ดอกไม้


Chowcowearng
เขียนเมื่อ

My name is Jenjira Chowcowearng.Nickname Jen.Iam saventeen yaers old.I am studying in Banharnjamsaiwittaya School 1.

2
0
Chowcowearng
เขียนเมื่อ

การวิจักษ์วรรณคดี

   คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด  มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร  มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ  ในระดับต้นๆ เป็นการบอกกล่าวความคิดเห็นส่วนตัวว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านอย่างไร  บางครั้งอาจจะติชมว่าดีหรือไม่ดีด้วยแต่ผู้อ่านที่ดีจะต้องไม่หยุดอยู่เพียงนั้น  ควรจะถามตนเองต่อไปว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ และที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด

แนวทางการพิจารณารูปแบบวรรณคดี วรรณคดีร้อยกรอง

    1. รูปแบบคำประพันธ์ หมายถึง ลักษณะร่วมของงานประพันธ์อันเป็นวิถีทางที่ผู้ประพันธ์เลือกใช้ในการนำเสนอเนื้อหาไปสู่ผู้อ่านรูปแบบคำประพันธ์ได้ เช่น กาพย์ กลอน โคลง ร่าย ฉันท์ เป็นต้น ลักษณะคำประพันธ์แต่ละชนิด กวีจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาได้ดังนี้
    1.1 กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่กวีมักใช้แต่งเป็นทำนองเล่าเรื่อง
    1.2 กลอน เป็นคำประพันธ์ที่กวีมักใช้แต่งเพื่อแสดงอารมณ์ แสดงความคิดเห็นเล่าเรื่อง หรือสะท้อนภาพสังคม

กวีมักใช้กลอนแต่งเพื่อพรรณนาคร่ำครวญถึงบุคคลอันเป็นที่รักขณะเดินทางไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ลักษณะเช่นนี้เรียกกลอนนิราศ กลอนที่นำนิทานมาแต่งเรียกกลอนนิทานหรือนิทานคำกลอน กลอนที่นำนิทานหรือการเล่าเรื่องมาพัฒนาเพื่อใช้การแสดงละครเรียกกลอนบทละคร นอกจากนี้ยังมีกลอนสักวา กลอนดอกสร้อย และกลอนเสภา ซึ่งนำไปใช้แต่งเป็นบทร้องโต้ตอบกัน เป็นต้น

    1.3 ร่าย เป็นลักษณะคำประพันธ์ที่ใช้แต่งเป็นเนื้อเรื่องตลอด 
    1.4 โคลง กวีนิยมแต่งโคลงเรื่อง โดยใช้โคลงแต่งทั้งเรื่อง
    1.5 ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากบาลี กวีมักเลือกใช้ฉันท์ให้เหมาะสมกับลักษณะเนื้อเรื่อง

รูปแบบของวรรณคดีกำหนดได้ทางหนึ่งจากบทประเภทของคำประพันธ์ซึ่งแบ่งเป็นร้อยกรองและร้อยแก้ว

      1.  ร้อยกรอง คือคำประพันธ์ที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์โดยเน้นจังหวะซึ่งเกิดจากการกำหนดจำนวนพยางค์ เป็นวรรค เป็นบาท หรือเป็นบท  การสลับน้ำหนักของเสียงหนักเบา เรียกว่า  ครู  ลหุ   การกำหนดระดับเสียงโดยบังคับวรรณยุกต ์ การผูกคำคล้องจองเรียกว่า  สัมผัส ต้น  เป็นคำประพันธ์ที่ใช้แต่งร้อยกรอง  ได้แก่ โคลง  ฉันท์ กาพย์  กลอน และร่าย 
      วรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ อาจใช้คำประพันธ์ชนิดเดียวเป็นหลัก เช่นเรื่องอิเหนา  เรื่องขุนช้างขุนแผน  แต่งเป็นกลอน  เรืองมหาเวสสันดรชาดกแต่งเป็นร่าย  บางเรื่องใช้คำประพันธ์ตางชนิดระคนกัน เช่นเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย แต่งเป็นโคลง และร่าย เรียกว่าลิลิต 
   กาพย์เห่เรือ  แต่งเป็นโคลงและกาพย์ 
   เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์แต่งเป็นฉันท์และกาพย์  เรียก  คำฉันท์ 
   เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ใช้จิตรปาทาฉันท์บรรยายภาพ
     2.  ร้อยแก้ว  คือคำประพันธ์ที่ไม่กำหนดบังคับฉันทลักษณ์  แต่จะใช้บ้างก็ได้เพื่อเพิ่มความไพเราะ  นอกจากนั้นยังมีการสรรคำใช้เพื่อให้เกิดความสละสลวยไพเราะ เหมาะเจาะด้วยเสียง และความหมาย เช่นเดียวกับร้อยกรอง  ร้อยแก้วมักใช้กับเรื่องที่ต้องการเล่าเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง เช่นนิทานเวตาล  หัวใจชายหนุ่ม  สามก๊ก  หรือเรื่องที่ต้องการ  ให้ความรู้หรือเสนอความคิดเห็น  เช่น
  เรื่องไตรภูมิพระร่วง  โคลนติดล้อ  เป็นต้นการอ่านวรรณคดีร้อยแก้วจึงควรพิจารณาถ้อยคำ ภาษาและการดำเนินเรื่องเป็นสำคัญ

เราอาจจำแนกวรรณคดีตามเนื้อหาได้เป็นประเภทบันเทิงคดีและสารคดี

       1.  บันเทิงคดี คือเรื่องแต่งโดยมุ่งหมายจะให้กระทบอารมณ์ผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความสำเริงอารมณ์ คือเพลิดเพลินและความรู้สึกร่วมไปกับผู้แต่งมิได้มุ่งให้ความรู้หรือเสนอความคิดเห็นโดยตรง  แต่ก็แฝงไว้ด้วยสาระด้วย    บันเทิงคดีมีรูปแบบต่างๆกัน รูปแบบของวรรณคดีบันเทิงคดีของไทยที่รู้จักกันมากคือ  บทมหรสพ  เรื่องเล่า  บทพรรณนา            
          บันเทิงคดีที่เป็นบทมหรสพ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นใช้เป็นบทแสดงมหรสพประเภทต่างๆ เช่น บทพากย์โขน  บทพากย์หนังใหญ่   บทละคร            
          บันเทิงคดีประเภทเรื่องเล่า คือเรื่องแต่งประเภทนิยายนิทาน มีการบรรยายเรื่องราว  เหตุการณ์ และพฤติการณ์  มีตัวละคร ฉากเวลาสถานที่  เช่น  นิทานอีสป  พระอภัยมณี  ขุนช้างขุนแผน  ลิลิตพระลอ            
           บันเทิงคดีประเภทบทพรรณนา เป็นวรรณคดีประเภทรำพันหรือพรรณนาอารมณ์หรือความประทับใจที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นนิราศ  บทเพลงหรือบทพรรณนาที่มีการบรรยายสลับกัน  เช่น  ลิลิตตะเลงพ่าย  บทกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า            
      2.  สารคดี  คืองานประพันธ์ที่ให้ความรู้หรือความคิดเห็นที่เป็นสารประโยชน์  ผู้แต่งเจตนาให้ผู้อ่านใช้สติปัญญามากกว่าจะให้ใช้อารมณ์  แต่ถึงกระนั้นผู้แต่งที่มีฝีมือในการประพันธ์อาจใช้สำนวนภาษา  และกลวิธีในการนำเสนอความรู้ความคิดได้อย่างดียิ่่ง จึงสร้างความสำเริงอารมณ์ให้ผู้อ่านได้ด้วย เช่นเรื่องไตรภูมิพระร่วงสารคดีอาจแต่งด้วยบทร้อยกรองก็ได้  เช่น คัมภีร์ฉันทศาสตร์ในตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์  เป็นต้น

การวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมร้อยกรอง

    นักเรียนต้องพิจารณาดูวิธีการเลือกใช้ความประณีตงดงามของถ้อยคำที่กวีนำมาใช้ พิจารณาเรื่องเสียง จังหวะคำ สัมผัส เนื้อความ ว่ากวีใช้ได้เหมาะสม สื่อความและสื่ออารมณ์ได้ดีเพียงไร มีความไพเราะอย่างไร สามารถสร้างจินตภาพก่อให้เกิดความเพลิดเพลินให้ผู้อ่านมากน้อยเพียงไร ข้อความหรือ

ถ้อยคำตอนใดที่อ่านแล้วซาบซึ้งประทับใจอยากจดจำบ้าง ข้อความตอนใดให้คติธรรม พฤติกรรมตัวละครใดที่ควรยกย่องและถือเป็นตัวอย่างนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ หรือพฤติกรรมตัวละครใดที่ไม่ควรนำมาเป็นตัวอย่างที่จะนำไปใช้ในชีวิตจริงบ้างการพิจารณ์องค์ประกอบต่างๆ ของวรรณคดีและวรรณกรรม พยายาม

ตอบคำถามใช้เหตุผลหาตัวอย่างสนับสนุนคำตอบ จะช่วยให้ผู้อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมสามารถเข้าใจเรื่องราว ได้แง่คิดคติธรรม เกิดความเพลิดเพลิน เห็นคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมอย่างแท้จริง

1
2
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท