อนุทินล่าสุด


kritchaon saisema
เขียนเมื่อ

อนุทิน รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวกฤชอร สายเสมา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง โรงเรียนเทศบาลเพาะชำ ท.4 วันที่ 5 ตุลาคม 2557

1.การเตรียมตัวล่วงหน้า

คาดหวังว่าจะได้รู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลเพาะชำ ท.4 ว่าใช้กระบวนการ KM เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

2. ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

โมเดลขององค์การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ เช่น องค์การแห่งการเรียนรู้ตาม Model ของ Seng ว่ามี 3 ระดับคือ 1.ระดับองค์กร สมาชิกทุกคนต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2.ระดับกลุ่ม สมาชิกภายในกลุ่มต้องมีการเรียนรู้จากกันและกัน 3.ระดับปัจเจก สมาชิกต้องมีการฝึกฝน เห็นการเชื่อมโยง มีความมุ่งมั่นในการเรียนรู้

ต่อมา คือ Model ของ สคส. คือ ความรู้ที่จากภายนอกต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันมีการกำหนดเป้าหมายของงาน เกิดคลังความรู้ภายใน มีบรรลุเป้าหมาย สคส.ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่โดยใช้โมเดลปลาทู มี3ส่วน ส่วนหัวคือ Knowledge vision ส่วนลำตัว คือ Knowledge sharing ส่วนหาง คือ Knowledge assets

คนสำคัญในการจัดการเรียนรู้คือ ผู้บริหารสูงสุด , คุณเอื้อ , คุณอำนวย , คุณกิจ , คุณลิขิต ,คุณประสาน

นอกจากนี้ยังได้รู้ถึงวิธีการดำเนินการจัดการ เพาะชำโมเดล ว่ามีวิธีการดังต่อไปนี้ 1.ตั้งทีมงาน 2.ให้ความรู้ 3.กำหนด KV 4.ฝึกปฏิบัติ 5.ติดตามทำต่อเนื่อง 6.เผยแพร่ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากโมเดลชนิดนี้คือ เกิดการเรียนรู้เป็นทีมกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวิสัยทัศน์และกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

3. จะนำไปประยุกต์ใช้

  • จะนำสิ่งที่ได้จากการดูงานวันนี้ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภายในรายวิชาของตนเองโดยใช้รูปแบบ โมเดลปลาทูเข้ามา เพื่อให้นักเรียนในชั้นเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและสามารถที่จะเผยแพร่ความรู้ภายในของนักเรียนให้แก่เพื่อนๆในห้องเรียนได้ 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
kritchaon saisema
เขียนเมื่อ

อนุทิน รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวกฤชอร สายเสมา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง Knowledge Management วันที่ 28 กันยายน 2557

1.การเตรียมตัวล่วงหน้า

คาดหวังว่าจะได้รับความรู้ในกระบวนการจัดการความรู้ว่ารูปแบบอย่างไร มีกี่ขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนมีวิธีการรูปแบบใด

2. ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

การจัดการความรู้KM คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาทำให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้รู้ และสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมีกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน

2.1 การบ่งชี้ความรู้ ว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร อยู่ในรูปแบบใดบ้าง

2.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่ และรักษาความรู้เก่า

2.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

2.4 การประมวลความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์เพื่อเป็นรูปธรรมมากขึ้น

2.5 การเข้าถึงความรู้ คือการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่าย เช่น (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

2.6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยใช้กิจกรรมนวัตกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ฯลฯ

2.7 การเรียนรู้ คือทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ เพื่อเกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และมีการหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

3. จะนำไปประยุกต์ใช้

  • จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปพัฒนาตนเองและสร้างสังคมเรียนรู้ในระดับกลุ่มของครูผู้สอนหมวดวิชาเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของรูปแบบวิธีการสอนของแต่ละบุคคล และจะนำขั้นตอน KM เข้ามาพัฒนานักเรียนในชั้นเรียนให้เกิดการแลกเปลี่ยนภายในห้องเรียนเพื่อก่อให้เกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
kritchaon saisema
เขียนเมื่อ

AAR ครั้งที่ 4 รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวกฤชอร สายเสมา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง 4 Mat

1.สิ่งที่คาดหวัง

อยากทราบถึงขั้นตอนวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม 4mat ว่ามีรูปแบบอย่างไร และควรจะนำนวัตกรรมนี้มาประยุกต์ใช้ให้ เข้ากับลักษณะงานของตนเองได้อย่างไร

2.ความรู้ที่ได้รับ

ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ สามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ แบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 แบบ คือ

ผู้เรียนแบบที่ 1 คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการรับรู้จากประสบการณ์รูปธรรม ผ่านกระบวนการจัดข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง (Why)

ผู้เรียนแบบที่ 2 คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมได้เป็นอย่างดี (What )

ผู้เรียนแบบที่ 3 คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถ/มีความถนัดในการรับรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมแล้วนำสู่การลงมือปฏิบัติ (How)

ผู้เรียนแบบที่ 4 คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วนำสู่การลงปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เป็นการสำรวจ(If)

โดยจัดขั้นตอนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างเต็มที่เป็นการพัฒนาพหุปัญหา 4ส่วน คือ

1. การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน

1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์ (สมองซีกขวา)

1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับ (สมองซีกซ้าย)

2. การเสนอเนื้อหา สาระข้อมูลแก่ผู้เรียน

2.1 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย)

2.2 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย)

3. การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด

3.1 ปฏิบัติตามขั้นตอน (สมองซีกซ้าย)

3.2 การนำเสนอผลการปฏิบัติงาน (สมองซีกขวา)

4. การนำความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้

4.1 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้พัฒนางาน (สมองซีกซ้าย)

4.2 การนำเสนอผลงานการเผยแพร่ (สมองซีกขวา)

3. การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

จากการเรียนครั้งนี้ จะนำนวัตกรรม 4 Mat มาประยุกต์ใช้ในการจัดแผนการเรียนการสอนของตนเองโดยจะเน้นผู้เรียนสำคัญครูมีหน้าที่เป็นโค้ชเพื่อให้คำปรึกษากับนักเรียน และให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
kritchaon saisema
เขียนเมื่อ

AAR ครั้งที่ 3 รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวกฤชอร สายเสมา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง การอบรมทิศทางการวิจัยและพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21

1.การเตรียมตัวล่วงหน้า

คาดหวังว่าจะได้รับความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 ว่าควรมีวิธีการอย่างไร และใช้รูปแบบใดเข้ามาพัฒนาหลักสูตรการสอนของตนเอง

2. ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

ได้ทราบว่า ครูต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C

3R คือ Reading อ่านออก, Writing เขียนได้, และ Arithemetics คิดเลขเป็น

7C ได้แก่

Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)

Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)

Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)

Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”  ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้แบบ PBL  ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง

สมรรถนะที่ครูไทยในศตวรรษที่21 พึงจะมีคือ CIAC

C Curriculum Competency : สมรรถนะด้านพัฒนาหลักสูตร รายวิชา หน่วยการเรียนรู้

และแผนการจัดการเรียนรู้

I Instructional Competency : สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนเน้นเด็กเป็นส าคัญ

ด้วยการใช้หลากหลายวิธีสอน

A Assessment Competency : สมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้สู่การท าวิจัย

C Classroom Management Competency : สมรรถนะด้านการจัดการชั้นเรียน เพื่อสร้าง

บรรยากาศเชิงบวกในการพัฒนาสมรรถนะดังกล่าว

3. จะนำไปประยุกต์ใช้

  • จะนำสิ่งที่เรียนรู้จากการอบรมเรื่องกระบวนการออกแบบหลักสูตรออกแบบและการสอนในศตวรรษที่21 และเทคนิคการสอนมาประยุกต์ใช้ในการในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง เพื่อให้เกิดคุณภาพที่ดีต่อผู้เรียน


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
kritchaon saisema
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทิน รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวกฤชอร  สายเสมา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง ศึกษาดูงานโรงเรียนวนิษา

  • ความคาดหวังก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
  • อยากทราบถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวนิษาว่ามีวิธีการดำเนินการอย่างไร
  • ได้เรียนรู้อะไร
  • ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวนิษา ว่ามีกระบวนการอย่างไร
  • โดยโรงเรียนวนิษาจะเน้นที่การทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้อย่างอย่างแท้จริงภายในโรงเรียนมีการให้เกียรติซึ่งกันและกันระหว่างครูกับผู้เรียน การเคารพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน บรรยากาศการเรียนรู้จะเต็มไปด้วยความสุข ให้เสรีภาพในการคิดและการแสดงออกและได้เห็นถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ BBL หรือ Brain-based Learning ทำให้เราเห็นความสำคัญในการที่สมองได้เรียนรู้ผ่านร่างกายที่พร้อม คุณครูทุกคนในโรงเรียนต้องใช้คำพูดในเชิงบวก ห้ามสั่งหรือห้ามผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขและความสนุกสนานในการเรียนรู้ เป็นกระบวนการสร้างภาพจำอีกแบบนึง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากการทดลองและปฏิบัติจริง โดยการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนวนิษามีการบูรณาการหลากหลายวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่หลากหลายในตัวเองออกมาให้มากที่สุด มีการฝึกให้ผู้เรียนได้สร้างเรียนองค์ความรู้แบบเชื่อมโยง โดยใช้วิธีการ ทำ Mime map เข้ามาเป็นตัวสรุปองค์ความรู้ที่ผู้เรียนได้รับหลังจากทำกิจกรรมการเรียนการสอน
  • จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

จากการศึกษาดูงานที่โรงเรียนวนิษานั้น ทำให้ได้แนวคิด ในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในรูปแบบของการเน้นที่ตัวผู้เรียนความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีหน้าที่ให้คำแนะนำและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามความสนใจของผู้เรียน จะนำเอามาประยุกต์ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นตัวเด็กให้มากขึ้น และจะให้เด็กทำกิจกรรม Mine map เพื่อเป็นการฝึกการใช้ความคิดแบบเชื่อมโยงหลังจากสอนเสร็จ เด็กจะได้นำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประวัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
kritchaon saisema
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทิน รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวกฤชอร  สายเสมา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง After Action Review (AAR) องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

  • ความคาดหวังก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
  • อยากทราบถึงวิธีการทำ AAR และ องค์ประกอบของ องค์กรแห่งการเรียนรู้
  • ได้เรียนรู้อะไร
  • “After Action Review (AAR)” เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการความรู้ เป็นการรวบรวมบทเรียนที่ได้จากการปฏิบัติการทบทวนหลังทำกิจกรรมการเรียนการสอนเสร็จ ขั้นตอนการทำ AAR เราต้องทราบสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนคืออะไร สิ่งที่ได้เรียนรู้และเป็นประโยชน์คืออะไร และการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้อย่างไร ในคาบเรียนมีการสอนให้เข้าและใช้ เว็ป gotoknow.org เป็นเว็ปที่สามารถเผยแพร่ความรู้ของเราให้แก่ผู้อื่นได้
  • องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคคล ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก โดยมีเป้าประสงค์สำคัญคือ เพื่อให้มีโอกาสได้ใช้ความรู้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไปเป็นองค์กรที่มีความคิดใหม่ๆมี การแตกแขนงของความคิดออกไป ได้รับการยอมรับในสาธารณะเป็นองค์กรที่บุคคลในองค์กรมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งองค์กรหลักการของกระบวนการในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งเป็น4ขั้นตอน คือ การสร้างและค้นหาความรู้ จากสิ่งที่มีอยู่แล้วในองค์กรจัดเก็บความรู้และรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบ มีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย และเกิดการใช้ประโยชน์จากความรู้โดยการนำไปประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ การจัดการความรู้ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนและปฏิบัติงานอันเกิดจากการเก็บ การจัดระบบและพัฒนาความรู้และสรรค์สร้างให้เป็นนวัตกรรม โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจัดการ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง
  • จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

นำเอาความรู้ในเรื่องขององค์กรแห่งการเรียนรู้มาพัฒนาในการจัดการเรียนสอนของตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่ และจะนำเอาความรู้ที่ได้จากการทำ AAR มาประยุกต์ปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นตามแนวทางของกระบวนการAAR 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
kritchaon saisema
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทิน รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวกฤชอร   สายเสมา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง Flipped classroom

  • ความคาดหวังก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
  • อยากทราบถึงความสำคัญของFlipped classroom ลักษณะ องค์ประกอบ และขั้นตอนการทำให้กลายเป็นห้องเรียนกลับทาง
  • ได้เรียนรู้อะไร

Flipped Classroom" เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบใหม่มีแนวคิดมาจากการพิจารณาเลือกเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้กับนักเรียน การใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีกิจกรรมต่างๆ เป็นตัวเชื่อม เน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนการสอน ครูมีหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ครูจึงมีเวลาใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้นแทนที่จะใช้เวลาในการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว โดยครูเป็นผู้เตรียมสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆมาสอนนักเรียนและให้นักเรียนมีกิจกรรมร่วมเพื่อเป็นการสอน จากการทำกิจกรรมดังกล่าวนั้นช่วยให้เด็กได้เกิดการศึกษาด้วยต้นเองยังทำให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ การใฝ่รู้ และฝึกให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะการที่เด็กได้ลงมือศึกษาค้นคว้า จะทำให้เด็กเข้าใจในเรื่องดังกล่าวได้ดีกว่าที่ครูเป็นผู้บอก

  • นอกจากนี้ยังได้เห็นรูปแบบของสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆเช่น การนำวิดีโอ การใช้เว็ปไซด์เข้ามาช่วยในการวัดประเมินผล หลังจากเสร็จการอบรม
  • จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร
  • นำเอาความรู้ในเรื่องของ Flipped classroom มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตัวเองให้มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น โดยจะใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน รวมถึงการปรับทัศนะคติที่มีต่อการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและเท่าทันกับเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท