อนุทินล่าสุด


สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้(Applications of Information and Communication Technology in Knowledge Management)

ศท.คร.952703 (ATKM703)

อาจารย์อัจฉรา คำอักษร ([email protected] or [email protected])

เนื้อหากระบวนวิชา จำนวนชั่วโมงบรรยาย

1. อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กส์ตราเน็ต 3 ชั่วโมง

2. เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม 6  ชั่วโมง

3. ระบบจัดการเอกสารแทนความรู้อิเล็กทรอนิกส์และระบบสืบค้นข่าวสาร 6 ชั่วโมง

4. ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบระดมความคิดและสนทนาต่อเนื่อง 6  ชั่วโมง

5. ระบบติดตามงาน ระบบสำรวจและประเมินผล 6  ชั่วโมง

6. บทเรียนจากประสบการณ์ของผู้เช่ยี วชาญเพื่อแก้ปัญหาองค์กร 6  ชั่วโมง

7. ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ 6  ชั่วโมง

8. ประเด็นด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  6 ชั่วโมง

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

เครื่องมือทางเทคโนโลยี(Technology Tools)ที่สนับสนุนการจัดการความรู้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเครื่องมือใดบ้าง



ความเห็น (8)

.Yammer คืออะไร?

By admin On April 5, 2011 · Leave a Comment ....Social Network สำหรับองค์กรYammer ปฏิวัติการสื่อสารภายในองค์กร โดยการนำพนักงานทั้งหมดในบริษัท ให้มาอยู่ใน Social Network ที่มีความเป็นส่วนตัว และปลอดภัย (micro-blogging)

การใช้งาน Yammer นั้นง่ายสุดๆ ไม่ต่างกับ Facebook หรือ Twitter เลย แต่ Yammer ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจตั้งแต่ต้น เพื่อทำให้เป้าหมายขององค์กรคุณบรรลุผล

Yammer ให้องค์กรทั้งองค์กรของคุณใช้งานได้ฟรี ทำให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถติดต่อกันได้สะดวก ทำงานร่วมกัน และแบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นได้อย่างง่ายๆ และรวดเร็วแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน มันช่วยลดการนัดประชุม ลดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร และเพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล

สมัคร และเริ่มใช้งาน Yammer ใช้เวลาไม่เกิน 60 วินาที เพียงใช้ E-mail Address ของบริษัทคุณเพียงอย่างเดียวก็สมัครได้ทันที

application ของ google ลองดุตัวอย่างค่ะ เป็น communication tool ที่น่าใช้เหมือนกัน

http://www.mapleday.com/yammer-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/

เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วย

• เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)

ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต

• เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology)

ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรค์ในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

• เทคโนโลยีในการจัดเก็บ(Storage technology)

ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เช่นมีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือ Enterprise knowledge portal

อินเทอร์เน็ตกับบทบาทสำคัญในการจัดการความรู้

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โปรแกรมค้นหาช่วยในการค้นหาข้อมูลและความรู้ที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะข้อมูลที่ไม่ตรงกับความต้องการนักก็ตาม ในการจัดการความรู้แล้วอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาจากคำสำคัญในฐานข้อมูลความรูต่างๆ ดังเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมีระบบฐานข้อมูลความรู้สนับสนุนการศึกษาและวิจัยจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความรู้ได้มากกว่าย่อมหมายความว่าโอกาสในการเรียนรู้มีมากกว่าอินเทอร์เน็ตช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้ทำได้รวดเร็วและง่าย อินเทอร์เน็ตช่วยในการกระจายความรู้ในกลุ่มเป้าหมายที่กว้างมากขึ้นอินเทอร์เน็ตช่วยลดปัญหาและข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางและเวลา เช่นสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือกระดานข่าว

ทำไมต้องมีการแบ่งปันความรู้? อิทธิพลของ ICT ต่อการสร้างแรงจูงใจในการแบ่งปันความรู้

ที่มา หลักการและเหตุผล ICT เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ ทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กร การแบ่งปันความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เกิดผลของการจัดการความรู้ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่เข้ามาขัดขวางการแบ่งปันความรู้ หรือเป็นอุปสรรคต่อการแบ่งปันความรู้นั่นเอง เช่น ปัญหาต่างๆเมื่อมีระบบสารสนเทศ ระบบการจัดการเอกสาร เข้ามาช่วยในการแบ่งปันความรู้ จะทำอย่างไร จะสร้างแรงจูงใจอย่างไรให้ knowledge worker ใช้เครื่องมือเหล่านี้เข้ามาสนับสนุนการแบ่งปันความรู้

วัตถุประสงค์ของการศึกษาของเอกสาร

ศึกษาเกี่ยวกับ ICT มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการแบ่งปันความรู้อย่างไร

ประโยชน์ที่ได้รับของการศึกษาของเอกสาร

1. ได้ทราบเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการแบ่งปันความรู้

2. ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจ

3. รูปแบบของการแบ่งปันความรู้

4. ICT สนับสนุนการแบ่งปันความรู้ได้อย่างไร

5. บทบาทของ ICT ในการสร้างแรงจูงใจให้มีการแบ่งปันความรู้

สรุปผลการศึกษาและวิเคราะห์ของนักศึกษา

รูปแบบของการแบ่งปันความรู้

ความรู้ถูกถ่ายทอดออกจากผู้ที่มีความรู้ อาจจะเป็นการแสดงให้ดู การอธิบาย ส่งผ่านไปถึงผู้ที่ต้องการรับความรู้ไว้เป็นความรู้ของตัวเองด้วยวิธีการลงมือทำ การอ่าน การแปลความ แต่การส่งผ่านความรู้จากผู้ให้ไปยังผู้รับความรู้อาจจะมีอุปสรรคขวางกั้นอยู่หลายปัจจัย และจะทำอย่างไรที่จะขจัดอุปสรรคทั้งหลายออกไปได้

บทบาทของ ICT เป็นเครื่องมือสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้เกิดการแบ่งปันความรู้

• ช่วยลดอุปสรรค เช่น อุปสรรคทางกายภาพ ทางสังคม

• ช่วยเอื้อต่อการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นฐานจัดเก็บข้อมูลให้

• ช่วยรับปรุงกระบวนการในการแบ่งปันความรู้

• ช่วยกำหนดขอบเขตที่มีความหลากหลายของการแลกเปลี่ยนความรู้

การสร้างแรงจูงใจให้ Knowledge worker

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจ แบ่งเป็น 2 ปัจจัย

• ปัจจัยภายใน

o ความรู้สึกที่ต้องการพัฒนา

o ความรู้สึกรับผิดชอบต่องาน

o ความเอาใจใส่งาน

o ความมีอิสระในการทำงาน

o โอกาสในการแสดงออก

o งานที่มีความท้าทาย

• ปัจจัยภายนอก

o เงินเดือน

o ตำแหน่ง

o นโยบาย

o สัมพันธภาพระหว่างกัน

ICT มีผลต่อการแบ่งปันความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ICT จะมีอิทธิพลอย่างไรในการแบ่งปันความรู้ขึ้นอยู่กับ

• ความแตกต่างของคน สนใจที่จะแบ่งปันหรือไม่

• บริบท เช่น วัฒนธรรมในองค์กร

• งานที่ทำ บังคับให้ต้องเกิดการแบ่งปัน

ICT มีประโยชน์ต้อ KM จิงๆเลยคัฟ

สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

เทคโนโลยีสารสนเทสมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้อย่างไร



ความเห็น (9)

เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้โดยเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการ จัดการความรู้ในองค์การให้มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้กับการจัดการความรู้ เช่น

- ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(Document and Content Management Systems)

- ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร(Search Engines)

- ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Learning)

- ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VDO Conference)

- การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย(e-Broadcasting)

- การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย(Web Board หรือ e-Discussion)

- ซอฟแวร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม(Groupware)

- บล็อก(Blog หรือ Weblog) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบการณ์ ผ่านพื้นที่เสมือน(Cyber Space)

1. Collaborative Computing Tools: เครืองมือสนับสนุนการทำงานร่วมกัน หรือกรุ๊ปแวร์(Groupware) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดความรู้โดยนัย(Tacit Knowledge) ภายในองค์การ เช่น Lotus Notes/Domino, PlaceWare เป็นต้น

2. Knowledge Service: ประกอบด้วยซอฟแวร์หลักสำหรับการจัดการความรู้ รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บความรู้และการเข้าถึงความรู้ สารสนเทศ และข้อมูลต่างๆ

3. Enterprise Knowledge Portals (EKP): เป็นประตูสู่ระบบจัดการความรู้ขององค์การ ซึ่งเว็บศูนย์รวมของการจัดการความรู้(Knowledge Portals)ส่วนใหญ่จะบูรณาการความรู้ กลไกการรายงาน และการทำงานร่วมกัน ในขณะที่การจัดการเอกสารและความรู้จะได้รับการดำเนินการด้วยเซิร์ฟเวอร์

4. Electronic Document Management Systems (EDM): เป็นระบบที่มุ่งการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่เน้นการทำงานร่วมกัน สนับสนุนการเข้าถึงเอกสารต่างๆ ผ่านทางเว็บเบราเซอร์ทางเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์การ ระบบ EDM ช่วยให้การจัดการเอกสารและกระแสงาน(Wordflow) สามารถทำได้อย่างราบรื่น อีกทั้งยังสนับสนุนการสร้างและการแก้ไขปรับปรุงเอกสารร่วมกัน

5. Knowledge Harvesting Tools: เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการจับความรู้โดยนัย เนื่องจากยอมให้ผู้ที่ให้ความรู้(Knowledge Contributor) มีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย (หรือไม่มีเลย) ในการพยายามเก็บเกี่ยวความรู้นั้น

6. Search Engines: ทำหน้าที่ในการจัดการความรู้ เช่น การค้นหาและดึงเอกสารที่ต้องการมาจากแหล่งเก็บเอกสารขนาดใหญ่ขององค์การ

7. Knowledge Management Suites (KMS): เป็นโซลูชั่นการจัดการความรู้แบบครบชุดที่รวมเทคโนโลยีการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการจัดเก็บ(Storage)ในชุดเดียวกัน(A Single Convenient Package) ซึ่งสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลภายในและแหล่งความรู้จากภายนอกได้

ICT เป็นเครื่องมือที่ช่วยเอื้อต่อการจัดการความรุู้ เป็นทั้งแหล่งเก็บรวบรวมความรู้ และสามารถค้นค้น มีพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนความรู้กันได้ตลอดเวลา  ลดอุปสรรคในเรื่องของเวลาเราไม่จำเป็นต้องมานั่งคุยกันตลอดก็ได้  แต่สามารถใช้พื้นที่ในระบบ ICT เข้ามาแทน ทุกคนรู้ข่าวที่ใหม่ๆเหมือนกัน  สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้จาก web http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nis/  มีเรื่องของการทำ cop ในแต่ละแผนกเห็นนวตกรรมเยอะแยะเลยค่ะ

Dropbox คืออะไร?Dropbox เป็นเครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถ เรียกใช้ ไฟล์งานต่างๆ ของคุณ ได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่แห่งไหน ใช้คอมพิวเตอร์ Notebook, PC หรือ มือถือ คุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์งานของคุณได้อย่างง่ายดาย และตรงกันเสมอ ไม่ว่าจะมีการเพิ่ม ลด แก้ไข ไฟล์ใดๆ ใน Folder ของ Dropbox

Dropbox ดีอย่างไร?Dropbox มีข้อดีต่างๆ มากมาย ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวัน หรือการทำงานของคุณสะดวกยิ่งขึ้น ดังนี้

ทำให้ตรงกัน (Synchronize)

Dropbox จะทำไฟล์ใน Folder Dropbox ให้ ‘ตรงกันเสมอ’ (Synchronize) โดยมีพื้นที่ฟรีให้มากถึง 2GB และใช้ได้ทั้งบน Windows, Mac, Linux, มือถือ และ Web-based. ไม่ว่าไฟล์ๆ นั้น จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อใด Dropbox จะรู้และ Update ให้กับเครื่องอื่นๆ อัตโนมัติทันที

แบ่งปันไฟล์ (File Sharing)

แชร์โฟลเดอร์ต่างๆ ให้กับคนอื่นๆ เพื่อให้ ‘ทำงานร่วมกันได้’ (Collaboration) นอกจากนี้ ยังสร้าง Public Link ให้ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย

สำรองข้อมูล (Online Backup)

Dropbox ทำให้คุณหมดห่วงเรื่อง สำรองข้อมูล เพราะ Dropbox ทำให้คุณอย่างอัตโนมัติโดยคุณไม่ต้องกังวลใดๆ เลย

เข้าผ่านเว็บไซต์ (Web Access)

ไฟล์อีกชุดนึง จะเก็บไว้บน Internet เพื่อให้คุณเข้าถึงไฟล์ได้ทุกสถานที่ ที่ Internet สามารถเชื่อมต่อได้ และมีความปลอดภัยสูง

http://www.mapleday.com/dropbox-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/

มีVDO ให้ดูด้วยค่ะ

Google Docs Realtime Collaboration!

By admin On April 5, 2011 · Leave a Comment ....ความสามารถที่แทบจะเป็น Killer Feature ของ Google Apps อยู่ที่ Feature Realtime Collaboration ใน Application ที่มีชื่อว่า Google Docs ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้แต่ละคน สามารถทำงานร่วมกันได้แบบพร้อมๆ กัน… หากคุณนึกไม่ออก ลองชมตัวอย่าง VDO ข้างล่างนี้ได้เลยครับ

นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง collaboration ที่น่าสนใจค่ะ ลองตามดูค่ะ

http://www.mapleday.com/google-docs-realtime-collaboration/

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าการจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เทคโนโลยีกลับถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จองค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีผลต่อความสำเร็จในระบบการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ทั้งในส่วนของพนักงานและองค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วย

• เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)

ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต

• เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology)

ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรค์ในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

• เทคโนโลยีในการจัดเก็บ(Storage technology)

ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เช่นมีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือ Enterprise knowledge portal

ตอบ นะค่ะ (เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ดังนี้)

หากไม่มีเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วข้อมูลต่างๆ จะจัดเก็บกันในรูปแบบไหน และความยากง่ายในการค้นหาและดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้จะเป็นอย่างไร องค์กรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างความรู้ใหม่เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่นห้างสรรพสินค้านำข้อมูลการขายมาวิเคราะห์และสร้างเป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับลูกค้าและรายการสินค้าทำให้รู้ว่าลูกค้าต้องการสินค้าประเภทไหน ปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ สินค้าแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ห้างสรรพสินค้านั้นก็สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ในปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และการดำเนินการเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกันทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge transfer) ทำได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยียังช่วยให้การนำเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่นตัวอักษร รูปภาพ แอนนิเมชั่น เสียง วิดีโอ ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศยังสามารถช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge storage and maintenance) เทคโนโลยีช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย จึงนับได้ว่าเทคโนโลยีจึงเป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้

อย่างไรก็ตามการเน้นเฉพาะที่เทคโนโลยีหรืออินเทอร์เน็ตโดยปราศจากความสนใจในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและวัฒนธรรมขององค์กรแล้ว การดำเนินการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพนักงานไม่เข้าใจและสนใจในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้แล้วก็อาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้

ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Support Systems) หรือเรียกโดยย่อว่า (IT Support Systems) หมายถึง ระบบที่นำมาใช้ในการสนับสนุนสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด[1]

เนื้อหา [ซ่อน]

1 ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

2 แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.1 ระบบสารสนเทศ (Information System) (IS)

2.2 ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System)

2.3 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS)

2.4 ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)

2.5 ระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา (Legacy System)

2.6 ระบบวิสาหกิจ (Enterprise System)

3 ส่วนประกอบอื่นๆที่ช่วยสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.1 Service-oriented architecture (SOA)

3.2 โปรแกรมประยุกต์ใช้งานตามภารกิจเฉพาะ (software-as-a-service : SaaS)

3.3 วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง (Virtualization)

3.4 กลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร (Knowledge Workers)

4 กิจกรรมและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

5 ลักษณะเด่นของระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

6 ดูเพิ่ม

7 อ้างอิง

ICT in KM

การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลผลสารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างความรู้หรือนวัตกรรมและจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูล ที่สามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่ก็จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่างสมดุลเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

โดยสรุปแล้วการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงเป็นวิธีการหรือกระบวนการที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและองค์กร โดยสามารถใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้การจัดการความรู้เกิดได้ง่ายและสะดวกขึ้น อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (Information and communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้จำแนกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวของและมีบทบาทในการจัดการความรูออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ ตหรืออินเทอร์เน็ต

2.เทคโนโลยีสนับสนุนการทํางานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่น โปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

3.เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

เทคโนโลยีที่นํามาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นไอซีทีจึงมีบทบาทสําคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกันทําให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge Transfer) ทําได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งไอซีทียังช่วยให้การนําเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่นตัวอักษร รูปภาพ แอนนิเมชั่น เสียง วิดีโอ ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้ ทําได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไอซีทียังช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge storage and maintenance) อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย จึงนับได้ว่าไอซีทีเป็น เครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้

สภาพปัจจุบันกับการนำICTมาใช้ในการจัดการความรู้

•1 . ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน

•2 . การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

•3 . การประชุมทางไกลระบบจอภาพ

•4 . ระบบฐานข้อมูลการศึกษา

•5 . ระบบสารสนเทศเอกสาร

สรุปเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (Information and communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ มีบทบาทในการจัดการความรูออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น

2.เทคโนโลยีสนับสนุนการทํางานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสรเทศสามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการความรู้ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเรียนการสอน การจัดการกับองค์กร ซึ่งใช้ได้ทั้งกับหน่วยงานเอกชน และรัฐบาล และในปัจจุบัน ไอซีที ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถพบเจอกับเทคโนโลยีต่างๆได้

อ้างอิง

สมชาย นําประเสริฐชัย. (2549) เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.kmi.or.th/document/Tech_KM.pdf

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2547) การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. กรุงเทพฯ

สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ??



ความเห็น (5)

เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ดังนี้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (Information and communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ (สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สมชาย นําประเสริฐชัย (2549) ได้จำแนกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)

ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ ตหรืออินเทอร์เน็ต

2.เทคโนโลยีสนับสนุนการทํางานร่วมกัน (Collaboration Technology)

ช่วยให้สามารถประสานการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่น โปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

3.เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage technology)

ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นํามาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นไอซีทีจึงมีบทบาทสําคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกันทําให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge Transfer) ทําได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งไอซีทียังช่วยให้การนําเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่นตัวอักษร รูปภาพ แอนนิเมชั่น เสียง วิดีโอ ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้ ทําได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไอซีทียังช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge storage and maintenance) อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย จึงนับได้ว่าไอซีทีเป็น เครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้

แหล่งอ้างอิง : ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การจัดการความรู้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อ

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของความรู้ในองค์การให้เป็นความรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อบุคคลนั้น ในเวลาและ

รูปแบบที่บุคคลนั้นต้องการ เรียกว่าระบบบริหารความรู้ องค์ประกอบของระบบบริหารความรู้ ได้แก่

1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บสารสนเทศ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง

ๆ รวมถึงการเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ External knowledge,

Structured/Information internal knowledge 2) แพลตฟอร์มที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน การมีระบบ

และฐานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันได้ สนับสนุนการทำงานร่วมกัน 3)ระบบเครือข่าย

โครงสร้างพื้นฐานเช่นระบบเครือข่ายช่วยสนับสนุนการสื่อสารและการสนทนา 4)วัฒนธรรม เช่นวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกันซอฟแวร์ที่ใช้ในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่สามารถนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในรูปต่าง ๆ มาจัดระบบระเบียบ

และสามารถใช้ได้เมื่อต้องการเน้นที่การนำซอฟแวร์มาช่วยในการดำเนินการ เช่น โปรแกรม

Microsoft office 2000 ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยผ่านรูปแบบ XML (Extensible Markup

Language) เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน บริษัท Lotus เสนอโปรแกรม Lotus Notes เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกันใน

องค์กร และระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) โดยทุกบริษัทต้องการพัฒนาระบบข้อมูล

ขององค์กร (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2547, หน้า 78-79) ดังนี้

1. Personal Knowledge Management เป็นการบริหารความรู้เพื่อใช้ในงานตามความสนใจ

ของแต่ละบุคคล เช่น โปรแกรม Knowledge Work ของ Microsoft

2. Enterprise Knowledge Management เป็นการบริหารความรู้เพื่อการใช้งานขององค์กร

โดยรวม เช่น โปรแกรม Workdraw

นอกจากนี้ซอฟแวร์หรือโปรแกรมการจัดการความรู้ที่เป็นผลิตภัณฑ์โปรแกรมการจัดการ

ความรู้มีมากกว่า 70 แห่งในท้องตลาด ได้แก่ Dataware Knowledge Management, Knowledge

Insight, KnowledgeMail, WebProject, Livelink, Message, TeamTool เป็นต้น

อ้างอิง:www.google.co.th

บทความทางวิชาการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

*บงกช ลิมปะพันธุ์

ในยุคที่สารสนเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการในเรื่องราวต่างๆ ได้ขององค์กรได้ เนื่องจากสารสนเทศมีเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องเปลี่ยนรูปจากสารสนเทศให้มาอยู่ในรูปแบบของความรู้แทน ในเมื่อความรู้และสารสนเทศมีความแตกต่างกันดังนั้น การจัดการความรู้ (Knowledge management หรือ KM) จึงแตกต่างจากการจัดการสารสนเทศ (Information Management) และมีความซับซ้อนกว่ามาก อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ก็ยังจำเป็นที่ต้องนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินการและเป็นเครื่องมือสำคัญในการในระบบจัดการความรู้

การจัดการความรู้เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยอาจนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยการดำเนินการนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มก็ได้ บทความนี้ ขอนำเสนอแนวความคิดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ในองค์กรต่างๆ เพื่อเป็นแนวคิดให้กับองค์กรที่กำลังพัฒนาศักยภาพของตนเองในการแข่งขันด้วยการนำระบบการจัดการความรู้มาใช้

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องที่ไกลตัว หลายองค์กรอาจเคยประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มาบ้างแล้วเช่นเมื่อผู้เชี่ยวชาญหรือพนักงานที่ใช้ความรู้และทักษะพิเศษในการทำงานลาออกหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ องค์กรก็จะประสบปัญหาในการทำงานทันทีและไม่สามารถหาพนักงานคนอื่นหรือสิ่งใดมาทำงานทดแทนได้เมื่อความรู้ขององค์กรแต่ละองค์กรนั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นนิยามของคำว่าการจัดการความรู้ของแต่ละบุคคลและองค์กรจึงแตกต่างกันด้วย เช่น การจัดการความรู้หมายถึงการจัดการสารสนเทศและความรู้ที่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญหรือทรัพย์สินที่เป็นนามธรรม (Intangible asset) ที่องค์กรต้องการใช้เป็นส่วนสำคัญสำหรับสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งผ่านกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการจัดการความรู้ในองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ที่ผ่านมานั้นการจัดการความรู้ไม่ได้มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการและการจัดการความรู้ส่วนใหญ่มาจากการเรียนรู้จากประสบการณ์

กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการในการจัดการความรู้นั้นมีการจำแนกที่แตกต่างกันเช่น Demarest ได้แบ่งกระบวนการจัดการความรู้เป็น การสร้างความรู้ (Knowledge construction) การเก็บรวบรวมความรู้ (knowledge embodiment) การกระจายความรู้ไปใช้ (knowledge dissemination) และการนำความรู้ไปใช้ (use) ในขณะที่ Turban และคณะนำเสนอ กระบวนการจัดการความรู้เป็นลำดับวงกลม ประกอบด้วยการสร้าง (create) การจับและเก็บ (Capture and store) การเลือกหรือกรอง (Refine) การกระจาย (Distribute) การใช้ (Use) และการติดตาม/ตรวจสอบ (Monitor) ดังรูปที่ 2 ส่วนProbst และคณะได้แบ่งกระบวนการจัดการความรู้เป็นการกำหนดความรู้ที่ต้องการ (knowledge identification) การจัดหาความรู้ที่ต้องการ (knowledge acquisition) การสร้างพัฒนาความรู้ใหม่ (knowledge development) การถ่ายทอดความรู้ (knowledge transfer) การจัดเก็บความรู้ (knowledge storing) การนำความรู้มาใช้ (knowledge utilization)และกำหนดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Mesh ที่แต่ละกระบวนการมีความสัมพันธ์กัน หากสรุปแล้วกระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการแสวงหาความรู้ การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอดและการนำความรู้ไปใช้งานอย่างไรก็ตามกระบวนการจัดการความรู้ของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันตามลักษณะการดำเนินการและองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายประการเช่นลักษณะและงานขององค์กร โครงสร้างองค์กร และ เทคโนโลยี เป็นต้น ดังนั้นองค์กรแต่ละองค์จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างของกระบวนการจัดการความรู้เฉพาะขององค์กรเอง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าการจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เทคโนโลยีกลับถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีผลต่อความสำเร็จในระบบการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ทั้งในส่วนของพนักงานและองค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology) เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) และเทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology)

- เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต

- เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

- เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เช่นมีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือEnterprise knowledge portal

ปัญหาการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากแหล่งข้อมูลหรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับผู้อื่น ดังนั้นปัญหาเทคโนโลยีในเรื่องของการเรียนรู้ไม่ใช่เกิดจากปัญหาในเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น ยังเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ แม้ว่าบุคลากรทุกคนรู้ว่าการแบ่งปันความรู้เป็นสิ่งที่ดี และการแบ่งปันความรู้นั้นไม่ได้ทำให้ความรู้ลดน้อยลงเลยแต่กลับยิ่งทำให้ความรู้นั้นเพิ่มพูนขึ้น แต่หลายคนยังมีความกังวลในการแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น เช่นความกังวลว่าตัวเองจะลดบทบาทและความสำคัญลงหลังจากที่แบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น องค์กรจำเป็นต้องมีมาตรการและนโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ การกระจายความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้งของบุคลากรและองค์กรเอง

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยใน การกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ดังที่ Walsham [2001] กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่คำตอบที่แก้ปัญหาการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สามารถอธิบายความรู้ที่เป็น Tacit knowledge ที่ต้องผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์และความเชื่อใจของบุคลากรได้ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการคามรู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและบุคลากร สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบจัดการความรู้ขององค์กรคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความปรารถนาในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งจะนำไปสู่การปรับตัวสู่รูปแบบองค์กรใหม่ที่เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นั่นเอง

แหล่งอ้างอิง : บทความทางวิชาการ

นางสาวบงกช ลิมปะพันธุ์

ลองมาดูกรณีตัวอย่างกันบ้างนะค่ะ กรณีศึกษาบทที่13 : บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) กับการจัดการความรู้ 1. เป้าหมายในการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และยุทธศาสตร์ของบริษัทเกี่ยวข้องกันอย่างไรจงอธิบาย? เป้าหมายคือให้การบริการที่ดีเลิศแก่ลูกค้า โดยสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและต้องการพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์การ ยุทธศาสตร์ของบริษัทคือการเป็นผู้นำทางด้านการให้บริการที่เป็นเลิศ แต่ถ้าบุคลาการในบริษัทขาดความรู้ในด้านที่ตนเองรับผิดชอบส่งผลให้บริษัทขาดศักยภาพในการดำเนินงาน เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงทางด้านต่างๆ ที่รับผิดชอบโดยการสร้างแหล่งความรู้ที่ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้มีความสามารถที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์การ 2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยีบล็อก (Blog หรือ Web log) จะสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้อย่างไร? เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทต่อการจัดการความรู้ คือ KM web E-card E-book E-Learning E-mail ในส่วนของบล็อก (Blog หรือ Web log) เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบกราณ์ ผ่านพื้นที่เสมือน (Cyber Space) โดยผู้ที่สนใจจะเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ตลอดจนประสบกราณ์จะสามารถเผยแพร่เนื้อหาและข้อความผ่านทางบล็อกได้ ขณะเดียวกันนั้นผู้ที่เข้าไปอ่านเนื้อหาและข้อความภายในบล็อกนั้นก็สามารถออกความคิดเห็นต่างๆ ได้เช่นกัน จึงทำให้หลายๆ คนนั้นสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความรู้สึกนึกคิด รวมไปถึงความรู้ต่างๆ ผ่านทางบล็อกก็ได้

การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น

สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

สาขาการจัดการความรู้ รุ่นที่ 4 รหัส 54  ได้เข้าร่วมการจัดการความรู้ ในเว็บ go to Know.org เพื่อแบ่งปันความรู้เรื่องการจัดการความรู้ โดยเน้นเนื้อหา การเรียนการสอนและความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้



ความเห็น (13)

อยากให้อธิบายถึงการจัดการความรู้นะคะ

การจัดการความรู้: การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด [วิจารณ์ พานิช]

การจัดการความรู้: การบริหารจัดการองค์กรโดยเน้นการใช้ความรู้และประสบการณ์ของคนทำงาน รวมทั้งสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิตแก่องค์กรให้แข่งขันได้ในอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อการดำรวอยู่ขององค์กรและชีวิตและครอบครัวของพนักงานร่วมกัน [ณพศิษฎ์จักพิทักษ์]

KM is interdisciplinary business model that has knowledge within the framework of an organization and its focus. [Awad, M. E. &Ghaziri, M. H.]

KM is the process of capturing a company’s collective expertise wherever it reside-in data bases, on paper, or in people’s head – and distributing it to wherever it can help produce the biggest payoff. [Hibbard]

KM is getting the right knowledge to the right people at the right time so they can make the best decision. [Petrash]

ทำไมเราถึงต้องมีการจัดการความรู้ แล้วเราจะเริ่มต้นในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรได้อย่างไร

ทำไมต้องจัดการความรู้..

ความรู้ในองค์กร หรือความรู้ที่อยู่ในตัวบุคลากรขององค์กร หากไม่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ความรู้นั้นก็จะไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรได้อย่างที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพนักงานผู้เชี่ยวชาญงาน มีความรู้เรื่องระบบการทำงานของแผนกเป็นอย่างดีลาออกหรือปลดเกษียณไปองค์กรจะทำอย่างไรจึงจะสามารถ

นำความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้นออกมาถ่ายทอดให้แก่พนักงานใหม่ที่มารับหน้าที่แทนให้สามารถสานต่องาน

ในตำแหน่งนั้นได้อย่างราบรื่น หรือเมื่อองค์กรส่งพนักงานไปเข้ารับการอบรมหรือเข้าร่วมการสัมมนาต่าง ๆ ความรู้ที่พนักงานได้รับมานั้นสามารถนำมาถ่ายทอดสู่ผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากองค์กรไม่มีกระบวนการจัดการความรู้ที่ดี องค์กรจะไม่สามารถนำความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจาย หรืออยู่ที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งออกมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การทำงานสะดุดติดขัดในขั้นตอนการถ่ายทอดความรู้ หรือการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ

ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากไม่มีการแบ่งปัน หรือการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

ในทางตรงกันข้ามหากความรู้จำเป็นสำหรับการทำงานถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เมื่อพนักงานลาออกไป พนักงานใหม่เข้ามาแทนจะได้รับการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบและสามารถเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็ว

หรือความรู้ที่พนักงานได้จากการเข้ารับการอบรม หรือสัมมนา ก็มีการนำมาถ่ายทอดให้ผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมเกิดความรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกับผู้เข้ารับการอบรม โดยกระบวนการในการจัดการความรู้

แต่การจัดการความรู้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ ผู้ที่ถูกถ่ายทอดนำความรู้จากผู้ถ่ายทอดนั้นมาปฏิบัติจริง

ผู้ที่ไปอบรม-----ถ่ายทอดให้----> ผู้ไม่ได้ไป -----เอาความรู้มาประยุกษ์ใช้กับงาน----->เกิดองค์ความรู้ใหม่

ถึงเรียกว่าKMโดยสมบูรณ์ (KMแท้) เกิดประโยชน์

การจัดการความรู้คืออะไร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่

1. บรรลุเป้าหมายของงาน

2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน

3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ

4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่

(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร

(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ

(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน

(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้

(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ

(1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม

(2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ

(3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ

(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา

งาน พัฒนางาน

คน พัฒนาคน

องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้

ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย

สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว

การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ

การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง

การจัดการระบบการจัดการความรู้

แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)

1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ต่อไป

http://www.google.co.th/search?hl=th&source=hp&biw=1259&bih=552&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87&rlz=1W1MOOI_en&oq=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87&aq=f&aqi=g2&aql=&gs_sm=e&gs_upl=2642797l2653390l0l2653937l24l20l0l7l7l0l328l3281l0.3.9.1l13

ในองค์กรทำการจัดการความรู้เนื่องจาก คนในองค์กรมีองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่ทำงานมา ไม่ต่ำกว่า 10 ปีเป็นส่วนใหญ่และประมาณ 5ปีข้างหน้าจะมีการเกษียรอายุราชการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดการความรู้คนในองค์กรเพื่อให้ความรู้จากคนที่มีประสบการณ์ยังคงอยู่ในองค์กร

ทำไมต้องมีการจัดการความรู้:เพื่อให้องค์กรทำงานอย่างมีระบบและให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นและองค์กรมีการวางแผน จัดระเบียบ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลต่อองค์กรมากที่สุด

ทำไมเราถึงต้องมีการจัดการความรู้ แล้วเราจะเริ่มต้นในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรได้อย่างไร

ตอบนะค่ะ ^^

สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2548) ได้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ หรือเรียกย่อๆ ว่า KM (Knowledge Management) ว่าเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช (2548) ได้เสริมว่าการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในขณะที่ปณิตา พ้นภัย (2544) ให้ความหมายของการจัดการความรู้ ว่าหมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลผลสารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างความรู้หรือนวัตกรรมและจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูล ที่สามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่ก็จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่างสมดุลเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

โดยสรุปแล้วการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงเป็นวิธีการหรือกระบวนการที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและองค์กร โดยสามารถใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้การจัดการความรู้เกิดได้ง่ายและสะดวกขึ้น อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้แนวคิดเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงถูกนำมาใช้ในหน่วยงานราชการแทบทุกแห่งเพื่อให้สามารถพัฒนา แข่งขันและดำรงองค์กรให้อยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน (สำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต, 2546) แผนงานที่หลากหลายด้านการจัดการความรู้ถูกกำหนดขึ้นในหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งการฝึกอบรมแก่บุคลากรเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของการจัดการความรู้ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้เกิดการจัดเก็บความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร ซึ่งหลายหน่วยงานก็ประสบผลสำเร็จตามแผนงานที่ตั้งไว้ สามารถพัฒนาตนเองสู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ดำเนินการไปตามแบบแฟชั่น ไม่ใช่การจัดการความรู้ในรูปแบบที่จะก่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดำเนินการจัดการความรู้แบบหลอกๆ ไม่จริงจัง หรือทำจริงจังแต่หลงทาง (วิจารณ์ พานิช, 2548) ทำให้การจัดการความรู้ในหน่วยงานล้มเหลว

จากการรวบรวมและศึกษาขั้นตอนของการจัดการความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้กำหนดไว้ สามารถสรุปออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

1) การกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ (Knowledge Identification)

คือ การกำหนดนิยามของสิ่งที่องค์กรต้องการให้บุคลากรเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ นโยบาย ภารกิจ ค่านิยมและเป้าหมายต่างๆ ขององค์กร เช่น การระบุขอบข่ายงาน การนิยามขีดความสามารถและคุณลักษณะของแต่ละตำแหน่งงาน เป็นต้น

2) การแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition)

คือ การนำเอาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่มีอยู่ภายในและภายนอกองค์กร มากลั่นกรองและนำมาสร้างคุณค่า เช่น การสอนงาน การฝึกอบรม การสัมมนา การประชุม การแสดงผลงาน ระบบพี่เลี้ยง การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและการลงมือปฏิบัติ การดำเนินการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ขององค์กร

3) การสร้างความรู้ (Knowledge Creation)

คือ การสร้างสรรค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล โดยผ่านการผลักดัน การหยั่งรู้และเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง ซึ่งทุกคนสามารถเป็นผู้สร้างความรู้ใหม่ๆ เช่น การคิดค้นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ โดยแบ่งความรู้เป็น 3 ประการ ดังนี้

3.1) ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge)

คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานและอยู่ในตัวคน เป็นความรู้ที่จับต้องไม่ได้หรือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เช่น ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กร ความรู้ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์กร ความสัมพันธ์ของลูกค้า เป็นต้น ซึ่งความรู้โดยนัยนี้เป็นความรู้ที่สำคัญที่สุดที่ควรดำเนินการให้เกิดการแพร่กระจายในองค์กร เพื่อสร้างความรู้ใหม่อันจะเพิ่มมูลค่าและคุณค่าแก่ประเทศได้

3.2) ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

คือ ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงจากความรู้โดยนัยและความรู้ที่อยู่โดยรอบมาเป็น สื่อ ตำรา หรือเอกสารอื่นๆ ที่สามารถจับต้องได้

3.3) ความรู้ที่ฝังตัวอยู่ในองค์กร (Embedded Knowledge)

คือ ความรู้ที่อยู่ในองค์กร เป็นความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจนในกระบวนการผลิตและ/หรือการบริการ ซึ่งรวมถึงวัฒนธรรมองค์กรด้วย

4) การจัดเก็บและสืบค้นความรู้ (Knowledge Storage & Retrieval)

คือ การจัดเก็บความรู้ไว้เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเข้ามาสืบค้นได้ตามความต้องการ โดยต้องคำนึงถึงวิธีการเก็บรักษา ซึ่งแต่ละองค์กรจะต้องเก็บรักษาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ไว้อย่างดีที่สุด ในการจัดเก็บนั้นสามารถบันทึกเป็นฐานข้อมูลหรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนได้

5) การถ่ายโอนความรู้และใช้ประโยชน์ (Knowledge Transfer & Utilization) คือ การกระจายความรู้และถ่ายทอดไปอย่างรวดเร็วและเหมาะสมทั่วทั้งองค์กร เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

แหล่งอ้างอิง : ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.

ประสบการณ์การจัดการความรู้ในภาคราชการ :กรณีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *

ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ * *

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เคยกล่าวชมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ไว้ว่า ได้มีการจัดการความรู้ (knowledge management, KM) ที่ทำกันเองตามธรรมชาติมานานแล้ว อาจเรียกได้ว่าการจัดการความรู้ในระยะดังกล่าว อยู่ใน phase ศูนย์ แต่คณะแพทยศาสตร์ได้มาเริ่มดำเนินการเรื่อง KM อย่างเป็นระบบเมื่อ พ.ศ.2545 นี่เอง โดยการจัดการความรู้ใน phase ที่หนึ่ง (2545 – พฤษภาคม 2547) นั้น อาศัยกลไกของ “คณะกรรมการบริหารพัฒนาบุคลากรและจัดการความรู้” เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน โดยใน phase แรกนี้ได้เริ่มต้นจากการทำความกระจ่างในเรื่อง KM เพื่อให้คนในคณะได้เข้าใจ KM ตรงกันเสียก่อน ซึ่งได้ใช้ทั้งวิธี outside-in และ inside-out ในช่วงต้นคณะกรรมการใช้การสื่อสารผ่าน website ของคณะเป็นหลัก ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นการสื่อสารหลายช่องทางคือ ใช้ทั้งการพูดคุย (ในการประชุม, ในการบริหารโดยการเดินเยี่ยมหน่วยงาน) ผ่านทางกระดาษ (สาร Knowledge sharing – Getting better practice) และทาง website พร้อมกับจัดให้มีกิจกรรม “วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟัง” หรือ “Knowledge Sharing Day” ขึ้น และกิจกรรม “โครงการขอความรู้จากผู้ลาจาก ฝากไว้ให้คณะ” เพื่อให้บุคลากรของคณะที่เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของรัฐบาลได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานไว้ให้กับหน่วยงานของคณะก่อนเกษียณ

ใน phase ที่สองของการจัดการความรู้ (เริ่มจากมิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน) คณะแพทยศาสตร์ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่เรียกว่า “คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้” โดยมีคณบดีเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้มีการประชุมกันเป็นประจำทุกเดือน และได้สรุปว่าในช่วง 2 ปี (2547-2549) นี้ จะใช้ “DISCO” model เป็นแนวทางในการจัดการความรู้ คือ มี day of sharing knowledge (จะจัดให้มีกิจกรรม “วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟัง” ปีละ 3 ครั้ง และมีการสื่อสารผ่านทาง KM News ทุก ๆ 3 เดือน), individual learning of knowledge (จัดให้มี e-learning ที่บุคลากรของคณะสามารถเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ในเรื่องที่คณะกำหนดไว้), switching tacit to explicit knowledge (จัดให้มีการเปลี่ยนความรู้ฝังลึกในบุคลากรออกมาเป็นความรู้แจ้งชัด โดยผ่านกลไกของชุมชนนักปฏิบัติหรือ Community of Practice ซึ่งใน 2 ปีนี้ คณะกำหนดไว้ว่าจะให้มี CoP ขึ้น 5 กลุ่ม), continuity management of knowledge (เป็นกิจกรรมที่สืบต่อมาจากโครงการขอความรู้จากผู้ลาจากฝากไว้ให้คณะ แต่จะดำเนินการเป็นระยะ ๆ โดยไม่ต้องรอให้บุคลากรคนนั้นเกษียณหรือลาออก) และ organise knowledge (เป็นการจัดความรู้ขององค์กรให้เป็นระบบและเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการสืบค้น รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านของบุคลากรในคณะ) ทั้งนี้ คณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้กำหนด key performance indicators (KPIs) ของคณะกรรมการชุดนี้เอาไว้แล้ว ซึ่งคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคณะกรรมการชุดนี้เป็นอย่างยิ่งที่จะบริหารจัดการเรื่อง KM ของคณะแพทยศาสตร์ มอ. ให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

แหล่งอ้างอิง : ประสบการณ์การจัดการความรู้ในภาคราชการ :กรณีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์

ทำไมจึงต้องมีการจัดการความรู้

การจัดการความรู้เป็นแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ที่มองคนในองค์กรเป็นสินทรัพย์อันมีค่าเนื่องจากกระแสยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้คนในองค์กรมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ ต้องสามารถทำงานได้เองอย่างรอบด้าน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความมุ่งมั่นต่อองค์กร ทำงานอย่างมีเป้าหมายซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีสมรรถนะสูง เพื่อที่จะสามารถผลักดันให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก รวดเร็ว นั่นคือองค์กรต้องมีความสามารถในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และการจัดการความรู้ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร ให้กลายเป็นความสามารถในแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไป

เนื่องจากการทำงานในองค์กรที่ผ่านมาได้ประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้องค์กรจำเป็นต้องมีการจัดการความรู้ มีดังต่อไปนี้นี้

1. ข้อมูล หรือสารสนเทศต่างๆ ที่มีการให้บริการ ซึ่งจะต้องมีลักษณะถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้ ยังไม่สามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสามารถบริการได้ทันท่วงที (Real Time) ได้

2. ความรู้ หรือทักษะบางอย่างในการทำงานจะเป็นความรู้ที่เป็นของบุคคลเฉพาะคนเท่านั้นบุคคลอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกันไม่สามารถที่จะทำงานบางอย่างได้ ถ้าหากว่าไม่มีบุคคล คนนั้น

3. ไม่สามารถนำความรู้จากตัวบุคคล มาจัดเก็บไว้ให้เป็นระบบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับองค์กรได้

4. ไม่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ถ่ายทอดความรู้ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในหน่วยงาน

การจัดการความรู้มีวัตถุประสงค์หลักๆ ดังนี้

1. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่องาน ต่อปัญหา และสามารถร่วมแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี ได้อย่างมีหลักการ และแนวคิดที่เหมาะสม

2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มในการสร้างสังคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำสู่การบรรลุเป้าหมาย

3. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็น และสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร

4. เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการทำงาน เห็นความสำคัญและคุณค่าของตัวบุคคล

5. เพื่อให้มีเกิดการพัฒนาและใช้ศักยภาพของบุคคลในการทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ

6. เพื่อสร้างความรู้ใหม่ หรือนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้น

7. เพื่อรวบรวมความรู้ภายในองค์กร และนำเข้าความรู้จากภายนอกที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และทุกคนสามารถเข้าถึงได้

8. เพื่อเป็นการเสาะหา รวบรวม จัดเก็บความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลแต่ละคน ที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ กัน

9. เพื่อให้ข้อมูลตอบสนองตรงตามเป้าหมายของผู้รับบริการ และตรงตามเป้าหมายขององค์กรให้มากที่สุด

10. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรในองค์กร ที่ทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

11. เพื่อให้มีการรวมกลุ่มกันของบุคคลในองค์กรที่มุ่งเน้นความรู้ และการเรียนรู้ร่วมกัน

12. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในองค์กร

13. เพื่อให้องค์กรมีความเข้มแข็ง และมีจุดเด่นในการที่จะแข่งขันกับองค์กรอื่น

อ้างอิง:http://portal.in.th/inno-sayan/pages/1135/)

Why Knowledge Management?

Before we start to explore and understand the details of what knowledge management is, and how to implement knowledge management projects and initiatives, we need to first ask ourselves why we want to consider knowledge management in the first place?

What are the real benefits that can be gained from effective knowledge management for the individual, the team, the entire organization, the community, the nation, or even the entire planet Earth?

Knowledge management is far reaching. Maybe you are considering developing your own personal knowledge management competencies, to become a more effective player in the global knowledge economy, or becoming a more competitive knowledge leader and knowledge driven organization.

Maybe you wish to develop and apply knowledge management strategies to government, military operations, global poverty eradication, international disaster management and even, now, knowledge management for global climate change.

The list is endless. Knowledge management is applied today across the world, in all industry sectors, public and private organizations and humanitarian institutions and international charities.

Most importantly, effective knowledge management is now recognised to be 'the key driver of new knowledge and new ideas' to the innovation process, to new innovative products, services and solutions.

http://www.knowledge-management-online.com/the-importance-of-knowledge-management.html

บทบาทของการจัดการความรู้โรงไฟฟ้าแม่เมาะกับการพัฒนาองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ

กระบวนการและวิธีปฏิบัติที่ได้ปรับปรุงใหม่

โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้นำเอาเครื่องมือและแนวคิดหลัก ๆ เพียง 2-3 อย่าง มาจัดทำเป็นกระบวนการง่าย ๆ ให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหน้างาน โดยไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานหน้างานรู้สึกเป็นภาระ

หลักการพื้นฐานสำคัญที่นำมาใช้ประกอบกับทุกเครื่องมือคือ “การฟังอย่างลึก” (Deep Listening) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สร้างทักษะในการเปิดใจรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ ให้ครบถ้วนโดยไม่ด่วนสรุป ไม่จับผิดผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ของ ทุก ๆ คน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะได้รับการอบรมพื้นฐานแนวคิดด้านการจัดความรู้ และทราบถึงหลักการฟังอย่างลึก และจะได้รับการย้ำเตือนให้พยายามฝึกทักษะการฟังอย่างลึกในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งทักษะนี้จะเป็นพื้นฐานที่นำไปใช้ในการทบทวนหลังการปฏิบัติงานและเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในตลาดนัดความรู้

การใช้การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review) ในการทำงาน

กระบวนการจัดการความรู้ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะเริ่มต้นที่ทุกหน่วยงาน โดยเมื่อปฏิบติงานแล้วเสร็จ ผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องมือการทบทวนหลังการปฏิบัติงานหรือที่เรียกว่า AAR (After Action Review) ทบทวนการทำงาน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ลดความผิดพลาดที่เกิดซ้ำ เกิดเป็นความรู้ใหม่ และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้จากการทำงาน ของทีมงาน สร้างคุณสมบัติความเป็นคนมั่นใจตนเอง เคารพตนเอง และในขณะเดียวกัน ก็เคารพผู้อื่นด้วย

เครื่องมือ AAR ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ group reflective learning จากประสบการณ์ตรงของแต่ละคน ด้วยการพบปะพูดคุยกันของผู้ร่วมปฏิบัติงานหลังทำงานเสร็จ โดยมาร่วมกันสรุปบทเรียนว่า แต่ละคนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ส่วนใดที่ทำได้ดีเพราะเหตุใด และส่วนใดที่น่าจะทำได้ดีกว่า จุดที่ควรปรับปรุง เพราะเหตุใด เพื่อที่จะนำจุดดีไปขยายผลดำเนินการในงานอย่างเดียวกันสำหรับครั้งต่อไป หรือในงานที่คล้ายคลึงกัน ส่วนจุดที่เป็นข้อบกพร่องก็จะนำไปหาวิธีแก้ไขปรับปรุงโดยที่ไม่ต้องการหาคนผิด

สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี
เขียนเมื่อ

สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชี่ยงใหม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท