อนุทินล่าสุด


จุรีรัตน์
เขียนเมื่อ

การสอนเคมีเรื่องพอลิเมอร์โดยใช้ภาษาอังกฤษ (EIS) ในระดับชั้นม.4 ร.ร.นาดูนประชาสรรพ์ จ.มหาสารคาม เพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนEis สอนเคมีโดยใช้ภาษาอังกฤษเรื่องพอลิเมอร์ ม.4



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
จุรีรัตน์
เขียนเมื่อ

การสอนเคมีโดยใช้ภาษาอังกฤษช่วยในการจัดการเรียนรู้ เพื่อเตรียมพร้อมนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียน รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่องปิโตรเลียม ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมและเพิ่มเติมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษeis jureerat การสอนเคมีเรื่องปิโตรเลียมโดยใช้ภาษาอังกฤษ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
จุรีรัตน์
เขียนเมื่อ

ว่าด้วยเรื่องน้ำปานะ
น้ำปานะ คือ เครื่องดื่มที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ จัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่พระภิกษุสงฆ์รับประเคนไว้แล้วฉันในช่วงหลังเที่ยงไปได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งเช้า
ผู้บัญญัติให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรกคือ เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกพระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตน้ำปานะ หรือน้ำดื่ม 8 ชนิดคือ
1. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะม่วง
2. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลหว้า
3. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด
4. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด
5. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะซาง
6. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลจันทน์ หรือผลองุ่น
7. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลเหง้าบัว
8. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะปราง หรือผลลิ้นจี่
และทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด ยกเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด
สรุปได้ว่า ในเวลาวิกาลพระท่านสามารถดื่มน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด เว้นผลไม้ที่มีผลใหญ่กว่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด วิธีทำก็ต้องคั้นเอาแต่น้ำ และกรองให้ไม่มีกาก จะทำให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ได้ แต่ห้ามผ่านการสุกด้วยไฟ
น้ำที่ห้ามพระสงฆ์ดื่มในยามวิกาล
น้ำจากมหาผล คือผลไม้ใหญ่ 9 ชนิด คือผลตาล ผลมะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไทย แตงโม และฟักทอง
น้ำที่ได้จากธัญชาติ 7 ชนิด มีข้าวสาลี ข้าวเปลือก หน้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย ข้าวแดง ข้าวฟ่าง
น้ำที่ได้จากพืชจำพวกถั่ว มีถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น
รวมถึงน้ำนมสด ก็ไม่จัดเป็นน้ำปานะ เพราะนมสดถือเป็นโภชนะ (คืออาหาร) อันประณีต ไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล
ส่วนโภชนะอันประณีตอีก 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แม้จะเป็นอาหาร แต่ก็เป็นเภสัช คือยาด้วยพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ฉันได้ทั้งในกาลและวิกาล คือฉันได้ไม่จำกัดเวลา

มาถึงตรงนี้แล้ว ก็เป็นอันเข้าใจได้เลยว่า ทั้งนม, น้ำเต้าหู้, นมถั่วเหลือง, โอวัลติน กาแฟ ไม่จัดว่าเป็นน้ำปานะ ฉะนั้นจะจัดน้ำปานะถวายพระก็ต้องระวังกันด้วยนะครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
จุรีรัตน์
เขียนเมื่อ

But for worldly people, if they get blamed or criticized they get really upset. If they get praised it cheers them up, they say it's good and get really happy over it. If we know the truth of our various moods, if we know the consequences of clinging to praise and blame, the danger of clinging to anything at all, we will become sensitive to our moods.

We will know that clinging to them really causes suffering. We see this suffering, and we see our very clinging as the cause of that suffering. We begin to see the consequences of grabbing and clinging to good and bad, because we've grasped them and seen the result before - no real happiness. So now we look for the way to let go.

- Ajahn Chah -

A Dhamma Talk "No Abiding"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
จุรีรัตน์
เขียนเมื่อ

การจัดการเรียนการสอนในประเทศญี่ปุ่น

จากประสบการณ์ตรง ที่่มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยได้รับทุนจากสสวท. โดยได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีในการสังเกตชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา การศึกษาของญี่ปุ่นแตกต่างจากเราตรงที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง โดยองค์กรที่มีความสำคัญในการวางแผนการศึกษามาจากท้องถิ่น (เทศบาล)ในแต่ละเมือง ตั้งแต่อบรมครู สอบคััดเลือกครูที่จะมาสอนในโรงเรียน ประเมินคุณภาพของเรา และสำคัญที่สุดคือครอบครัว โดยสถาบันครอบครัวของญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งมาก โดยในระดับอนุบาลและประถมศึกษาแม่จะต้องมานั่งเรียนกับลูกด้วย และทำอาหารใส่เบนโต๊ะให้ลูกๆ เพื่อรับประทานที่โรงเรียน โดยโรงเรียนในญีปุ่นไม่มีีโรงอาหาร และนักเรียนจะปั่นจักรยานหรือเดินไปโรงเรียน เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่าญี่ปุ่นเป็นคนคิดและสร้างจักรยานยนต์แต่เหตุใดในญีุ่ิปุ่นไม่มีจักรยานยนต์วิ่งเลย การจราจรไม่ติดขัดมีรถวิ่งน้อยมาก การเดินทางญี่ปุ่นจะใช้ขนส่งมวลชน เช่นรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าชินคันเซน เป็นต้น สำหรับการจัดการศึกษาเน้นตั้งแต่เด็กพ่อแม่จะต้องหาวันเวลาให้ลูกเข้าชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ซึ่่่งจะมีอยู่ทุกเมือง ในกรุงโตเกียวก็มีหลายได้เช่น NPO Real Science Museum, Toshiba Museum, The national Museum of Emerging Science and Innovation



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
จุรีรัตน์
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนแบบ PCK (Pedagogical Content Knowledge) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เน้นกระบวนการคิด นักเรียนสามารถค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมที่ครูคิดค้นในแต่ละเรื่อง แต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยแทรกกลวิธีการสอนเข้าไปในกิจกรรม ได้แก่ KWL, gallery walk , think pair share, stop and go, foldable, exit ticket, brain storming, snow ball, response board เป็นต้น และแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละ 4 คน เพราะในกลุ่มจะไม่มีนักเรียนทีว่างงานในการทำกิจกรรม และจัดห้องเรียนให้เหมาะกับการเรียนรู้โดยไม่ให้นักเรียนนั่งหันหลังให้ครู โดยครูทำหน้าที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมือนผู้กำกับการแสดง ไม่ใช่เป็นผู้บอกความรู้

ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบ PCK โดยตามนักเรียนขึ้นชั้นมา 3 ปี (ม.1-3 )พบว่าครูรู้จักนักเรียนเป็นอย่างดี ผู้เรียนมีพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ผู้เรียนไ่ม่เครียด สามารถทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์

https://www.youtube.com/results?search_query=44%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท