : help people lean to recognize the distorted (ทำให้เสียรูป )cortical impression (การกดเป็นรอย รอยบุ๋ม) Outcome depending on : 1. cognitive capacity ความสามารถด้านความรู้ความเข้าใจ

                                                2.  motivation  แรงจูงใจ
                                                3.  compliance 

Methode :

   •  general  sequence   :   Eyes closed  —>  Eyes open  —>  Eyes  closed
   •  begin when the patient can appreciate deep, moving touch
       (matching sensory perception with visual perception)
   •  functional tasks of object identification through touch
   •  the better return of touch perception  —> the better prognosis for retaining in fine discrimination
   •  localization  :    -  use of grid                        -   graded  :  dull  —>  light
                               -   proximal  —>  distal        -   constant touch at the center of each zone
    Sensory modalities for therapy
       1.  eraser end pf pencil  :  graphesthesia
         2.  dowels with different textures
         3.  fabrics
         4.  objects embedded in therapeutic putty
         5.  games and puzzles
         6.  containers with different background mediums
         7.  ADL with vision occluded
         8.  work stimulus tasks

Protocols of sensory re - education ( for PNI ) ของ Dellon และ Wynn Parry

 • Dellon  มี  2  phase of intervention  :  Early phase  และ Late  phase

  Early phase  :    
       1.  re - education of moving touch, pressure, and touch cocalization
       2.  used eraser end
       3.  4x  /  day  at lease  5  min each
            Procedure     -   patient observes the stimulus
                           -   vision occluded ( verbalizes sensation felt )
                           -   eyes open to verify
    Early phase  : 
    1.   moving and constaint touch are perceived at the fingertips with good localization
       2.   6 - 8  m.  after  nerve repair
       3.   goal   :  recovery of tactile
       4.  progression  :  
              -  large object different from one another
              -  different texture
              -  smaller object
              -  incorporate activities, stimulate occupational role
  •  Wynn  Parry
 -  begin 6 - 8  m.  after nerve suture
  -  2 - 4x / day  for  10  mins
  -  re evaluation  done  1,  3,  6  months after intervention
           1.  time to recognize objects
           2.  time to recognize textures
           3.  time to correct localization
  -  3  phases of intervention  :  initial phase
                                                   next phase, 
                                         training of touch localization
    initial phase 
    1.  place book in affected (A) hand with vision occluded   —> 
      feel block , describe sharp,  compare weight with block in unaffected (UA) hand
      2.  look at the block and repeat manipulation if incorrect / different
      3.  compare sensory experience with UA hand.
      4.  continue until various shaped blocks have been mastered
      5.  different texture  :  
              Wooden surface  —>  sand paper  —>  cotton
   next phase
     1.  identification of several texture and vision occluded. 
       2.  identification of common object and vision occluded. 
            -  incorrect  :  allow to perform manipulation with visual perceive to feel the objects.                                                                                     
           -  progression  :  large  —>  small objects.
           -  variations  :   embedding the objects in bowl or sand
                                    form board
                                    identifying wooden letters.
       training of touch localization
       1. vision occluded
         2.  OT touches several place on volar surface
         3.  patient locates each stimulus with index finger of UA hand
              -  incorrect  :  patient is directed to look n’  relate.

• sensory re - education for CNS Dysfunction

-  recovery of motor function depends on sensation
-  concept of Neutral plasticity
    “ reorganization appears to be related to frequency of use”
-  Recovery sequence
      Pain n’ temp.  —>  proprioception  —>  light touch
  • weight - bearing is used to increase propriocetive feedback.
    • กระตุ้นความรู้สึก โดยไม่เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (spasticity)
    • progression
      1. with vision —> vision occluded
      2. gross —> fine discrimination
      3. 2 - 3 dimentional object ในการให้ sensory re - education ใช้ 2 มิติก่อน 3 มิติ
      4. pick a small object from among several objects
  • texture surface :
      “ enlarge handles to help with tactile contact and tactile feedback”
    

No training —> Learned non - use —> Further loss of sensory n’ motor function

Sensory Desensitization • PNI, Crush injuries, wound / scar management, burns, amputations

 -  guarding   :  learned non - used
 -  phantom limb sensation vs. phantom pain
 -  poor success  :  cumulative trauma and RSD (reflex sympatric dystrophy)

• progressive stimulation —> progressive tolerance • begins at patient’s level of tolerance 3 - 4x daily for 10 mins each. • structured practice within the context of functional activities • goal : 1. increasing the pain threshold of a nerve

                2..decrese the discomfort
                3. usually 7 - 8 weeks.

• progression :

            1.  soft  —>  coarse  —> rough  อ่อนนิ่ม หยาบ  ขรุขระ
            2.  increase force,  duration  n’  frequency

Sensory Modalities 1. massage / paraffin 2. rolling / stroking with difference texture. 3. vibration 4. immersion in materials - styroform ball, rice, beans, popcorn n’ plastic squres 5. weight - bearing 6. pressure 7. heats 8. fluidotherapy 9. therapeutic putty.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

OTs panadsada thabohung
เขียนเมื่อ

วิชาสัมมนากิจกรรมบำบัด 2 วันพฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม 2554

เป็นการนำเสนอในชั้นเรียนเช่นเดิม การนำเสนอครั้งนี้กรณีศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้รับบริการฝ่ายกาย โดยจะประกอบไปด้วยผู้รับบริการที่ได้รับการบาดเจ็บบริเวณมือ กระดูกหัก โรคหลอดเลือดสมอง และจะมีการให้การบำบัดที่แตกต่างกันออกไป เช่น • การใช้หลักการ Constraint-induced movement therapy (CIMT) ในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของร่างกายด้านซ้าย ซึ่งเทคนิค CIMT นี้จะเป็นเทคนิคที่ใช้ในการเคลื่อนไหว ในการฝึกจะเน้นไปที่การใช้มือข้างที่อ่อนแรง (affected side) ในการทำกิจกรรม ในขณะที่จำกัดการเคลื่อนไหวของมือข้างดีไว้ ซึ่งอาจจะใส่ถุงมือหรือพักไว้ เพื่อให้เกิดการทำงานในข้างที่อ่อนแรงได้ดีขึ้น และการฝึกแต่ละครั้งจะต้องฝึกในระยะเวลาที่เหมาะสม • เทคนิคการลดบวมในกรณีศึกษา Reflex Sympathetic Dystrophy (RSD) เทคนิคการลดบวมประกอบด้วย 1. Retrograde massage คือ การนวดไล่ของเหลวที่ส่วนปลายของมือเข้าหาส่วนกลางลำตัว 2. Elevate คือ การจัดท่าทางยกอวัยวะที่มีอาการบวมให้อยู่เหนือระดับหัวใจ 3. String wrapping คือ การใช้เชือกพันที่นิ้วมือ จากส่วนต้นไปส่วนปลาย • การใช้หลักการของ Brunnstrom movement therapy ซึ่งเป็นหลักการกระตุ้นโดยให้สิ่งเร้าต่างๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบปฏิกิริยาสะท้อน กลับ (Reflex) ในการฝึกผู้ป่วยในระยะอ่อนแรง (Flaccid) แล้วมีการชดเชยพลังงาน (Compensate) เพื่อเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อจากส่วนต้น (proximal) ของร่างกายสู่รยางค์ส่วนปลาย (distal) ซึ่งกิจกรรมการฝึกจะเป็นการฝึกโดยใช้ bilateral arm training (BAT) คือ การใช้มือทั้ง 2 ข้างในการทำกิจกรรมร่วมกัน • การใช้ mirror box therapy ซึ่งวิธีการนี้จะให้ผู้ป่วยใช้มือข้างอ่อนแรงใส่ในกล่อง โดยด้านข้างของกล่องจะเป็นกระจกเงาซึ่งจะสะท้อนให้เห็นมือข้างดีทำงาน ทำให้สมองเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนไหวของอีกข้างตาม เป็นการ Imagination ของแขน เพื่อเกิด Motor re-learning • การใช้หลักการหลักการ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ร่วมกับการใช้หลักการ Interpersonal Psycho Therapy (IPT) คือ การตั้งคำถามขึ้นมาเพื่อให้ผู้ป่วยคิดว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี และให้เลือกเพื่อเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยการเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้ป่วย และเมื่อผู้ป่วยสามารถเข้าใจตนเองมากขึ้น จึงเน้นด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะทางสังคมเพิ่มมากขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

OTs panadsada thabohung
เขียนเมื่อ

วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม 2554 ในการเรียนการสอนวิชาสัมมนากิจกรรมบำบัด 2
วันนี้เป็นการนำเสนอของนักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที 4 โดยเริ่มจากเลขที่ 1 - 10 เนื้อหาการนำเสนอเกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาของนักศึกษาแต่ละคน แล้วการนำเอาหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence - based practice) นำมาใช้สนับสนุนการให้การบำบัดในกรณีศึกษาของตนเอง โดยสัปดาห์นี้มีการนำเสนอกรณีศึกษาที่หลากหลายทั้งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ผู้ป่วยกระดูกหัก (Orthopedic) ผู้ป่วยจิตเภท (Schizophrenia) ดังตัวอย่างข้างต้นนี้ คนที่ 6 นำเสนอเกี่ยวกับการฝึกทักษะทางสังคมในผู้ป่วยจิตเภท โดยองค์ประกอบหลักที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ในการพิจารณาคือ ความต้องการของผู้รับบริการ เช่นในกรณีที่ผู้รับบริการชอบทำอาหาร นักกิจกรรมบำบัดจึงใช้กิจกรรมการทำอาหารในการฝึกทักษะทางสังคม และการมองถึงบริบทรอบตัวของผู้ป่วย ทั้งด้านการดูแลตนเอง การรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น การรู้จักเริ่มบทสนทนากับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งจะมีส่วนในการฝึกทักษะทางสังคม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองเป็นต้น เลขที่ 2 มีการนำเสนอเกี่ยวกับ eating pattern ในเด็ก โดยระบุว่ามี 4 รูปแบบ ดังนี้
1. Automatic Phasic Bite-Release Pattern

คือพฤติกรรมสบฟันและปล่อย ขากรรไกรเคลื่อนไหวในทิศทางขึ้นลง เป็นลำดับแรกของการเคี้ยว พบในช่วงอายุ แรกเกิด จนถึง 3-5 เดือน
  1. Suckling Pattern คือขั้นตอนหนึ่งของการดูด ซึ่งมีการเคลื่อนไหวของลิ้น ยื่นอกมาด้านหน้าและดึงกลับเข้าไปในช่องปาก พบในช่วงอายุ 2-4 สัปดาห์ จนถึง 5-6 เดือน
  2. Muching Pattern คือลำดับขั้นตอนแรกของการเคี้ยวเอื้อง พบในช่วงอายุ 5 เดือนขึ้นไป
  3. Mature Bite Pattern คือแบบแผนการกัดที่สมบูรณ์ พบได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี ขึ้นไป ต้องอาศัยการงอกของฟันที่แข็งแรง ในการใช้ฟันกัด เคี้ยว บด อาหารได้ และคนที่ 3 นำเสนอเกี่ยวกับการใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยจิตเภท โดยในการวิจัยครั้งนี้จะเป็นการใช้การให้จังหวะดนตรีเป็นจังหวะ ในการเพิ่มสมาธิ มีการเน้นด้านการฝึกกิจวัตรประจำวัน (activity of daily living) ด้านความรู้ความเข้าใจ (cognition) เพื่อเพิ่มทักษะในการดำเนินชีวิตประจำวันร่วมด้วย
    การนำเสนอครั้งต่อไปจะเป็นการนำเสนอในวันที่ 29 ธันวาคม 2554 เริ่มจากเลขที่ 11 - 20


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท