ดอกไม้


ศุภชัย คตสูงเนิน
เขียนเมื่อ

ปัญหาหลักสูตรอาชีวะศึกษา

ปัญหาของหลักสูตรนั้นมีให้เห็นอยู่ตลอดวันนี้ผมยกเอาปัญหาของหลักสูตรอาชีวะมาพูดถึง ว่าจะตรงกับที่หลายท่านคิดไว้หรือเปล่า

จากที่ได้กล่าวมาผมพบเจอปัญหาหลักสูตรของสถาบันอาชีวะศึกษา ส่วนใหญ่จะมีระบบ ทวิภาค ระบบทวิภาคี และก็ระบบฝึกประสบการณ์ เพิ่มเข้ามาในหลักสูตรที่มีการปรับปรุงใหม่ เนื่องจากหลักสูตรดังกล่าว จะทำให้นักศึกษาที่เรียนในระดับอาชีวะศึกษาต้องเข้ารับการฝึกงานในระบบทวิภาคี ซึ่งระบบทวิภาคีนี้เป็นการฝึกประสบการณ์หรือฝึกงานนั่นเอง ซึ่งตรงนี้ละผมมองเห็นปัญหาของนักศึกษาอาชีวะ ว่าไหนจะงาน ไหนจะเรียน ไหนจะทำโปรเจค ไหนจะสอบ เพราะการที่ส่งนักศึกษาเข้าไปยังสถานประกอบการแล้ว สถานประกอบการก็ต้องหวังว่าจะได้กำลังหรือแรงงานเป็นสำคัญ โดยบางทีอาจจะไม่ได้ใส่ใจในเรื่องที่ว่านักศึกษายังต้องเรียนปด้วยทำงานไปด้วย หรือบางครั้งส่งนักศึกษาไปก็ไม่ได้ไปอยู่ยังจุดที่เหมาะสมกับการฝึกงานในรูปแบบทวิภาคีถึงแม้จะมีอาจารย์นิเทศน์ที่จะไปสอนก็ตาม การเรียนก็ไม่ได้ผลที่ดีซักเท่าไร เมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ พอเด็กจะจบการศึกษาไปนักศึกษาต้องทำการสอบวัดมาตรฐานวิชาชีพ และหลายครั้งนักศึกษาทำไม่ได้ อย่าลืมว่าเด็กที่จบออกไปไม่ใช่แค่ว่าจะทำงานได้ ทำงานเป็นอย่างเดียว นักศึกษาก็ต้องมีความรู้พอที่จะประกอบสัมมาอาชีพด้วย ผมเองก็ได้ลองคิดหาหนทางที่จะช่วยให้นักศึกษาของผมเองหรือแม้แต่ครู หรืออาจารย์ท่านใดสนใจนำวิธีการต่างๆที่ผมกำลังจะพูดถึงไปใช้ดู มาเริ่มกันเรย วิธีการแก้ปัญหาต่างของผมมีสองวิธีทำใช้อยู่ วิธีที่1 ผมใช้การเรียนการสอนแบบ E-learning ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไปที่นิยมทำกัน กับอีกวิธีนึงก็คือ การสอนผ่าน You tube ซึ่งการสอนแบบนี้จะพบเห็นได้ทั่วไปในเว็บไซต์ของ ยูทูป เอง ยิ่งถ้ามีช่องเป็นของตนเองยิ่งทำให้ท่ามีช่องทางในการติดต่อกับนักศึกษามาขึ้น อีกทั้งสื่อการสอนยังเป็นในรูปแบบคลิปวิดีโอ ทำให้นักศึกษาบางครั้งไม่ต้องอ่านเอง อาจจะทำให้การสอนของท่านมีความน่าตื่นเต้นขึ้นด้วย

การที่หลักสูตรจะดีไม่ดี ได้ผลอย่างไรคนที่นำหลักสูตรมาใช้และรู้ว่าจะใช้กับใครนั้นแหละคือเป้าหมายที่แท้จริง

2
0
Phompassorn Rungrojvarakul
เขียนเมื่อ

การนำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ2556 ไปใช้ในสถานศึกษา

ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้

เนื่องจากสถานศึกษาไม่มีหลักสูตรเป็นของตนเอง แต่ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2556 ในส่วนของแผนกวิชาพาณิชยการสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยยึดเอาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2556 มาใช้ ซึ่งถือว่าใช้ได้ดี โดยเนื้อหารายวิชาต่างๆที่กำหนดมาให้ เป็นประโยชน์กับนักเรียนโดยตรง ก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ดี "อาจมีบางวิชาที่ครูผู้สอน ได้สอนในรายวิชาที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา"

ด้านการจัดการเรียนการสอน

  • การจัดการเรียนการสอน ค่อนข้างไม่เป็นไปตามแผนการสอน เพราะครูทุกท่านจะมีภาระหน้าที่อื่นๆในวิทยาลัยที่ต้องรับผิดชอบด้วย
  • บางครั้งอาจมีงานเร่งด่วนที่จะต้องทำ ทำให้แผนการสอนมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง

ด้านสื่อการเรียนการสอน

  • เครื่องมือและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในแผนกวิชามีค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน

การแก้ไข : รายวิชาที่เน้นปฏิบัติ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้คือเครื่องคอมพิวเตอร์ยังขาดแคลน ต้องให้นักเรียนเรียน2คนต่อ1เครื่อง กรณีจำนวนนักเรียนไม่เกิน10คนต่อ1ห้อง หากเกินกว่านั้นใช้วิธีอธิบายผ่านโปรเจ็คเตอร์ แล้วให้นักเรียนปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างจำกัด

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2556 ถือเป็นหลักสูตรที่ดีเนื้อหาครอบคลุม ซึ่งปัญหาที่เกิดอาจไม่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร แต่อาจจะเกิดปัญหาในส่วนอื่นๆ โดยสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ รวมถึงขวัญและกำลังใจของนักเรียน ซึ่งเป็นหัวใจของความเป็นครู

2
0
เบญจม์ภัทร์ แสงโสฬส
เขียนเมื่อ

ภาวะทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในทุกด้าน ก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตมากขึ้นและหากนักเรียนไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ การเกิดความขับข้องใจ ความขัดแย้งในใจหรือความกังวลใจเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านความรับผิดชอบต่อการทำงาน ปัญหาด้านความเครียด ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การขาดแรงจูงใจในการเรียน การขาดความสามารถในการปรับตัว การขาดทักษะในการเรียน การไม่รู้จักบริหารเวลาเรียน เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ซ้ำซาก ไม่รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิต ไม่สามารถดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายที่วางไว้ มีเจตคติไม่ดีต่อการเรียนและมีความวิตกกังวลสูง นำไปสู่การขาดความภาคภูมิใจหรือมองไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่เคารพตนเอง คิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ ขาดทักษะทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

2
0
Sitthikorn Nacharoen
เขียนเมื่อ

ปัญหาการนำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 มาใช้

การนำหลักสูตรไปใช้งาน

จากคุณสมบัติและพื้นฐานความรู้ของผู้เข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) คือ สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น ผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น วิชาเรียนบางวิชานักเรียนอาจจะไม่เข้าใจและปรับสภาพการเรียนไม่ทันผู้ที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เช่น วิชาการเขียนโปรแกรม วิชาการออกแบบเวปเพจ เป็นต้น บางสถานศึกษาให้เรียนห้องเดียวกัน บางสถานศึกษาแยกสอน โดยปรับพื้นฐานรายวิชาให้ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น

การจัดการเรียนการสอน

1. ปัญหาหลักๆก็คือ ครูผู้สอนมีทักษะในการสอนค่อนข้างน้อย เพราะว่าต้องสอนหลายวิชา ซึ่งในสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจนั้นจะมีหลากหลายวิชา เช่น การเขียนโปรแกรม การออกแบบเวปเพจ เป็นต้น ครูบางคนสอนในวิชาไม่ถนัด ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้ไม่เต็มที่

2. ครูมีหน้าที่เพิ่มนอกจากการสอนแล้วยังเป็นหัวหน้าฝ่ายต่างๆเช่น ครูคอมพิวเตอร์ไปเป็นหัวหน้าศูนย์ข้อมูล ดูและระบบเครือข่ายภายในสถานศึกษา ซึ่งวันไหนระบบเครือข่ายล่ม ครูต้องไปซ่อมบำรุงระบบเครือทำให้ไม่ได้สอนนักเรียน

สื่อการเรียนการสอน

1. สื่อการสอนต่างๆส่วนมากจะใช้ของสำนักพิมพ์ ส่วนมากเนื้อหาจะไม่ทันสมัย

2. ชุดฝึกปฏิบัติไม่พร้อมใช้งาน เช่น คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับการเรียนการสอน มีสเปคต่ำ เวลาใช้งานกับวิชา ออกแบบเวปเพจ จะทำให้เครื่องช้า การใช้งานกับวิชา การเขียนโปรแกรม จะต้องมีสเปคที่สูง เพื่อรันโปรแกรม

การวัดและประเมินผล

1. การจัดการสอบกลางภาคหรือปลายภาคขึ้นอยู่กับผู้บริหารสถานศึกษา บางสถานศึกษามีการกำหนดการสอบและบางสถานศึกษาไม่มีสอบตามตารางสอบ ซึ่งการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาทำให้เป็นผลที่ไม่ดีกับนักเรียนได้

3
0
นางสาว สมฤดี วงษาแจ่ม
เขียนเมื่อ

ปัญหาของหลักสูตรอาชีวศึกษาที่เคยพบเจอ
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ/หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

  1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ครูบางท่านไม่จบตรงสาขาที่ตนเองสอน เช่นจบการศึกษาสาขาการจัดการ แต่ทำการสอนสาขาการบัญชี จึงทำให้การสอนไม่มีคุณภาพ
  2. ภาระหน้าที่ของครูนอกเหนือจากการสอนมากเกินไปจึงทำให้ไม่มีเวลาในการเตรียมการสอน หรือหาเวลาเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน
  3. การจัดรายวิชาของนักศึกษาไม่เป็นระบบที่แม่นยำ ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ทำให้รายวิชาตกหล่น นักศึกษาต้องมาเรียนรายวิชาที่ตกหล่นในช่วงซัมเมอร์
  4. ระบบทวิภาคี นักศึกษาต้องไปศึกษาหาความรู้จากสถานประกอบการที่ได้ทำความร่วมมือกับวิทยาลัย เป็นระยะเวลานาน ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน หากไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ส่วนใหญ่จะย้ายสาขา หรือลาออก รายวิชาที่สถานประกอบการจะต้องเป็นผู้สอนให้กับนักศึกษา บางรายวิชาสถานประกอบการไม่สามารถสอนให้กับนักศึกษาได้ เพราะขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน การประเมินผลการเรียนในแต่ละรายวิชาจึงมีปัญหา วิทยาลัยขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการรับนักศึกษาฝึกงาน เช่น การจัดทำเอกสารในการนิเทศนักศึกษา ยังไม่มีความชัดเจน
4
1
Bumroong Suwaajarn
เขียนเมื่อ

ปัญหาการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา
ปัญหาที่สำคัญของสถาบันการศึกษาอาชีวะศึกษาส่วนมากมักเกิดจากการที่สถาบันขาดครูที่มาทำการเรียนการสอน
ขาดครูที่ให้คำปรึกษาแก่เด็ก เพราะเด็กวัยนี้มักจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะเป็นวัยที่ติดเพื่อน ให้ความสำคัญกับเพื่อนมาก
ถ้าได้เพื่อนดีก็มักจะได้ดี แต่ถ้าได้เพื่อนที่ไม่ดีก็อาจจะทำให้หลุดจากระบบการศึกษาไป
และอีกประการหนึ่งของสถาบันเล็ก หรือสถาบันที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง เด็กที่เข้ามาเรียนนั้นมักจะเป็นเด็กที่ไม่ค่อยมีความรู้
ซักเท่าไร ดังนั้นการเรียนหรือการจัดการประสบการณ์เรียนรู้ของครูเป็นไปอย่างล่าช้า จนทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา

5
1
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท