อนุทินล่าสุด


Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

สิงหไตรภพ เป็นกลอนนิทานเรื่องหนึ่ง ผลงานประพันธ์ของ สุนทรภู่ มักนิยมเรียกกันในชั้นหลังว่า สิงหไกรภพ เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์เมื่อครั้งถวายพระอักษร และในภายหลังได้แต่งต่อเพื่อถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

เนื้อเรื่องของสิงหไกรภพ เกี่ยวกับตัวละครเอก ชื่อ สิงหไตรภพ ที่พลัดบ้านเมืองแต่เล็ก ถูกลักพาตัวไปและเลี้ยงดูเติบโตขึ้นมาในบ้านพราหมณ์จินดา สิงหไตรภพเรียกพราหมณ์ว่าพี่ชาย เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการผจญภัยของสองพี่น้องนี้ และมีมนตร์วิเศษน่าตื่นตาตื่นใจ เหมาะแก่การเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก จึงเป็นกลอนนิทานที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้ง และมักใช้ชื่อเรื่องว่า "สิงหไกรภพ"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ลิลิตโองการแช่งน้ำ หรือ ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าเป็นวรรณคดีเก่าแก่มากที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย มีความสำคัญทั้งด้านวรรณคดีนิรุกติศาสตร์ประวัติศาสตร์ และสังคมของไทย เป็นวรรณคดีที่มีความยาวเพียงไม่กี่หน้า แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดเรื่องหนึ่งเป็นโองการสำหรับใช้อ่านเมื่อมีพิธีถือน้ำกระทำสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

สุภาษิตสอนหญิง เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอน ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าประพันธ์เรื่องนี้ขึ้นเมื่อใด เนื้อหาเป็นการสอนสตรีในด้านต่างๆ เช่น การวางตัว การเจรจา การเลือกคู่ เป็นต้น นักวิชาการบางส่วนเห็นว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นผลงานของสุนทรภู่ แต่น่าจะเป็นของนายภู่ จุลละภมร ผู้เป็นศิษย์ อย่างไรก็ดีนักวิชาการส่วนใหญ่ยังถือว่าวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นผลงานของสุนทรภู่อยู่ ทั้งนี้แนวคิดหลายประการที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม แสดงให้เห็นว่าผู้ประพันธ์ค่อนข้างมีความคิดทันสมัย และเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจการเรือนที่อยู่ในมือของผู้หญิง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์

ลิลิตพระลอที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่งลิลิต



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

รำพันพิลาป เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเชิงกำสรวลที่พรรณนาถึงชีวิตของตัวเอง สุนทรภู่ระบุไว้ในงานประพันธ์ว่าได้เขียนงานชิ้นนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2385 ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม เนื่องจากเกิดนิมิตเป็นฝันร้ายว่าจะต้องสิ้นชีวิต สุนทรภู่ตกใจตื่นจึงแต่งนิราศบรรยายความฝัน และเล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของตนไว้ หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบท

เนื้อหาในนิราศทำให้ผู้อ่านได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของสุนทรภู่ซึ่งไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน ทำให้ทราบด้วยว่าสุนทรภู่เคยธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ มากมาย เช่น พิษณุโลก และได้แต่งนิราศเอาไว้ด้วย แต่งานเขียนของท่านถูกปลวกขึ้นกุฏิ จึงสูญสลายไปหมด สุนทรภู่รำพันความเสียดายหนังสือของตนไว้ในเนื้อเรื่องด้วยว่า "เสียดายสุดแสนรักเรื่องอักษร"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

โคบุตร เป็นนิทานกลอนเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องราวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และนางมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

  วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ส่วน การวิจักษ์ หมายถึง ที่รู้แจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาดมีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ โดยรวม การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึง การอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรอง แยกแยะและแสวงหาเหตุผลเพื่อประเมินคุณค่าของวรรณคดีอย่างมีเหตุผล และพิจารณาได้ว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาได้ไพเราะหรือลึกซึ้งเพียงใด ให้คุณค่า ความรู้ ข้อคิดและคติสอนใจหรือถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อขอคนในสังคมอย่างไร ส่วนการวิจารณ์วรรณคดีนั้น เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน แล้วสามารถบอกได้ว่าวรรณคดีเรื่องนี้ดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุผลใด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

วานรสิบแปดมงกุฏ เป็นวานร (ลิง) ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ วานรเหล่านี้เป็นเทวดาที่จุติลงมาเป็นวานร และมาเป็นทหารเอกในกองทัพของพระราม ผู้ซึ่งเป็นองค์พระนารายณ์อวตารลงมา และต้องไปอยู่ในป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี เพื่อรักษาสัจจวาจาของพระราชบิดา คือท้าวทศรถ

เมื่อพระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา ถูกทศกัณฐ์ กษัตริย์เมืองลงกา ลักพาตัวไป พระรามต้องนำกองทัพติดตามไปรับนางสีดาคืนมา โดยมีหนุมานผู้นำเอา สุครีพ ซึ่งเป็นน้าชายมาถวายตัวพร้อมไพร่พลเมืองขีดขิน และท้าวมหาชมพูที่ยกกำลังพลเมืองชมพูให้เป็นทหารแห่งองค์พระราม วานรสิบแปดมงกุฏจึงเป็นกำลังพลในทัพขององค์พระราม ที่มาจากสองเมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ราชาธิราช หรือชื่อในภาษาพม่า ยาซาดะริต อเยดอว์บอง เป็นชื่อของพงศาวดารพม่า ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญตั้งแต่ พ.ศ. 1830 ถึง พ.ศ. 1964 รายละเอียดภายในตัวพงศาวดารประกอบด้วยเรื่องราวของความขัดแย้งภายในราชสำนัก การกบฏ เรื่องราวทางการทูต การสงคราม เป็นต้น เนื้อหาประมาณกึ่งหนึ่งของเรื่องอุทิศพื้นที่ให้กับรัชกาลของพระเจ้าราชาธิราช โดยลงลึกในรายละเอียดของ สงครามสี่สิบปี ระหว่างอาณาจักรหงสาวดีของมอญ กับอาณาจักรอังวะของพม่า ภายใต้การนำของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง และอุปราชมังกะยอชวา

ต้นฉบับของเรื่องราชาธิราชฉบับภาษาพม่ามาจากพงศาวดารภาษามอญเรื่อง "พงศาวดารกรุงหงสาวดี" และได้รับการแปลเป็นภาษาพม่าโดยพญาทะละ เสนาบดีและกวีชาวมอญซึ่งรับราชการในอาณาจักรพม่าสมัยราชวงศ์ตองอู นับได้ว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับชาวมอญในดินแดนพม่าตอนล่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หลงเหลืออยู่และอาจเป็นพงศาวดารมอญเพียงฉบับเดียวที่เหลือรอดจากการเผาทำลายเมืองพะโค (หงสาวดี) โดยกบฏชาวมอญภายใต้การนำของอดีตขุนนางในอาณาจักรหงสาวดีในปี พ.ศ. 2107



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

โคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก

เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป

โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทางวรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่าเป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

สังข์ทอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีลักษณะของละครนอก มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุด รจนาเสี่ยงพวงมาลัย

สังข์ทอง ละครโทรทัศน์ประเภทจักรๆ วงศ์ๆ ผลิตโดย บริษัท สามเศียร จำกัด ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปลายปี พ.ศ. 2550 จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2551 โดยนำมาจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ได้มีการดัดแปลงเนื้อหาพอสมควร นำแสดงโดย วสุ ประทุมรัตน์วัฒนา และ ธารธารา รุ่งเรือง

โดยก่อนหน้านี้เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์จอแก้วซึ่งออกอากาศในวันจันทร์และอังคาร เวลา 21.15 น. เมื่อปี พ.ศ. 2524 ทางช่อง 7 สร้างโดย บริษัท ดาราฟิล์ม จำกัด นำแสดงโดย ศุภชัย เธียรอนันต์ และ ทัชชา จีราพรรณ และเคยเป็นภาพยนตร์จอเงินเมื่อปี พ.ศ. 2526 สร้างโดย เจเนอรัล มูวี่ กำกับการแสดง วินัย วรรณเสวก นำแสดงโดย ปฐมพงศ์ สิงหะ และ ลลนา สุลาวัลย์ ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นการ์ตูนทางช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2555



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานมหากาพย์พื้นบ้านของไทย เค้าเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้สันนิษฐานว่าเคยเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วมีผู้จดจำเล่าสืบต่อกันมา เนื่องจากเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนมีปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า แต่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนมีลักษณะคล้ายนิทานเพื่อให้เนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตามยิ่งขึ้น รายละเอียดในการดำเนินเรื่องยังสะท้อนภาพการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสยามในครั้งอดีตได้อย่างชัดเจนยิ่ง จนนักภาษาศาสตร์วิลเลียม เกดนีย์ กล่าวว่า "ข้าพเจ้ามักคิดบ่อยๆว่า หากความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเกิดสูญหายไปหมด ทุกอย่างอาจจะถูกสร้างขึ้นมาได้ใหม่ จากข้อเขียนที่อัศจรรย์นี้"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

แก้วหน้าม้า เป็นวรรณคดีไทย พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 นอกจากพระนิพนธ์เรื่องนี้แล้ว ยังทรงมีผลงานพระนิพนธ์อื่น ๆ เช่น บทละครนอกเรื่องยอพระกลิ่น โคลงนิราศฉะเชิงเทรา บทละครนอกโม่งป่า และเพลงยาวสังวาสอีกหลายสำนวน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"

เป็นวรรณกรรมศาสนาพุทธที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระมหาธรรมราชาที่ 1 รวบรวมจากคัมภีร์ในศาสนาพุทธ มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) กัปกลียุค วาระสุดท้ายของโลก พระศรีอริยเมตไตรย พระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ดาหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้าปกหนังสือดาหลัง พิมพ์พระราชทานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระพันวัสสาอัยิกาเจ้า

ดาหลัง เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทยจัดอยู่ในประเภทบทละครใน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง และ อิเหนา โดย ดาหลัง และ อิเหนา นั้นมีต้นเค้ามาจากนิทานปันหยีของทางชวาเหมือนกัน แต่ความนิยมในดาหลังนั้นมีน้อยมาก อันจะสังเกตได้ว่าแทบไม่มีผู้ใดคิดจะหยิบมาอ่านหรือนำมาศึกษาอย่างจริงจังอาจเพราะด้วยเนื้อหานั้นค่อนข้างรุนแรงกว่าอิเหนา ภาษานั้นไม่ไพเราะลื่นไหลน่าอ่านเท่ากับอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 และเนื้อเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ออกมานั้นไม่จบตอน ขาดในส่วนของตอนจบไป จึงไม่มีใครทราบว่าเรื่องดาหลังนั้นแท้จริงแล้วจบอย่างไร จากสาเหตุข้างต้นจึงน่าจะเป็นเหตุให้วรรณคดีเรื่องนี้ถูกมองข้ามไปโดยปริยาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ปราสาทเวทมนตร์ของฮาวล์
หนังสือโดย ไดอาน่า วินน์ โจนส์

ฮาวล์สมูฟวิงแคสเสิล เป็นนิยายสำหรับเด็กแนวแฟนตาซี เขียนโดยนักเขียนชาวอังกฤษ ไดแอนา ไวนน์ โจนส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1986 และมีการดัดแปลงทำเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันในปี ค.ศ. 2004 โดยผู้กำกับชาวญี่ปุ่น ฮายาโอะ มิยาซากิในสตูดิโอจิบลิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

เอรากอน

เอรากอน เด็กหนุ่มกำพร้า ผู้อาศัยอยู่กับลุงในไร่แห่งหนึ่งในดินแดนอาลาเกเซีย เขาพบหินสีน้ำเงินรูปทรงประหลาดขณะออกล่าสัตว์ ก่อนที่เขาจะนำหินก้อนนี้ ไปแลกซื้อเสบียงสำหรับฤดูหนาวให้ครอบครัว หินนั้นกลับฟักเป็นมังกรเสียก่อน ทั้งๆ ที่ผู้คนต่างเชื่อว่า มังกรได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เอรากอนแอบเลี้ยงมังกรไว้ กับตัว และตั้งชื่อให้มันว่า ซาเฟียร่า วันหนึ่งลุงของเขาถูกฆ่าตายด้วยน้ำมือของ พวกราซัค ที่เข้ามาในเมืองเพื่อค้นหาหินลึกลับ เอรากอนจึงค้นพบว่า เขาเป็น นักรบมังกรคนสุดท้ายที่เหลืออยู่ และเป็นตัวแปรสำคัญในสงครามระหว่าง กษัตริย์ผู้ปกครองดินแดนและกลุ่มต่อต้านนามว่าวาร์เดน ที่ประกอบด้วย มนุษย์ คนแคระ และเอลฟ์ กษัตริย์กัลบาทอริกซ์ปกครองดินแดนอาลาเกเซียอย่างโหดเหี้ยม ในอดีตอัน ไกลโพ้น พระองค์เคยเป็นนักรบมังกร ผู้ถูกความชั่วเข้าครอบงำจนถูกขับ ไล่ออกจากกลุ่ม ภายหลังพระองค์ได้กลับไปแก้แค้นและสังหารพวกนักรบมังกร จนสิ้น ในตอนนี้ พระองค์ต้องการจะสร้างนักรบมังกรขึ้นมาใหม่เพื่อรับใช้พระองค์ ดังนั้นเอรากอนและซาเฟียราจึงจำต้องทิ้งบ้านเกิดของตน เพื่อหนีจากสมุนของ องค์กษัตริย์ ระหว่างเดินทาง เขาได้เรียนรู้วิชาดาบ เวทมนตร์คาถาและภาษา โบราณต่างๆ จาก บรอม นักเล่านิทานลึกลับ ผู้ที่โผล่มาช่วยเขาได้ถูกจังหวะ อย่างเหลือเชื่อ ในท้ายที่สุดแล้ว เอรากอนจะต้องเลือกว่าจะเข้าร่วมกับฝ่ายใด และตัดสินใจว่า แท้จริงแล้ว ตำแหน่งหน้าที่ของตนคือสิ่งใดกันแน่...  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

โจนาสกับผู้ให้

 เหตุการณ์ในเล่มแรกเกิดขึ้น ณ ชุมชนที่ดูสงบราบเรียบ จนอาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ ที่นี่ไม่มีสงคราม ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีคนเกลียดกัน ทุกสิ่งทุกอย่างจัดเตรียมไว้อย่างดีสำหรับทุกคน ทั้งที่อยู่อาศัย อาหารการกิน โรงเรียน อาชีพ และเมื่อพลเมืองอายุครบ 12 ปี ก็จะได้รับมอบหมายหน้าที่ เพื่อฝึกฝนก่อนยึดเป็นอาชีพในอนาคต ซึ่ง "โจนาส" ได้รับหน้าที่สำคัญประจำเมือง ที่เปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้และเห็นเรื่องราวต่างๆ ในชุมชนมากกว่าที่สายตาเขาเคยเห็น อย่างไรก็ตามการได้รู้ลึก รู้จริง ได้มีความรู้สึก และมีความทรงจำที่ไม่เหมือนใครอยู่คนเดียวมันช่างเดียวดายและโหดร้าย ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าแบบใดจะโหดร้ายกว่า ระหว่างการได้รู้ความจริงแบบโจนาสกับการเป็นพลเมืองที่ถูกปิดหูปิดตาไปตลอดชีวิต



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมท้องถิ่น

ความหมาย

          วรรณกรรมท้องถิ่น  หมายถึง  วรรณกรรมที่ปรากฎอยู่ในท้องถิ่นภาคต่าง ๆ ของไทย  ทั้งที่เป็นลายลักษณ์  หรือมุขปาฐะ ซึ่งแตกต่างไปจากวรรณกรรมแบบฉบับ  เพราะวรรณกรรมท้องถิ่นนั้นชาวท้องถิ่นสร้างขึ้นมา  ชาวท้องถิ่นใช้  (อ่าน, ฟัง)  และชาวท้องถิ่นเป็นผู้อนุรักษ์  โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง  รูปแบบของฉันทลักษณ์จึงเป็นไปตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ

          วรรณกรรมท้องถิ่นมีเนื้อหาสาระ  และคตินิยมเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากคนไทยทุกภาพในอดีตมีคตินิยมในการสร้างหนังสือถวายวัด  โดยเชื่อกันว่าจะได้อานิสงส์อย่างแรง  อีกประการหนึ่งวัดก็เป็นสำนักเล่าเรียนของกุลบุตร  กุลธิดาของประชาชน   ฉะนั้นการสร้างสรรค์วรรณกรรมท้องถิ่นยังมีส่วนให้นักเรียนได้ฝึกอ่านหรือทวบทวนนอกเหนือไปจากแบบเรียน(จินดามณี  ปฐมมาลา  ปฐม ก.กา)  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมประเภทนิทานคติธรรม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ลูกอีสาน. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 290 หน้า.

บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอีสานเล่าเรื่องราวขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อของชาวอีสาน โดยผ่านเด็กชายคูน รวมไปถึงสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้คนและสภาพแวดล้อมและแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติด้วยความมานะบากบั่น ความเคารพในระบบอาวุโส และความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะของชาวอีสาน



ความเห็น (1)

ลูกอีสาน..มีทุกพิ้นที่ของประเทศไทย..มีหลากหลายอาชีพในการฟันฝ่ากับอุปสรรคที่ผ่ารมา..จากเมื่อหลายสิบปีเคยถูกดูถูกจากสังคมเมือง..ว่าบ้านนอกเสี่ยว.โง่..วันนี้ก็ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ว่าอีสานโง่..ทุกคนวันนี้เสมอภาคและเท่าเทียม..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

เพียงความเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ : ก.ไก่, 96 หน้า.

บรรณานิทัศน์ : เป็นกวีนิพนธ์รวมบทร้อยกรองที่ตีพิมพ์ในวารสารและหนังสือพิมพ์ในช่วงปีพ.ศ. 2516 เนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 256 ซึ่งเป็นขบวนการนักศึกษาประชาชนได้เรียกร้องรัฐธรรมนูญและขยายตัวเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมด้านต่างๆ ของสังคมเป็นบทกวีที่อ่านเข้าใจง่าย การใช้ถ้อยคำเร่งเร้าให้ตื่นตัวและเกิดความเคลื่อนไหวทางความคิด บางเรื่องเล่าชีวิตชนบท บางเรื่องว่าด้วยสงคราม บางเรื่องแสดงออกถึงอารมณ์ แนวคิด และทัศนคติต่อสังคม

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ก.ไก่, 189 หน้า.

บรรณานิทัศน์ : เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นทั้งหมด 13 เรื่อง ผู้เขียนได้รับแรงกระตุ้นจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เป็นช่วงที่มีการประกาศเรียกร้องให้ผู้ที่หลบหนีเข้าป่ากลับมารายงานตัว เน้นให้คนสำนึกในเรื่องของภูมิหลังทางประวัติศาสตรและสังคม เนื้อหาส่วนใหญ่มีแนวทางวรรณกรรมเพื่อชีวิต ความกดดันและความขัดแย้งทางการเมือง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

คำพิพากษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ต้นหมาก, 279 หน้า.

บรรณานิทัศน์ : เป็นนวนิยายเสนอเรื่องราวแนวคิดของคนมีฐานะเป็นปัจเจกชนที่มักตกเป็นเหยื่อของความเชื่อและคำพิพากษาของสังคม ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม ส่งผลให้บุคคลนั้นต้องอ้างว้าง โดดเดี่ยว ทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้เขียนได้สร้างเรื่องราวโดยใช้สังคมชนบทไทยเป็นฉาก มีตัวละครชื่อฟักเป็นตัวเอกของการดำเนินชีวิต ปัญหารุมเร้าฟักมากมายจนดิ้นไม่หลุด เขาพยายามต่อสู้เมื่อไม่มีทางออก จึงหนีจากโลกของความเป็นจริงสร้างโลกใหม่ที่เขาหลงคิดว่าเป็นหนทางออกไปสู่อิสรภาพ ท้ายสุดเขาได้รับอิสรภาพที่แท้จริงนั่นคือ ความตาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

นาฏกรรมบนลานกว้าง. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, 99 หน้า.

บรรณานิทัศน์ : เป็นกวีนิพนธ์ที่โดดเด่นด้วยความหลากหลายของฉันทลักษณ์และทำนองเสียงที่แตกต่างจากบทกวีร่วมสมัย เขียนเป็นกลอนแปดและแทรกร่วมกับฉันทลักษณ์อื่น นอกจากนี้ยังประกอบด้วยโคลงสาร สารโศลก เพลงขอทาน เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงโคราช เป็นเรื่องร่วมสมัยที่ย้อนยุกต์ประวัติศาสตร์มาพรรณาบ้าง เนื้อหาของบทกวีคือการประณามชนชั้นสูง ผู้มีอำนาจในสังคมโดยโยงภาพความทุกข์ทรมานและความแค้นของคนยากจนผู้ด้อยโอกาสกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เข้ามาเปรียบเทียบเชิงอุปมา

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Chanakan Pamo
เขียนเมื่อ

ซอยเดียวกัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อู่พิมพ์เพกา, 272 หน้า.

บรรณานิทัศน์ : รวมเรื่องสั้น “ซอยเดียวกัน”เป็นผลงานที่ผู้เขียนคัดสรรมา จำนวน 15 เรื่อง และบทกวีนิพนธ์ 1 ชุด มีจำนวน 5 เรื่องย่อย เรื่องสั้นที่รวมอยู่ในซอยเดียวกันนี้ มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตในสังคมได้อย่างโดดเด่น นอกจากเรื่อง “ภาพเขียนที่หายไป”ซึ่งผู้เขียน เขียนในปี 2514 และ “นิธิแกนเทสต์”ซึ่งเขียนในปี 2517 แล้ว นอกนั้นเป็นเรื่องที่เขียนระหว่างปี 2521-2526 และบทกวีชุดคืนรัง เป็นบทกวีที่เขียนลงพิมพ์ในหนังสือหลายฉบับ และหนังสือที่ตั้งว่า “ซอยเดียวกัน”นั้นมาจากชื่อเต็มว่า “บ้านเราอยู่ในนี้ ซอยเดียวกัน”เรื่องสั้นเกือบทุกเรื่องที่นำมารวมไว้นี้ เป็นที่กล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ทั้งแง่ดีและไม่ดี 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท