อนุทินล่าสุด


Ketmanee Phuaksisuk
เขียนเมื่อ

สารสนเทศทางการพยาบาล

    หมายถึง การบูรณาการความรู้ ด้านการพยาบาลคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศในการระบุ, รวบรวม, ดำเนินการและจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการพยาบาลการบริหารการศึกษาการวิจัยและการขยายความรู้ทางการพยาบาล

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ (Ultrasound 4 D)


อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) คืออะไร?
     อัตร้าซาวด์เป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000 Hz คลื่นเสียงอัตร้าซาวด์นี้ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์ ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์


อัลตร้าซาวด์ 4 มิติทำงานอย่างไร?
      ปัจจุบันเครื่อง อัลตร้าซาวด์ นั้นมีการทำงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเครื่อง อัลตร้าซาวด์ ในสมัยเริ่มแรกสามารถมองเห็นภาพทารกได้เป็นแบบ 2มิติ คือ ภาพที่มีความกว้างและความยาว หรือภาพตัดขวางตามแนวของคลื่นเสียงที่ถูกส่งออกไปซึ่งจะสามารถมองเห็นได้ทีละระนาบในแต่ละครั้งแม้ว่าภาพที่จะได้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากแต่ภาพที่เห็นจะดูไม่เหมือนทารก แต่ในเครื่อง อัลตร้าซาวด์ สมัยใหม่นั้นเครื่องจะเก็บสะสมปริมาตรของเสียงที่สะท้อนออกมาหากหัวตรวจในแบบดิจิทัล และแสดงภาพออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งมีความลึกของภาพทำให้ภาพของทารกดูเหมือนจริงมากยิ่งขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นเครื่องตรวจ อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ยังสามารถเก็บภาพ 3 มิติแต่ละภาพไว้แล้วนำมาแสดงผลเรียงต่อกันกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวเสมือนเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงเรียกภาพที่เห็นนี้ว่า Real time ด้วยเทคโนโลยี อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ นี้จึงช่วยให้เราสามารถศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจน

ความแตกต่าง Ultrasound 4D

     อัลตราซาวนด์เป็นเครื่องมือที่คุ้นเคยกันอยู่ว่าช่วยให้คุณสามารถมองเห็นทารกของคุณได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ อัลตราซาวนด์ 2D จะแสดงภาพของทารกในครรภ์เป็นภาพแบนๆ ขณะที่เทคนิคของอัลตราซาวนด์ 3D จะรวบรวมภาพของทารกและแสดงผลภาพเหล่านั้นให้มีความลึกเป็น 3D เราใช้เทคโนโลยีล่าสุดที่แสดงผลได้ถึง 4D อัลตราซาวนด์จะสร้างภาพที่เหมือนมีชีวิตและเคลื่อนไหว โดยการเก็บภาพอย่างเร็วด้วยความเร็ว 25 ภาพต่อวินาที ผลก็คือภาพอัลตราซาวนด์ที่มีชีวิตของทารกของคุณ ภาพ 4D จะช่วยให้คุณเห็นทารกของคุณตอนที่อ้าปากหาวหรือเปิดเปลือกตาขึ้นขณะที่อยู่ในครรภ์ของคุณได้ ไม่น่าแปลกใจเลยที่อัลตราซาวนด์ 4D จะเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับคนที่กำลังจะเป็นพ่อแม่ นอกจากนั้นเทคโนโลยีนี้ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อวินิจฉัยที่จริงจังเพื่อที่แพทย์จะสามารถประเมินความสมบูรณ์และตำแหน่งของทารกในครรภ์ได้

 ข้อดีของการตรวจอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

•ระยะเวลาในการตรวจครรภ์สั้นลง เนื่องจากสามารถมองเห็นร่างกายของทารกและอวัยวะต่างๆ ได้จากภาพที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์

•อวัยวะภายนอกของทารกในครรภ์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วย อัลตร้าซาวด์ 2 มิติ เช่น ใบหน้า แขน ขา นิ้วมือ

•พฤติกรรมต่างๆ ของทารกในครรภ์สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งการตรวจด้วย อัลตร้าซาวด์ 2 มิติ อาจมองเห็นได้ยาก หรือไม่อาจมองเห็นได้ ยกตัวอย่าง เช่น สามารถมองเห็นทารกกำลังหาว ดูดนิ้ว ยิ้ม กลืนน้ำคร่ำ กระพริบตา หรือขยับนิ้วมือ

•ความผูกพันในครอบครัวระหว่างพ่อแม่ลูกเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์


อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ ตรวจอะไรได้บ้าง?
      ในการตวจอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ แพทย์จะทำการประเมินว่าทารกมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการใน ครรภ์เหมาะสมซึ่งรวมถึง

•ตำแหน่งทารก สายสะดือ และปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่รอบทารก
•โครงสร้างกะโหลกศรีษะและสมอง ทารก
•หัวใจ และการไหลเวียนเลือดของ ทารก
•กระดูกสันหลัง กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และไต
•แขน ขา มือ เท้า และนิ้ว
•ใบหน้า และอวัยวะต่างๆ บนใบหน้าของ ทารก
•เพศของทารก (หากต้องการให้แจ้งให้ทราบ) อัลตร้าซาวด์ดูเพศ
•อัตราการเจริญเติบโตของทารก ขนาดรอบศีรษะ ความยาวและน้ำหนัก

อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการตรวจอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

      ทุกช่วงของอายุครรภ์สามารถทำการตรวจด้วยอัตร้าซาวด์ 4 มิติได้ แต่ภาพที่ได้ในแต่ละช่วงอายุครรภ์จะแตกต่างกันในช่วงอายุครรภ์น้อยๆ จะช่วยให้สามารถมองเห็นภาพของทารกทั่วร่างกาย ในขณะที่การตรวจในช่วงที่อายุครรภ์มากจะช่วยให้มองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของร่างกายของทารกได้มากขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไปมาก หากอายุครรภ์มากกว่า 35 สัปดาห์ อาจะเห็นใบหน้าไม่ชัดเจนเนื่องจากทารกกลับศีรษะลงและเริ่มเข้าสู่ช่องเชิงกรานแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ แต่ถ้าทารกในครรภ์อยู่ในท่าหันหลังให้ตลอดระยะเวลาการตรวจก็อาจไม่สามารถมองเห็นใบหน้าชัดเจนได้เช่นกัน จึงขอแนะนำให้เข้ามาตรวจตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆไม่เกิน 26 สัปดาห์ จะดีที่สุด

ภาพเปรีบเทียบอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ และ 3 มิติ


อัลตร้าซาวด์ 2 มิติ อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ


ภาพอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ เมื่ออายุครรภ์ต่างๆ

อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ 5 วัน อายุครรภ์ 28 สัปดาห์



อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ อายุครรภ์ 31 สัปดาห์ อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ 2 วัน



อายุครรภ์ 35 สัปดาห์ 3 วัน


  ข้อคิดเห็น

      ถึงแม้ว่าเราจะเห็นข้อดีมากมายของเครื่อง อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ แต่ด้วยความที่เครื่องนี้ยังมีราคาที่สูงกว่าเครื่องอัลตร้าซาวด์ 2 และ 3 มิติ และจำนวนที่มีอยู่ตามโรงพยาบาลที่น้อยกว่า เครื่องอัลตร้าซาวด์ 2 และ 3 มิติ และการประชาสัมพันธ์รวมถึงการเข้าใจที่ยังไม่ทั่วถึง จึงทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก


    อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.perfectwomaninstitute.com/4-Dimension-Ultrasound.php#.U2dU5oGSwgU

http://www.bumrungrad.com/th/about-us/advanced-technologies



ความเห็น (1)

ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลที่ยังใหม่มากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Ketmanee Phuaksisuk
เขียนเมื่อ

สารสนเทศทางการพยาบาล

                สารสนเทศทางการพยาบาล ( Nursing  Information )  คือ การใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์  ความรู้ทางด้านสารสนเทศ  และความรู้ทางด้านการพยาบาล  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพยาบาล  การบริการสุขภาพ  และการบริหารการพยาบาล  สารสนเทศทางการพยาบาลต้องมีลักษณะสำคัญ  คือ เนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับการพยาบาล ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยจัดการข้อมูลสื่อสาร  หรือการดัดแปลงข้อมูลทางการพยาบาล

แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารการพยาบาล

                   1.  นำมาใช้ในการจัดคน  จัดเวร ( Staffing  and  Scheduling )

                   2.  นำมาใช้ในการประเมินความสามารถในการทำงาน  ( Performance  Evaluation )

                   3.  นำมาใช้ในการออกแบบโครงการ  จัดตารางการทำงาน  และประเมินผลงาน

                   4.  นำมาใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ  ในการบริหารเพื่อการหาผลผลิต

                   5.  นำมาใช้ในการวางแผนการเงิน  และการจัดการ

                   6.  นำมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์

การทำงานในแต่ละองค์กร

1.      ระดับปฏิบัติการ

 ผู้ใช้ คือ พยาบาลประจำการ

                    ในระดับปฏิบัติการ  การทำงานจะเป็นงานพื้นฐานซึ่งเป็นงานประจำขององค์กร  โดยมีวิธีการทำงานค่อนข้างแน่นอน  มีกฏเกณฑ์ตายตัว  การทำงานเป็นแบบเดิมซ้ำๆ กัน ได้ปริมาณงานที่มาก        

      2.         ระดับควบคุมการปฏิบัติการหรือระดับบริหารงานระดับต้น

                ผู้ใช้  คือ  หัวหน้าเวร  หัวหน้าหอผู้ป่วย  หัวหน้าสำนักงาน  หัวหน้าห้องตรวจปฏิบัติการ

                   ในระดับนี้ จะดำเนินการกำหนดกิจกรรมการทำงานของหอผู้ป่วยของตน  การควบคุมผู้ปฏิบัติการ  การทำงานจะใช้สารสนเทศจากระดับปฏิบัติการมาเพื่อประกอบการตัดสินใจทำงาน  และควบคุมงาน  โดยผลจากการทำงานระดับนี้ จะได้รายงานสารสนเทศที่สรุปการทำงานรายเวร  รายวัน  รายเดือน  รายปี  เพื่อส่งต่อไปยังผู้บริหารระดับกลางต่ไป                           

     3.         ระดับบริหารระดับกลาง

                ผู้ใช้  คือ ผู้ตรวจการพยาบาล  หัวหน้างานฝ่ายต่างๆ

                   ในระดับการบริหารจัดการระดับกลาง  เป็นระดับการควบคุมที่สูงขึ้นไปอีก  เพื่อวางแผนระยะยาว  รวมทั้งร่วมกำหนดยุทธวิธีดำเนินงาน  กำหนดกฏระเบียบนโยบายปฏิบัติงาน 

     4.        ระดับบริหารระดับสูง

                ผู้ใช้  คือ  หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล  หรือผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล

                   ในระดับที่สูงขึ้น  ความต้องการสารสนเทศจะเป็นแบบสรุป  ผ่านการดำเนินการกลั่นกรองแล้วจากผู้ใช้ระดับล่าง   โดยในระดับสูงสุดจะต้องใช้สารสนเทศจากภายนอกองค์กร  รวมทั้งใช้ประสบการณ์ส่วนตัวไตร่ตรองพิจารณาจึงตัดสินใจออกมาเป็นแผนงาน ระยะยาวขององค์กร 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Ketmanee Phuaksisuk
เขียนเมื่อ

การสืบค้นแหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับพยาบาล

 

1.เข้าหน้าเว็บ www.google.co.th  แล้วค้นหาคำว่า “ฟรีอีบุ๊ค พยาบาล”

 

 

2. คลิกไปยังหัวข้อที่เราต้องการ “กองการพยาบาลสาธารณสุข" 

 

 

3. เลือกหนังสือที่เราต้องการอ่าน “คู่มือวิธีปฏิบัติเพื่อการป้องกันและควบคุมในการติดเชื้อในบริการด้านการรักษาพยาบาล"

 

 

 4. หนังสือที่เราต้องการอ่านก็จะเปิดขึ้นมา

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท