อนุทินล่าสุด


ครูไทเลย
เขียนเมื่อ

"

อ่านหนังสืออย่างไรให้สนุก

 

 

การอ่านมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับคนที่รักความก้าวหน้า  เพราะการอ่านจะช่วยเปิดสติปัญญาของเราให้เป็นคนรู้ทันโลก  และเข้าใจในหลักวิชาการต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย   แต่น่าเสียดายที่น้องๆ หลายคนไม่รักการอ่านเอาเสียเลย   หลายคนมาบ่นให้ฟังว่าการอ่านนั้นช่างแสนน่าเบื่อหน่าย  วันนี้  ท่านพี่จึงได้นำเคล็ดลับดีๆ ที่จะทำให้น้องๆ สามารถอ่านหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   ดังนี้ค่ะ

 

 

1.สร้างสมาธิในการอ่าน โดยก่อนการอ่านทุกครั้งให้หลับตาสูดหายใจลึกๆ  นึกถึงธรรมชาติและทิวทัศน์ที่งดงามทำจะทำให้จิตใจของน้องๆ สดชื่นแจ่มใส
2. สิ่งรบกวนต่างๆ เช่นวิทยุ  โทรทัศน์เสียงดังๆ นั้นให้ปิดเสีย  ควรเปิดเพลงที่ฟังแล้วสบายอารมณ์มากกว่า
3. ทำความเข้าใจกับเนื้อหาหนังสือทั้งเล่มด้วยการอ่านหน้าคำนำก่อน พอเรารู้คร่าวๆ ถึงเนื้อหาที่เราต้องการจากหนังสือเล่มนั้นแล้ว  เราจะมีภาพอยู่ในใจและทำให้อ่านหนังสือเล่มนั้นได้เข้าใจยิ่งขึ้น  จากนั้นจึงเริ่มอ่านรายละเอียด
4. จัดทำสรุปย่อ โดย การบันทึกความเข้าใจในแต่ละหัวข้อของเราเป็นข้อเขียน   เขียนสรุปโดยใช้ภาษาของเราเองลงในกระดาษ  หรือขีดเส้นใต้ส่วนสำคัญลงในหนังสือ
5. ทบทวน โดยการอ่านจากบันทึกย่อของเราหรืออ่านตรงที่ขีดเส้นใต้ไว้  เป็นการทบทวนความจำของเราอีกครั้งหนึ่ง
เราอ่านรายละเอียดในหนังสือเพื่อสร้างความเข้าใจ  แต่เราอ่านสรุปย่อของเราเพื่อเพิ่มพูนความจำ  ซึ่งหากน้องๆ ทุกคนทำอย่างที่พี่แนะนำไว้ให้ได้แล้ว   ก็จะเป็นนักอ่านตัวยงที่สามารถจดจำได้ทั้งตำราเรียน  และหนังสือความรู้ต่างๆ  ได้อย่างวิเศษทีเดียวค่ะ"

 

ที่มา...

 

http://writer.renrengang.com/

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ครูไทเลย



ความเห็น (1)

น่าจะนำไปเขียนเป็นบันทึก มากกว่าเป็นอนุทินนะคะ เพราะจะทำให้มีผู้อ่านจำนวนมากกว่า

ครูไทเลย
เขียนเมื่อ

"ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

         ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21

        หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับ การออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 

       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร http://www.scribd.com/doc/97624333/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-21">คลิกเพื่ออ่านต่อและดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

       นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสัน นักการ ศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้า กับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  (Changing Education Paradigms) โดย เซอร์เคน โรบินสัน 

         กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ใน ประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก  http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมาชื่อว่า

วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21

(สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf)

หรือชมวีดีทัศน์  "วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" โดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช"

 ที่มา
 
 

 

 



ความเห็น (2)

นี่ก็ยิ่งน่านำไปเขียนเป็นบันทึกค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์ไอดิน-กลิ่นไม้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท