อนุทินล่าสุด


xiaomin Li
เขียนเมื่อ
วันที่ 26กรกฏาคม พ.ศ 2557
1.การเตรียมตัวล่วงหน้า สิ่งที่อยากรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของรายวิชา จุดมุ่งหมาย การวัดและประเมินผลของรายวิชาว่ามีขั้นตอนอย่างไร เนื่องจากคาบนี้เป็นคาบแรกของการเรียนรายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

- ได้รู้ถึงวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย และการวัดประเมินผลของรายวิชาดังกล่าว ว่ามีรูปแบบอย่างไร

สังคมแห่งการเรียนรู้(Learning Society)คือ สังคมแห่งภูมิปัญญาที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติในชีวิตประจำวันของคนทุกคน เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ของคนทุกคน โดยมีกระบวนการหรือวิธีการที่ทำให้บุคคลหรือสมาชิกในกลุ่มนั้นได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา ความคิดและพฤติกรรม

-นอกจากนี้ยังได้รู้องค์ประกอบที่สำคัญของสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ดีนั้น ควรจะประกอบไปด้วยการพัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ เพื่อให้ประชาชนโดยรวมเป็น “บุคคลแห่งการเรียนรู้”

พัฒนาแหล่งการเรียนรู้เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างเพียงพอ หลากหลายทั่วถึง ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายพัฒนาเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เป็น “องค์ความรู้” จากภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิมบูรณาการกับฐานความรู้ใหม่ ๆ อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการการพัฒนาของชุมชน พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย กลไกการถ่ายทอดความรู้ ระบบบริหารจัดการการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. จะนำไปประยุกต์ใช้ การนำความรู้ที่ได้จากการเรียนวันนี้ไปประยุกต์ใช้ โดย จะพัฒนาตนเองและนักเรียนให้มีความใฝ่รู้และกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพราะสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยบุคคลแห่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการขับเคลื่อนสังคม ให้เกิดการเคลื่อนไหวพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อยู่ตลอดเวลา


ความเห็น (1)

จะเป็นประโยชน์มากค่ะ ถ้าเก็บไว้ในบันทึก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
xiaomin Li
เขียนเมื่อ

AAR

ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

มีคนบอกว่าครูก็แค่พูดหน้าห้องเรียนให้นักเรียนฟัง ประสบการณ์ และให้นักเรียนทำตามสิ่งที่บอก นั้นคือรูปแบบการสอนแบบเก่า แต่ในโลกปัจจุบันนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้หลายทาง ครูจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองและเทคนิการสอนให้ไปตามความต้องการของโลก Product นักเรียนที่มีคุณภาพและมีความสามารถในการประกอบอาชีพถึกเป็นประเด็นสำคัญในการจักการเรียนการสอน นักเรียนมีความรู้ ทฤษฏีอย่างเดี่ยวไม่สามารถออกไปเข็ม กับความต้องของสังคม รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นให้นักเรียนได้ฝึกฝน ปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนจะต้องมีหลักสูตร curriculum และเทคนิการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีทักษะ

① หลักสูตร curriculum คือ แผนประสบการณเรียนรู้ของผู้เรียนระบบที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรกระบวนการจัดการบุคคลและกระบวนนำระบบไปใช้สาขาวิชา เนื้อหาวิชา

② ทักษะ 5C 1). Creative problem solving skills (ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ) นักเรียนมีความสามารถและชำนาญในการสร้างความรู้วิธีการใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อเป็นแนวทางและเครื่องมือแก้ปัญหา ให้เป็น Innovator 2). Critical thinking skills ทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณ มีความรถในการคิดไตร่ตรองคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อจะทำหรือเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเมื่อมีประเด็นข้อแย้งargument หรือพัฒนาให้คนไทยเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณ critical thinker 3).collaborative skills ทักษะการร่วมมือร่วมพลัง มีความสมารถทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่มเรียนรู้ประสบการย์การทำงานเป็นทีม เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและเก็ดความสุขในการทำงาน 4). Communicativeskills ทักษะสื่อสาร มีความสมารถในการสื่อสาร มีทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียนอย่างมีคุณภาพ 5).computing skills ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการใช้เทคโลโนยีสารสเทศ อย่างมีคุณภาพ

AAR.pdf see here 

สรูป การจัดการการสอนกรบวกการวิทยาศาสตร์ และวิธีการวิทยาศาสตร์สามารถทำให้การสอนมีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท