อนุทินล่าสุด


MONTANA
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

โดย นางสาวมณฑนา เพ็งกลาง รหัสนักศึกษา 57D0103113 สาขาหลักสูตรและการสอน เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)วันที่บันทึก5ตุลาคม พ.ศ. 2557

ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 1546 หมวดที่ 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา 11 ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ บิลเกตกล่าวไว้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญามีค่าเท่ากับการเก็บรักษากล้วยหอมเท่านั้น เดิมความรู้เป็นพลังอำนาจอย่างมากมายแก่ผู้ที่ครอบครอง ความรู้ยิ่งให้มากเท่าไร ยิ่งได้มากเท่านั้น องค์กรแห่งการเรียนรู้ตามโมเดลของ Senge ระดับองค์กร ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ระดับกลุ่ม เรียนรู้จากกันและกัน ระดับปัจเจก ใฝ่รู้ มุ่งมั่นพัฒนาคน ฝึกฝนสร้างแผนที่ความคิด ไม่ยึดติด เห็นความเชื่อมโยง การจัดการความรู้มี 2 ประเภท คือ Explicit Knowledge (ความรู้เด่นขัด) ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และ Tacit Knowledge (ความรู้ที่อยู่ในตัวตน) เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ ความรู้ทั้งสองประเภทสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้ตลอดเวลา socializationเป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้าง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ Externalization สร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่ combination แปลงความรู้ขั้นต้นเพื่อการสร้าง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit และ Internalization แปลงความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge การจัดการเรียนรู้ในองค์กรส่วนใหญ่จะไร้พลังและไม่สมดุล การจัดการองค์กรต้องเห็นความแตกต่างระหว่างความรู้ 2 ประเภท การจัดการความรู้ของ สคส. คือการได้รับความรู้จากภายนอกแล้วเข้าสู่ความรู้ภายใน กำหนดเป้าหมายของงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และงานจะบรรลุเป้าหมาย สคส.ส่งเสริมการจัดการความรู้ส่วนใหญ่โดยใช้แบบจำลองที่เรียกว่า โมเดลปลาทู หัวปลาทู เปรียบเสมือนเป้าหมาย ตัวปลาทูเปรียบเสมือนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหางปลาทู เปรียบเสมือนคลังความรู้ คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้ คือ ผู้บริหารสูงสุด KV = KnowledgeVission M = Mind 3S = Share , Show , Support วิธีการดำเนินการ ตั้งทีมงานให้ความรู้กำหนด KV ฝึกปฏิบัติ ปฏิบัติติดตามทำต่อเนื่องเผยแพร่ ผลที่ได้ คือ คลังความรู้จะเกิดการบันทึก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฟัง เรียนรู้ นวัตกรรมสื่อ รูปแบบการสอน ผลที่เกิดขึ้น บุคลากรทุกฝ่ายเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นทีม องค์กรแห่งการเรียนรู้ วิสัยทัศน์ คิดเป็นระบบ ตัวอย่างการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ร่วมกันคิดหัวปลา กำหนดให้สมาชิกเตรียมเรื่องเล่า จัดกลุ่มให้เล่าเรื่อง ได้ขุมความรู้ สังเคราะห์เป็นแก่นความรู้ ประเมินตนเอง จับคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปปฏิบัติ

รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ

องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นการเกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในองค์กร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก จุดประสงค์คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็งขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เปิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งภายในและภายนอก คือตัวแปรสำคัญขององค์กรในปัจจุบันและอนาคต องค์กรที่เอื้ออำนวยให้สมาชิกได้มีการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างต่อเนื่อง องค์กรที่มีการขยายขีดความสามารถเพื่อที่จะสร้างสรรค์อนาคตขององค์กรอย่างต่อเนื่อง

จะนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างไร

บุคลากรต้องมีการสร้างสรรค์ และพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ และจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมให้มีการทดลอง มีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อติดตามความเคลื่อนไหว มีการวิเคราะห์ อภิปรายข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร และมีการถ่ายโอนข้อมูล

บรรยากาศในการร่วมกิจกรรม

เป็นการศึกษาดูงานที่โรงเรียนเทศบาล 4 เพาะชำ เกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นการบรรยายการทำงานของโรงเรียนที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
MONTANA
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9 รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

โดย นางสาวมณฑนา เพ็งกลาง รหัสนักศึกษา 57D0103113 สาขาหลักสูตรและการสอน 

เรื่อง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วันที่บันทึก31สิงหาคม พ.ศ. 2557

ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดย รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน หลักสูตรอิงมาตรฐาน มีมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของหลักสูตร สาระ คือ เนื้อหา วิชาที่เป็นประโยชน์ ในแต่ละสาระจะมีรายละเอียด เพราะฉะนั้นผู้สอนต้องสอนตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง หลักสูตร การสอน การสอบ มีความสัมพันธ์กัน เพราะหลักสูตรกำหนดสาระและตัวชี้วัด กิจกรรมการสอน เนื้อหาที่สอน สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด และการสอบเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัด การออกข้อสอบให้นำเนื้อหาจากสาระแกนกลางมาใช้ โดยยกตัวอย่างสถานการณ์ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ ให้นำเนื้อหามาจากสาระการเรียนรู้แกนกลาง หลักการจัดการเรียนรู้ 1. มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้และสมรรถนะที่สำคัญและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในหลักสูตร 2. ยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด 3. เชื่อว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ 4. กระบวนการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ 5. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนสามารถวางแผนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความถนัด ความต้องการ ความสนใจตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้เรียนมีส่วนร่วม มีการใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ให้เต็มตามศักยภาพ กิจกรรมตามความถนัดของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล จะต้องเกิดการเรียนรู้ ได้ปฏิบัติ และเกิดกระบวนการคิดค้นด้วยตนเอง

Brain based Learning เป็นการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้ความรู้แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสมอง โครงสร้างและหน้าที่การทำงานของสมอง มาช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ถาวรมากที่สุด โดยนำความรู้แนวคิดหรือทฤษฎีที่หลากหลายเหล่านั้นไปใช้ เพื่อฝึกและส่งเสริมการเรียนรู้ ทฤษฎีเป็นการบูรณาการการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด สมองจะเรียนรู้จากการกระตุ้น การจำ และการปฏิบัติ

ความฉลาดของมนุษย์ขึ้นอยู่กับจำนวนเซลสมองกับปริมาณการสื่อสารของเซลสมองเป็นปัจจัยสำคัญสำคัญของการพัฒนาสติปัญญา มนุษย์สามารถสร้างความรู้ขึ้นมาได้ เกิดการคิด การจดจำขึ้นในสมอง เกิดการผสมผสานกันขึ้นกลายเป็นการเรียนรู้ สามารถคิดค้น สร้างสรรค์ผลงาน การใช้ความคิดเป็นกลไกของสมอง มนุษย์จึงควรได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมองได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สมองแบ่งเป็น 2 ซีกที่ควบคุมความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกัน สมองซีกซ้ายจะควบคุมความคิดที่เป็นระบบ ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก หลักการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานคือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเชื่อว่า ความสำเร็จของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ก็คือ การพัฒนาศักยภาพของสมองและการเรียนรู้ของผู้เรียน ระบบการสอนแบบทฤษฎี 4 แบบ จะให้ความสำคัญต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะกระบวนการสอนที่สอดคล้องกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ตลอดจนคำนึงถึงกระบวนการสอนที่มุ่งพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีก

รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ

ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถแตกต่างกัน ต่างก็มีจุดแข็งและมีขีดจำกัด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถซ่อนอยู่ในตัวเองอยู่แล้วอย่างน้อยด้านหนึ่ง ซึ่งต้องการได้รับการค้นหาและพัฒนา การพัฒนาการคิดคือการพัฒนาคนให้มีทักษะการคิดและกระบวนการคิดที่ดี และยังเป็นการพัฒนาสมองให้ทำหน้าที่อย่างสมดุลกัน ทุกคนมีขนาดสมองใกล้เคียงกัน แต่สติปัญญาความเฉลียวฉลาดและความสามารถแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่สามารถพัฒนาความสามารถให้ดีขึ้นได้ หากได้รับการค้นหาความสามารถที่ซ่อนอยู่ และมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและมีการฝึกฝนพัฒนาตามความสามารถ เพราะจะเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมความสามารถนั้นมีการพัฒนาอย่างชัดเจนเต็มตามศักยภาพ

จะนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างไร

จัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถให้ได้มากที่สุด ได้ใช้การคิดเพราะการคิดเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาและสามารถเลือกตัดสินใจอย่างเหมาะสมและมีเหตุผล ให้ผู้เรียนได้ใช้การคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ให้ตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่ระบุความสำคัญต่อความสามารถด้านการคิดของผู้เรียน ซึ่งมีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

บรรยากาศในการร่วมกิจกรรม

มีกิจกรรมให้ทดสอบทักษะของสมองทั้ง 2 ด้าน มีแบบทดสอบในการใช้ทักษะการคิดด้านต่าง ๆ ให้ลองทำเพื่อใช้เป็นวิธีการวัดความสามรถของผู้เรียน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
MONTANA
เขียนเมื่อ

ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

หลักสูตร เป็นแผนและประสบการณ์ที่ต้องจัดทำขึ้นหรือพัฒนาขึ้นเป็นแนวทางจัดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือผู้เรียนบรรลุ มีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดซึ่งหลักสูตรควรได้รับการวิเคราะห์ และพัฒนาให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ วิธีการสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบ วิธีสอนแบบสืบสอบ (inquiry teaching method) การจัดการเรียนการสอนโดยวิธีให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย วิธีการสอนแบบโครงงาน (project teaching method) ขั้นตอนของการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาเพื่อค้นพบความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และมีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา วิธีสอนแบบอุปนัย (inductive method) กระบวนการสอนที่ผู้สอนใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยนำตัวอย่าง เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ การเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (research – based learning) การเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐานเป็นแนวการสอนที่เน้นการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเน้นการทำวิจัยที่เป็นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการสอน รูปแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5E learning cycle model) การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นการให้นักเรียนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สร้างความรู้ด้วยตนเอง อันทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถประยุกต์ความรู้สร้างชิ้นงานเพื่อนำไปบริการสังคมได้ แนวการสอน กลยุทธ์ กลวิธีการสอนเป็นแนวทางกว้าง ๆ โดยมีหลักการเพื่อการจัดการเรียนการสอน แนวการสอนโดยใช้กิจกรรม (activity teaching approach) การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกิจกรรม แนวการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (case study) กรณีตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน เทคนิคการสอน กลวิธีต่าง ๆ ที่เสริมกระบวนการ ขั้นตอน เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอนนั้นมีคุณภาพ เทคนิคการใช้คำถาม (questioning technique) การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ (cooperative learning techique) วิธีการที่กำหนดโครงสร้างหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน เทคนิคการใช้พหุปัญญา (technique of using multipleintelligences) เทคนิคการใช้ผังกราฟิก (techniqur of using graphic organizers) แบบการสื่อความหมาย เพื่อใช้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมอย่างเป็นระบบ การเสริมสร้างทักษะการคิดด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ระบุคำถาม ออกแบบรวบรวมข้อมูล ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุป กลยุทธ์การเรียนการสอนและกระบวนการที่ใช้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ความรู้ กระบวนการเรียนรู้สร้างความรู้และเข้าใจ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การเป็นแบบอย่าง ทักษะกระบวนการ กระบวนการเรียนภาษา อ่าน ฟัง เขียน สื่อความหมายข้อมูล จัดกระทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ใช้เหตุผลแบบนิรนัยอุปนัย คิดสร้างสรรค์ การพัฒนาตนเองของครูจากการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิจัย CICA สามารถวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชา สาระการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด สามารถออกแบบการสอนเน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดการชั้นเรียนเพื่อการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ

การแสวงหาความรู้ด้วยการใฝ่รู้ มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีความรู้ความเข้าใจ คือ ความรู้พื้นฐาน ความรู้ในอาชีพ ความรู้โลกศึกษา มีทักทักษะ 5C ดังนี้ ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการร่วมมือร่วมพลัง ทักษะการสื่อสาน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แนวการสอนแบบผสมผสาน อาจใช้แนวการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ หรือ แนวการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางได้ เพราะจะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก การจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ จึงต้องมีการพัฒนาครูให้มีศักยภาพ กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอนเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนในปัจจุบันต้องเผชิญปัญหาและมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นการกำหนดลักษณะผู้เรียนจะต้องมีความสามรถในการคิดเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามรถในการสร้างชิ้นงาน ครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจและมีความสามารถในการพัฒนาผู้เรียน การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นเด็กสร้างความรู้ ใช้แนวทางสอนเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ใช้รูปแบบวิธีและเทคนิคการสอนหลากหลาย ใช้สื่อแหล่งการเรียนรู้ ใช้การประเมินผลการเรียนรู้รอบด้าน การจัดชั้นเรียนเพื่อการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ คือ บันทึกหลังสอน ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ได้นวัตกรรมการเรียนรู้ ทำวิจัยเชิงวิชาการ

จะนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างไร

นำทักษะการพัฒนาครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง เพราะทักษะครูมืออาชีพเป็นทักษะที่สำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์สิ่งที่ครูต้องปฏิบัติและพึงมีได้แก่ พัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การนำนวัตกรรมไปใช้ การประเมินตามสภาพจริง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน การเสริมสร้างลักษณะ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลอย่างมีคุณภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และเกิดนวัตกรรมด้วยวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน เพราะทำให้ได้พัฒนาตนเองด้วยว่า สามารถวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชา สาระการเรียนรู้ตามตัวชี้วัก สามารถออกแบบการสอนเน้นเด็กเป็นสำคัญ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดการชั้นเรียนเพื่อใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะได้มาจากการบันทึกหลังสอน และทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

บรรยากาศในการร่วมกิจกรรม

มีความเป็นกันเองระหว่างผู้บรรยายและผู้รับฟังการบรรยาย จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ผู้รับฟังการบรรยายได้รู้จักกัน ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับหมอบหมาย 



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท