อนุทินล่าสุด


warawut bunmee
เขียนเมื่อ

ประเพณีหนึ่งที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติคู่ไปกับประเพณียี่เป็งก็คือการลอยโคม การลอยโคมของชาวล้านนาเป็นการปล่อยโคมขึนไปสู่ท้องฟ้า แทนการลอยกระทงในลำน้ำอย่างประเพณีของคนภาคกลาง ชาวล้านนาเชื่อว่าการจุดโคมลอย แล้วปล่อยขึ้นฟ้า เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ และยังเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และเรื่องร้าย ให้ออกไปจากตัว

ชาวล้านนาเชื่อกันว่า ในวันประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาที่เกิดปีจอต้องนมัสการพระธาตุแก้วจุฬามณีซึ่งเป็นสถานที่บรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปลงออกก่อนจะบวช แต่เนื่องจากเจดีย์นี้เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชาวล้านนาที่เกิดปีจอจึงต้องอาศัยโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าแทนเครื่องบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี

ตัวโคมทำจากกระดาษสาสีสันสวยงาม ติดบนโครงไม้ไผ่ ตรงกลางโคมจะมีตะเกียงติดชนวนสำหรับจุดไฟ เมื่อจุดไฟที่ตะเกียง ความร้อนจะดันพาโคมลอยให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
warawut bunmee
เขียนเมื่อ

เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
warawut bunmee
เขียนเมื่อ

วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายเช่นลอยเคราะห์บูชาพระพุทธเจ้าแต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท