อนุทินล่าสุด


เคษิต ทองสมบัติ
เขียนเมื่อ

เครื่องจักสานไม้ไผ่เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่พบได้ในแหล่งชนบทของประเทศไทยทั่วทุกภาค เครื่องจักสานส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน งานจักสานไม้ไผ่เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ จรรโลงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันดีงาม เกิดจากมีความพยายาม ฉลาดหลักแหลมของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีการประยุกต์และพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้น แสดงถึงวิถีการดำรงชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปการสร้างเครื่องจักสานจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางความต้องการด้านประโยชน์ ใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์รวมถึงประเพณี ความเชื่อ ศาสนา และวัสดุในท้องถิ่นนั้น ๆ ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องจักสานในรูปแบบและลวดลายต่าง ๆ จากอดีตมาถึงปัจจุบันจะเห็นว่ารูปแบบและลวดลายของเครื่องจักสานที่ทำขึ้นโดยชนชาติต่าง ๆ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายของเครื่องจักสานที่ทำขึ้นโดยชนชาติต่าง ๆ จะมีลักษณะคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายในการสานจะมีจำกัดของลวดลายนี้ ทำให้รูปทรงของเครื่องจักสานมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันไปด้วย นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องจักสานยังพบว่าในกลุ่มประเทศที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ก็มีการใช้วัสดุชนิดเดียวกัน เช่น การทำเครื่องจักสานโดยเส้นใยพลาสติก พบว่ามีทำกันในกลุ่ม เช่น จีน ญี่ปุ่น ไทย และ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น การทำเครื่องจักสานนั้นเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน พื้นเมือง ที่มีทำกันมาแต่โบราณและมีทำทั่วไปในทุกภาคของประเทศ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
เคษิต ทองสมบัติ
เขียนเมื่อ

นโยบายการดำเนินงานสำนักงานการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มุ่งเน้นการฝึก หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในวิชาช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อการพัฒนาอาชีพในอัน ที่สร้างรายได้จริง กับประชาชนในพื้นที่อาชีพช่างสี เป็นอาชีพอิสระที่ผู้เรียนสามารถนำมาเป็นเอาชีพหลักหลักหรือ อาชีพรองได้เนื่อง จากมีรายได้ดี และมีผู้สนใจ สามารถเรียนรู้ได้เป็นที่ต้องการของตลาดในการประกอบอาชีพ เพราะ เป็นอาชีพใช้ฝีมือและทักษะ ในปัจจุบันการสร้างที่พักอาศัยของประชาชน ส่วนใหญ่ก่อสร้างและทำอาชีพช่างสี ดังนั้นจากหลักการและแนวคิดเหล่านี้ ทำให้ กศน.ตำบลนากอก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน จึงได้จัดทำหลักสูตร ช่างสี จำนวน 40 ชั่วโมง เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้ประชาชนนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไป พัฒนาอาชีพในชุมชนที่หลากหลาย มีรายได้มากยิ่งขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
เคษิต ทองสมบัติ
เขียนเมื่อ

จากนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยประจำปีงบประมาณ 2562 ตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ 6 ยุทธศาสตร์ ข้อ 4.5 ซึ่งมุ่งเน้นการจัด การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประซาซนทุกช่วงวัย “กศน. เพื่อประซาซน”โดยการจัดการเรียนวิซาชีพระยะสั้น (โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมซน) ให้กับประซาซนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และการพัฒนาทักษะชีวิตในการเตรียมความพร้อมรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ธรรมซาติ และสิ่งแวดล้อม และการเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน ด้วยนวัตกรรม (Thailand 4.0)กศน.ตำบลนากอก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวสำภู มีพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร เซ่น การทำนา ทำไร่และปลูกผัก หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร มีการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นอีกตำบล ที่ประชาชนใช้เวลาว่างหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยการรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพเสริม ได้แก่ การประกอบอาชีพช่างตัดผม ซึ่งเป็นอาชีพหนึ่งที่เน้นการให้บริการและให้การเสริมแต่ง ออกแบบทรงผมให้กับผู้มาใช้บริการ ประกอบกับปัจจุบันสภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนให้ความสำคัญกับความสวยงามและบุคลิกภาพที่ดีของตนเองมากขึ้น อาชีพความสวยความงามจึงเข้ามามีบทบาทในการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบุคลิกภาพให้ผู้คนได้มากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และ ตอบสนองกับความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลนากอก จึงได้จัดโครงการศูนย์ฝึก อาชีพชุมซน หลักสูตรพัฒนาอาชีพ วิซา ช่างตัดผม จำนวน 32 ชั่วโมง ขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาอาชีพให้กับประซาซนกลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจในตำบลให้สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพ พัฒนาอาชีพ เพื่อก่อให้เกิดรายได้กับตนเองและครอบครัว เป็นการสร้างอาชีพให้เกิดความมั่นคงต่อไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
เคษิต ทองสมบัติ
เขียนเมื่อ

โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาหลักสูตรพัฒนาอาชีพ (วิชาช่างปูนพื้นฐาน)ชื่อเจ้าของผลงาน นายเคษิต ทองสมบัติกศน.ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูในสภาพปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นอย่างมาก เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นอาชีพเสริม อาชีพช่างปูนพื้นฐาน เป็นอาชีพอิสระที่ผู้เรียนสามารถนำมาเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่มีต้นทุนในการประกอบอาชีพ เพราะเป็นอาชีพที่ใช้ฝีมือ และทักษะในการประกอบอาชีพ และในปัจจุบันที่พักอาศัยของประชาชนส่วนใหญ่ก่อสร้างจากวัสดุคอนกรีต มีการก่ออิฐ-ฉาบปูน เป็นหลักในการสร้างที่พักอาศัย และปัจจุบันครอบครัวของสังคมไทย เป็นครอบครัวขยาย จึงมีการปลูกที่พักอาศัยมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบอาชีพด้านช่างปูนพื้นฐาน ขาดแคลน อาชีพช่างปูนพื้นฐานจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นช่องทางในการประกอบอาชีพของผู้ที่ยังไม่มีงานทำหรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพที่เป็นงานอิสระและมั่นคงได้ ดังนั้นจากหลักการและแนวคิดเหล่านี้ ทำให้ กศน.ตำบลนากอก มีความต้องการที่จะศึกษาและฝึกทักษะในอาชีพช่างปูนพื้นฐาน เพื่อจะได้ทำเป็นอาชีพเสริมรายได้ จึงได้เปิดหลักสูตรอาชีพ ช่างปูนพื้นฐานขั้นตอนการดำเนินการอบรมช่างปูนพื้นฐาน 1. ช่องทางการประกอบอาชีพช่างปูนพื้นฐาน 2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับช่างปูนพื้นฐาน 3. การเตรียมวัสดุในช่างปูนพื้นฐาน 4. การออกแบบ 5. ขั้นตอนหลักสูตรช่างปูนพื้นฐาน 5.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปูน 5.2 การเตรียมพื้นที่ 5.3 การเตรียมปูน 5.4 การเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ 5.5 วิธีการผสมปูน 5.6 การเทพื้นถนน 5.7 วิธีการเก็บรายละเอียดของงาน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
เคษิต ทองสมบัติ
เขียนเมื่อ

การถักเปลจากเศษผ้า กศน.นากอกิิจากนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยประจำปีงบประมาณ 2561 ตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ 6 ยุทธศาสตร์ ข้อ 4.5 ซึ่งมุ่งเน้นการจัด การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประซาซนทุกช่วงวัย “กศน. เพื่อประซาซน”โดยการจัดการเรียนวิซาชีพระยะสั้น (โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมซน) ให้กับประซาซนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และการพัฒนาทักษะชีวิตในการเตรียมความพร้อมรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ธรรมซาติ และสิ่งแวดล้อม และการเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน ด้วยนวัตกรรม (Thailand 4.0)กศน.ตำบลนากอก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวสำภู มีพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร เซ่น การทำนา ทำไร่และปลูกผัก หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร มีการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นอีกตำบล ที่ประชาชนใช้เวลาว่างหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยการรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพเสริม ได้แก่ การถักเปลจากเศษผ้า ซึ่งเป็นกรรมวิธีการผลิตจากภูมิปัญญาซาวบ้านโคกสนั่น ตำบลนากอก เป็นการนำเอาเศษผ้าจากวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นเปลจากเศษผ้า มีเทคนิคการถักที่ต้องใช้ความอดทน และความละเอียด และผู้ถักเปลจากเศษผ้าสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมซนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และ ตอบสนองกับความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลนากอก จึงได้จัดโครงการศูนย์ฝึก อาชีพชุมซน หลักสูตรพัฒนาอาชีพ วิซา การถักเปลจากเศษผ้า จำนวน 30 ชั่วโมง ขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาอาชีพให้กับประซาซนกลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจในตำบลให้สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพ พัฒนาอาชีพ เพื่อก่อให้เกิดรายได้กับตนเองและครอบครัว เป็นการสร้างอาชีพให้เกิดความมั่นคงต่อไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท