อนุทินล่าสุด


น้าปุ๊ด
เขียนเมื่อ

เลือกผู้ว่ากทม.

รัก A ชอบ B ชัง C

..อาจต้องไปเลือก D ...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

น้าปุ๊ด
เขียนเมื่อ

น่าเกลียดจริงๆ ครับ นักการเมืองรุมกันแย่งเค้ก ไม่มีความละอายใจกันเลย...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

น้าปุ๊ด
เขียนเมื่อ

 

เมื่อวานนี้ (16 ก.ย. 51) มีการประชุมกรรมการโครงการฯ ที่ทีมงานและผมรับผิดชอบอยู่ครับ

ประชุมเสร็จมีการพูดคุยกันถึงเรื่องของความรู้ที่ได้จากโครงการฯ กรรมการหลายท่านแสดงถึงความเสียดายที่หลายๆ โครงการจบไปโดยไม่ได้เอาความรู้มาที่ได้มาสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อะไรเลย

สิ่งหนึ่งที่กรรมการท่านหนึ่งพูดมาและผมคิดว่าเป็นประโยชน์ก็คือ ในระบบการประเมินโครงการฯ นั้นโดยมากมักประเมินถึงผลสำเร็จของโครงการ ไม่ค่อยสกัดเอาความรู้ของโครงการมาเป็นสาระใหญ่ จึงเกิดช่องว่างของที่ความรู้ดีๆ (ถึงแม้จะเป็นความรู้เล็กๆ) หล่นหายไป เลยไม่มีนัยแห่งการเรียนรู้ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคม

ผมเห็นด้วยและคิดต่อว่า ความข้างต้นน่าสนใจ โดยเฉพาะกับโครงการจำพวก "โครงการเชิงรุก" ทั้งหลายนั้น ในการประเมินไปประเมินที่ผลสำเร็จของโครงการนั้นไม่พอ หรือแม้แต่การประเมินภายในโครงการ (internal evaluation) ก็ยังไม่รอบด้าน เคยได้ยินมาว่ามีการประเมินปลายน้ำ ผมคิดว่าการประเมินปลายน้ำโจทย์นั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง แต่โจทย์ต้องตั้งไกลไปกว่าการดูว่าโครงการนั้นมีข้อดี ข้อชื่นชม ข้อจำกัด ฯลฯ อะไร หากแต่ต้องตั้งโจทย์ไกลถึง "นัยยะ" ของโครงการว่าสะท้อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ ได้มุมมอง ได้วิธีวิทยา วิธีการ approach ใหม่ ฯลฯ อะไรบ้าง?

ตรงนี้ครับที่ผมคิดว่าจะเป็นอานิสงส์ ของการประเมินโครงการ (โดยเฉพาะโครงการเชิงรุก) มากกว่าครับ

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท