อนุทินล่าสุด


อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

เมื่อทหาร "มือใหม่" เริ่มบริโภคงานวิจัย

วิจโยสาร volume1 Issue3  May-August 2012



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

เมื่อทหาร "มือใหม่" จะเริ่มทำงานวิจัย

วิจโยสาร  ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2554-มกราคม 2555



ความเห็น (1)

วิจโยสารเป็นของสถาบันใดคะ

อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

เส้นทางของการวิจัยทางการทหารสู่นัยแห่งสิทธิและความคุ้มครองจากรัฐ

วิจโยสาร ฉบับที่ 4 กันยายน-ธันวาคม 2555



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

ระบบเครือญาติเพื่อการวิจัย วิจโยสาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ตุลาคม 2554



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

โครงการวิจัย การเพิ่มศักยภาพและการต่อยอดองค์ความรู้

บทคัดย่อ 

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความแตกต่างของความคาดหวังของกลุ่มผู้เข้าอบรมด้านอสังหาริมทรัพย์ที่จัดโดยหน่วยวิจัยเฉพาะทางสถาปัตยกรรมเพื่อนวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับธนาคารเกียรตินาคิน (ภาคี) โดยใช้เครื่องมือแบบประเมินผลการอบรม อีกทั้งเน้นทดสอบสมมติฐาน 3 ข้อ ได้แก่ 1) กลุ่มเจ้าของกิจการที่เข้าอบรมในหัวข้อที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังแตกต่างกันในแต่ละหัวข้ออบรม 2) กลุ่มผู้บริหารและพนักงานในสายงานที่ต่างกัน มีความคาดหวังแตกต่างกันในแต่ละสายงาน 3) กลุ่มเจ้าของกิจการ กับ กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน มีระดับความคาดหวังแตกต่างกัน ด้วยวิธีทางสถิติ one-way ANOVA และ independent sample t-test ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มเจ้าของกิจการมีระดับค่าเฉลี่ยความคาดหวังสูงสุดในประเด็นการอบรม 3 อันดับแรก คือ การบริหารโครงการ การใช้สื่อการตลาด และการประเมินแนวโน้มธุรกิจ ส่วนกลุ่มผู้บริหารและพนักงานที่มีความคาดหวังแตกต่างกันในแต่ละสายงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตามสังเกตได้ว่า กลุ่มผู้บริหารและพนักงานสายงานการเงิน การบัญชี และภาษี จะมีระดับความคาดหวังเฉลี่ยมากกว่าสายงานอื่นๆ ในทุกๆ ประเด็นการประเมิน สำหรับความแตกต่างของระดับความคาดหวังที่ปรากฏชัดเจนนั้น กลุ่มเจ้าของกิจการมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังแต่ละด้านน้อยกว่ากลุ่มผู้บริหารและพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการอบรมอสังหาริมทรัพย์เฉพาะด้านให้แก่กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน จึงควรเน้นมากกว่ากลุ่มเจ้าของกิจการ เพื่อตอบสนองความคาดหวังให้เกิดความพึงพอใจ 

คำสำคัญ: ความคาดหวัง การอบรมด้านอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มเจ้าของกิจการ กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน



ความเห็น (1)

เป็นโครงการวิจัยของหน่วยวิจัยเฉพาะทางสถาปัตยกรรมเพื่อนวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มธ.คะ

อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

ทิศทาง รูปแบบ แนวคิด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้บริบทไทย

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเชิงประเมินนี้มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ ทิศทาง รูปแบบ แนวคิด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ภายใต้บริบทไทยผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และพนักงานระดับปฏิบัติการ ธนาคารเกียรตินาคิน จำนวน 3 กลุ่ม รวม 90 คน จากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประจำปี 2555 รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 และ ประจำปี 2556 รุ่นที่ 3 หัวข้อ “ทิศทาง รูปแบบ แนวคิดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้บริบทไทย”เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เน้นการประเมินด้านเนื้อหา จำนวน 3 ข้อ ด้านแนวคิดผ่านการนำเสนอของบุคคล จำนวน 5 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า อสังหาริมทรัพย์ในบริบทไทยในปัจจุบันและอนาคต มีแนวโน้มเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคหลักคือ ผู้สูงอายุ ในลักษณะการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม (Universal design) ความรู้ที่ต้องใช้สำหรับสนับสนุนการพัฒนาโรงการอสังหาริมทรัพย์ภายใต้บริบทไทย ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดและการขาย เพื่อการสนับสนุนการบริหารจัดการของโครงการ กายภาพของโครงการ หลักการและแนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้อง (หลักจิตวิทยา การออกแบบ การจัดการ) ทิศทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หลังวิกฤตการณ์ และระบบการเงิน บัญชี เพื่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตามลำดับ ขณะที่ความรู้เกี่ยวกับ การบริหารงานนิติบุคลและชุมชน นโยบายและกฎหมาย เพื่อประกอบการพัฒนาโครงการฯ และการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์ เพื่อสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการ กลับเป็นความรู้ที่ไม่ใช่ความรู้หลักที่เป็นที่ต้องการของตลาดอสังหาริมทรัพย์บริบทไทย

คำสำคัญ: ทิศทาง รูปแบบ แนวคิด การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ บริบทไทย



ความเห็น (1)

เป็นโครงการวิจัยของหน่วยวิจัยเฉพาะทางสถาปัตยกรรมเพื่อนวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มธ.คะ

อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

โครงการวิจัย

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่เพื่อการต่อยอดและสืบทอดธุรกิจ

New Generation, Real Estate Developers to the Business Succession

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มุ่งศึกษา และวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญและรายละเอียดของการเป็น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ เพื่อการต่อยอด และสืบทอดธุรกิจอันจะนำมาสู่รายละเอียดประกอบการขยายหรือสร้างองค์ความรู้ และตอบประเด็นต่างๆ รวมทั้งสร้างบรรทัดฐานและความเข้าใจในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ ข้อมูลจากโครงการอบรมวิชาการเชิงปฏิบัติการ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ รุ่น 2 และรุ่น 3 (KK-RE New Gen #2, #3) หัวข้อ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่เพื่อการต่อยอดและการสืบทอดธุรกิจช่วงของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 ถึง 26 พฤษภาคม 2555 จำนวน 30 ครั้ง พร้อมการศึกษาดูงานที่จังหวัดชลบุรี และพัทยา จำนวน 2 วัน โดยสถานที่อบรม ณ โรงแรม Siam@Siam BTS สนามกีฬาแห่งชาติ ช่วงวันที่ 2 มีนาคม 2556 ถึง 29 มิถุนายน 2556 จำนวน 30 ครั้ง พร้อมการศึกษาดูงานที่จังหวัดชลบุรี และพัทยา จำนวน 2 วัน โดยสถานที่อบรม ณ โรงแรม Pullman Bangkok King Power Hotel

ข้อมูลจากทั้งสองช่วงเวลา ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเปรียบเทียบกัน ผลการวิเคราะห์สะท้อนให้เห็นว่า นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่เพื่อการต่อยอดและสืบทอดธุรกิจต้องมีองค์ประกอบและรายละเอียดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่หลากหลาย นับตั้งแต่ แนวคิดพื้นฐาน จนนำไปสู่ การปฏิบัติจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์พรบ.ควบคุมอาคาร / กฎกระทรวง / เทศบัญญัติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น จัดสรร อาคารชุด โรงแรม เป็นต้น นโยบายรัฐและกฎหมายมหภาค (ผังเมืองใหม่) กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น จัดสรร อาคารชุด โรงแรม เป็นต้นการบริหารจัดการต้นทุนในงานก่อสร้าง การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ / พลังงาน / การตรวจสอบอาคาร กลยุทธ์การตลาด และภาพตลาดผู้บริโภคในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ความเชื่อ (ฮวงจุ้ย) กับอสังหาริมทรัพย์การประเมินราคาทรัพย์สิน เพื่อการพัฒนาโครงการและขอวงเงินสินเชื่อขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์และค่าธรรมเนียมการโอนซื้อ-ขายอสังหาฯ และค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิ์ เป็นต้น

 

คำสำคัญ: นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  รุ่นใหม่  เพื่อการต่อยอด และสืบทอดธุรกิจ



ความเห็น (1)

เป็นโครงการวิจัยของหน่วยวิจัยเฉพาะทางสถาปัตยกรรมเพื่อนวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มธ.คะ

อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

โครงการวิจัย การเสวนาทางวิชาการ Executive Talk 2011

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเชิงสังเคราะห์นี้ มุ่งเน้นให้ได้ข้อความรู้ในเชิงสรุปความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ให้มีความชัดเจนและได้ข้อยุติที่ชัดเจน โดยดำเนินการสังเคราะห์จากข้อมูลการเสวนาวิชาการ ที่มีกำหนดจัดในช่วง วันที่ 19, 21 ตุลาคม 2554 และ 9, 11 พฤศจิกายน เวลา 13.30 – 16.30 น. รวม 4 ครั้ง ครั้งละ 1 หัวข้อ รวม 4 หัวข้อ ได้แก่ ก) เคล็ดลับสร้างความสำเร็จสำหรับธุรกิจอสังหาฯรายเล็ก – พัฒนาโครงการอย่างไรให้แข่งขันได้และมีกำไร ข) นโยบายภาครัฐ และผังเมืองที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค) ตัวเลขเศรษฐกิจและการเงิน ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ 4) Niche Marketing & Product Innovation สำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก อันเป็นการเสวนาวิชาการ (executive talk) พูดคุยแบบเป็นกันเอง ท่ามกลางบรรยากาศ high tea เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและประสบการณ์ในสายอาชีพธุรกิจอสังหาฯ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ จำนวนประมาณ 20 ท่าน

ผลการสังเคราะห์เชิงบรรยาย พบว่า ผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการอาวุโส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการการตลาด กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้ช่วยผู้จัดการก่อสร้าง กรรมการบริษัท ประธานและกรรมการผู้จัดการ สถาปนิก วิศวกร นักพัฒนาธุรกิจ เจ้าหน้าที่การตลาดโครงการ พนักงานขาย ที่เป็นผู้เข้าร่วมเสวนาทางวิชาการ ส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับความรู้ต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้

ก) Niche Marketing & Product Innovation สำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก

ข) เคล็ดลับสร้างความสำเร็จสำหรับธุรกิจอสังหาฯรายเล็ก – พัฒนาโครงการอย่างไรให้แข่งขันได้และมีกำไร

ค) ตัวเลขเศรษฐกิจและการเงิน ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

) นโยบายภาครัฐ และผังเมืองที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ดังนั้น ผู้ประกอบการราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็ก ควรมีการเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับ

ประเด็นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ กำหนดเป็นฐานข้อมูลสำหรับองค์กรเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

          ทั้งนี้หากดำเนินการวิเคราะห์ตามหลักการเชิงแนวคิดหรือทฤษฎี Niche Marketing อย่างแท้จริง จะยิ่งทำให้ผู้ประกอบการรายกลางหรือรายย่อย สามารถดำรงตนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างยั่งยืน เพราะเป็นตลาดขนาดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะ ไม่มีการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ และที่สำคัญสามารถสร้างความสำเร็จ ได้ด้วย “ความใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และคุณภาพ”

คำสำคัญ: การตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม (Niche Marketing) การเสวนาแบบ executive talk 



ความเห็น (1)

เป็นโครงการวิจัยของหน่วยวิจัยเฉพาะทางสถาปัตยกรรมเพื่อนวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มธ.คะ

อจนฝคนร
เขียนเมื่อ

การเพิ่มศักยภาพและการต่อยอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืน

Capacity Maximization and Further Knowledge for Pursuing

Sustainable Project Development

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเชิงปริมาณ ที่ดำเนินการกับโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่สนใจ (ที่อยู่ในสถานประกอบการทั้งวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่ต้องการหาคำตอบของการพัฒนาโครงการ ที่คุ้มค่า ทั้งด้านกฎหมาย การเงิน บัญชี และภาษี และด้านการขาย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการเพิ่มศักยภาพและการต่อยอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืน 2554-2555รวมทั้งสร้างบรรทัดฐานและความเข้าใจในการพัฒนา เข้าใจทิศทางที่เหมาะสมของผู้ปฏิบัติงาน โครงการอสังหาริมทรัพย์ในขอบเขต ที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปสู่การเผยแพร่ความรู้สู่สังคมในวงกว้าง เพื่อใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดได้ ข้อมูลจากการประเมินเนื้อหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัววิทยากร ความรู้เอกสารวิชาการต่างๆ และสถานที่ ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณา เช่น จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยหลักในการต่อยอดความรู้สู่การพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืน คือ เวลาที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้และสภาพการณ์ของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไป

 

คำสำคัญ: การเพิ่มศักยภาพ การต่อยอดองค์ความรู้ การพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืน



ความเห็น (1)

เป็นโครงการวิจัยของหน่วยวิจัยเฉพาะทางสถาปัตยกรรมเพื่อนวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มธ.คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท