เรียนคุณ ไปอ่านหนังสือ
พอดีดิฉันเองไม่ค่อยคุ้นเคยกับเรื่อง hedging strategy เท่าใดนักค่ะ จะขอตอบคำถามตามความรู้ในด้านนี้ที่มีและยกตัวอย่างอื่นๆ แทนนะคะ
ลองมาดูตัวอย่างเรื่อง budget แต่เป็นโครงการออกแบบและก่อสร้างบ้านนะคะ
การบริหารโครงการ เป็นการใช้เทคนิคความรู้ทางด้านต่างๆ เพื่อควบคุมโครงการให้เป็นไปตามงบประมาณ (budget) เวลา และ คุณภาพที่กำหนดขึ้นค่ะ แต่ผลที่ได้รับอาจไม่ตรงตามที่คาดไว้ทุกอย่าง เพราะจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งในเรื่องความรู้ ความสามารถของผู้จัดการ ปัจจัยของลูกค้า และปัจจัยภายนอกเช่นปัจจัยสภาพเศรษฐกิจ
หวังว่าคงได้ตอบคำถามที่อยากทราบนะคะ ...
เห็นด้วยกับทุกข้อเลยค่ะ เพราะเจอกับตัวเองเหมือนกัน โดยเฉพาะข้อที่ 1 ค่ะ แต่ก็ต้องพยายามต่อไปค่ะ เพราะเห็นว่าประเทศไทยยังขาดการสร้างความรู้ (แล้วเผยแพร่) เป็นอย่างมาก ทั้งๆ ที่คนไทยเก่งไม่ต่างจากคนต่างชาติ ก็ต้องสู้กันต่อไปค่ะ
(ต่อค่ะ กดผิดอีกแล้ว ข้อเสียของการพิมพ์สัมผัสที่ไม่ชำนาญจริง)
.....ใช้ได้เฉพาะกับคนที่รู้จักคนมากๆ หรือ เป็นที่รู้จักมากๆ หรือเปล่าคะ อันนี้น่าจะเพิ่ม probability ได้พอสมควรค่ะ
โดยหน้าที่แล้ว การทำตัวชี้วัดของโครงการนั้นจะเป็นการตกลงกันระหว่างลูกค้า/เจ้าของโครงการ กับผู้รับผิดชอบโครงการ (ในที่นี้จะเรียกว่าผู้จัดการโครงการค่ะ ซึ่งจะทำการตกลงกันในเบื้องต้นในเอกสารที่ใช้อนุมัติโครงการ (Project Charter) ซึ่งจะมีรายละเอียดอื่นๆ ของโครงการนอกจากตัวชี้วัดและ deliverbles (สิ่งที่ต้องส่งมอบค่ะ)
ดังนั้นหากมีการตกลงกันในเบื้องต้นตาม project charter แล้ว ผู้จัดการโครงการต้องทำการรายงานผลความก้าวหน้าและความสำเร็จของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ใน charter ค่ะ
จริงๆ แล้ว milestone ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดโดยตรงค่ะ ที่บอกว่าเหมือนหลักกิโลตามข้างทางหลวง ก็เพราะ milestone จะบอกว่าเรามาได้กี่กิโลแล้ว หรือเหลือระยะทางอีกกี่กิโลที่จะต้องเดินทาง แต่ตัวชี้วัดอาจจะเป็นว่า เราใช้เงินใช้เวลาไปเท่าใดในการเดินทางมาถึง milestone หรือหลักกิโลนั้นๆ ค่ะ
เห็นด้วยค่ะพระคุณเจ้า ที่ให้ฝ่ายที่ถกเถียงกัน ถกกันต่อไป
ดิฉันมีความเข้าใจว่าอัตตานั้นคือจิตที่เสวยอารมณ์ค่ะ คงมีถูกผิดบ้างค่ะ เพราะยังเรียนรู้และทำความเข้าใจธรรม และ ธรรมชาติอยู่ทุกวัน ดิฉันนิยมปฏิบัติและเรียนรู้ว่าจริงหรือไม่จากผลการปฏิบัติ เท่าที่ผ่านมาพบว่าการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ดีจริงๆ ค่ะ
ขออนุโมนทาขอบพระคุณที่พระคุณเจ้าได้ให้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ
จะรอติดตามนะคะ interface แบบนี้น่าจะมี application ทางด้าน engineering และในเชิงธุรกิจได้มากๆ ทีเดียว หวังอย่างเดียวว่าผู้ใช้จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ค่ะ เดี๋ยวนี้เห็น technology ที่พัฒนาขึ้นมามากมายแต่ถูกนำมาใช้ผิดๆ น่าเสียดายค่ะ
จะรอติดตามนะคะ
Cool interface ค่ะ
คงจะได้เห็น application มากมายในอนาคตนะคะ ขอบคุณที่ share ค่ะ
กดพลาดส่งบันทึกอันที่แล้วก่อนเขียนเสร็จค่ะ
Belated happy birthday นะคะ
I think you have achieved more than a whole lot of people can. I am sure all the bloggers here recognized and greatful of your hard work ค่ะ. I know I do.
Cheers ค่ะ
Great works are performed,
not by strength,
but by perseverance.
Samuel Johnson
เรียน คุณ กัมปนาท อาชา (แจ๊ค)
ถูกต้องแล้วค่ะ โครงการจัดตั้งฯ นี้ จะมีวัตถุประสงค์เฉพาะหลักคือ ยกสถานะสาขาวิชาฯ ให้เป็น คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ฯ โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ และมีวันสิ้นสุดของโครงการดังกล่าวแน่นอน เช่นกำหนดให้การดำเนินการจัดตั้งนี้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษา x/๒๕๕x
วัตถุประสงค์หนึ่งของโครงการฯ นี้ก็อาจรวมถึงการเตรียมความพร้อมของคณะฯ นี้ด้วยก็ได้ค่ะ
ขอบคุณที่ติดตาม comment อยู่เสมอนะคะ ยินดีมากค่ะ
ดิฉันเห็นว่าเป็นการดีค่ะ เพราะทุกวันนี้การสนทนาธรรมกับพระ เป็นเรื่องที่กระทำได้ยากสำหรับคนทำงานทั่วไปที่สนใจ แต่ไม่มีเวลา แถมบางครั้งมีข่าวเกี่ยวกับพระที่ไม่ดี ที่ทำให้คนทั่วไปที่สนใจในธรรม ไม่สนใจเข้าวัดไปสนทนาธรรมอีกค่ะ
ดังนั้นการที่มีพระที่เปิดเผยตัว มาเทศนาธรรม และอธิบายธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถ์ ให้อ่านกันโดยสะดวกนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีๆ มากค่ะ ดิฉันก็ติดตามอ่านบันทึกของท่านอยู่เหมือนกันค่ะ ทั้งๆ ที่เพิ่งเป็นสมาชิก G2K ได้ไม่ถึง 2 อาทิตย์เลยค่ะ
กราบนมัสการค่ะ
ได้เขียนบันทึกลงใน blog บริหารโครงการ เรื่องเหตุใดจึงต้องมีการบริหารโครงการเรียบร้อยแล้วค่ะ
ดิฉันได้เรียนรู้การปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ตอนที่ทำหน้าที่เป็นรองคณบดีฝ่ายบริหาร อยู่ที่คณะวิศวฯ ค่ะ งานเยอะ ประชุมก็มาก คนก็มาก งานสอน งานวิชาการก็ต้องทำเหมือนเดิม เจอความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุดของคนแล้วก็กลุ้มมากๆ เคยเครียดมากพอควรค่ะ ประมาณว่าไม่รู้จะทำงานไปเพื่ออะไร
แต่โชคดีค่ะ มีคณบดีคณะวิศวฯ ในขณะนั้น (รศ.ดร.ศิริศักดิ์ หาญชูวงศ์) เป็นคนที่ปฏิบัติธรรม ศึกษาค้นคว้า และปฎิบัติด้วยตนเอง อาจารย์ศิริศักดิ์คงเห็นหน้าดิฉันแล้วสงสารว่าทำงานหนัก และทำตัวเป็น "ผู้เป็น" มากไป แบกเรื่องงานไว้กับตัวมาก มีทุกข์และเป็นทุกข์ แทนที่มีทุกข์แล้วดูทุกข์ เลยมาสอนให้เป็น"ผู้ดู"ค่ะ อาจารย์เขาสำเนาหนังสือชื่อ "ผู้ดู ผู้เป็น" ของหลวงพ่อคำเขียน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เทียนไว้ให้อ่านด้วย นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาและปฏิบัติธรรมค่ะ
ขอบคุณค่ะคุณกัมปนาทที่จะติดตาม
เมื่อเช้าเพิ่งเขียนบันทึกนี้ก่อนไปสอบ Thesis มาทั้งวัน ก็เลยยังไม่ได้เรียบเรียงเรื่องที่จะเขียนใน blog การบริหารโครงการให้เรียบร้อย สงสัยต้องขอเป็น weekend หรือวันจันทร์ค่ะ
เรียนคุณกัมปนาท
ขอแลกเปลี่ยนนิดหนึ่งนะคะ
เรียน ศ.วิจารณ์
ขออนุญาตแลกเปลี่ยนค่ะ
ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจพ. มีบางภาควิชา เช่น วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ เป็นต้น ที่จัดอาจารย์ออกแนะแนวและประชาสัมพันธ์กับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมในละแวกไกล้เคียงค่ะ ได้ผลระดับหนึ่งค่ะ และทุกภาควิชาจะมีโควต้าให้กับนักเรียนในโรงเรียนไกล้เคียง ภาคละประมาณ 2-5 คนค่ะ โดยคณะฯ จะส่งเอกสารให้กับโรงเรียนต่างๆ ว่ามีโควต้าให้ คุณครูแนะแนวก็จะประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียนต่างๆ โดยนักเรียนที่สนใจก็จะสมัครกับคุณครู และคุณครูจะเสนอชื่อนักเรียนมาที่คณะฯ เพื่อสอบสัมภาษณ์ต่อไปค่ะ มีผู้สมัครพอสมควรค่ะ
เท่าที่ดิฉันเคยสัมภาษณ์นักศึกษาเหล่านี้ เห็นว่าได้นักเรียนที่มีคุณภาพดีค่ะ มีความตั้งใจค่ะ คิดว่าระบบแบบนี้ก็ได้ผลพอควรค่ะ
เรียนอาจารย์ประพนธ์
ดิฉันอ่านเรื่องที่อาจารย์เล่าแล้ว ขออนุญาตแลกเปลี่ยนและชื่นชมอาจารย์ดังนี้ค่ะ
๑.อาจารย์ได้ให้ "ทาน" โดยการเจตนาถอยรถกลับเพื่อให้ผู้อื่นได้ไปก่อน เจตนาดีเช่นนี้ถือเป็นกุศลกรรมค่ะ
๒.เมื่อรถอาจารย์โดนประตูชนแล้ว อาจารย์ดูอารมณ์ทัน ไม่เพ่งโทษไปยังผู้อื่น แสดงว่าในตอนนั้นอาจารย์ไม่ได้ขาดสติแล้วค่ะ
เรื่องสติเป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ ตอนนี้ดิฉันก็หัดเจริญสติเป็นประจำเสมอค่ะ รู้สึกว่าช่วยได้มากในชีวิตประจำวัน บางทีเคยเห็นอารมณ์โกรธของตัวเองขึ้นเป็นริ้วๆ อย่างที่เขาว่ากันเลยค่ะ แต่พอสังเกตุทัน ก็คิดว่าเราสามารถเลือกได้ค่ะ ว่าอยากจะเป็น "ผู้ดู" หรือ "ผู้เป็น" (อันนี้จะเล่าใน blog วันหลังค่ะว่าได้รับความรู้มาจากไหน)
ถ้าเป็นผู้ดู ก็จะเป็นแบบอาจารย์ค่ะ คือไม่หลงไปตามอารมณ์โกรธ แล้วเกิดโทสะมากมายตามมา แต่คิดพิจารณาได้ว่าเกิดอะไรขึ้น และสิ้นสุดอารมณ์โกรธตรงนั้น แถมยังแผ่เมตตาให้กับเขาอีกต่างหาก แต่ถ้าเป็นผู้เป็น ก็จะรู้สึกเดือดร้อนเป็นอย่างมาก กล่าวโทษสิ่งรอบๆ ตัวไปเรื่อยๆ กลาย "เป็น" ผู้โกรธ ทั้งวันนั่นเองค่ะ เราหลายคนคงเคยอ่านข่าว คนยิงกันตายกลางถนน ด้วยเรื่องเล็กน้อยเช่นนี้แหละค่ะ เพราะเขากลาย เป็น อารมณ์ของเขาในขณะนั้นนั่นเองค่ะ
กมลวัลย์
เรียนอาจารย์ประพนธ์
ตอนแรกไม่แน่ใจว่าอาจารย์จะจำดิฉันได้หรือเปล่า แต่จำอาจารย์ได้เสมอค่ะ ได้ยินข่าวอาจารย์อยู่บ่อยๆ ค่ะ ตามวงวิชาการต่างๆ
เมื่อ 2-3 วันก่อนเข้ามาค้นข้อมูลใน web เรื่องสภามหาวิทยาลัย แล้วมาเจอ gotoknow.org พอดี เลยลองสมัครใช้ดู ได้ประโยชน์ทีเดียวค่ะ เลยได้พบอาจารย์ (แบบเสมือน) ดีใจค่ะ
ตอนนี้ยังเป็นมือใหม่อยู่ กำลังเรียนการใช้ features ต่างๆ ของ blog ค่ะ แล้วจะพยายามสรรหาเรื่องมา share กันต่อไปคะ
เห็นด้วยค่ะอาจารย์ เมื่อวานเพิ่งอ่านเรื่องเกี่ยวกับการอุทิศส่วนกุศลด้วยการเมตตาต่อผู้ที่เราไม่พอใจ หรือต่อผู้ที่เรามีข้อติดข้องหมองใจอยู่
การที่เราระลึกเมตตาได้ทัน ตอนที่เกิดโทสะตามตัวอย่างที่อาจารย์ว่า แปลว่าเรามี "สติ" และเมื่อมีสติก็จะสังเกตเห็นอารมณ์ หรือเห็นโทสะที่กำลังเกิดขึ้น ถ้ารู้แล้วว่าตนเองกำลังโกรธหรือมีอารมณ์ ก็ให้พิจารณาว่าอารมณ์หรือโทสะนี้มันจะดับไปในที่สุด คือให้คิดว่ามันไม่เที่ยงค่ะ เพราะไม่มีทางที่จะโกรธไปได้ตลอด (อย่าเอาเรื่องไปคิดต่อทั้งๆ ที่เหตุการณ์เหล่านั้นยังไม่เกิดนั่นเอง) ให้ระลึกรู้เสมอว่าอารมณ์ทั้งหลายไม่ว่าอารมณ์อะไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะดับไปเสมอค่ะ อย่าไปยึดอารมณ์เป็นตัวตนว่ามีจริง ดิฉันพยายามปฏิบัติเป็นประจำ ได้ผลดีทีเดียวค่ะ
เรียนคุณกัมปนาท
ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนค่ะ ดิฉันค่อนข้างจะใหม่กับ blog เพิ่งลองทำมาได้สองวันเองค่ะ
ขอขอบคุณเช่นกันค่ะ ที่มาเยี่ยมชม ให้ข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนกันนะคะ
ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนอีกครั้งค่ะ