อนุทินล่าสุด


Dr.ladda
เขียนเมื่อ

ด้านลักษณะขององค์กร ประกอบไปด้วย

1.1 ลักษณะขององค์กร การดำเนินการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดตัวแปรลักษณะขององค์กร 2 ตัวแปรคือ โครงสร้างองค์กร และสภาพการใช้เทคโนโลยีในองค์กร เพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร โดยลักษณะขององค์กรสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

องค์กรแบบจักรกล คือการออกแบบองค์กรที่แน่นอนตายตัว มีการควบคุมอย่างเข้มงวด มีกฎระเบียบมากมายทุกขั้นตอน ผู้ปฏิบัติงานไม่มีโอกาสใช้ดุลยพินิจ องค์กรขนาดใหญ่ละหน่วยงานราชการเป็นตัวอย่างขององค์กรแบบจักรกล สำหรับ องค์กรแบบมีชีวิต มีรูปแบบตรงกันข้าม มีความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่นสูง พนักงานในองค์กรแบบนี้จะได้รับการอบรม มีทักษะ ความรู้ ได้รับอำนาจในการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการทำงาน (Burns and Stalker,1961 อ้างถึงใน Kim,2007) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ลักษณะขององค์กร หมายถึง  รูปแบบ กระบวนการในการจัดโครงสร้างองค์กร ซึ่งครอบคลุมในด้านการแบ่งงานกันทำ การกำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติงาน การกำหนดกลุ่มงาน การกำหนดความสัมพันธ์ในการบังคับบัญชา และตลอดจนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรธุรกิจบริการผู้สูงอายุ 

1.1.1 โครงสร้างองค์กร

สำหรับทฤษฎีองค์กรโครงสร้างองค์กรสมัยใหม่ใช้พื้นฐานแนวคิดจากทฤษฎีองค์กรโครงสร้างดั้งเดิม จากแนวคิดของ Fayol, Taylor, Gulick และ Weber ซึ่งเน้นประสิทธิภาพ (efficiency) และความเป็นเหตุผล(rationality)  โดยโครงสร้างองค์กร หมายถึงเครื่องมือในการเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร สร้างคำอธิบายให้กับคนในองค์กรให้ได้เข้าใจในระดับเดียวกันในเรื่องค่านิยมร่วมและกำหนดพฤติกรรมรวมถึงการสร้างให้เกิดพันธะสัญญาด้านจิตวิทยาระหว่างคนในองค์กรกับองค์กรที่จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวัฒนธรรมองค์กรโดยการจัดแบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อยต่างๆ  กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานไว้ให้ชัดเจน  รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานย่อยเพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ(Zazzali, et al.,2008,p.41; Martins, & Terblanche, 2003; Blayse&Manley, 2004)   สำหรับ Bolman และ Deal ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับลักษณะของโครงสร้างองค์กรไว้ ดังนี้  1) องค์กรเป็นสถาบันที่ใช้เหตุผลในการบรรลุวัตถุประสงค์โดยใช้กฎและอำนาจที่เป็นทางการ เพื่อการควบคุมและประสานงานองค์กร 2) โครงสร้างที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดขององค์กรขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สินค้า บริการและเทคโนโลยีในการผลิต  3) ความชำนาญเฉพาะด้านและการแบ่งงานกันทำส่งผลให้เพิ่มปริมาณและคุณภาพการผลิต  4) ปัญหาที่เกิดจากข้อบกพร่องทางด้านโครงสร้างสามารถแก้โดยการปรับปรุงโครงสร้าง(ชัชวลิต สรวารี ,2554 : ออนไลน์) 

ในการพัฒนาแนวคิดที่มีความก้าวหน้าขึ้นไปอีกโดยทั่วไปโครงสร้างขององค์กรจัดได้ 3รูปแบบ คือ แบบรวมศูนย์ แบบกระจายศูนย์ และแบบผสม

1) แบบรวมศูนย์ (centralization) มีการดำเนินอยู่ส่วนกลาง หน่วยงานย่อยส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ส่วนกลาง แล้วจึงส่งผลได้จากส่วนกลางไปยังหน่วยงาน ข้อดี คือ เหมาะกับองค์กรขนาดเล็ก และมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ไว้ชัดเจนและแตกต่างกัน ข้อจำกัด คือ มีลักษณะงานซ้ำซ้อนโดยเฉพาะในหน่วยงานย่อย มีการลงทุนสูง ถ้ามีข้อผิดพลาด การแก้ไขทำได้ไม่สะดวก

2) แบบกระจายศูนย์ (decentralization/distributed) เป็นการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์การสื่อสาร และบุคลากรไปยังหน่วยงานย่อยเพื่อดำเนินการเอง ข้อดี คือ ทำงานได้สะดวก มีประสิทธิภาพ เพราะไม่ต้องรอผลที่ประมวลจากส่วนกลาง ข้อจำกัด คือ ต้องมีการอบรมบุคลากรจำนวนมาก และอาจมีความสับสนเรื่องข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Martin 2002:597-626; Thompson and Cats-Baril 2003:447-450)

  3)  แบบผสม (hybrid)  บางองค์กรอาจใช้โครงสร้างองค์กรที่ผสมผสานทั้งสองแบบ เช่น การจัดองค์กรเป็นแบบกระจาย  มีเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลหรือไคลแอนต์เซิฟเวอร์ (client-server) ที่ทำงานลักษณะผู้รับบริการและผู้ให้บริการ หรือสถาปัตยกรรมแบบกระจาย (distributed processing) หน่วยงานผู้รับบริการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้รับบริการ ทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์บริการในการดำเนินงานด้วยตนเอง เช่น รับข้อมูลนำเข้า เรียกใช้ ประยุกต์งานต่างๆ ได้เอง และมีข้อมูลและโปรแกรมบางอย่างประมวลผลได้ ขณะที่เครื่องผู้ให้บริการทำหน้าที่ควบคุม รักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล กำกับ ดูแล อนุญาตการเข้าใช้เรียกข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูล  หรือในบางองค์กร อาจใช้โครงสร้างองค์กรแบบกระจายสำหรับงานทั่วไป เช่น งานสำนักงาน เป็นต้น  แต่สำหรับงานสำคัญที่ต้องมีการควบคุมและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างมากอาจใช้โครงสร้างองค์กรแบบรวมศูนย์ 

โปรดติดตามตัวแปรต่อไปนะคะ



ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่าอนุทินนะคะ

Dr.ladda
เขียนเมื่อ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจบริการผู้สูงอายุในประเทศไทย ประกอบไปด้วย  ลักษณะขององค์กร นโยบายการบริหารงาน คุณภาพในการบริการ จะส่งผลให้ผลการดำเนินงานธุรกิจบริการผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท