อนุทินล่าสุด


ณัฐนันท์ แซ่ลี้
เขียนเมื่อ

ความรู้สึกของการเปิดเทอมวันแรก....

การเปิดเทอมครั้งเเรกของนักเรียนทุกคนก็เหมือนกับการได้เจอขนมที่เราชอบ เพราะมันมีทั้งความรู้สึกตื้นเต้น การสมหวัง ความคิดถึง และการโหยหา บางคนก็อาจจะคิดว่าก็งั้นๆแหละเปิดเทอมก็แค่เปิดเทอมแต่จริงๆแล้วการเปิดเทอมก็ถือว่าได้สร้างความประทับใจให้ใครคนใดคนหนึ่งเหมือนกัน เพราะเขาอาจจะได้พบเพื่อนใหม่และเป็นเพื่อนแท้ของเขาไปตลอดชีวิต การที่เราจะปรับตัวรมอยู่ในสังคมใหม่ๆมันต้องใช้ทั้งความเข้าใจและเปิดใจ เปิดใจในการรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาในชีวิต ทั้งความรู้ ทั้งเพื่อนใหม่ ดังนั้นในการเปิดเทอมแต่ละครั้งมันไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป แต่มันหมายถึงการเริ่มต้นอีกครั้ง คนเรานั้นจะพบการเริ่มต้นใหม่ในชีวิตเสมออย่ามัวแต่กังวล อย่ามัวแต่ไม่กล้า อย่ามันแต่อยู่ในกรอบมากเกินไป คนเราแค่ใช้คำว่า ลอง ก็สามารถทำในสิ่งที่ตัวเองรักเเละเป็นตัวของตัวเองได้เสมอ.....



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ณัฐนันท์ แซ่ลี้
เขียนเมื่อ

โรงเรียนบ้านสัตหีบ เดิมชื่อ “โรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูล”ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดสัตหีบเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยใช้อาคารหลังคามุงจากในบริเวณวัดสัตหีบ เป็นอาคารเรียน มีนายสันต์ ศิริมาก เป็นครูใหญ่ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมศึกษา ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ นายบั๊ก แซ่ตั้ง บิดาของขุนเจริญพานิช (นายเส็ง มั่งมี) คหบดีของ สัตหีบในสมัยนั้น ได้ไปปรึกษากับหลวงพ่ออี๋ และขออนุญาตปลูกเรือนสำหรับบำเพ็ญกุศลศพ เพื่อรับรองพระสงฆ์และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือที่จะมาร่วมงานหลวงพ่ออี๋ได้อนุญาตให้ปลูก ได้ตามความประสงค์

ในพิธีบำเพ็ญกุศลศพ พระยาพิพิธอำพลวิมลราชภักดี ซึ่งเป็นเจ้าเมืองชลบุรี อยู่ในขณะนั้น
เป็นที่เคารพนับถือของ นายบั๊ก แซ่ตั้ง ผู้ถึงแก่กรรม ได้เดินทางด้วยเรือกลไฟจากจังหวัดชลบุรี เพื่อมาร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลศพด้วย เมื่อเห็นเรือนรับรองสำหรับบำเพ็ญกุศลศพแล้ว ได้ให้คำแนะนำว่า “โรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูลที่เปิดทำการอยู่ภายในวัดสัตหีบนี้เป็นอาคารเรียนที่มุงหลังคาด้วยจากเป็นอาคารเรียนไม่มั่นคงถาวร เรือนสำหรับบำเพ็ญกุศลหลังนี้ เป็นอาคารที่แข็งแรงกว้างขวาง เมื่อบำเพ็ญกุศลทำการฌาปนกิจศพเรียบร้อยแล้วสมควรที่จะปรับปรุงให้เป็นอาคารเรียนของเด็กนักเรียนต่อไป” นายเส็ง มั่งมีพร้อมด้วยญาติมิตรทั้งหลายเห็นดีด้วย เมื่อทำการฌาปนกิจศพ
ของนายบั๊ก แซ่ตั้ง เรียบร้อยแล้ว นายเส็ง มั่งมี พร้อมญาติมิตรได้บริจาคทรัพย์ทำการปรับปรุงเรือนรับรองดังกล่าวด้วยการกั้นฝาห้องเรียนจนสำเร็จเรียบร้อยสวยงามเพื่อเป็นอาคารเรียนของลูกหลานชาวสัตหีบต่อไป เมื่อปรับปรุงอาคารเรียนเรียบร้อยแล้ว จึงแจ้งข่าวเจ้าเมืองชลบุรีทราบ
ในปีพ.ศ. ๒๔๗๒ พระยาพิพิธอำพลวิมลราชภักดี ซึ่งเป็นเจ้าเมืองชลบุรีได้เดินทางมาที่สัตหีบ เพื่อรับมอบและเป็นประธานประกอบพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนหลังใหม่ “โรงเรียนบั๊กเส็ง เศรษฐนุกูล” โดยมีคณะลูกเสือชาวบ้านจากจังหวัดชลบุรี เดินทางมาร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดด้วย และหลวงพ่ออี๋ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในการเปิดป้ายอาคารเรียนหลังนี้ เมื่อเสร็จพิธีเปิดทำการแล้วได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ในกาลต่อมา เจ้าเมืองชลบุรี ได้กรุณาขอพระราชทานชั้นยศให้ นายเส็ง มั่งมี เป็น “ขุนเจริญพานิช” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลมั่งมี และในเวลาต่อมา กระทรวงธรรมการ ได้มอบเข็มเป็นรูปธรรมจักรให้เป็นเกียรติแก่ขุนเจริญพานิชอีกครั้ง ในฐานะบุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูล จึงเป็นโรงเรียนที่มีอาคารเรียนมั่นคงถาวรแห่งแรกของลูกหลานชาวสัตหีบ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นายใช้ นางผิว มั่งมี ซึ่งเป็นน้องชายของขุนเจริญพานิช ( เส็ง มั่งมี ) ได้มอบที่ดิน จำนวน ๘ ไร่ ๓ งาน ๗๓ ตารางวา บริเวณด้านทิศตะวันออกของบ้านสัตหีบ เพื่อให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูลแทนโรงเรียนหลังเดิมที่อยู่ภายในวัดสัตหีบ การย้ายโรงเรียนมาตั้งและทำการ ณ ที่แห่งใหม่นี้ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตของโรงเรียนและพื้นที่ของอำเภอสัตหีบ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดสรรงบประมาณร่วมกับทหารเรือ เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูล เป็น “โรงเรียนประชาบาลตำบลสัตหีบ ๑” ( ทหารเรือสงเคราะห์ ) แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “โรงเรียนบ้านนา” เนื่องจากบริเวณโดยรอบที่ตั้งโรงเรียนขณะนั้นมีสภาพเป็นทุ่งนา ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาปลูกข้าว ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนบ้านสัตหีบ” ตามชื่อของหมู่บ้านสัตหีบ จนถึงปัจจุบันนี้ นายอังกาย อินทราคม เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนบ้านสัตหีบ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท