อนุทินล่าสุด


นายสอน เล่นเล่น
เขียนเมื่อ

ครู โค้ช เทรนเนอร์ ติวเตอร์ โปรทิชชิ่ง

จากไปนานคิดถึงจังเลยไม่ได้เขียนอนุทินมานานแล้วแต่ก็ติดตามข่าวจากสมาชิกอยู่เสมอเสียดายที่ไม่ได้ไปร่วมงานกับสมาชิกที่ผ่านมาเร็วๆนี้เพราะติดธุระสำคัญคาดว่าถ้ามีการจัดครั้งต่อไปจะเข้าร่วมให้ได้แน่นอน ด้วยเกียรติของลูกเสือ ข้าขอสัญญา

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสาขาวิชาชีพที่หลากหลายมีทั้งแพทย์ ครูสอนภาษาอังกฤษ ครูคณิตศาสตร์ อาจารย์ วิศวกร ผมเองก็เป็นครูพลศึกษาที่ภูมิใจในอาชีพตนเองพอสมควร(ขอบอก) ถึงแม้ว่าบางคนจะเคยตั้งสมญานามครูพลศึกษาว่า...ขี้เหล้า เจ้าชู้ สู้นาย ขายกางเกงวอร์ม(คิดแล้วกลุ้ม คิดแล้วกลุ้มกลุ้มใจไม่มีใครเกิน)  ฤดูหนาวเริ่มเข้ามา หิมะก็เริ่มตก(ที่อเมริกาลูกชายเมล์บอกมา)ส่วนที่เมืองไทยหาชมความงามผลผลิตอากาศหนาวเย็นของแม่คนิ้งได้ที่เชียงใหม่และเขาใหญ่นะครับ พออากาศหนาวผู้บังคับบัญชาระดับสูงก็สั่งการให้โรงเรียนสพฐ.ทุกโรงเรียนนำนักเรียนออกกำลังกายก่อนการเคารพธงชาติ ประมาณ 15-30 นาที การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับนักเรียนจำนวนมากก็ต้องเป็นการเต้นแอโรบิคเจ้านายก็มอบหมายให้ผมดำเนินการ(อีกแล้วครับท่าน)

"การเต้นแอโรบิค"ยังคงเป็นการออกกำลังกายที่ยังคงมาแรง ไม่ตกเทรนด์ พบเห็นได้ทั่วไป ทั่วไทยไม่ว่าเป้น กทม.-ตจว.โดยเฉพาะยามเย็นผู้นำการเต้นก็คือครูฝึกหรือเทรนเนอร์นั่นเองความสนุกสนานขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านเช่นบุคลิกภาพของผู้นำ มีน้องสาวที่เป้นครูพลศึกษาท่านหนึ่งเป็นผู้นำการเต้นให้กับชุมชนต่างจนมีค่าตอบแทนอย่างสมเหตุผล ท่าทางในการเต้น เพลงที่ใช้ในการเต้นบางแห่งใช้เพลงลำเพลิน ลำซิ่งก็มีหรือแม้แต่จังหวะตลุงก็แล้วแต่จริตของแต่ละคน ท่าทางการเต้นแอโร บิคที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศที่ออกแบบประยุกต์ใช้ท่าทางการต่อสู้ของตะวันออก เช่น มวยไทย กังฟู เทควนโดใช้ดนตรีที่ปลุกเร้า สนุกสนาน ท้าทายความสามารถผู้เต้นหรือที่เรียกว่า BODYCOMBATนั่นเองในฟิตเนสเซนเตอร์ชื่อดังมีสมาชิกเข้าเต้นกันมากมาย การเต้นมวยไทยแอโรบิคจึงเป็นBODYCOMBATตำรับไทยนั่นแหละครับ คราวหน้าจะมาเล่าถึงผลการวิจัยการออกกำลังกาย มวยไทยแอโรบิค จากนักวิทยาศาสตร์การกีฬาหรือนักพลศึกษาผู้เชี่ยวชาญครับ...โปรดติดตาม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นายสอน เล่นเล่น
เขียนเมื่อ

เพลงและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความคุ้นเคยกันและสนุกสนานของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

***เทคนิคที่สำคัญของวิทยากรสำหรับใช้ประกอบในการบรรยายสามารถสร้างบรรยากาศคลายเครียดให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้เขียนขอแนะนำเพลงนวด เพื่อการเรียนรู้และสร้างบรรยากาศ   ดังนี้ครับ***

 

                                               เพลง  นวด นวด นวด

 ( จังหวะ  ช่า ช่า ช่า )         นวด นวด นวด  นวดเพื่อเพิ่มพลัง  พลังให้กับพวกเรา

                      (สร้อย)         ลัน ลัน ลา    ลัน ลัน ลา          ลัน ลัน ลา    ลัน ลัน ลา

 

 

 

 

 

 วิธีดำเนินการ     ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถจัดแถวตอนลึกเอามือมาจับหัวไหล่ผู้ที่อยู่ด้านหน้าหรือทำเป็นวงกลมดังภาพ

                     ( ร้องเพลงพร้อมกัน)  นวด นวด นวด นวดเพื่อเพิ่มพลัง

                                                             พลังให้กับพวกเรา

                   (จับหัวไหล่ แล้วหมุนเหมือนการโยกหลัก)     ลัน ลัน ลา ลัน ลัน ลา

                                                                                                   ลัน ลัน ลา  ลัน ลัน ลา

                       (เปลี่ยนเนื้อร้อง)เป็น  ทุบ ทุบ ทุบ(กำหมัดทุบเบา เบา)

                                                                จี้ จี้ จี้          (ใช้มือจี้สีข้าง)

***หรือจะเลือกใช้เพลงเหมื่อยไหมจ๊ะ***วิธีการเหมือนกัน***

                              พี่เหมื่อย ใช่ไหมจ๊ะ  มามะน้องจะนวดให้

                              นวดแล้วจะได้สบาย น้องจะนวดให้มามะมามะ

(วิทยากรพูด)บุญคุณต้องทดแทน แค้นไม่ต้องชำระ หันหลังกลับแล้วร้องเพลงอีกครั้ง

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นายสอน เล่นเล่น
เขียนเมื่อ

กำเนิดเพลงช้าง

เพลงสำหรับเด็ก มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์การร้องเพลง การปรบมือ การเคาะจังหวะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้การขับร้องและดนตรีคุณมธุรส วิสุทธกุลได้นำเสนอที่มาของเพลง ช้าง ช้าง ช้างในหนังสือต่วยตูนฉบับปักษ์แรก.กันยายน 2548...

ใครๆก็คงรู้จักเพลง"ช้าง"เคยได้ยินได้ฟังได้ร้องกันมาบ้างละน่า

   ช้าง ช้าง ช้าง           หนูรู้จักช้างหรือเปล่า

ช้างมันตัวโตไม่เบา       จมูกมันยาวเรียกว่างวง

สองเขี้ยวข้างงวงเรียกว่างา     มีหูมีตาหางยาว

เพลงนี้คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เป็นผู้แต่งเป็นเพลงร้องสำหรับเด็กให้แก่รายการ"วิทยุโรงเรียน" เป็นบทเรียนในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้นักเรียนรู้จักและทราซึ้งในเพลงไทยโดยใช้ทำนองเพลงเก่าคือ เพลงพม่าเขว

พอใช้เนื้อร้องเข้าไป พอเหมาะพอเจาะ สนุกสนาน ร้องก็ง่าย เป็นที่ติดอกติดใจกันตั้งแต่เด็กอนุบาล ไปจนถึงผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่

ทุกยุคทุกสมัยมีผู้นำไปร้องกันหลายแบบฉบับ หลายลีลา อัดเทปก็มาก ร้องสดก็มี (นายสอนเห็นวิทยากรบางท่านนำไปใช้ในการฝึกอบรมเปลี่ยนเป็นจังหวะ ช่า ช่า ช่าทีมีความเร็วสนุกสนานคำร้องก็จะเปลี่ยนไปเป็น ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง คือเพิ่มเป็น 5 พยางค์)

มีการขอลิขสิทธิ์ไปใช้ประกอบการแสดงก็เยอะ เช่นการแสดงของภูเก็ตแฟนตาซี ซึ่งมีConceptเป็นเรื่องของช้างเป็นต้น

เพลง"ช้าง" ได้รับการยกย่องคัดเลือกเป็นเพลงประเทศภาคพื้นเอเซียโดยศูนย์วัฒนธรรมแห่งเอซีย หน่วยงานของยูเนสโก (ACCU:Asian Cultural Centre for UNESCO) ซึ่งเป็นองค์หนึ่งของสหประชาชาติ

การนำเพลงไปใช้ในกิจกรรม: นายสอนคิดว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำนันทนาการ วิทยากรการบรรยายสามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมได้โดยการเริ่มตั้งแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่งแล้วสั่งขวาหัน(ธรรมชาติการเต้นรำ ลีลาศต้องทวนเข็มนาฬิกา) หัวแถวชูมือขวาเลียนแบบงวงช้าง ทุกคนก้มตัวยื่นมือซ้ายลอดขาตนเองให้คนต่อไปจับด้วยมือขวาต่อกันเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้ายทำมือซ้ายเลียนแบบหางช้าง พอเสียงเพลงดังขึ้น(เทป)หรือร้องสดร่วมกัน  ผู้เล่นเดินไปรอบๆวงเลียนแบบช้างต่องวงเดินไปเรื่อยๆจนกว่าวิทยากรจะเหนื่อย...(ฮา)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นายสอน เล่นเล่น
เขียนเมื่อ

เพลงกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

         ในรอบปีงบประมาณของหน่วยราชการต่างๆ การอบรมสัมนามีการเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคักในหน่วยงานของนายสอนเองได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสัมมนาบ่อยครั้งในปี2550 ได้นำนักเรียนเข้าค่ายแกนนำเยาวชนต้านภัยสุราและยาสูบจัดโดยกรมควบคุมโรคที่จังหวัดกาญจนบุรี หลักสูตร 3 วัน 2 คืน นายสอนได้เรียนรู้เพลง เกมในการฝึกอบรมซี่งท่านดร.วันชัย บุญรอดจากสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้นำน้องๆและศิษย์เก่าคณะคุรุศาสตร์พลศึกษาเป็นวิทยากรนันทนาการ มีเพลงที่ใช้ในกิจกรรมทำนองเพลงOKRAHOMA MIXER เนื้อเพลงไทยดังนี้ครับ

       เมื่อเราเดินไปทางซ้าย     

       แล้วก็ย้ายไปทางขวา

       เมื่อเราเดิน เมื่อเราเดินเมื่อเราเดินเดินไป

       แตะข้างหน้าแตะด้านข้างให้ระวังตัวไว้

       แตะข้างหน้าแตะข้างหลังเปลี่ยนไปยังคู่ใหม่

       นายสอนขอคารวะผู้ที่ดัดแปลงเพลงให้สะดวกต่อการจัดกิจกรรมซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมเลยทีเดียว พอนายสอนได้เข้าร่วมกับค่ายภาษาอังกฤษ วิทยากรชาวต่างประเทศก็ใช้เพลงOkrahoma Mixerนี้แหละในการฝึกอบรมทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสร้างความคุ้นเคยกันมากขึ้น

การดำเนินกิจกรรม: ผู้ร่วมกิจกรรมยืนจับคู่เป็นวงกลม หันหน้าเคลื่อนไหวเป็นวงแบบทวนเข็มนาฬิกา ชายอยู่วงนอก หญิงอยู่วงในมีการจับมือแบบวาโซเวียน คือหญิงหงายมือเหนือหัวไหล่ ชายยืนอยู่วงนอกยืนด้านหลังหญิงพร้อมกับจับมือคู่ตนเอง ชี้แจงวิธีการ(ขั้นสาธิต)

    เมื่อเราเดินไปทางซ้าย    (ทั้งคู่สไลด์เท้าไปทางซ้าย 2 ก้าว)

แล้วก็ย้ายไปทางขวา  (ทั้งคู่สไลด์เท้าไปทางขวา 2 ก้าว)

เมื่อเราเดินเมื่อเราเดิน (ก้าวเดินหน้า 2 ก้าว)

เมื่อเราเดินเดินไป       (ย่ำเท้าอยู่กับที่ 3 ครั้ง)

แตะข้างหน้าแตะด้านข้างให้ระวังตัวไว้ (แตะส้นเท้าซ้ายด้านหน้าแล้วก็ย่ำเท้าสามครั้งพร้อมหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา(หญิง)หันหน้ากลับไปด้านหลัง)

แตะข้างหน้าแตะข้างหลังเปลี่ยนไปยังคู่ใหม่(แตะส้นเท้าขวาด้านหน้าแล้วก็ย่ำเท้าสามครั้งพร้อมหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา(หญิง)หันหน้ากลับไปทางเดิมพร้อมกับการเปลี่ยนคู่ใหม่)

กิจกรรมนี้สร้างความคุ้นเคย พ้ฒนาทักษะการเคลื่อนไหวให้กับผู้เข้าอบรมได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว....(ขอบอก)

   หมายเหตุ: เทปพลงกิจกรรมเข้าจังหวะ เพลงFolk danceหาซื้อได้ที่อาคารวชิราวุธสนามกีฬาแห่งชาติครับ  ท่านใดมีเพลงเกมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิญแนะนำได้ครับ

                                       นายสอน เล่นเล่น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท