คำตอบ


data warehouse

เล็ก

คำตอบ

หลักการที่ควรจะเป็นคือ สำนักงานใหญ่ควรจะลงทุนทำ Data Warehouse เพื่อเข้าถึง, รวบรวม, วิเคราะห์ข้อมูลของทุกสาขาเหมือนเป็นฐานข้อมูลเดียว จะเกิดความสะดวก โดยไม่แคร์ว่าสาขาย่อยจะต้องเก็บเป็น Format เดียวกันด้วยนะครับ

แต่วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวแปรมาก และมีปริมาณมาก หากใช้ิวิธีทางสถิติทั่วไป จะใช้เวลานาน และเวลามีข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ไม่ใช่ตัวเลข ก็จะเสียเวลาในการแปลง หรือคำนวณไม่ได้ ดังนั้น การศึกษาเทคนิค Data Mining จึงควรทำคู่กับ Data Warehouse ครับ 

จริงๆ รายละเอียดเรื่องนี้มันยาวครับ  ผมสอนได้ทั้งปีเลย คงไม่สามารถอธิบายได้หมดในหน้านี้แน่ๆ และหากคุณเข้าใจเรื่องสำคัญพวกนี้แค่งูๆปลาๆ ก็ไม่สามารถทำได้อยู่ดีส่งอีเมลหาผมดีกว่าครับ แล้วผมจะส่งเอกสารเกี่ยวกับหลักการของมันให้อ่าน ส่วนวิธีปฎิบัตินั้น ทำได้หลายวิธี แล้วแต่จุดประสงค์ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ ก็ว่ากันทีหลังครับ

ขอคำชี้แนะเกี่ยวกับหัวข้อ BI ที่น่าสนใจในปัจจุบันนี้หน่อยค่ะ

วรรณา

คำตอบ
Business Intelligence คือซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่สามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล สร้างรายงานสรุป และให้ผู้ใช้สามารถสร้างรายงาน หรือสร้างมุมมองด้านต่างๆ ได้เอง

ซึ่งจริงๆ แล้ว บางคนอาจมองว่ามันก็คือระบบ MIS, ESS ก็ได้ครับ  และบางคนอาจไม่นับว่ามันเป็น DSS ด้วย เพราะว่า Business Intelligence บางค่าย บางรุ่น ไม่สามารถวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) หรือทำนายอนาคต (Scenario Forecasting) หรือหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆได้เลย  ดังนั้น ขอให้พิจารณา function ของซอฟต์แวร์ที่เราใช้งานอยู่ให้ดีๆ ครับ อย่าไปหลงเชื่อคำโฆษณาของตัวแทนขายมากนัก

ดังนั้น หัวข้อที่สามารถนำไปทำ IS, Thesis ได้ ก็ยังคงเป็นกลุ่ม MIS, ESS เหมือนเดิมครับ เพียงแต่จะนำเสนอมุมมองไหน ใช้ในการบริหารด้านไหน สำหรับเป้าหมายไหน ขององค์กรไหน เป็นต้น

แต่ถ้าหากต้องการจะให้มันเป็น "ธุรกิจอัจฉริยะ" จริงๆ ควรจะศึกษาเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล หรือหาความสัมพันธ์ของข้อมูลระดับสูง อย่าง Data Mining (การทำเหมืองข้อมูล) ซึ่งประกอบด้วยหลายเทคนิค และหลายจุดประสงค์มากกว่าครับ

หากว่างๆ ลองหาเวลาไปฟังผมบรรยายเรื่อง Data Mining for Strategic Business Planning จะได้เข้าใจถึงการประยุกต์ใช้งาน การวางแผนกลยุทธระดับสูงด้านต่างๆ เช่น การตลาด การเงิน การผลิต การบริหารงานบุคคล การบริหารห่วงโซ่อุปทาน หรือ การขนส่ง เป็นต้นครับ

การใช้กลยุทธ แบบ TQM

พรพณา

คำตอบ
จริงๆแล้วหลักการของ TQM สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจหรือองค์กรทุกประเภทล่ะครับ เพราะหลักการของมันก็คือ การวิเคราะห์ปัญหาให้ได้ การควบคุม ตรวจสอบและติดตามผลลัพธ์ หรือผลงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพขององค์กร หากยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การทำ 5ส  ก็คือหนึ่งในวิธีของ TQM นั่นเองครับ และจริงๆ คุณสามารถผสมเครื่องมือการควบคุมคุณภาพหลายๆวิธีเข้าด้วยกันยังได้เลยครับ
ส่วนตัวอย่างองค์กรที่นำไปใช้แล้วประสบผลสำเร็จ ก็มีมากครับ ไม่ว่าในไทยและต่างประเทศ เช่น บ.ไทยฮีทเอ็กซ์เช้นจ์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้สรุปไว้ในวิทยานิพนธ์หลักสูตร M.B.A. ปี 2549 ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต โดยคุณทวัชชัย จินดาศักดิ์ และอาจารย์ที่ปรึกษา จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา ดังข้อมูลสรุปดังนี้
การศึกษาเรื่อง ปัญหา และอุปสรรคการบริหารการส่งออกเครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วน กรณีศึกษา บริษัท ไทยฮีทเอ็กซ์เช้นจ์ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคการบริหารการส่งออก และเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขด้านการจัดการการผลิต การตลาด และการจัดจำหน่ายของบริษัท ไทยฮีทเอ็กซ์เช้นจ์ จำกัด (มหาชน) โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงพรรณาด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ และเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากตำราทางวิชาการต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่สำคัญจากภายนอก 7 ประเด็น และภายใน 2 ประเด็น
จากภายนอก คือ
1. ทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วน คอนเดนเซอร์ (Condenser) และ คอล์ย (Coil) ลดลง
2. ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เป็นผลให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น และยากต่อการตั้งราคาสินค้า
3. ด้านการแข่งขัน พบว่ามีการตัดราคาสินค้ากันสูง
4. ด้าน ผู้ขายปัจจัยการผลิตนั้น ให้เครดิตการชำระเงินสั้นลง
5. ด้านการจัดส่งนั้นมีราคาสูงขึ้น
6. กฎระเบียบข้อบังคับ พบว่ารัฐมีการคืนภาษีล่าช้า
7. ด้านสังคม และวัฒนธรรม พบอุปสรรคในเรื่องเวลาทำการ พิธีการ ตลอดจนสภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศ
ส่วนประเด็นปัญหาภายในที่สำคัญ คือ
1. ต้นทุนการผลิตสูง แรงงานขาดทักษะทำให้การผลิตมีของเสียจำนวนมาก และจำนวนการสั่งซื้อที่น้อยทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานมาก
2. ทางด้านเทคโนโลยีสภาพเครื่องจักรที่ใช้มีลักษณะกึ่งอัตโนมัติและเก่าประกอบกับการผลิตตามความต้องการของลูกค้า (Make to Order) ส่งผลให้เป็นปัญหาด้านคุณภาพและปริมาณ
ซึ่งประเด็นปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขโดยใช้ระบบบริหารคุณภาพ TQM (Total Quality Management) พันธมิตรทางการผลิต และการเข้าร่วมโครงการเครือข่ายการกระจายสินค้าในต่างประเทศ

การใช้กลยุทธ แบบ TQM

พรพณา

คำตอบ
ผมแบ่งปัญหาหรืออุปสรรคออกเป็น 2 ส่วนก็แล้วกันนะครับ
ปัญหาทางเทคนิคของ TQM
  • TQM เป็นสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ที่เป็นกลางๆ นำไปปรับใช้ได้ในทุกๆวาระ มีความกว้างและลึกกว่า และทำเพื่อพัฒนาคุณภาพขององค์กรเราเอง
  • TQM ต้องเริ่มจากความมุ่งมั่นที่ใจก่อน โดยให้รูปแบบเกิดขึ้นตามบริบทขององค์กรนั้นๆ
  • TQM กำหนดฐานรากที่ไม่บอกโครงสร้างรูปร่างเอาไว้ หลายคนก็รู้สึกเหมือนอยู่ในโลกของจินตนาการ
ปัญหาด้านบุคคล เมื่อการเริ่มนำ TQM ไปใช้
  • ความรู้สึกยอมรับ
  • ความรู้สึกอยากได้
  • ความรู้สึกชื่นชม
  • ให้เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
  • ซึ่งอันนี้เป็นปัญหาโดยทั่วไปด้านงานยุทธศาสตร์ เมื่อคุณจะนำระบบใดๆไปใช้ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Balanced Scorecard, Strategy Map, Knowledge Management System ฯลฯ เป็นเรื่องธรรมดาในหลักบริหารที่คนเรากลัวการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่ามันดีในการบริหาร แต่ก็ต้องทำหลายๆอย่างเพื่อให้พนักงานในองค์กรมีความรู้รู้สึกเห็นด้วย และยินดีที่จะใช้ระบบนั้นๆ
    เพราะยังไงพนักงานก็เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ตามที่ได้คาดหวังไว้ครับ

เกี่ยวกับ BI

นิภาพร

คำตอบ

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา เช่นเดียวกัน ระบบธุรกิจก็มีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง และมากขึ้นด้วย จึงเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เลยว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดได้นั้นจะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยและทันท่วงที เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและสามารถนำไปวางแผน หรือ โต้ตอบปัญหา เชิงธุรกิจได้ทันต่อเหตุการณ์ ให้กับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรการที่จะได้มาซึ่งข้อมูล สารสนเทศเหล่านั้น หนึ่งจำเป็นต้องมีการแสวงหาหนทาง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้มาก เพราะว่าข้อมูลเหล่านั้นมิใช่ข้อมูล ภายในองค์กรเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลขององค์กร ที่เป็นคู่แข่งหรือเป็นข้อมูลของ องค์กรอื่นๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับเราก็เป็นไปได้ สองการเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณค่าจากกองข้อมูลที่มีขนาดมหึมา เพื่อให้แน่ใจว่าระบบข้อมูลสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมานั้นเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีระบบที่สามารถช่วยเตรียมข้อมูลที่ลึกซึ้ง และมีคุณค่าทางกิจกรรมทางธุรกิจให้แก่องค์กรได้

ปัจจุบันการวางแผนทางกลยุทธ์ของบริษัทนั้นจำเป็นต้องใช้ข้อมูลมากมาย ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ทางด้านการตลาด การขาย การเงิน การผลิตนั้นจะต้องทันกับเหตุการณ์ซึ่งมีข้อมูลเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นการจัดทำรายงาน จะต้องมีการแก้ไขบ่อย และมีความยุ่งยาก

Business Intelligence จึงมีซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์  และตรงตามความต้องการ
ของผู้ใช้งาน  และใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล  ของงานในมุมมองต่างๆ   ตามแต่ละแผนก  เช่น

- วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร

- วิเคราะห์และวางแผนการขาย / การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ

- วิเคราะห์สินค้าที่ทำกำไร สูงสุด / ขาดทุนต่ำสุด เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาด และการผลิต

- วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้า ฯลฯ

- วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ฯลฯ

Business Intelligence จะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และโปรแกรมแอพพลิเคชั่น ด้านการวิเคราะห์ มากมายหลายระบบ เช่น

  • ดาต้าแวร์เฮ้าส์ (Data Warehouse)
  • ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
  • การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
  • การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Operations Research & Numerical Methods)
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ (OLAP) แบบประมวลผลทันทีที่ป้อนข้อมูลเข้าไป
  • และ ระบบสืบค้นและออกรายงานต่างๆ
Business Intelligence ยังมีจุดเด่นเพิ่มขึ้นอีกในด้าน
- ใช้งานง่ายเพียงแค่คลิกเมาส์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมีการคีย์ข้อมูลใหม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถถาม ตอบคำถามทางธุรกิจได้หลายมุมมองเพียงในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งช่วยการตัดสินใจแม่นยำ และรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึก
- สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิเคราะห์ เช่น Excel, FoxPro, Dbase, Access, ORACLE, SQL Server, Informix, Progress, DB2 เป็นต้น โดยไม่มีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ
สรุป
การบูรณาการข้อมูล (integration of data) ระหว่างข้อมูลประวัติกับข้อมูลใหม่ ณ ปัจจุบัน นับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของระบบ Business Intelligence (BI) ขั้นสูง เนื่องจากมีธุรกิจจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ นำผลลัพธ์จากระบบดังกล่าวไปใช้ประกอบการตัดสินใจกำหนดทิศทางธุรกิจและการตลาด ทั้งนี้ ธุรกิจที่เริ่มใช้แนวคิดนี้แล้วในปัจจุบันจะเป็นองค์กรที่ได้ประโยชน์สูงสุดก่อนใคร ก่อนที่มันจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในอนาคตอันใกล้นี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท