ดอกไม้


ชยันต์ เพชรศรีจันทร์
เขียนเมื่อ

บริเวณจัดงาน"บัณฑิตน้อย" ประหยัด เรียบง่าย แต่คิดว่าน่าจะสวยงาม

6
0
Wasawat Deemarn
เขียนเมื่อ

| อนุทิน ... ๖๑๗๖ |

"..."

การวิ่งตามคนอื่น
คือ
การวิ่งหนีตัวเอง

และมันก็ใช้ได้กับทุกเรื่อง
ทั้งค่านิยม แฟชั่น
หรือ ความรัก

(มาบุชี่, ล้านความสุข, หน้า ๙๗)

6
4
เมธินี มีดี
เขียนเมื่อ

การปลูกจิตสำนึกรักท้องถิ่น


สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของมนุษย์ทั่วโลกก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไร้พรมแดนแห่งการเรียนรู้สังคมโลกที่มีทั้งการแข่งขันและร่วมมือกันมากขึ้นการจัดการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตบุคคลและสังคมให้มีคุณภาพ มีความเจริญงอกงาม การจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ผู้เรียนจำเป็นต้อง เรียนรู้ที่จะรักเพื่อนมนุษย์และเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าแห่งมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญของไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ หมวดที่ ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น

๑.เตรียมความพร้อมเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ และนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำถามกระตุ้นความคิดและหลักการคิดวิเคราะห์ ๕ W ๑ H

๒.ขั้นการจัดกิจกรรมการสอนได้เสริมสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดและการมีส่วนร่วมโดยนักเรียน ศึกษาภูมิสังคมของท้องถิ่น ซึ่งมี ๖ ขั้นตอนได้แก่

ขั้นที่ ๑ คือ การกำหนดเรื่องหรือปัญหา จากท้องถิ่น

ขั้นที่ ๒ คือ การรวบรวมข้อมูลหรือศึกษาแหล่งเรียนรู้

ขั้นที่ ๓ คือ การออกแบบและเขียนเค้าโครงการทำโครงงาน

ขั้นที่ ๔ คือ การลงมือปฏิบัติ

ขั้นที่ ๕ คือ การเขียนรายงานโครงงาน

ขั้นที่ ๖ คือการนำเสนอและประเมินผลโครงงาน

๓. ขั้นสรุปบทเรียน และทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อดูพฤติกรรมการเรียนที่เปลี่ยนไป

ที่มา ผู้ดูแลลระบบ สสค. 2558 . การปลูกจิตสำนึกรักท้องถิ่น( ออนไลน์ ) . แห่ลงที่มา : http://www.qlf.or.th/Home/Contents/1006 .16 มีนาคม 2558.

5
1
ภิไลภรณ์ แสงราวี
เขียนเมื่อ

โครงการเด่นด้านพัฒนาทักษะการคิด

การพัฒนาอัจฉริยภาพทางด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad เป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ โปรแกรม The Geometer's Sketchpad หรือ GSP เป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเรขาคณิตที่มองได้ (Visual Geometry Project) จุดเด่นของโปรแกรมนี้จึงเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะของการนึกภาพ (Visualization) ซึ่งจะเปลี่ยนวิชาคณิตศาสตร์จากนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรม ทำให้นักเรียนเข้าใจวิชาคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น ในหลายสาขา เช่น วิชาเรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และแคลคูลัส ซึ่งวิชาเหล่านี้ต้องอาศัยการนึกภาพเข้ามาช่วย

เปรมปรีด์ ธรรมปรีชา ครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย ได้นำโปรแกรมนี้มาเป็นตัวช่วยในโครงการที่จะทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ โดยให้ครูคณิตศาสตร์ทั้ง 12 คนสร้างสื่อการสอนคนละ 1 ชิ้น และให้นักเรียนทั้ง 180 คนที่สนใจมาเรียนรู้โปรแกรม โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ

1. สนุกคิดกับคณิตด้วย GSP ครูจะสอนการสร้างรูปเรขาคณิตพื้นฐาน การสร้างภาพเคลื่อนไหว ซึ่งโปรแกรมนี้จะทำให้นักเรียนเห็นว่าหากวาดภาพวงกลม วงกลมนี้จะมีเส้นรอบวง เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าไหร่ โดยไม่ต้องแก้โจทย์ แต่ในขั้นสุดท้าย ครูจะให้นักเรียนแก้โจทย์ กิจกรรมนี้จะทำให้นักเรียนเห็นภาพ

2. ปัญหาชวนคิดด้วย GSP กิจกรรมนี้จะยากขึ้น โดยครูจะให้นักเรียนคิดสถานการณ์ปัญหาขึ้นมา แล้วแก้โจทย์โดยใช้โปรแกรม GSP

3. คณิตศาสตร์สร้างสรรค์ด้วย GSP กิจกรรมสร้างภาพที่มีพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวแบบแอมิเนชัน (Animation) เช่น โครงงานสร้างสรรค์ผลงานวันลอยกระทง จะมีภาพกระทงลอยไปในน้ำ พระอาทิตย์ค่อยๆลับขอบฟ้า พลุที่จุดสว่าง โดยใช้หลักการเคลื่อนที่ของจุด และการย่อขยายทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยคิดคำนวณ

เเหล่งที่มา http://www.qlf.or.th/Home/Contents/659

4
0
ณัฏฐวุฒิ แป้นปลื้ม
เขียนเมื่อ



วันที่ 3 ก.ย. พ.ศ. 2558 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้จัดเสวนาวิชาการ เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 20 ในหัวข้อ " อาชีวศึกษา สร้างคน พัฒนาชาติ "

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชกล่าวในการเสวนาว่า

" การจะสร้างค่านิยมให้เด็กหันมาสนใจเรียนอาชีวะมากขึ้นนั้น อาชีวะของไทยต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม ต้องทำให้ทั้งครูและนักเรียนรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งการที่เด็กอาชีวะยังมีภาพของนักเลงเพราะมีพลังเยอะ เราจึงต้องหาทางให้เด็กอาชีวะได้มีเวทีปล่อยพลังในทางสร้างสรรค์ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจ และเปลี่ยนจากเกเรมาเป็นการใช้พลังทำประโยชน์ให้แก่สังคม "

อ้างอิง saowalak 01 05/09/2556. แนะหาเวทีให้เด็กอาชีวะปล่อยพลัง (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.qlf.or.th/Home/Contents/745

6
2
มัทรีญา รอดสีเสน
เขียนเมื่อ


เปิดห้องเรียนภาษาพม่า "รู้เขา รู้เรา" ติดอาวุธ พร้อมรับสังคมอาเซียน

"รู้เขา รู้เรา" เป็นหนึ่งในแนวคิดหลัก ที่ ดร.อุบล เล่นวารี หัวหน้าโครงการติดตามสนับสนุนและประเมินผลโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้สสค. ระบุว่าหากประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีศักยภาพ การรู้ภาษาท้องถิ่นถือเป็นเครื่องมือและหัวใจสำคัญที่สุด เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งการเรียนรู้ขั้นต่อไป

ภาษาพม่า เป็นภาษาแรกที่ สสค. เลือกมาเปิดห้องการเรียนรู้ ด้วยเพราะปัจจัยหลายประการ โดยจากผลการสำรวจพบว่าชาวพม่าเป็นแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยมากที่สุด ทั้งยังเป็นประเทศที่มีทรัพยากรสมบูรณ์ และที่สำคัญเป็นประเทศกำลังเปิดและอยู่ในกระแสสนใจของสังคม ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาพม่าจึงน่าจะเกิดประโยชน์อย่างมาก

โดยการเรียนการสอนในครั้งนี้จะเรียนจากอาจารย์พม่าโดยตรง ทำให้นอกจากจะช่วยเรื่องการสื่อสารแล้ว ยังทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมของชาวพม่าได้อีกทางหนึ่งด้วย ประกอบกับการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ จะส่งเสริมทำให้เกิดการซึมซับในชีวิตประจำวัน อาทิ การเปิดห้องสมุดอาเซียน ภายในวัดไตรมิตรวิทยาราม การปรับภูมิทัศน์ในชุมชนเยาวราชให้มีบรรยากาศเป็นอาเซียน เช่น ป้ายบอกทางภาษาพม่า ฯลฯ

"ทุกวันนี้เราต้องปรับตัว รู้เขา-รู้เรา ย่อมดีกว่าไม่รู้อะไรเลย ซึ่งหนทางที่จะเปิดช่องความรู้ ก็ต้องเริ่มด้วยการรู้ภาษา โดยเริ่มแรกอาจจะเพียงแค่การสื่อสารภาษาง่ายๆ พอให้สื่อสารเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจ สร้างการบริการที่ดี สร้างความประทับใจ ส่วนเยาวชนก็จะได้เปิดโลกสู่ประชาคมอาเซียนเพิ่มพูนความรู้"

ที่มา : ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558.

เปิดห้องเรียนภาษาพม่า "รู้เขา รู้เรา" ติดอาวุธ พร้อมรับสังคมอาเซียน (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.qlf.or.th/Home/Contents/415. 23 มีนาคม 2558...... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/dashboard/home#/journal_entries/140258/edit

3
2
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท