กราบนมัสการพระคุณเจ้า
สำหรับดิฉันไม่มีประสบการณ์ส่วนตัวเรื่องการเพ่งที่เหมือนกับพระคุณเจ้า (ต่อจากนี้ขออนุญาตเรียกหลวงพี่นะคะ) แต่ตอนนี้พยายามปฏิบัติโดยการฝึกสติให้อยู่กับการกระทำ ไม่ว่าจะพิมพ์อยู่ คิดอยู่ ดูอารมณ์ หรืออื่นๆ โดยหลักคือพยายามปฎิบัติไปในทางมหาสติปัฏฐาน ๔ เท่าที่ตัวเองมีปัญญาเข้าใจ แต่ทั้งนี้ก็ไม่แน่ใจว่าตนเองทำถูกตามหลักหรือไม่
จริงๆ แล้วก็ไม่ค่อยได้สนใจเรื่องความถูกต้องของวิธีการสักเท่าใดค่ะ เน้นที่ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ถ้ารู้สึกว่าได้ผล คือมีสติ และเห็นอารมณ์ ทันอารมณ์ เข้าใจธรรมชาติของสิ่งที่เกิดทันการณ์ ก็จะถือว่าพอใช้ได้ไปก่อน เท่าที่ผ่านมาก็พบว่าส่วนใหญ่พอจะดูทันค่ะ แต่ก็มีที่หลุดไปบ้างเหมือนกัน
เท่าที่อ่านจากที่หลวงพี่ได้เขียนอธิบาย ดูเหมือนกับว่าหลวงพี่จะมีสติอยู่ที่กิจกรรมที่กระทำอยู่แล้ว เวลาที่ไม่ได้มีกิจกรรมใดทำ ก็เหมือนกับจะเป็นความว่างเปล่า (ขอตีความเป็นอุเบกขา) แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือไม่ คงไม่อาจแนะนำได้ค่ะ เพียงแต่อยากแลกเปลี่ยนเท่านั้นค่ะ
ขออนุญาตแลกเปลี่ยนนะคะอาจารย์
ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างมากเลยค่ะ ที่อาจารย์บอกว่าเด็กกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียกร้องสิทธิ แต่ไม่เข้าใจหน้าที่ของตน
ดิฉันก็พบกรณีอย่างนี้มากค่ะ ทั้งในระดับ ป.ตรี และ ป.โท
บางทีก็คิดเหมือนกันค่ะว่า consequence ของเราที่ช่วยเหลือเด็กบางคนที่อยู่ในสภาวะล่อแหลมไป จะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อสังคมกันแน่
จริงอย่างที่อาจารย์ว่าเรื่องนี้เป็น never ending story ค่ะ จบไม่ลงเหมือนกันค่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันค่ะอาจารย์ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ที่อาจารย์มาสอน เป็น สจพ. (พระจอมเกล้าพระนครเหนือ) หรือ มจธ (พระจอมเกล้าธนบุรี) คะ เพราะที่ สจพ. ยังไม่ออกนอกระบบ (ม.ในกำกับ) ค่ะ อย่างไรก็ดี สอนที่ไหนก็ดีเหมือนกันค่ะ ได้ไปสอนให้ที่ มจธ.เหมือนกันค่ะ
ติดตามอ่านเรื่องที่อาจารย์เขียนอยู่นะคะ เป็นประโยชน์มากค่ะ
เรียนคุณ ไปอ่านหนังสือ
อารมณ์รัก ก็เป็นอารมณ์ที่สังเกตได้เหมือนกันค่ะ ; ) ที่ให้ดูโกรธเพราะเห็นง่ายและควรลดก่อนค่ะ เพราะเป็นภัยต่อตัวเองมากค่ะ โกรธแล้วสุขภาพ (จิต) ไม่ดี อาจมีการกระทำอื่นๆ มากมายตามมาหลังจาก "เป็น" โกรธ (เพิ่งเห็นข่าวคนยิงกันตายเพราะเหตุเล็กมากๆ)
แต่สำหรับอารมณ์รักมักไม่ค่อยเป็นภัยต่อตัวเอง ถ้ารักสมหวังค่ะ (ฮาฮา) ตามตำราเขาว่าโกรธเป็นโทสะ แต่รัก/ชอบเป็นโลภะค่ะ เพราะอยากได้มาชื่นชม ฯลฯ แต่ถ้าไม่รักสมหวัง อาจเกิดโทสะก็ได้นะคะ อย่าลืมดูก็แล้วกันค่ะ ดูได้ทุกอารมณ์ค่ะ (ตอนนี้ก็กำลังดู "สุข" ของตัวเองอยู่ค่ะ ; D )
สวัสดีค่ะอาจารย์ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ต้องขอเรียนตามตรงว่าดิฉันไม่รู้จัก Prof. Gaskell ค่ะ ดิฉันไปเรียน Construction Management ค่ะ แถมตอนเรียนป.ตรี ก็ค่อนข้างห่างไกลจาก Thermodynamics ค่ะ ตอนนี้ก็แน่นอนว่าลืมไปหมดแล้วค่ะ : ) แต่อ่านบทความอาจารย์เข้าใจดีนะคะ สำหรับหลักการ stable and unstable equilibrium ก็มีใช้กับการวิเคราะห์โครงสร้างในวิศวกรรมโยธาเหมือนกันค่ะ : )
เป็นคำถามที่ดีมากเลยค่ะ ดุเดือดดี ทำให้ต้องคิดตอบคำถามเหล่านั้นไปด้วย ในฐานะที่เป็นพุทธมามกะ
รอดูคำตอบของท่านพุทธทาสอยู่นะคะ
ดิฉันเคยอ่านของท่านสันตินันต์นิดหน่อยตอน browse เจอใน web และก็ได้หนังสือ "ประทีปส่องธรรม" ของพระอาจารย์ปราโมชย์ มาจากเพื่อนอาจารย์ที่จุฬาฯ เป็นหนังสือที่ดีมากๆ ค่ะ และอ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา ก็เป็นอาจารย์ที่อยู่ที่ สจพ.นี่แหละค่ะ ดีจริงๆ ใช่ไหมคะ ที่มีพระอาจารย์และเพื่อนร่วมทางปฏิบัติธรรม
ขอบคุณคุณ ธรรมาวุธ ที่ให้ความคิดเห็นค่ะ
ดิฉันเห็นด้วยค่ะ ว่าคนไกล้ตัวเป็นอาจารย์ใหญ่ในการฝึกสติค่ะ
ดูจากตัวอย่างที่ดิฉันยกข้างต้น ให้เดาเอาเองนะคะว่าดิฉันมีครอบครัวแล้วหรือยัง ; )
อ่านแล้วได้รู้เรื่องมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้นค่ะเรื่อง Derivative ค่ะ แต่สงสัยที่เขียนเรื่อง stochastic calculas ค่ะว่า "Calculus ธรรมดา x^2 = 2x ... แต่ Stochastic calculus .... 2x + k"
ดิฉันไม่แน่ใจนะคะ เพราะ calculas ที่เรียนมานั้นถ้า differential เจ้า x^2 + k จะได้ 2x เสมอค่ะ ถ้า k เป็นค่าคงที่อะไรก็ได้ค่าหนึ่ง เพราะ diff ค่าคงที่จะได้ 0 ค่ะ
จริงๆ แล้วคงไม่ใช่สาระอะไรมากในเรื่อง derivative นี้ค่ะ แค่สงสัยว่า stochastic calculas ต่างอย่างไรกับ calculas ธรรมดา
ขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่อง derivative ค่ะ
อาจารย์คะ ชื่อเรื่องผิดเป็น Superheaing ค่ะ ตก t ไปหนึ่งตัวค่ะ
ตอนแรกอ่านเผินๆ นึกว่าเป็น superhearing ที่เกิดจาก microwave ค่ะ ; )
ยินดีค่ะคุณ ธรรมาวุธ
ดิฉันก็ชอบที่คุณ ธรรมาวุธ เขียนเช่นเดียวกันค่ะ และขอขอบคุณที่จะติดตามนะคะ
เรื่องเข้า course ปฏิบัติธรรม ดิฉันก็ไม่เคยค่ะ แต่โชคดีที่มีอาจารย์ดี (อ.ศิริศักดิ์) ที่ทำงานอยู่ไกล้ตัวในช่วงที่กำลังเรียนรู้พอดี เลยได้มีโอกาสปฏิบัติทุกวันเพราะถูกเตือนโดยอาจารย์ค่ะ
การเป็น ผู้ดู สำหรับใครหลายๆ คนคงจะแปลกค่ะ คนมักลืมตัวและกลายเป็น ผู้เป็น ไปแบบอัตโนมัติทันที
ขอบคุณคุณธรรมาวุธ ที่มาจุดประกายสอบถามนะคะ กำลังนึกอยู่เลยว่าจะเขียนเรื่องอะไรต่อดีใน blog การปฏิบัติธรรมนี้
เรียนคุณ ไปอ่านหนังสือ
ความเสี่ยงมีมากมายทีเดียวค่ะ แต่ละโครงการไม่เหมือนกัน แล้วแต่ปัจจัยของโครงการค่ะ ดิฉันว่าจะเขียนเป็น series เรื่องบริหารโครงการอยู่แล้วค่ะ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไปค่ะ คงต้องใช้เวลาพอสมควร ; )
ตัวอย่างความเสี่ยงในโครงการออกแบบและก่อสร้างบ้าน (ยังไม่ขอจัดประเภทนะคะ)
สำหรับ PERT คือ Project Evaluation and Review Technique เป็นเทคนิคการประเมินความน่าจะเป็น (ความเสี่ยง) ที่โครงการจะดำเนินการเสร็จเมื่อใด โดยใช้หลักการทางสถิติมาช่วยค่ะ เป็นเรื่องของการประเมินความเสี่ยง (Risk quantification) ทางด้านเวลาอย่างเดียวค่ะ
สำหรับ JIT หรือ Lean นั้น ต่างประเทศมีการนำมาประยุกต์ใช้บ้างแล้ว แต่บ้านเรานั้นยังน้อยมากๆ ค่ะ แค่มีบ้าน Pre-Fab (Prefabricate) ที่สร้างชิ้นส่วนมาต่อประกอบกัน ซึ่งก็ยังไม่ lean เท่าใดนักค่ะ ส่วนใหญ่ JIT กับ Lean จะใช้ได้ดีกับงานที่มีระบบการดำเนินงานที่ชัดเจน และทำเหมือนกันทุกครั้งค่ะ ในโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างจะประสบความสำเร็จมากกว่าหน้างานค่ะ
ถ้ายังไม่ได้วัดประเมินของเดิมเลยก็แย่หน่อยนะคะ เข้าทำนอง stereotype ที่คนเขาชอบแซวกันว่า Vision นั้น มันสั้นจริงๆ กลับกับสิ่งที่ควรจะเป็น เพราะวิสัยทัศน์ ควรจะเป็นอะไรที่มองไกล เป็นแผนระยะกลาง-ยาวขององค์กร
รู้จัก gotoknow จากการ search หาเรื่องสภามหาวิทยาลัยค่ะ จนมาเจอ blog ของ ศ.วิจารณ์ พานิช ค่ะ
เคยได้ยินเกี่ยวกับ blog (ทั่วๆ ไป) มา 2-3 ปีแล้ว แต่ไม่เคยมีโอกาสได้ร่วมเขียนกับเขาบ้าง พอมาเจอ gotoknow และ ลองอ่านๆ ของหลายๆ ท่านดู ก็เลยสมัครบ้างค่ะ ยังมือใหม่อยู่เลยค่ะ
ได้การบ้านข้อใหญ่จาก ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ เลยค่ะ
ขออธิบายถึงโครงสร้างหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ให้เห็นภาพก่อนนะคะ เพราะรู้สึกว่าเรื่อง ความพอเพียงในมิติของคนอุดมศึกษา ในมุมมองของดิฉันคนเดียวอาจไม่ครบค่ะ เพราะตอนนี้มองเห็นแต่ตัวอย่างในส่วนของทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ปัจจุบันอาจจะอยู่ที่ประมาณ 145 หน่วยกิต ซึ่งประกอบหมวดวิชา* ดังนี้
ในกลุ่มคณาจารย์ที่ภาควิชา เคยคุยกันว่า เราปรับเนื้อหาที่เราอยากสอนกันแทบไม่ได้เลย เพราะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ต่างๆ ข้างต้น มิเช่นนั้นนักศึกษาที่จบไปจะไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพ เพราะหลักสูตรไม่ได้รับการรับรอง แต่ตอนนี้ก็มีวิชาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของวิศวกรสอนอยู่ในหลักสูตรที่ภาควิชาฯ นะคะ แต่อาจารย์อาวุโสที่เป็นผู้สอนก็บ่นให้ฟังเสมอค่ะว่านักศึกษาไม่ค่อยสนใจเรียน
ดิฉันคิดว่าอาจต้องใช้วิธีสอดแทรกเรื่องพอเพียง คุณธรรมและจริยธรรมลงในวิชาที่เป็นวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์นี่แหละค่ะ แต่ทั้งนี้จะขึ้นกับความสามารถและความตั้งใจของผู้สอนเป็นอย่างมากค่ะ ทุกวันนี้ในวิชาที่รับผิดชอบอยู่ก็พยายามสอดแทรกเรื่องเหล่านี้เท่าที่ได้ค่ะ
สรุปแล้วคงจะเห็นได้ว่า ยังไม่มีมิติของความพอเพียงในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์เท่าใดนัก อาจเป็นได้ว่า เนื้อหาของวิชาเองเป็นเรื่องการสร้างสรรค์ วิเคราะห์ แก้ปัญหา สร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาจากทรัพยากรที่มีจำกัด มองเผินๆ แล้ว คนทั่วๆไป อาจเห็นแต่สร้าง และสร้าง โดยลืมคิดถึงความพอเพียงค่ะ
----------------------------------------
*ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยเกณฑ์การรับรองหลักสูตรและสถาบันการศึกษา เพื่อเทียบปริญญา ประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรเทียบเท่าในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ.๒๕๔๔, สภาวิศวกร
ขออภัยค่ะคุณขจิต ดิฉันก็พึ่งสังเกตเห็นค่ะ ไม่ทันนึกค่ะ ; )
เรียน คุณ
![]() |
เป็นประเด็นที่ดีค่ะ เรื่องการบริหารคะแนนให้เกิดผลในทางที่ดีแก่ผู้สอนและผู้เรียน และสังคม ปัญหาก็คือ
แต่ดิฉันยังไม่หมดหวังค่ะ เพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยกันสร้างสิ่งดีๆ เพื่อส่วนรวมต่อไปค่ะ
สวัสดีค่ะ
ชอบคณิตศาสตร์เหมือนกันค่ะ แต่ตอนเรียนก็เหมือนท่านอื่นๆ คือไม่เคยได้รับทราบ background ของสิ่งที่เรานำมาใช้ เพิ่งมาหาอ่านเองตอนโต (มาก) แล้วค่ะ ; )
มีหนังสือแปลสำหรับเด็กที่สอนคณิตศาสตร์ให้สนุกอยู่บ้างค่ะ แต่จำ reference ไม่ได้ ถ้าหาเจอแล้วจะมาบอกกล่าวกันต่อค่ะ เผื่อให้คุณ ไปอ่านหนังสือ ช่วย review ให้ ; )
เชิญเลยค่ะคุณ นาย ขจิต ฝอยทอง ดิฉันว่ากำลังจะเขียนอะไรหลายอย่างเพิ่มค่ะ แต่ยังนึก theme อยู่ค่ะ ขอบคุณที่ติดตามนะคะ
ขอบคุณที่เข้าเยี่ยมชมค่ะ ทั้งคุณ นาย ขจิต ฝอยทอง และคุณ ไปอ่านหนังสือ