อนุทินล่าสุด


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

งานคุณแม่ 10 กค.59





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

งานคุณแม่ 10 กค 59



20160710_120631.mp4

20160710_120656.mp4

20160710_120835.mp4



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"เล่าเรื่่องของแม่ 4 ส.ค.59 ท่านครบ 85 ปี พอดี" -(3)

และแล้ว สิ่งต่างๆ ก็เปลี่ยนไป เมื่อวันหนึ่ง แม่กลับมาจาก รพ. บอกว่า " ลิ้นหัวใจรั่ว" หมอสั่งไม่ให้ทำงานหนัก ท่านจะได้ มีอายุนานๆ

ผมกับน้องชาย ก็ได้รับหน้าที่ ให้ต่างคน ต้องรับผิดชอบตนเอง คือ ซักเสื้อผ้าเอง รีดด้วยหรือไม่จำไม่ได้

มีอะไรก็ช่วยแม่ทำ หมด ไม่ว่า แม่จะไปรับจ้างหางานอะไรทำ เพื่อช่วยรายได้ทางคุณพ่ออีกทาง

-บางครั้งแม่ มีคนเอาเสื้อโหล มาส่งให้เย็บ ผมก็ได้ช่วยเลาะ จัดเก็บ นับให้ครบจำนวน

-บางครั้ง ก็ไปรับจ้างทำถุงส่ง ทำกันเป็นร้อย ๆ ว่างเต็มบ้านไปหมด ทาแป้งเปียก พับถุง นับถุง เป็นที่สนุกสนาน สำหรับพวกผมกับน้องๆ

เราไม่รู้ว่า ทำไมแม่ต้องทำ แต่ สนุกดี ทำเสร็จก็มีคนมารับไป

นั่นเป็น ชีวิตแม่ที่อยู่บ้าน เพราะพ่อ ไม่ค่อยอยู่บ้าน ต้องเดินทางไปตามเขื่อน หรือ ที่ประตูน้ำ ทำหน้าที่ไปจ่ายเงินเดือนคนงาน กลับมาก็มืด

พวกเราจึงดูจะสนิทสนมกับแม่มากกว่าพ่อ (หรือรู้สึกว่าพ่อดุก็เป็นได้)

เมื่อแม่ป่วยและทำงานหนักไม่ได้ ผมก็ช่วยทำในส่วนของตัวเอง และช่วยแม่บ้าง ทำเหล่านี้จนเข้าเรียน มหา'ลัย และ เริ่มสอนพิเศษ คณิตศาสตร์ ทำงาน

เป็น นศ. ช่วยงานห้องสมุด โดยคิดว่า อยากลดภาระค่าใช้จ่ายของ พ่อ-แม่ เรียกว่าทำงานพิเศษ ตั้งแต่ ป.ตรี ผมหาค่าเทอม ค่ากินอยู่เอง เป็นชีวิตที่แม่สอนให้ช่วยตัวเอง แต่ถ้าต้องใช้อะไรที่หนักๆ (เงินมากหน่อย ก็ขอบ้างเป็นบางครั้ง)

แต่ผมกลับไม่เคยได้ถามเลยว่าอาการของแม่เป็นอย่างไร แต่เท่าที่อยู่กับท่าน ดูท่านก็ไม่เจ็บป่วยหรือมีโรคอะไร แต่ก้ไปหาหมอเป็นระยะ ๆ ตอนนั้น

ความจริงไม่คิดว่า จะนึกอะไร และเขียนเกี่ยวกับแม่ได้เยอะแยะปานนี้ เพราะ แทบจะไม่ค่อยได้คุยกับแม่เท่าไหร่ ตั้งแต่เรียน ป.ตรี ก็ด้วยไป มหา'ลัยทุกวัน ไป เรียน ไปสอนพิเศษ ไปเที่ยว ส่วนก่อนหน้านั้น เกี่ยวกับแม่จำได้ลางๆ เป็นไปตามอายุแล้วสิท่า

คิดถึงแม่ ครับ! แม้ว่าวันที่ท่านได้จากพวกเราไปตอนเช้ามืด 4 กค 59 เวลา ตี 4.40 ผมได้เตรียมใจมานาน ก็ทำใจรับได้

แต่วันนี้นึกถึงท่าน ท่านไปสบายแล้ว รักท่านครับ

26-07-59



ความเห็น (2)

ขอแสดงความชื่นชมกับท่าน ดร.ที่มีแม่ที่แสนประเสริฐ..ท่านไปดีแล้วครับ..จะนานแสนนานก็คือพระโพธิสัตว์..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"เล่าเรื่่องของแม่ 4 ส.ค.59 ท่านครบ 85 ปี พอดี" -(2)

ชีวิตแม่ เป็นแม่บ้าน คุณพ่อทำงานที่กรมชลประทานสมัยนั้น น่าจะตามคุณปู่ (นายล้อม เทียนพุฒ) เป็นผู้คุมการก่อสร้าง ประตูน้ำนครนายก และ ที่ท่าหุบ คงเป็นที่ทำให้รู้จักกับคุณแม่ แม่เล่าให้ฟังถึงประตูน้ำที่คุณปูมาคุมก่อสร้าง ในตอนปิดเทอม ผมจะมากับแม่ที่ นครนายก เมื่อมาอยู่ฝั่งธน แล้ว

มีอยู่วันนึงผมจำได้ กลับมาบ้านไม่เจอคุณแม่ ไม่รู้แม่ไปไหน ไปถามคุณย่า บอกแม่ไป นครนายก เขียนจม. ถึงลูกๆ ไว้ที่กระจกโต๊ะเครื่องแป้งว่า ไปงานศพชวด ที่ นครนายก ไปหลายวัน

ชีวิตแม่ผูกพันกับ บ้านยายที่ นครนายกและน้า (บูญช่วย โชติ) รักนับถือกันเหมือนพี่น้อง เพราะแม่มาอยู่ที่่นั่น

ผมเองก็ชอบชีวิตที่นั่น ปิดเทอมเมื่อใดก็มาเลยทั้งเดือน ใช้ชิวิตอิสระเสรีจริงๆ

เมื่อแม่มาอยู่ที่บ้านเจริญพาสต์ ฝั่งธนบุรี ผมเข้าเรียนอนุบาลและประถม -มัธยมใน รร. (มาจบ มศ.3 ที่ รร.แสงอรุณ) แถบนั้น

และแล้ว สิ่งต่างๆ ก็เปลี่ยนไป เมื่อวันหนึ่ง แม่กลับมาจาก รพ. บอกว่า " ลิ้นหัวใจรั่ว" หมอสั่งไม่ให้ทำงานหนัก ท่านจะได้ มีอายุนานๆ

26-07-59



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"เล่าเรื่่องของแม่ 4 ส.ค.59 ท่านครบ 85 ปี พอดี" -(1)

คุณแม่ (บุญเชิด สาคร -นามสกุลเดิม) เกิดเมื่อ 5 สิงหาคม 2473 เป็นบุตร ตาเขียน สาครกับ ยายช้อง สาคร ผมจำได้ว่า

ท่านเคยพาไปหา คุณตา ที่ประตูน้ำพระอินทร์ เพื่อไปรู้จัก ลูกพี่-ลูกน้อง

ท่านสมรสกับ คุณพ่อ ฉลวย เทียนพุฒ เรามีพี่น้องกัน 4 คน

ผมรู้แต่เพียงว่า คุณแม่ มาอยู่กับยาย (เมี้ยน โชติ) และ แม่เป็นที่รักของชวดมาก (แต่ช่วงผมเด็กๆ มีความรู้สึกว่า ชวดค่อนข้างจะดุ)

ท่านอยู่ที่ ต.ท่าหุบ หมู่ 5 วัดท่าช้าง จ.นครนายก ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 -2485 ท่านก็มาอยู่ที่ นครนายกครับ

แม่เล่าให้ฟังเสมอๆ ว่า สมัยก่อน ทำนาช่วยยาย ปลูกข้าว ในที่นาของแม่ มี 25 ไร่ (ชวดแบ่งให้) เวลาน้ำป่ามาทีจะมีเสียงดังแบบฟ้าร้อง

เห็นมาแต่ไกลจากทางจังหวัด เชาสาริกา-นางรอง วิ่งหนีกันแทบไม่ทัน ข้าวของ ที่ใช้เเป็นอุปกรณ์ต้องทิ้ง น้ำป่าก็จะพัดหายไปเรียบหมด

(นี่คงเป็นที่มา ของจังหวัด นครนายก คือ ไร่นาเสียหายจาก น้ำป่าท่วม ทางการจึงยกภาษีนาให้ กับ คนสมัยนั้น)

บางครั้งท่านก็เล่าให้ฟังว่า ในช่วงเทศกาลทำบุญเข้าพรรษา หรือ เทศกาลสงกรานต์ เสร็จจากทำนา ก็จะเดินกันไป วัดเขานางบวช วัดพราหมณี แถวเขาพรมณี ไปงานเทศกาลประจำปี ก็เดินหอบเสื่่อ ไฟฉาย ไปกัน เพราะเมื่อดูหนังกลางแปลงเลิก ต้องเดินกลับบ้าน อาศัย ดาวบนฟ้ากับไฟฉายนี่ละ

นั่นเป็นชีวิตที่แม่เล่าให้ฟัง


คิดถึงแม่ครับ

26-07-59



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"ค่ารถสาธารณะที่ภูเก็ต แพงมาก ๆ แพงจริง ๆ ไม่ใช่มาตรฐานหรอก โขกกันมากกว่า หรือ มีหัวคิว ?"

ที่ภูเก็ตสำหรับรถสาธารณะ เป็นความจริงครับ แพงมาก ๆ

และก็เป็นมาหลายปี สารพัด ทั้งทิ้งผู้โดยสาร ล้อมกรอบหน้าโรงแรม ไม่ให้รถเพื่อน-ญาติมารับที่ โรงแรม

ล่าสุดผมไปมา เมื่อ 11 มิย 59 นั่งแท๊กซี่มิเตอร์ นึกว่าจะถูกกว่า กลับถูกบวก อีก 100 บาท จากราคามิเตอร์ เป็น 650 บาท จากสนามบินภูเก็ต เข้ามาในเมือง

คนขับบอก เขาถูกบังคับให้ราคาเท่ากับ รถบริการอื่น ๆ ที่ จอดให้บริการในสนามบิน -ได้สัมปทานจากการท่าฯ เพื่อไม่ให้คน-นักท่องเที่ยวมาใช้บริการแท๊กซี่มิเตอร์ (เมื่อ 3-4 ปีก่อนผมมา ราคาถูกกว่านิดหน่่อย ในระยะทางเหมือนเดิม)

ขณะที่รถบัส สำหรับเข้าเมืองจากสนามบิน ก็มาจอดรับผู้โดยสารชั้นขาออก (ชั้น 2) คนเดินทางมาถึงสนามบินขาเข้า ชั้น ล่าง จะรู้ได้ไงว่ามี และต้องผู้โดยสารเต็มถึงออก โอ้พระเจ้า

รถบริการ

รถบริการ รถตู้ผมนั่งจากหาดราไวย์ ไปสนามบิน คนเดียว คิด 1000 บาท ถ้า 2 คน คิด 1500 บาท

รถบริการจากสนามบิน เข้าเมือง 650 บาท ถ้ามา เกิน 4 คนแนะนำให้นั่ง 2 คัน (555)

ราคารถเช่า

รถเก๋ง 1200 บาท

รถ 4W 2500 บาท (รู้จัก 2000 บาท)

รถตู้ วันละ 3000 บาท (ไม่รวมค่าน้ำมัน)

สรุป มันถูกตรงไหน รถบริการจากสนามบิน เหล่านี้ น่าล้างให้ใสสะอาดหน่อยครับ หากินบนความแพงมานานมากแล้ว น่าจะพอได้เสียที



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"ระบบวิจัยประเทศชาติล้าหลัง ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ"

ผมเห็นด้วยว่าการวิจัยของประเทศเป็นสิ่งสำตัญต่อการพัฒนาประเทศ และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ให้เรามีหยิบสอยใช้ได้เอง

โดยไม่ต้องเป็นอาณานิคมทางปัญญากับชาติตะวันตก เป็นสิ่งที่ต้องเร่งสร้างหรือ ช่วยกันทุกฝ่ายอย่างเร่งด่วน

แต่สิ่งที่พบในระบบยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ผมเห็นว่า ล้าหลัง และไม่ทันกับสิ่งที่ รัฐบาลมุ่งหน้าในการพัฒนาประเทศ เช่น THAILAND 4.0 เพราะว่า

-ระบบการขอทุนและงบประมาณการวิจัย เป็นวิธีการที่ถอยหลังไม่ได้เดินหน้า

ในแต่ละปี เราทำ โครงการ หรือ Research proposal เช่น ปี นี้ เดือน มิย-กค 59 เริ่มทำโครงการ หรือข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอทุนและงบประมาณแผ่นดินสำหรับการวิจัย

แต่ ทุนและงบประมาณแผ่นดินที่จะได้รับให้เริ่มทำวิจัยกันจริง ๆ คือ ปีงบประมาณ 2561 ( อนุมัติ ตค. ปี '60 กว่าจะเริ่มลงมือทำ ก็ ปี '61) ผลการวิจัยเสร็จ ก็เกือบจะเข้าปี '62

-ผมเลยนึกไม่ออกว่า ผลการวิจัยจะทันสมัยได้อย่างไร เพราะสิ่งที่ศึกษาและทำข้อเสนอการวิจัยมันคือปัจจุบัน กว่าจะได้วิจัย การทบทวนวรรณกรรมก็ล้าสมัยไป เกือบ ปีแล้ว

ผลการวิจัย ที่เสร็จมาก็ล้าสมัยไปอีก 1-2 ปี ยิ่งไม่มีความรู้ของชาติเราเอง ต้องหยิบยืมเขามาใช้เราก็ยิ่งช้าเข้าไปอีก

-องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยหรือ การไปทดสอบ ขยายความรู้ ประเทศเราจะทันสมัยได้อย่างไร และเราท่านก็ทั้ง ๆ ที่เรารู้ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้ปฏิวัติทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งองค์ความรู้ ซึ่่งทำให้สิ่งรอบตัวเราล้าสมัยและยากในการหยิบความรู้ไปใช้เพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจของชาติ

ดังนั้นหากไม่ปรับเปลี่ยน ระบบขอทุนและงบประมาณแผ่นดินสำหรับการวิจัยของชาติ เราก็ยากที่่จะมีองค์ความรู้ใหม่ที่เราอยากได้ และเอามาใช้ได้ทันต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ


บันทึกความคิดที่แตกต่าง

20-06-2559




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

" การศึกษาสู่ ปี 2030 ---- >Education to 2030 "

ผมเห็นข่าว แล้วรู้สึก ว่า การศึกษาระดับอุดมศึกษา เพิ่งมาตื่นกับ Thailand 4.0 (ตามข่าวข้างล่าง) ในอุตสาหกรรม 5 เก่า กับ 5ใหม่ ที่เป็น อุตสาหกรรมแพลตฟอร์ม

ความจริงน่าจะทำให้ทันหรือพร้อมกับ Thailand 4.0 เสียมากกว่า แผนยุทธศาสตร์เสร็จ กว่าจะมีคนเข้าไปรองรับหรือแข่งขันได้ คงหมดโอกาสดี ๆ ของประเทศไปพอสมควร

ไปอ่าน Education to 2030 ที่ The Economist สรุปมาดีกว่าครับ ได้รู้ว่า ประเทศเหล่านี้เขาไปไหนกันแล้ว แล้วเขามุ่งอะไรกัน

คลิกอ่านได้ การศึกษาสู่ ปี 2030 ---- >Education to 2030

----------------------------------------------

สกอ.เร่งทำแผนยุทธศาสตร์ ระยะยยาว 20 ปี

นำมาจาก http://www.dailynews.co.th/education/501176



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"เอกสารบรรยาย สำหรับผู้อบรมเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่"

1. วิชา กฎหมายเกี่ยวกับการขับรถ

แจก วิชากฎหมายเกี่ยวกับการขับรถ

2.วิชาขับรถอย่างปลอกภัย

แจก วิชาการขับรถอย่างปลอดภัย

3.วิชามารยาทในการขับรถ

แจก วิชามารยาทในการขับรถ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ

26 เม.ย.59



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

" 16 ทักษะของ นร. ในศตวรรษที่ 21"

ได้มีโอกาสอ่านรายงานด้าน "วิสัยทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ที่ต้องยั่วยุให้เกิด " SEL: Social & Emotional Learning " ผ่านทางเทคโนโลยี่ (น่าจะเรียกง่าย ๆ ว่า การเรียนรู้ด้านอารมณ์-สังคมผ่านเทคโน) เพราะเราได้เข้าสู่ ยุค "ปฏิวัติอุตสาหกรรมในคลื่นลูกที่ 4 " ( เป็นยุค Cyber-physical systems)

การศึกษาจึงไม่ใช่แบบเดิม แต่มันต้องผสมผสานกับเทคโนโลยี่

เมื่อมาดูทักษะของ นร. ในศตวรรษที่ 21 ต้องมี 3 กลุ่มคือ พื้นฐานด้านการรู้หนังสือหรืออ่านออกเขียนได้(6 ทักษะ) ความสามารถ (4 ด้านในการมีวิธีรับมือกับความท้าทายที่ซับซ้อน) และ คุณภาพด้านลักษณะ ( 6 ด้านที่จะเผชิญกับสภาพแวดล้อม) ดังรูป

(จากรายงานของ World Economic Forum 2016 New Vision for Education: Fostering Social and Emotional Learning through Technology)

ทำให้นึกถึง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดบอั ุดมศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ 1. ดานคุณธรรม จริยธรรม 2. ดานความรู 3.ดานทักษะทางปญญา

4.ดานทักษะความสัมพันธระหวางบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ดานทักษะการวิเคราะหเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ

โลกมันเปลี่ยนเร็วมาก โอกาสอยู่หลัง "เขา" (เจ้าของเทคโนโลยีที่เราวิ่งไล่ ยังไงก็ไม่ทัน) น่าคิดครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"การศึกษาหมาหางด้วน"

เรื่องนโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา หรือง่ายๆ สอบภาษาอังกฤษก่อนจบ

ประกาศดังกล่าวยังให้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษทุกหลักสูตรและทุกระดับ

รวมถึงจัดทำแผนให้เป็นไปตามนโยบาย โดยมีตัวชี้วัดชัดเจน

----------------------

ผมเห็นด้วยว่า ภาษาอังกฤษ สำคัญและจำเป็นนะครับ............

ผมเข้าใจว่า ทำไมคนรวย จึงส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ เพราะ นโยบายการศึกษา ไม่ได้คิดง่าย ๆ ออกง่าย ๆ

เค้าเรียนภาษาอังกฤษ เพราะเป็นภาษาประจำชาติ ตอนจบไม่ต้องสอบ

ทุกคนในประเทศพูด สถานที่ราชการทุกแห่งใช้ ก็พูดได้ทั้งประเทศ

ทำไมเรา ไม่ เริ่มสอนภาษาต่างประเทศ ทุกวิชา ตั้งแต่ ป.1 ละครับถ้าอยากให้พูดได้

สถานที่ราชการทำไมไม่ใช้ภาษาอังกฤษ แบบค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เหมือน ป.1

มันทำไม่ได้แบบชั่วข้ามคืน หรอกครับ (คิดแบบไม่ต้องคิด เหมือนเผาป่าปลูกข้าวโพด) .....แบบนี้ก็ไม่เพิ่มงาน ไม่ต้องมาสนองนโยบาย ทำตัวชี้วัดชี้โบสถ์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"คลององครักษ์ น้ำแห้งขอด"

ผมเห็นมาแต่เกิด ครั้งแรกปีนี้ ไม่มีน้ำ สัญญาณ บอกอะไรถึง ชาวเรา... แถวๆ คลอง 10-14 แห้งไม่มีน้ำจริ้ง จริง

จำได้ว่า ตอนเด็ก ๆ ไปนครนายก ไปทางหินกอง ผ่านบ้านนา ไป เมืองนครนายก พอระยะหนึ่่ง ถนนเลียบคลององครักษ์ ตัดเสร็จเป็นเส้นทางที่ไปนครนายกสะดวกมาก และเร็วด้วย แต่ก็มีรถร่วม บขส. วิ่งเช้า กับเย็นแค่นั้น เห็นชีวิตสองฝั่งคลอง อยากลงไปเล่นนัำ ยังไงไม่รู้.............

หลายปีไปไปมามา ก็ยังไม่เคยแห้งแบบนี้

พอปีนี้ แห้งหดหู่ใจครับ นึกถึง ชาวไร่-สวนชาวนา จะทำอะไรกิน

ฝ่ายคุมน้ำก็ยืนยันเราไม่ปล่อยน้ำ เพราะจะกันไว้แล้งหน้า ตกลง เข้าใจอย่างเดียว "จัดการน้ำไม่เป็น" ใช่ไหม ประเทศไทย




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"คนคิดคนเสนอ ไปไหนแล้ว เปิด-ปิดตาม อาเซียน-สากล "

ต้องอ่าน ....อากาศร้อน เปิดปิดตาม อาเซียน

2 ปี ทุกข์ระทม ยิ่งร้อน ยิ่งแล้ง จบเห่ นโยบายการศึกษาง่าย ๆ ..



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"ผ่านไป 9 ปี ได้กลับมาที่ GotoKnow"

อย่างแรก รู้สึกว่า มีความรู้หลากหลายดี และน่าจะ ไปถึง การสร้างความรู้ต่อยอดได้ดี

อย่างที่สอง การใช้งานตอบสนองความต้องการของผมได้ ทั้ง ฝากไฟล์ เผยแพร่ หรือ เป็น "แหล่งทรัพยากร" ที่ช่วยในการเรียนการสอน

วิชาที่ผมสอนอยู่ได้ทีเดียว

อย่างสุดท้าย เชื่อว่า พัฒนาการต่อไปน่าจะ ใช้งานได้ง่ายยิ่ง ขึ้น ๆ และ ทุก Devices ทุก Platforms

ขอบคุณทีมงานในสิ่งที่ทำให้ประเทศไทย และสังคมความรู้ได้ ขยายขอบเขตไปสุดจินตนาการ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"ท่าน้ำ กับเรือด่วนเจ้าพระยา"

ท่ามหาราช ข้ามฝาก และ เรือด่วนเจ้าพระยา แต่ก่อนนั่งจากท่าเกียกกาย มาลงปากคลองตลาดหรือกลับกัน ไปโรงเรียนแสงอรุณ เห็นท่านี้ ทุกเย็น ชีวิตบนสายน้ำ ทำให้ชอบบ้านริมน้ำ นานๆ ทีก็มาเดินเล่น นั่งเรือเล่น กับ แม่น้ำเจ้าพระยา ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

" ถ้าวิจัยเป็น ดี เอ็น เอ ขององค์กร"

มาที่ รพ.ชลบุรี เพื่อ บรรยายและฝึกปฏิบัติ Creative + Innovation หน้าห้องประชุม เจอ ข่าว และหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยของ รพ. ถือว่าน่าสนใจ ทีเดียวครับ

หากองค์กร สามารถสร้าง "วิจัยให้เป็น ดี เอ็น เอ " หนึ่ง ของวิถีคนในองค์กร เราคงเกิด ความรู้ใหม่ ๆ และอาจไปไกลจนสามารถ "สร้างองค์ความรู้" ในบริบทของเราได้เอง.... น่าสนใจมากครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"สนุกที่ได้... สอน...."

วันนี้ 3 เมย. 59 ได้ไปสอน ป.เอก ม.เขนต์จอห์น(มซจ.) ด้วยฐานะอาจารย์พิเศษ ในวิชา ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

ได้เล่าให้ฟังถึงพัฒนาการของวิชานี้ที่เน้น ให้ได้ รู้ถึง แนวคิดใหม่ๆ ด้านภาวะผู้นำ การนำการเรียนรู้บนความท้าทาย (CBL) มาเป็นวิธีเดินเรื่องการเรียนการสอน และ อยากให้ นศ. ลงภาคสนาม (ซึ่งได้เสนอ ให้ไป ที่ไร่นาสวนผสม เรียนรู้ความเป็นผู้นำ ของคุณอเนก จิวะรัตน์ ที่ จ.พังงา ถ้าสนใจ)

สิ่งที่ได้คุยสนุกกันมาก คือ ครูในปัจจุบัน ต้องทำหน้าที่อะไร ผมให้แนวคิด 2-3 เรื่่อง คือ ต้องให้แรงบันดาลใจ แก่เด็ก เป็นผู้สร้างสรรค์เกมความรู้ และเห็นศักยภาพในตัวเด็ก แล้วใช้ศักยภาพในตัวเองปั้นเด็กให้ไปไกลสุดศักยภาพ อย่างนี้ถึงจะเปลี่ยนแปลงการศึกษาได้

หลังจากนั้น ได้คุยถึง ปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำ จากตัวอย่างของปรัชญาดินสอ

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่ง ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ นศ. ป.เอก รุ่น 12 ของ มซจ. (ยังมีกรณีศึกษา ไม่มีสูตรสำเร็จสอนความเป็นผู้นำ มาอภิปรายกัน ค่อยเล่าให้ฟังครับ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

100 ปี อจ.ป๋วย

ใครที่สน อัตชีวประวัติ อจ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ต้องหา 2 เล่มนี้มาอ่าน มธ. พิมพ์ ในวาระครอบ 100 ปี ชาตกาล

มีอะไรที่เป็นข้อคิดดีๆ สำหรับคนเป็นอธิการบดี และ ที่ขาดไม่ได้ต้องมีธรรมาภิบาล นอกจากคิดก้าวไกลทางวิชาการ ด้วยแล้วครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"เตรียมออนแอร์ เป็นเรื่องเป็นข่าว ธุรกิจตรอบครัว แม่กับลูกขัดแย่งกัน"

เวลาไป ออนแอร์รายการสด มีความจำเป็นต้องรู้ประเด็นการสนทนา แต่บางครั้ง ก็ไม่รู้ว่าผู้ร่วมสนทนาจะพูดหรือ คิดแตกต่างจากเรามากน้อยแค่ไหน

การพร้อม และ รับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้า เป็นความจำเป็น แต่ ที่ผมคิดว่า สำคัญมาก ๆ คือ สติ แล้วอาศัย "แว๊บ" มาช่วยก็จะผ่านไปได้ดี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

'Assessor training program"

มาอบรมการเป็นผู้ตรวจประเมิน ของ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) วันที่ 30 -31 มี.ค.59



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"ไขปมขัดแย้ง ศึกสายเลือด ธุรกิจครอบครัว น้ำพริกเผาแม่ประนอม "

ผมไป ออกรายการสดมา ครับ ซึ่งดู VDO ย้อนหลัง รายการได้ ทันใจเลยครับ

.... ไขปมขัดแย้ง ศึกสายเลือด ธุรกิจครอบครัว น้ำพริกเผาแม่ประนอม pptv HD ช่อง 36 วันที่ 29 มี.ค.59

http://www.pptvthailand.com/programs/รายการข่าว/เป็นเรื่อง-เป็นข่าว/63353">http://www.pptvthailand.com/programs/รายการข่าว/เป...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"สิ่งที่มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์คือ ความเป็นมนุษย์"

วันที่ไปบรรยาย กลยุทธในการพัฒนาการเรียนการสอนฯ ให้ คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ฯ มทร.กรุงเทพ ผมเน้น คือ

-สิ่งที่มหา'ลัยสรรสร้าง กับผู้ที่มาเข้าเรียน คือ ความเป็นมนุษย์


-อาจารย์ต้องทำให้เด็ก หรือ นศ. ได้รู้เป้าหมายในชีวิต
-ต้องเข้าใจเป้าหมายสำคัญคือ การเพาะบ่มจินตนาการ
-และอาจารย์ทำหน้าที่เชื่อมจินตนาการเข้ากับประสบการณ์
กลยุทธใหม่ ที่ควรนำมาใช้เช่น CBL Challenge based learning (การเรียนรู้บนความท้าทาย) Imagineering (จินตวิศวกรรม) และ
Intregated learning โดยไม่ขังความรู้ให้อยู่แต่ในห้องเรียน
อจ. ที่เก่งต้อง สร้างแรงบันดาลใจ เห็นศักยภาพในตัวเด็ก แล้วใช้ศักยภาพของตนเองผลักให้ เด็ก (นศ.)ไปไกลสุดศักยภาพนั้น
ส่วนการสร้างงานเชิงสร้างสรรค์ ต้องสนทนา หรือ KM กันข้ามสาขาวิชา เพื่อให้เกิดหลักสูตรใหม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"น้ำพุร้อน กับ นักปฏิรูปการศึกษา"

ไป ที่ น้ำพุร้อน รุ่งอรุณรีสอร์ท สันกำแพง พอไปยืนใกล้ ๆ ร้อนและต้องรอนาน เมื่อทดลองเอาไข่ไปต้ม ช่างเหมือนกับ ระบบการศึกษาของชาติจริงๆ พวกนักการศึกษาของเรา เข้าแถวยืนต่อนักปฏิรูปที่ยาวเหยียดในการปฏิรูปการศึกษา และมีความเคลื่อนไหวกระท่อนกระแท่นมาก ที่จะทำให้เห็นความสำเร็จ เพราะไม่รู้ว่า จริงๆ อะไรคือหัวใจของความสำเร็จ...(ไม่งั้นเราคงทำสำเร็จมาตั้งแต่ทศวรรษแรกแล้ว) ก็เหมือน น้ำพุร้อน เราประมาณไม่ได้ว่า จุดเดือดไหน ที่พอเหมาะพอดี กับไข่ต้มที่น่ากิน เราเพียงประมาณได้คร่าว ๆ เท่านั้น




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

เมื่อเร็วนี้ได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ไป ตรวจประเมิน สถาบันแห่งหนึ่งเพื่อขอรับรอง

เป็นหน่วยงานสอบและประเมินความสามารถด้านวิชาชีพ

ประเด็นที่น่าสนใจคือ การมีความสามารถของวิชาชีพ เป็นสิ่งจำเป็น เพราะทำให้เกิดมาตรฐาน

ในการทำงาน

แต่ที่น่าระวังคือ สถาบันหรือหน่วยงานที่ ทั้ง สอน สอบและประเมิน จะทำอย่างไรให้มีธรรมาภิบาล

เพราะเป็นการทำแบบครบวงจร มีอะไรที่จะแสดงให้เห็นได้ว่า ไม่เกิดอคติ หรือ การขัดแย้งในผลประโยชน์

และอีกอย่าง สถาบันเหล่านี้ ต้องไม่ไปก้าวก่ายกับ การให้ปริญญา หรือ กำหนดเงื่อนไขของปริญญา

เพราะทำงานเกินบทบาท หรือ ติดกับดักด้านวิชาชีพ ทำให้การจัดการเรียนการสอนในสาขาดังกล่าว

ไม่มีความเป็นอิสระทางวิชาการ

ทำให้คิดว่า เรื่องแบบนี้ก็น่าเป็น "Accountability" ด้วยเหมือนกัน





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

Bookmark: HR Thailand

http://www.hrthailand.blogspot.com

ผู้นำด้าน HR ของเมืองไทย

Tags:



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท