มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

คำตอบ


แนวคำถามในการวิจัยเชิงคุณภาพ

แนน

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

การตั้งคำถามให้ครบองค์ประกอบนั้นเป็นเรื่องของเนื้อหาแล้วค่ะ ไม่ใช่เรื่องวิธีวิจัย อยากรู้อะไรก็ถามให้ครบเท่านั้นเอง แต่สิ่งที่ต้องวางแผนคือ คุณอยากรู้ประเภทของคำตอบแบบไหนต่างหากค่ะ 

ไมเคิล แพตตั้น (Micheal Quinn patton) เขียนตำราไว้ว่า คำถามมี 6 ประเภท

1. ถามประสบการณ์ว่าทำอะไรมาบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ (experience and behaviour)

2. ถามความเห็น ถามว่าเค้าให้คุณค่าเรื่องนี้อย่างไร (oponion and value)

3. ถามความรู้สึก (feeling)

4. ถามความรู้ (knowledge)

5. ถามว่าไปเห็นเหตุการณ์ ไปได้ยินได้ฟัง ได้ดม ได้กิน อะไรมาเกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัย (sensory)

6. ถามเกี่ยวกับ demongraphic ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่นจบอะไร ทำงานมากี่ปี เป็นต้น (background)

อีกอย่างที่ต้องคำนึงคือถามใคร ที่ไหน และอย่างไร เป็น structured คล้ายๆทำแบบสอบถามแต่เป็นคำถามปลายเปิด หรือ semi-structured แบบมี interview guide หรือ คุยเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ

โดยมากจะเป็นแบบ semi-structure ก็จะไม่ยากดีแล้วก็ไม่ลืมว่าจะต้องถามอะไรบ้างแต่ก็ยังคุยเป็นธรรมชาติดีค่ะ

 

สนใจบล็อก และขออนุญาตนำไปเผยแพร่

Piya

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ยินดีค่ะ ไปเผยแพร่ที่ไหนส่ง link หรือ เขียนมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ ขอบคุณค่ะ

lสอบถามราคาเครื่องมือแพทย์

สุธามาศ

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ราคา Poket Mask ที่เขียนไว้เป็นราคาของสภากาชาดแคนาดาหรืออเมริกาค่ะ

ลองสอบถามไปที่สภากาชาดไทยดูมั้ยค่ะ

หรือถ้าจะสั่งซื้อจากทางโน้น google เจอพบว่า

ของกาชาด ราคา $14 (503 บาท) และมีค่าส่ง

ถ้าสั้งยี่ห้ออื่น ไม่ใช่ของกาชาด (ADC) ชิ้นละ $11.32 (406 บาท) ถ้าสั่งมากกว่า 3 ชิ้นก็ไม่ต้องเสียค่าส่งถ้าส่งในอเมริกาแคนาดา ถ้ามีคนรู้จักจะสบายมากค่ะ ถ้าต้องส่งมาไทยคงมีค่าส่งด้วย แต่ว่ามันเบามาก ไม่น่าแพง

ยังไงลองถามที่สภากาชาด หรือ ศูนย์กู้ชีพต่างๆดูก่อนได้นะคะ แล้วจะช่วยหาอีกแรงค่ะ

สอบถามเรื่องอารยันครับ

Jimmy

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สวัสดีค่ะ

ตามที่เข้าใจจากการอ่านหนังสือนะคะ แต่ไม่ได้เรียนมาทางนี้โดยตรง

ชาวอารยันแบ่งเป็น 2 พวกคือ

พวกที่อพยพไปตะวันตกเฉียงใต้ ก็จะหน้าตาเหมือนแขกขาว พวก Persian ก็จะตาดำ จมูกโด่ง ผิวขาว หน้าเข้ม แต่พวก Persian นี้เค้าจะมีผมทั้งสีดำและสีบลอนด์ค่ะ 

ส่วนพวกที่ไปทางตะวันตกแต่ขึ้นเหนือหน่อยก็จะไปเหมือนพวกยุโรป ก็จะหน้าตาไปทางคนขาว caucasian ค่ะ  อย่างที่พวกนาซีเยอรมันบอกว่าพวกเค้าคือเชื่อสายอารยัน

คำว่าอารยันนั้นแปลว่า noble ไม่ใช่ชื่อเรียนสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งซะทีเดียวหรือพวกที่พูดภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้นแต่ว่าเรียนคนที่เจริญแล้วเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆในที่ที่เค้าไปค่ะ

ส่วนการค้นข้อมูลนั้นแน่นำว่าให้ค้นจากเอกสารที่วิชาการหน่อยเพราะถ้า google ทั่วๆไปนั่นจะเจอหลายทฤษฎีมากค่ะ อย่างที่บอกว่าพระพุทธเจ้าเป็น caucasian นั่นก็ google เจอเหมือนกันแต่เป็นลักษณะ webboard ที่ไม่มีหลักฐานทางวิชาการรับรอง แล้วก็ต้องดูด้วยว่าเป็นทฤษฎีที่เขียนมาในปีไหน ใครเขียน 

เรื่องนี้มีให้อ่านมากมายเลยค่ะ ยังไงได้ข้อมูลแน่ๆแล้วจะมาบอกอีกที ต้องขอโทษที่ช่วงนี้งานเยอะมากเลยไม่มีเวลามาหารายละเอียดให้ จริงๆสนใจมากและอยากค้นคว้าเพิ่ม ลองค้นดูแล้วมีแหล่งความรู้มากมายเลยค่ะ แต่ยังไม่ได้อ่านได้แต่ save เก็บไว้ เลยตอบตามความเข้าใจส่วนตัวเท่านั้นเอง ว่าหน้าตาของพระพุทธเจ้าน่าจะเหมือนแขกขาวแบบคนอิหร่านมากกว่าค่ะ 

ปล. นอกเรื่องว่าส่วนพระเยซูนั้นที่เห็นตาฟ้าๆผมทองในบางรูปบางที่นั้น อ่านๆดูแล้วท่านน่าจมีหน้าตาเหมือนยิว คิือตาดำผมดำมากกว่า 

 

เมฆ Cloud Bank

บัญชา ธนบุญสมบัติ

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณมากค่ะพี่ชิว ตอนนี้คุณอากลับไปอยู่เมืองไทยแล้วค่ะ เพิ่งทำคีโมครั้งที่ 3 ไป กำลังใจดี แต่ตับโตมากค่ะ

ขออนุญาตนำภาพไปใช้ในบล็อก

บัญชา ธนบุญสมบัติ

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ยินดีค่ะอาจารย์ เข้าไปโหลดรูปตามขนาดที่ต้องการได้ที่นี่ค่ะ

คลิกภาพที่ต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม "all size" ที่อยู่ด้านบนของภาพ

แล้วก็เลือกโหลดขนาดที่ต้องการค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mt. Rainier อ่านได้ที่นี่ค่ะ

แรงบันดาลใจจากบทความชุด เรียนรู้ความเหมือนของศาสนาต่างๆฯ

บัญชา ธนบุญสมบัติ

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณอ.ดร.บัญชามากๆเลยค่ะ ตามอ่านแน่นอนค่ะ : )

เรื่องขูดหินปูน

เพื่อนร่วมทาง

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สวัสดีค่ะพี่หมอนนท์

มัทจะลองตอบตามที่มัทเข้าใจนะคะ

 

1. ประเด็นแรกคือเรื่องนิยาม และ classification ของระบบการดูแลรักษาสุขภาพ

"ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู .. ยังไงก็เป็นการรักษาทางการแพทย์ "

เราลองเปลี่ยนประโยคนี้นิดหน่อยนะคะ เป็น

การส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู มีหลายวิธี การรักษาทางการแพทย์เป็นเพียงวิธีหนึ่งเท่านั้น

อันนี้มัทว่า พี่หมอไม่งง คงแต่พิมพ์สั้นไปอย่างที่พี่บอก เพราะเรื่องชุดสิทธิเจาะจงระดับบุคคลไม่ใช่ระดับประชากร มันเลยเน้นไปทางบริการทันตกรรมมากกว่า health promotion วิธีอื่นๆ

 

แต่ที่พี่และ สปสช. ทำมัทงงคือประเด็นต่อไปนี้ค่ะ

2. เรื่องการแบ่งว่าอะไรควรเป็นสิทธิ

การที่เราจะไม่ได้สิทธิเรื่องขูดหินปูนในผู้สูงอายุ ในปี 2552 นี้แปลว่า ผู้สูงอายุจะไม่ได้สิทธิเลย คือต้องจ่ายค่าขูด หรือว่า ก็ยังได้สิทธิอยู่แต่แค่แยกประเภทไปไว้ในสิทธิการรักษาคะ? เพราะมัทเข้าใจจากการดูslideของคุณหมอสุธาว่ามีชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมด้านการรักษาอีกชุดหนึ่ง? 

หรือว่าการที่กิจกรรมขูดหินปูนโดนแยกออกไปจากชุดสิทธิประโยชน์ด้านส่งเสริมป้องกันนั้น หมายถึงว่า ขูดที่รพ.ได้งบต่อหัว แต่ขูดที่ส.อ.ไม่ได้งบ? คือมัทยังไม่เข้าใจจุดนี้เท่าไหร่

ถ้าสรุปว่าแค่ย้ายชุด แต่ผู้สูงอายุได้รับสิทธิไม่ว่าจะไปขูดที่ไหนก็โอเคค่ะ ไม่เป็นไร แต่ถ้าแยกแล้วแปลว่าที่ส.อ.จะไม่ได้งบก็คงต้องไปสู้เอามา

 

3. ขูดหินปูน เป็นการป้องกันโรค หรือ เป็นการรักษา

อ่านมาซะนาน พี่หมอคงคิดว่า แหม....ตอบยาวจัง ชั้นสงสัยแค่นี้แหละ กว่าจะเข้าประเด็น ฮิๆ : P

เรื่องนี้แหละค่ะที่ต้องขุดเรื่อง concept ของโรคปริทันต์มาคุยเพราะตอนนี้ ทาง perio มีมุมมองต่อการเกิดโรค (pathogenesis) ใหม่ ที่เน้นไปทางเรื่อง immuno และ infection มากว่า

จุดสำคัญคือ gingivitis ไม่จำเป็นต้องกลายเป็น periodontitis มันเป็นคนละโรคกัน

ทีนี้ก็ต้องมาคิดกันว่าชุดสิทธิบัตรการส่งเสริมป้องกันนั้น

end point ของการขูดหินปูนคืออะไร?

คือ โรคเหงือก

คือ โรคปริทันต์

คือ การรักษาให้มีฟันมากกว่า 20 ซี่

คือ function

คือ สุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวม

ถ้าเราตอบว่า end point คืออะไรได้ชัด เราถึงจะกลับมาตอบได้ว่า การขูดหินปูนเป็นการป้องกัน (อะไร) หรือรักษา (อะไร)

การป้องกันแบ่งได้เป็น primary คือ กันก่อนเกิด และ secondary คือเกิดโรคแล้วแต่ชะลอไม่ให้รุนแรง

  • เราเคยคิดกันว่า gingivitis รุนแรงจะกลายเป็น periodontitis  เพราะฉะนั้นการกำจัดหินปูนในคนไข้ที่เป็น gingivitis เป็นการป้องกัน ลดความเสี่ยงไม่ให้ gingivitis กลายเป็น perio *แต่ตอนนี้เราอ้างแบบนั้นไม่ได้แล้ว*
  • การขูดหินปูนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรคเหงือก โรคปริทันต์ ซึ่งก็แบ่งได้เป็นหลายประเภท (ตามที่ American Academy of Periodontology แบ่ง)
  • แต่ถ้าคนไข้เป็นโรคปริทันต์แล้ว แล้วเราบอกว่าการขูดหินปูนเกลารากฟันเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันการสูญเสียฟัน หรือโยงไป end point ไกลๆเช่นโรคทางระบบ แบบนี้ก็เป็นการป้องกันได้ค่ะ (แต่ต้องระวังนะคะ เพราะโรคปริทันต์ associate กับโรคทางระบบแต่ว่ามันยังไม่มีหลักฐานว่าเป็น cause-effect กัน)
  • อยู่ที่ end point จริงๆว่าคืออะไรกันแน่ ซึ่งก็ต้องไปดูที่ วัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น ในกรณีของหญิงมีครรภ์การขูดหินปูนเป็นการป้องกัน premature/low birth weight ทีนี้เราก็ต้องมาดูว่าในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น เราขูดหินปูนไปทำไม
  • ทีนี้การที่ิิเราบอกว่า ควรขูดหินปูนปีละครั้ง (ตามชุดสิทธิ) นั้น เราหมายถึง ขูดหินปูนจริงๆ คือมีหินปูนให้ขูดจริงๆ หรือ ให้มาหาหมอ/ทันตา ถ้ามีก็ขูดถ้าไม่มีก็ขัดฟันไป คือเป็นการเฝ้าระวังมากกว่า ให้คนไข้มามีปฏิสันถารจะได้ใช้เป็นพื้นที่ให้ความรู้สร้าง awareness ด้วย ถ้าแบบนี้ก็เป็นการส่งเสริมป้องกัน แต่ว่าถ้าเป็นแบบนี้มัทว่าใช้คำว่า professional plaque control program แบบที่ American Academy of Periodontology ใช้จะตรงกว่าค่ะ คือไม่ใช่แค่ขูดเอาหินปูนออก(คู่ไปกับ self-administered plaque control program) แล้ว plaque control program ก็ target ทั้ง gingivitis ทั้ง periodontitis ทั้งโรคฟันผุ ด้วย ส่วนจะแปลเป็นภาษาไทยอย่างไรก็ค่อยคิดอีกทีให้ได้คำที่ตรงและครอบคลุม
  • ทีนี้ก็มาถึงคำถามให้คิดเล่นๆว่า แล้วการอุดหรือกรอแก้วัสดุอุดเดิม หรือแก้ทำครอบฟันใหม่เพราะขอบขรุขระเป็นที่เกาะของ plaque หล่ะ ต่างอะไรกับการกำจัดหินปูน แล้วควรครอบคลุมหรืิอไม่ เพราะฉะนั้นมันมีปัจจัยอื่นที่ต้องเอามาคิดด้วยว่าอะไรควรครอบคลุม นอะคะ ไม่ใช่แค่ว่ามันเป็นการป้องกันหรือรักษา
  • นอกจากนี้สิทธิทางการสงเสริมป้องกันระดับบุคคลจริงๆแล้วอาจจะมีมากกว่านี้ก็ได้ค่ะ เช่น ค่า product อื่นๆ เช่น น้ำลายเทียมแบบทา แบบพ่น หรือ MI paste (CPP-ACP) หรือการตรวจ buffer capacity ของน้ำลายประจำปี ฯลฯ แต่ว่ามันต้องคิดคำนวณค่าใช้จ่าย แล้วก็ดู prevalance incidence ของ disease/disorder ด้วย ว่าจะทำได้หรือไม่

ไม่ทราบว่าตอบตรงคำถามรึเปล่าอ่ะค่ะ ทั้งหมดนี้คือความเห็นส่วนตัวนะคะ : )

 

 

 

สวัสดีปีใหม่

เบิร์ด

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ผ่านมา 3 เดือน เพิ่งมาเห็น -_-'

สวัสดีปีใหม่แบบชาวคริสต์แทนละกันนะคะคุณเบิร์ด : P

สุุดสัปดาห์นี้คือวันอีสเตอร์ วันที่มีความหมายเกี่ยวกว่าการ "เริ่มใหม่"

ขอบคุณพร้อมขอโทษมากๆนะคะที่ตอบช้ามากๆ!

สวัสดีครับ

kmsabai

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สวัสดีค่ะคุณหมอสุพัฒน์

ตอนนี้ยังอยู่แคนาดาค่ะ จะกลับเมืองไทยถาวรเดือนสิงหานี้แล้วค่ะ

ช่วงปีที่ผ่านมามัทก็ได้เรียนรู้อะไรมากมายทั้งภายนอกและภายใน

ยังจำที่เราคุยกันเรื่องจิต เรื่องผู้รู้ได้อยู่เลย

ตอนนี้ถ้ามัทจะต้องตอบคำถามเดิมของคุณหมอ มัทอาจจะเปลี่ยนคำตอบแล้วก็ได้ : )

กลับมาเรื่องการเมือง มัทไปฟังท่านอาจารย์ยูนูสมาแล้วมัทมีกำลังใจมาขึ้น หายอึดอัดแล้วเหมือนหัวใจมันแผ่กว้างเป็นอิสระ ไม่ถูกรัดไว้ด้วยความรู้สึกไม่พอใจหรือความต้องการอยากจะ ให้ไอ้โน้นไอ้นี่เป็นไปตามใจที่"เรา (กู)"เห็นว่าถูกว่าควร

ที่บังคลาเทศ รัฐบาลก็แสนจะคอรัปชั่น แถมมีพายุอุทกภัยแผ่นดินไหวตลอด แค่อ.ยูนูสและพวกก็ทำงานด้วยความเมตตา

"เมตตา"และ"เข้าใจ" ให้โอกาสคนมา 31 ปี แถมผลก็เป็นที่ประจักษ์ชัด

ได้ฟังเรื่องดีๆก็ทำให้หาย"ห่อเหี่ยว"ไปได้เยอะเลยค่ะ

อย่างที่คุณหมอกับคุณกะปุ๋มช่วยจัดอบรมวิถีพุทธที่รพ.ก็น่ายินดีและชื่นชมมากๆ

ขอบคุณที่เขียนมาคุยกันนะคะ

ขอให้ "สว่าง สะอาด สงบ" ค่ะ : )

ปล. ดูจิตแล้วอย่าลืมดูฐานอื่นนะคะ

มากอดด้วยความคิดถึงค่ะ

เบิร์ด

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เพิ่งเห็นว่าตอบผิดที่ ไปเขียนเป็น comment แทน : P

เข้ามาขอบคุณคุณเบิร์ดอีกทีนะคะ : ) 

วิวาทะ คนพุทธกลัวการเป็นพุทธ

mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

หามิได้ คุณสุมิตรชัย

ต้องขอบคุณ gotoknow ที่เป็นพื้นที่ให้ฝึกวิชา แล้วก็ขอบคุณน้อง Man In Flame ที่กล้าเขียนในสิ่งที่เค้าคิด

เราอยู่ในสังคมที่ไม่มีทางให้ทุกคนคิดเหมือนกันได้ มัททำได้ก็คือการับฟังอย่างเปิดใจและเป็นมิตร

ยืดหยุ่นให้กันร่วมหาทางออก

มัทอ่านบันทึกคุณสุมิตรชัยแล้ว น่าสนใจมากค่ะ จะไปร่วมลปรร.แน่นอน

ขอบคุณนะคะสำหรับกำลังใจ 

 

น้ำยาบ้วนปาก

อ.แอ๊ว

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สวัสดีค่ะอาจารย์

มัทไม่แน่ใจว่าที่เมืองไทยมียี่ห้ออะไรบ้างให้เลือก แต่กลับไปคราวที่แล้วมีแน่ๆนี่ห้องนึง ตอนนั้นเห็นที่ supermarket ธรรมดานี่แหละค่ะ

ในตลาดโลกตอนนี้มีอยู่หลายยี่ห้อเหมือนกันค่ะ 

  • Oral B
  • Crest
  • Biotene
  • TOM's of MAINE
  • Aqueous
  • OXY

เวลาอ.ไปตามร้านขายยาหรือsupermarket ให้อ่านที่ฉลาก แล้วเค้าจะเขียนไว้เลยค่ะว่า ไม่มีแอลกอฮอล ยี่ห้อไหนก็ได้ค่ะ

แนะนำจริงๆค่ะ แอลกอฮอลมันแรงไปจริงๆ

มาตอบต่อหลังจากที่กลับมาอยู่เมืองไทยแล้วพบว่ามียี่ห้อ

fluocaril ของคนจัดฟัน เป็นน้ำสีชมพู ที่ใช้แล้วไม่แสบค่ะ มี fluoride ด้วยค่ะ ส่วนสีเขียวก็มีคุณสมบัติดีแต่ส่วนตัวคิดว่ายังแสบอยู่

ของ systema ก็มีแบบไม่มี alcohol ค่ะ แต่ไม่มี fluoride 

ของ oral B ก็มีค่ะ

ของ colgate plax ก็มีแล้วค่ะ

ตรวจสอบภาษาอังกฤษ

เพื่อนร่วมทาง

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ
ไว้พรุ่งนี้เช้ามัทมาแก้ให้ แล้วจะเมลส่งกลับไปให้นะคะ รอแป๊บนึงนะคะ พอดีมาเจอข้อความตอนดึกไปหน่อย กู๊ดไนท์ก่อนค่ะวันนี พรุ่งนี้จะตื่นแต่เช้าค่ะ้

ขอบคุณอาจารย์ครับ

kmsabai

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

หวัดดีค่ะหมอ : )

ขอบคุณมากนะค่ะ สำหรับ link เวปวงน้ำชา คุณเต้าหู้นี่หน้าปรมมือให้จริงๆ เยี่ยมมากค่ะ

--------

จริงๆในหนังสือ uncommon wisdom นี้คาปราก็เล่าให้ฟังว่าเค้าคุยกับ กฤษ มูรติ ด้วยนะคะ แต่ กฤษ มูรติ ไม่ตอบ แล้วก็ไม่ friendly ไม่เปิดใจสนทนากับคาปราหน่ะค่ะ

--------

ถ้าคาปราได้มาคุยกับท่านปยุตตฯกับท่านอ.หมอประเวศก็ดีสินะคะ : )

แต่พูดถึงความรู้เรื่องพุทธศาสนาของคาปราก็ถือว่าใช้ได้ ในหนังสือ hidden connection ที่หมออ่านแล้วมีพูดถึง ฟรานซิสโก้ ใช่ไม๊ค่ะ คนนั้นหน่ะ รู้และปฏิบัติวิปัสสนาด้วย เป็นอีกคนที่มีความคิดน่าสนใจมาก

คาปราเข้าใจเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เข้าใจ concept การเกิด และเหตุปัจจัย มองเห็นความเกี่ยวโยงของสรรพสิ่ง ในประสบการณ์การได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เช่นการเข้าสัมมนาที่ Big Sur ที่เค้าเล่าให้ฟัง เค้ารู้สึกถึงพลังชีวิตจากธรรมชาติ เค้าคงคิดขึ้นมาว่าเค้ารู้แล้วว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคืออะไร ชีวิตนี้อยากทำอะไร แล้วก็เลยหันไปตั้งศูนย์การเรียนการสอนชีวิตจากหลัก ecology ซะเลย

หลัก ecology ตรงกับพุทธศาสนามาก แต่ไม่่ค่อยเน้นเรื่อง จิต หรือ การหาคำตอบเรื่องตัวรู้ เน้นการเข้าใจธรรมชาติภายนอกมากกว่า แต่พูดถึงมันก็เป็นแนวความคิดที่พอเพียงที่จะให้ เราอยู่กันอย่างสงบสุขได้อย่างยั่งยืนเหมือนกันนะคะ

-------- 

ส่วนอีกคำถาม   "จิตและตัวรู้ในความเห็นอาจารย์เป็นอย่างไรครับ"

จนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีคำตอบค่ะ ว่าตัวรู้คืออะไร รู้แต่มันมี

ถ้าหมอมาเวลายอมฟังทฤษกีที่มัทมีอยู่ก็จะเล่าให้ฟังหมดเลย แต่พูดจริงๆว่าไม่เคยพูดออกมากับใครเลย เพราะฟังดูอาจจะคิดว่าประสาท ๕๕๕๕๕๕ วันนี้เอาไปเบาะๆก่อนนะคะ

มัทคิดว่าคนที่นั่งสมาธิถึงขั้นที่ลึกมากพอ ท่านเหล่านั้น "เห็น" หรือ "รู้สึก"ได้ถึง อะไรบางอย่างที่อธิบายเป็นคำพูดไม่ได้ สิ่งนั้นนั่นแหละคือ สูญญตามั่ง คือเต๋ามั่ง คือholy spiritมั่ง คือonenessมั่ง หมอเคยดูหนังเรื่อง contact ไม๊ค่ะ ที่นางเอกออกไปนอกอวกาศ แล้วไปเห็น "อะไร" ที่มันทำให้รู้สึกดีมากๆเข้าใจชีวิตมากๆ แต่มันอธิบายไม่ได้ด้วยข้อจำกัดของภาษาคนเรา

มัทว่านั่นแหละค่ะ มันคือสิ่งเดียวกันหมด 

และ ณ จังหวะนั้น  ตัวรู้ หรือ จิต (หรือ ตัวรู้ และ จิต) และทุกสิ่งในจักรวาลกลายเป็นกระแสเชื่อมต่อกันหมด มองเห็น interceonnectedness อย่างจริงจังและจริงๆ 

[มัทไม่มีคำตอบจากประสบการณ์ตรงค่ะ เพราะไม่เคยนั่งสมาธิได้ขนาดนั้น]

มัทไม่สามารถตอบเรื่อง ผู้รู้ ได้ เพราะมัทไม่เข้าใจเรื่อง soul คะ ว่ามันมีจริงไม๊ ทำงานอย่างไร การเกิดใหม่ พลังงานออกจากร่างกายไปเข้าที่อื่น หรือถ้าไม่เข้าร่างอื่นกลายเป็นเร่ร่อน แล้วไงต่อ เรื่องผี เรื่องบุญที่มีการแบ่งกันได้ ส่งผลบุญกันได้ มันทำงานอย่างไร

ไอ้ส่วนนี้ของศาสนาพุทธมัทยังไม่ได้ศึกษา ยังไม่เข้าใจ และไม่คิดว่าจะเข้าใจได้จากคำอธิบายของคนอื่น คิดว่ามันต้องนั่งสมาธิแล้วถึงเข้าใจ ถึงเห็นแจ้ง

แต่ มัทไม่คิดว่ามัทต้องรู้คำตอบตอนนี้ค่ะ

มัทว่าการที่เราเข้าใจปฏิจจสมุปบาท และ ขันธ์ 5 แล้วนำมาใช้ทุกลมหายใจก็โอเคแล้วสำหรับมัทเองนะคะ 

ส่วนเรื่องอื่นที่อธิบายลำบากถ้าไม่เห็นหรือรู้สึกด้วยตัวเอง มัทขอเข้าใจมันแบบทฤษฎีของมัทเองค่ะ  เป็นสมมติฐานที่อาจจะไม่มีการพิสูจน์ไปจนตายเลยก็ได้ค่ะ

หรือถ้าโชคดี อาจจะเกิดปัญญาแบบ ยูรีก้า ก็ได้ แต่ ณ ตอนนี้ ตัดสินใจกับตัวเองแล้วว่าจะไม่ขวนขวายหาคำอธิบายใดๆค่ะ ว่าผู้รู้ คืออะไรแน่ มันอยู่ที่ไหนในร่างกายของเรา! รู้แต่มันมี และ มันมองการทำงานของระบบประสาทออก แล้วก็คุมอารมณ์เราได้

 --------

พระพุทธเจ้าสอนว่า ความจริงบางอย่างไม่มีประโยชน์ที่จะต้องรู้ คำถามบางคำถาม ตอบว่า "โอม" ซะ บางทีก็ดีที่สุด : )

 -------- 

 ยังค่ะ ยังไม่บ้า ไม่ต้องกลัว : P

--------

เขียนมายาวแล้ว ไม่ทราบตรงที่ถามบ้างรึเปล่า จริงๆอยากตอบตรงกว่านี้ แต่ขอเล่าเรื่องที่เขียนไปเพื่อเป็นการปูทางก่อนละกันนะคะ : P

ว่าแต่หมอรุ่นไหนค่ะ จะได้ทราบว่าคราวหน้าจะเรียกพี่หมอหรือน้องหมอดี : ) 

ขอชื่นชมอาจารย์ครับ

มาโนช

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ อ. มาโนช

ที่มัทตอบ Dayvil ไปตอนแรกก็เพราะได้เข้าไปอ่านบันทึกของน้องเค้าอย่างละเอียด เพราะตอนนั้นว่างค่ะ วันหยุดยาว(อีสเตอร์) มัทได้ comment  ที่มีแต่ภาพ ไม่มีคำอธิบาย อันนั้นแค่อันเดียว เลยไม่ได้มองว่ามันเป็น spam ค่ะ ไม่ได้มีจิตใจหรือมุมมองที่พิเศษอะไรหรอกค่ะ  : )

ดีใจที่น้องเค้าเข้ามา ลปรร. ต่อ ก็หวังว่าน้องเค้าจะโตขึ้นในเรื่องการส่งสาร และ การปฎิบัติตามวัฒนธรรม (ส่วนมุมมองเค้าจะเปลี่ยนไม๊  มัทไม่ค่อยห่วงค่ะ) เพราะเค้าได้เข้ามาในหมู่บ้าน gotoknow ที่มีเพื่อนบ้านเขียนเก่งและเขียนด้วยใจเต็มไปหมด (เช่น อ. หมอ มาโนช เป็นต้น!)

มัทเป็นแฟนตามอ่านบันทึกของอ.อยู่เสมอค่ะ 

 

tag

อ.ภก. สุรศักดิ์ เสาแก้ว Pharm.D.

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ
  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
  • ตามไปอ่านได้เลยค่ะที่ http://gotoknow.org/blog/growthrings/77052

รูปถ่ายที่ Flickr ไม่แสดง

ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

มัทนา
เขียนเมื่อ
คำตอบ
ขอบคุณมากค่ะ ที่แจ้งมา จะทำตามคำแนะนำค่ะ ว่าแต่ทุกรูปที่ link มาจาก flickr เลยเหรอค่ะ หรือรูปในบันทึกไหนค่ะ อ.ช่วยหน่อยค่ะ งง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท