อนุทินล่าสุด


ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชา การผลิตกล้วยไม้การค้า (Commercial Orchid Production)

1. ความหมายความสำคัญและประวัติของกล้วยไม้ไทย

2. ประเภทของกล้วยไม้

3. การขยายพันธุ์กล้วยไม้

4. การดูแลรักษากล้วยไม้

5. ศัตรูกล้วยไม้

6. การเก็บเกี่ยวกล้วยไม้

7. การตลาดกล้วยไม้

Lab. orchid

1.การศึกษาโรงเรือนกล้วยไม้

2.การขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายแบบแยกกอ

3.การขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายแบบแยกหน่อ(Sprout)

4.การขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลแวนด้าแบบตัดต้น

5.โรคแมลงศัตรูกล้วยไม้

6.การผสมพันธุ์กล้วยไม้

7.การเก็บเกี่ยวกล้วยไม้

8.การดูแลรักษากล้วยไม้

9.การตลาดกล้วยไม้

-----------------------------------------------



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

บทที่ 5  การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกยางพารา

สภาพพื้นที่เดิมที่จะใช้สำหรับปลูกในแต่ละท้องที่แต่ละแห่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ในการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกจึงสามารถทำได้หลายวิธี ในกรณีที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้อื่นขึ้นอยู่ จะต้องโค่นล้มไม้เหล่านี้ออกเสียก่อน การโค่นอาจทำโดยใช้แรงคน เลื่อย ใช้ขวานฟันหรือใช้เลื่อยยนต์ก็ได้ โดยตัดให้เหลือตอสูงจากพื้นดินประมาณ 50-60 เซ็นติเมตร จากนั้นจะต้องทำการฆ่าตอโดยใช้ยาฆ่าตอ 245-T 1 ส่วน ผสมน้ำมันโซล่า 16 ส่วน ทาตอในขณะที่ยังสดอยู่ จะทำให้ตอตายและผุสลายเร็วขึ้น หรืออาจใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ทั้งหมดเลยก็ได้ วิธีนี้จะถอนรากถอนโคนออกได้หมด แต่มีข้อเสียบางประการคือ การสูญเสียหน้าดินมาก

หลังจากโค่นยางเก่าหรือต้นไม้อื่นลงหมดแล้ว ต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้ต่าง ๆ รวมกันไว้เป็นกองเรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตามให้แห้งทำแนวกันไฟ แล้วเผาเศษไม้เหล่านั้นหลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังเผาไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง

เมื่อเผาปรนเสร็จเรียบร้อยทำการเตรียมพื้นที่โดยไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ส่วนในพื้นที่ที่ยังมีตอยางเก่าหรือตอไม้อื่นอยู่ อาจเตรียมดินลำบากหน่อย

แต่ถ้าในกรณีที่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเทมาก เช่นตามควรหรือเนินจะต้องทำขึ้นบันไดหรือต้านดินเพื่อสกัดกั้นไม่ให้น้ำฝนชะล้างเอาดินไหลตามน้ำไปหมด ขั้นบันไดอาจทำเฉพาะต้นหรือยาวเป็นแนวเดียวกัน อ้อมเป็นวงรอบไปตามไหลควรหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานกับพื้นดิน ความกว้างของขั้นบันไดอย่างน้อยที่สุดควรเป็น 1.5 เมตร แต่ละขั้นให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเป็นเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร กว้าง 60-70 เซ็นติเมตร ระยะห่างระหว่างขั้นบันไดอยู่ระหว่าง 8-10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของควรหรือเนิน ถ้าชันมากระยะระหว่างขั้นบันไดก็ควรจะห่างออก 

ระยะปลูก และการวางแนวปลูก

การกำหนดระยะปลูกและการวางแนวปลูกจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ เช่นพันธุ์ยางที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่เป็นต้น

สำหรับระยะปลูกในที่ราบ จากการทดลองค้นคว้าพบว่าต้นยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตรต่อ 1 ต้น สำหรับการแนะนำเจ้าของสวนในเรื่องระยะปลูกจึงต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ที่จะให้ต้นยางดังกล่าวเป็นหลัก ส่วนจะใช้ระยะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางหรือไม่

การใช้ระยะระหว่างแถวกว้าง วัชพืชจะมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตมากเช่นเดียวกัน ถ้าใช้ระยะระหว่างแถวแคบเกินไปหรือมีระยะน้อยกว่า 2.5 เมตร ต้นยางจะเบียดเสียดกันแย่งธาตุอาหารกันและจะชะลูดขึ้นไป เจริญเติบโตทางด้านข้างน้อย ในเรื่องนี้ทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้กำหนดระยะปลูกยางในพื้นที่ราบไว้ดังนี้

ระยะปลูกยาง (เมตร) จำนวน (ต้นต่อไร่) หมายเหตุ
3x7 76 ปลูกพืชแซม
2.5x8 76 ปลูกพืชแซม
3x8 67 ปลูกพืชแซม
3.5x7 67 ปลูกพืชแซม
4.6 67 ไม่ปลูกพืชแซม

ส่วนการกำหนดแถวหรือการจัดวางแนวปลูกเพื่อให้ได้สวนยางที่มีลักษณะสวยงามเป็รระเบียบในการวางแผนจัดสร้าง ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. กำหนดแถวหลัก การกำหนดแถวหลักควรจะวางขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน การกำหนดแถวหลักจะต้องให้ห่างจากแนวสวนยางเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ควรกำหนดแถวหลักไปตามแนวเดียวกับสวนยางเก่าเนื่องจากต้นยางที่ปลูกใหม่จะถูกแย่งอาหารและได้รับแสงไม่เพียงพอ

2. จัดเล็งแนวการทำแถวหลัก เมื่อได้กำหนดแถวหลักว่าจะใช้ในแถวใดแล้วก็จะวัดระยะจากเขตสวนด้านที่จะเริ่มทำแถวแรกเข้าไปในแนวตั้งฉากใช้ระยะห่าง

(ที่มา : www .natres .psu .ac .th /Department/PlantScience/510-211/.../rubber .doc)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

บทที่ 4  วัสดุปลูก และการเตรียมดิน

วัสดุที่จะใช้สำหรับปลูกยางมีหลายชนิดที่ใช้ได้ผลดี และนิยมนำมาปฏิบัติกันได้แก่ วิธีปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง การปลูกด้วยต้นตอตา และการปลูกด้วยต้นยางชำถุง ซึ่งการจะใช้วิธีการใดในการปลูกนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความสะดวก การเจริญเติบโตและความแข็งแรงของต้นยาง และเงินทุน เป็นต้น

วิธีการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง การปลูกสร้างสวนยางโดยวิธีนี้จะได้ต้นยางที่ปลูกมีระบบรากที่แข็งแรงดี เจริญเติบโตสม่ำเสมอ ข้อดีต้นยางที่ติดตาแล้วยังเหลือพอที่จะใช้ปลูกซ่อมหรืออาจจำหน่ายให้เจ้าของสวนอื่นได้อีก การปลูกแบบดังกล่าวยมีวิธีการคือ

1.การเตรียมพื้นที่ โดยการไถพลิกดิน เก็บเศษวัชพืชออกให้หมดจากแปลงจากนั้นไถพรวนซ้ำเพื่อให้ดินร่วนและทำการปักไม้ชะมบตามระยะปลูกที่กำหนด

2.เตรียมหลุมปลูก ขนาดของหลุมปลูกที่ใช้กว้าง ยาว และลึกเท่ากับ 50x50x50 เซ็นติเมตร ตากแดดทิ้งไว้ 10-15 วัน ย่อยดินชั้นบนผสมปุ๋ยหินร็อคฟอสเฟตในอัตรา 170 กรัมต่อหลุมคลุกเคล้าลงไปในหลุม

3.นำเมล็ดลงปลูก หากเป็นเมล็ดให้นำลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ 3 เมล้ด ระยะห่างระหว่างเมล็ด 25 เซ็นติเมตร การวางเมล็ดควรวางให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง หรือถ้าปลูกด้วยเมล็ดงอกก็ให้ด้านรากของเมล็ดคว่ำลง ลึกจากผิวดินประมาณ 3 เซ็นติเมตร

4.ทำการติดตา เมื่อกล้ายางมีอายุได้ 7-8 เดือน หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 1-1 1/2 เซ็นติเมตร ก็จะทำการติดตา ตรงตำแหน่งที่ระดับสูงจากพื้นดิน 10 เซ็นติเมตร หลังจากนั้น 21 วัน หากการติดตาสำเร็จมากกว่า 1 ต้น ให้เลือกตัดยอดต้นที่สมบูรณ์ที่สุดในระดับสูง 10-15 เซ็นติเมตร เอียง 45 องศา ทางด้านตรงข้ามกับแผ่นตา จากนั้นอีก 1 เดือน ถ้าหากตาของต้นที่ตัดยังไม่แตกก็พิจารณาติดต้นอื่นต่อไป

5.การดูแลรักษา ก่อนทำการติดตาต้องทำการกำจัดวัชพืชพร้อมกับการใส่ปุ๋ยก่อนทุกครั้ง สูตร 1 หรือ 3 ในอัตรา 15 กรัมต่อต้น หลังจากปลูกเดือนที่ 1,2,3 และก่อนติดตา 1 เดือน จากนั้นหลังการติดต้นเดิมแล้วก็จะใส่ปุ๋ยสูตร 1(18-10-6) หรือสูตร 3 (16-18-14) สูตรใดสูตรหนึ่งตามตารางคือ

อายุต้นติดตาหลังต้นเดิม (เดือน) - จำนวนปุ๋ยที่ใช้ (กรัมต่อต้น)

2 -60

5 -60

8 -90

12-120

15-120

18-120

24-190

30-190

36-190

42-190

48-400

54-400

การปลูกด้วยต้นตอตา ต้นตอตาก็คือต้นกล้ายางที่ติดตาด้วยยางพันธุ์ดีไว้เรียบร้อยแล้วแต่ตายังไม่แตกออกมา คงเห็นมีแผ่นตาและตาเป็นตุ่มติดอยู่เท่านั้น การปลูกโดยใช้ต้นตอตานี้ปัจจุบันนิยมมากที่สุด เพราะง่ายต่อการปฏิบัติและต้นยางเจริญเติบโตดี

ลักษณะของต้นตอยางที่ดีต้องมีส่วนของรากแก้วที่สมบูรณืไม่คดงอ ความยาววัดจากโคนตอดินไม่น้อยกว่า 20 เซ็นติเมตร ลำต้นตรงมีเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณที่ติดตาไม่น้อยกว่า 1 และไม่ควรโตกว่า 1.5 เซ็นติเมตร ระยะจากตาถึงโคนคอดินต้องไม่เกิน 8 เซ็นติเมตร และจากตาถึงรอยตัดไม่น้อยกว่า 8 เซ็นติเมตรเช่นกัน ขนาดของแผ่นตากว้างไม่เกิน 1.2 เซ็นติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 5 เซ็นติเมตร ส่วนรอยตัดเหนือแผ่นตาต้องให้ลาดเอียง 45 องศา ไปทางด้านตรงข้ามกับแผ่นตา สำหรับข้อที่ควรระวังในการปลูกด้วยต้นตอตาขณะปลูกควรให้แผ่นตาอยู่ในแนวทิศเหนือใต้ เพื่อไม่ให้แผ่นตาถูกแสงแดดมากเกินไป การปลูกต้องอัดดินให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้รากสัมผัสดินมากที่สุด มีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้

1.การเตรียมพื้นที่ ไถพลิกดิน 2 ครั้ง เก็บเศษไม้และวัชพืชออกให้หมด แล้วไถพรวนซ้ำเพื่อให้ดินร่วนซุย จากนั้นปักไม้ชะมบตามระยะปลูกที่กำหนด

2.ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซ็นติเมตร ตากหลุมไว้ 10-15 วัน ย่อยดินที่ทุกชั้นผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตรา 170 กรัมต่อหลุมใส่ลงไปในหลุม

3.ใช้เหล็กหรือไม้ปลายแหลมแทงลงไปบนหลุม ขนาดเกือบเท่าความยาวของรากแก้ว นำต้นตอตาลงปลูกให้แผ่นตาอยู่ในแนวเหนือหรือใต้ อัดดินให้แน่นเท่าที่จะทำได้แล้วกลบดินให้แนวระดับดินอยู่ตรงส่วนรอยต่อของรากกับลำต้น และหลังปลูกเสร็จควรพูนดินบริเวณโคนต้นให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อป้องกันน้ำขัง

คลุมโคนต้นด้วยเศษฟางข้าวหรือวัสดุอื่น ๆ ที่พอหาได้ ในกรณีที่ฝนไม่ตกติดต่อกันหลายวันหลังจากปลูกควรใช้น้ำช่วยด้วย อัตราประมาณ 5 ลิตรต่อต้น ตามความเหมาะสม 

การปลูกด้วยต้นยางชำถุง เป็นวิธีปลูกยางที่ประสบผลสำเร็จสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น ๆ ต้นเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดช่วงระยะดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลงสามารถกรีดยางได้เร็วกว่าการปลูกด้วยต้นตอตาหรือติดตาในแปลง การนำต้นยางชำถุงมีอยู่ 2 วิธีคือ การใช้วิธีติดตาในถุง ทำโดยการปลูกต้นกล้ายางในถุงขนาด 8x10 นิ้ว เมื่อต้นกล้าอายุ 4-8 เดือน ก็ทำการติดตา อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ต้นตอตาเขียวมาปลูกในถุงขนาด 5x16 นิ้ว และ 4x15 นิ้ว ทั้ง 2 วิธีจะมีข้อที่แตกต่างกันคือ การชำถุงด้วยต้นตอตาเขียวจะใช้เวลาในการแตกฉัตรที่ 1,2 นานกว่าวิธีการติดตาในถุง นั่นคือการปลูกด้วยต้นตอตาเขียวจะใช้เวลาเติบโต 7 1/2-10 สัปดาห์ แต่การติดตาในถุงจะใช้เวลา 6-7 1/2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ความเสียหายเมื่อย้ายไปปลูก ต้นยางชำถุงที่ปลูกด้วยวิธีติดตาในถุงจะเสียหายสูงกว่าการชำถุงด้วยต้นตอตาเขียว 5-6 เท่าตัว

สำหรับวิธีการปลูก ด้วยต้นยางชำถุงจะมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้

1.เตรียมต้นยางชำถุงโดยใช้ต้นตอตาเขียว เริ่มตั้งแต่การนำดินกรอกใส่ถุงขนาด 4x15 นิ้ว ใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตรา 7-10 กรัมต่อถุง แล้วนำอัดใส่ถุงให้แน่น ใช้ไม้ปลายแหลมปักลงกลางถุงให้เป็นรู ใช้ต้นตอตาปลูกให้ตาอยู่สูงจากดินในถุงประมาณ 2 นิ้ว อัดดินให้แน่นยกนำไปเรียงไว้ในที่ร่มรำไรระยะแถวกว้าง 10 ถุง และเมื่อตาแตกออกจึงจัดขยายเป็น 4 ถุงต่อความกว้างของแถง การบำรุงรักษาหลังตางอกแล้ว 2-3 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 1 ครั้งหนึ่ง และครั้งต่อไปทุก 2-4 สัปดาห์ ในอัตรา 5 กรัมต่อถุงจนกว่าต้นตาโต 1-2 ฉัตร มีใบแก่เต็มที่ (สังเกตยอดของฉัตรเริ่มผลิตยอดอ่อนเป็นปุ่มขึ้นมา) ก็พร้อมที่จะย้ายนำไปปลูกในแปลงได้

2.การปลูก เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การเตรียมหลุมปลูก ซึ่งจะเหมือนกันกับการปลูกด้วยต้นตอตา ส่วนวิธีการปลูกใช้มีดคม ๆ กรีดเอาก้นถุงออก กรณีที่มีราม้วนอยู้ก้นถุงให้ตัดออกด้วย นำถุงหย่อนลงไปในหลุม แล้วใช้มีดกรีดถุงอีกครั้ง จากก้นจนถึงปากถุงทั้ง 2 ข้าง นำดินกลบพอหลวมแล้วดึงเอาถุงพลาสติกออก กลบดินเพิ่มและกดให้แน่นจนได้ระดับบริเวณโคนต้นสูงระดับเดียวกับที่ปลูกในถุง ส่วนการดูแลรักษาโดยเฉพาะการใส่ปุ๋ย ชนิดของปุ๋ยและปริมาณที่ใส่ก็จะกระทำเหมือนกันกับการปลูกด้วยต้นตอตา ซึ่งได้แสดงเอาไว้แล้วในตาราง

(ที่มา : www .natres .psu .ac .th /Department/PlantScience/510-211/.../rubber .doc)



ความเห็น (1)

โห …. เยี่ยมค่ะอาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

บทที่ 3  พันธุ์และการขยายพันธุ์ยางพารา

3.1. พันธุ์ยางพาราที่น่าสนใจในปัจจุบัน ได้แก่

ก. พันธุ์ RRIM 600 เป็นยางที่เหมาะสำหรับปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่มีการต้านทานโรคต่ำ

ข. พันธุ์ RRIT 251 เป็นพันธุ์ยางให้ผลผลิตสูง เหมาะสำหรับพื้นที่ภาคใต้ แต่ไม่ควรปลูกบริเวณเนินเขา เพราะจะทำให้เกิดการพังทะลายของหน้าดินได้

ค. พันธุ์ RRIT 408 เป็นพันธุ์ยางที่ได้ทำวิจัยขึ้นเพื่อปลูกในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพันธุ์ยางให้ผลผลิตสูง

- RRIM ย่อมาจาก Rubber Research Institute of Malaysia (สถาบันวิจัยยาง มาเลเซีย) , RRIT ย่อมาจาก Rubber Research Institute of Thailand (สถาบันวิจัยยาง ไทย)

3.2. การขยายพันธุ์ยางพารา

ก. การเพาะเมล็ด - เพื่อใช้เป็นต้นตอ

ข. การติดตายางพาราพันธุ์ดี - เพื่อการปลูกเป็นการค้า

3.3. การปรับปรุงพันธุ์ยางพารา

ก. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยทั่วไป

1.การรวบรวมพันธุ์

2.การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมในท้องถิ่น

3.การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พืชสายพันธุ์ใหม่

ข. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ยางพารา

- การปรับปรุงพันธุ์ยางพารา เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ -มีอยู่ 2 แนวทาง คือ

1.การผสมพันธุ์ยางพารา -โดยการนำเกสรตัวผู้จากต้นที่มีลักษณะดีเด่นตามที่

ต้องการ ไปผสมกับเกสรดอกตัวเมียบนต้นแม่ที่มีลักษณะดีเด่นเช่นกันในสภาพแปลงปลูก

ตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันในกลุ่มประเทศผู้ผลิต ยาง

ธรรมชาติ เนื่องจากสามารถทราบประวัติของพันธุ์พ่อ-แม่ และสามารถติดตามการถ่ายทอด

ลักษณะต่าง ๆ ในลูกผสมได้เมื่อนำไปปลูกทดสอบ

-นิยมใช้วิธีผสมเกสรด้วยแรงคน ถึงแม้ว่าด้วยวิธีการนี้อัตราความสำเร็จหรืออัตรา

การผสมติดอยู่ในระดับต่ำ มาก คืออยู่ระหว่าง 2-5 % เท่านั้น และยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก

และมีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลสำเร็จ ทั้งที่ควบคุมได้และไม่ได้ เพราะ

เมล็ดที่ผสมนี้อยู่ในสภาพธรรมชาติ และเมล็ดจะใช้เวลาถึง 5 เดือนจึงจะพัฒนาเป็นเมล็ดแก่

ดังนั้นในช่วง 5 เดือนนี้ เมล็ดก็ต้องเสี่ยงอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ จึงมีผลให้

ความสำเร็จอยู่ในอัตราต่ำ

-การผสมพันธุ์ของยางพาราจะต่างจากพืชอื่นคือ ฝักยางพาราจะประกอบ ด้วย 3

เมล็ด ในการผสมพันธุ์แต่ละฝักจะต้องได้รับการผสมครบทั้ง 3 เมล็ดก่อน จึงจะมีการ

พัฒนาต่อเป็นเมล็ดแก่ ถ้าได้รับการผสมเพียง 1 หรือ 2 เมล็ด ก็จะมีการพัฒนาต่ออีกระยะ

สั้นๆ แล้วร่วงในที่สุด

2.การนำเข้าพันธุ์ยางพาราจากต่างประเทศ - ตามโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ยาง

ระหว่างประเทศ -ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส

และประเทศบราซิล โดยการนำพันธุ์ยางพาราที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปปลูกทดสอบ

และคัดเลือกพันธุ์ในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น และแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นปลายใน

ท้องที่ต่าง ๆ โดยใช้ขั้นตอนและเวลาดำเนินการเช่นเดียวกันกับพันธุ์ยางที่ได้จากการผสม

พันธุ์ในประเทศ

- การทดสอบสายพันธุ์ยางพารา

1.แปลงคัดเลือกพันธุ์ยางซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ลูก

ผสมที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการ

2.แปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น ซึ่งใช้เวลาอีกประมาณ 10 ปี

3.แปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นปลายในท้องที่ต่าง ๆ โดยใช้เวลาอีกประมาณ 13 ปี

ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 26 ปี เป็นอย่างน้อย

- การขยายพันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่ที่ได้ -มีอยู่ 2 แนวทาง คือ

1.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

2.การขยายพันธุ์โดยการติดตา

--------------------------------

(ข้อมูลบางส่วนจาก : http ://www .reothai .co .th และ http ://smarttapper .com/forum/index .php/topic156.0)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

บทที่ 2  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพารา

-ชื่อวิทยาศาสตร์ Hevea brasiliensis L.

-การจำแนกทางพฤกษศาสตร์

Class Angiospermae

Subclass Dicotyledonae

Family Euphorbiaceae

Genus Hevea

Species brasiliensis

-ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

-ราก

ระบบเป็นแบบรากแก้ว (tap root system) ประกอบด้วยรากที่เจริญมาจากคัพภะ (embryo) เรียกว่ารากแก้ว (primary root หรือ tap root) และมีรากแขนง (secondary root หรือ lateral root) ที่แตกออกมาจากรากแก้ว

-ลำต้น

ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะคล้ายรูปกรวย หรือรูปทรงกระบอก เป็นไม้เนื้ออ่อน ความสูงของลำต้น 30-40 เมตร ชั้นนอกสุดของลำต้น คือ เปลือก (bark) ชั้นนอกสุดของเปลือกคือ ชั้นเปลือกแข็ง (hard bark) ที่มี stone cell และท่อน้ำยาง (latex vessel) ชั้นในสุดของเปลือกคือ ชั้นเปลือกอ่อน (soft bark) ถัดจากเปลือกเข้าไปจนถึงกลางลำต้นเป็นชั้นของท่อลำเลียง (vascular cambium) เนื้อไม้ (wood หรือ xylem) และแกนกลางลำต้น (pith) ตามลำดับ

-ใบ

ใบเป็นใบประกอบแบบ trifoliolate มีใบย่อย 3 ใบ รอยต่อระหว่างใบย่อยกับก้านใบต่อกันจะมีต่อมน้ำหวาน (extrafloralnectary) 3 ต่อม เหนือรอยแผลหลังจากที่ใบร่วงจะพบตา 2 ชนิด คือ

1. ตาข้าง (lateral หรือ axillary bud) คือ ตาที่ช่วยในการแตกกิ่งและใบ ลักษณะคล้ายรูปใบโพธิ์หัวกลับ

2. ตาดอก (flower bud) คือ ตาที่เจริญเป็นดอก ลักษณะรูปวงแหวน

-ช่อดอกและดอก

ยางพาราเป็นพืชที่มีช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน แต่อยู่คนละตำแหน่ง เรียกว่า monoecious plant

ช่อดอกเป็นแบบ panicle  รูปร่างคล้ายปิรามิด ก้านดอก (pedicel) สั้น มีต่อมน้ำหวาน (nectary gland) อยู่ที่ฐานด้านนอกของกลีบเลี้ยง (sepal) ที่มีส่วนโคนเชื่อมติดกัน (calyx tube) ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้ (stamen) ละอองเกสรตัวผู้ (pollen) ดอกตัวเมีย ประกอบด้วยรังไข่ (ovary) ก้านเกสรตัวเมีย (style) ที่สั้น และยอดเกสรตัวเมีย (stigma)

-ผลและเมล็ด

ผลเป็นแบบ capsule เมล็ดเป็นรูปไข่ ประกอบด้วย เยื่อหุ้มเมล็ด (seed coat หรือ testa) เอนโดสเปิร์ม (endosperm) ถัดจากเอนโดสเปิร์มเข้าไปเป็นใบเลี้ยง (cotyledon) และแกนต้นอ่อน (embryonic axis)

(ที่มา : http ://agri .kps .ku .ac .th/agron/main .php?pg=chapter&et_id=10&e_id=1)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

บทที่ 1 สภาวะการปลูกยางพาราของประเทศไทย

1.1.การผลิต

-ในปี 2556 ประเทศไทยมีเนื้อที่กรีดยางทั้งสิ้น 15.1 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.6 มีผลผลิต 3.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ผลผลิตต่อไร่ 255 กิโลกรัม

-จังหวัดที่มีผลผลิตมากที่สุดคือ สุราษฎร์ธานี 0.45 ล้านตัน รองลงมาคือ สงขลา ตรัง นครศรีธรรมราช และยะลา ตามลำดับ

-สำหรับภาคอีสานมีเนื้อที่กรีดยาง 2.7 ล้านไร่ มีผลผลิต 0.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.8 และร้อยละ 21.2 ตามลำดับ ผลผลิตต่อไร่ 195 กิโลกรัม

-จังหวัดที่มีผลผลิตมากที่สุดคือ บึงกาฬ 0.11 ล้านตัน รองลงมาคือ เลย อุดรธานี อุบลราชธานี และบุรีรัมย์ ตามลำดับ

1.2.การตลาด

-ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ปี 2556 ปรับลดลงจากปีก่อน จากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ยางยังชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ประกอบกับสต็อกยางทั้งในและต่างประเทศยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกยางแปรรูป (รวมยางคอมพาวนด์=คือ ส่วนผสมของยางกับสารเคมีต่าง ๆ เป็นส่วนผสมที่ได้บดผสมให้มีความเป็นเนื้อเดียวกัน พร้อมที่จะขึ้นรูป) ยังคงเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากความต้องการของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อสต็อกยางในช่วงราคาที่ลดลง

-สำหรับแนวโน้มปี 2557 คาดว่าราคายางแผ่นดิบของไทยจะใกล้เคียงกับปีก่อน โดยจะเคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 75 - 85 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ จีนยังคงเป็นผู้นำเข้าที่สำคัญของไทย

(สรุปจาก...http ://www .bot .or .th/Thai/EconomicConditions/)

--------------------------------



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

การสร้างแบบทดสอบอัตนัยที่มีคุณภาพ

โดย ยืนยง ราชวงษ์

การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) เป้าหมายการเรียนรู้ (มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของนักเรียน) 2) การออกแบบเครื่องมือวัดผลและทำการประเมินคุณภาพนักเรียนที่สะท้อนว่านักเรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ (เครื่องมือวัดผลชนิดต่างๆ) และ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สะท้อนถึงเป้าหมายการเรียนรู้

สำหรับบทความนี้จะนำเสนอการออกแบบเครื่องมือวัดผลที่สะท้อนถึงเป้าหมายการเรียนรู้ เพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ แบบทดสอบแบบอัตนัยหรือแบบทดสอบแบบความเรียงหรือแบบทดสอบแบบบรรยาย จะมีลักษณะเฉพาะคำถาม แล้วให้นักเรียนได้เขียนตอบอย่างเสรี ที่ครูได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลทั้งในระหว่างเรียนและเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนของแต่ละรายวิชา ในปัจจุบันถูกนำมาใช้น้อยลง ด้วยข้อจำกัดหลายประการคือ วัดเนื้อหาได้ไม่ครอบคลุมเพราะข้อสอบถามได้น้อยข้อ ตรวจให้คะแนนยาก เสียเวลาและการให้คะแนนคนที่ตรวจไม่แน่นอน จึงส่งผลต่อความเที่ยงน้อย แต่อย่างไรก็ตามแบบทดสอบอัตนัยหรือแบบเขียนตอบ จะส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ดี เป็นการวัดความสามารถของนักเรียนได้อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถวัดพฤติกรรมระดับความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ จนถึงระดับการประเมินค่า ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งวัดความคิดริเริ่มและความคิดเห็นได้ดี สร้างได้ง่าย รวดเร็ว ประหยัด เดาได้ยากและส่งเสริมทักษะการเขียนและนิสัยการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนมีการเชื่องโยงความสามารถในหลายด้าน เช่น การอ่าน การคิด การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การเขียน เป็นต้น มาบูรณาการในการเรียนรู้เข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นว่านักเรียนสามารถเขียนสื่อสารเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอีกทางหนึ่ง

ในกระบวนการสร้างข้อสอบเพื่อจัดทำแบบทดสอบนั้น ครูต้องมีความเข้าใจกระบวนการเพื่อนำไปสู่แบบทดสอบ คือ การวัดผล (Measurement) ถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญของครู เมื่อครูได้จัดการเรียนการสอนไปแล้ว จำเป็นที่ครูจะต้องตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ (Knowledge or Attribute or Process) ของนักเรียนที่รับผิดชอบว่านักเรียนบรรลุผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด การวัดผลจะเป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างรอบด้านทุกมิติ เป็นการนำเสนอตัวตนที่แท้จริงของนักเรียนให้มากที่สุด ข้อมูลที่แสดงออกมา จะอยู่ ในรูปเชิงปริมาณหรือจำนวน หรือเชิงคุณลักษณะต่างๆ ตามที่ครูต้องการ ที่เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยที่ครูต้องอาศัย การทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสำรวจ อย่างเป็นระบบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนว่าบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ ต่อจากนั้นครูต้องมีการประเมินผล (Assessment) เพื่อวินิจฉัยพฤติกรรมต่างๆ นำไปสู่การช่วยเหลือนักเรียนด้วยการปรับปรุงและพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละคน และสุดท้ายคือครูจะมีการประเมินผล (Evaluation) เพื่อนำผลที่ได้มาทำการตัดสินให้ระดับคุณภาพ และนำไปสู่การเลื่อนชั้นเรียนหรือจบหลักสูตรต่อไป

จุดมุ่งหมายของการวัดผลที่สำคัญ คือเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพหรือสมรรถภาพของนักเรียน ว่านักเรียนมีความบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใด อย่างไร แล้วครูก็ต้องพยายามพัฒนาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และให้มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน ให้เป็นตามจุดหมายที่ต้องการ นอกจากนี้ครูต้องค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป ครูอาจนำผลที่ได้มาจัดอันดับหรือจัดตำแหน่งความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3 หรือเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน นอกจากนี้นำผลที่ได้ไปพยากรณ์ คาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคตของนักเรียน สุดท้ายคือการนำผลมาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพการเรียนรู้ ที่เป็นไปตามระเบียบหรือเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และนำเสนอผลของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร

หลักการวัดผลที่สำคัญ ครูต้องวัดให้ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรที่กำหนดเป็นหลัก เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีมีคุณภาพและเหมาะสม ใช้เครื่องมือวัดผลหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดผลมีความถูกต้องสมบูรณ์

จากทั้งหมดที่กล่าวมา ครูจะต้องสร้างเครื่องมือวัดผลให้มีคุณภาพ ไม่เช่นนั้น การวัดผลที่ได้ก็จะไม่สามารถสะท้อนความสามารถหรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แท้จริงของนักเรียน เครื่องมือวัดผลที่มีคุณภาพนั้น ต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน คือเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มีความเป็นปรนัย ยากง่ายพอดี จำแนกได้ดี มีความยุติธรรมสำหรับคนสอบ มีความท้าทายในการตอบ มีประสิทธิภาพและต้องมีความน่าเชื่อถือ

กระบวนการสร้างข้อสอบอัตนัยหรือความเรียง (Subjective or Essay Test) ให้มีคุณภาพ

หลักการสร้างข้อสอบแบบอัตนัย

1. กำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการวัดพฤติกรรมด้านใด (มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้) ของนักเรียน โดยจัดทำเป็นพิมพ์เขียว (Test blueprint)

2. เขียนข้อคำถาม

2.1 เขียนให้ชัดเจน จำเพาะเจาะจงว่าต้องการให้ผู้ตอบทำอย่างไร เช่น อธิบาย วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น ฯลฯ รวมทั้งการเขียนคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการตอบให้ชัดเจน

2.2 เขียนคำถามวัดพฤติกรรมระดับสูงๆ ตั้งแต่ความเข้าใจขึ้นไป คำถามแต่ละข้อมีความยากง่าย ไม่เท่ากัน
2.3 เขียนคำถามโดยใช้สถานการณ์ใหม่ๆ ไม่ควรถามตามตำราหรือหนังสือเรียนหรือถามในสิ่งที่เรียนมาแล้ว

2.4 ต้องเลือกคำถามเฉพาะจุดที่สำคัญ เป็นประเด็นสำคัญของเรื่องมาเป็นข้อคำถาม

3. กำหนดความซับซ้อนและความยากให้เหมาะสมกับวัยของผู้ตอบ

4. ควรเฉลยคำตอบไปพร้อมๆ กับการเขียนข้อสอบ

5. กำหนดเวลาการตอบ นานพอสมควร

6. เมื่อได้ข้อสอบเพื่อจัดทำเป็นฉบับแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาข้อสอบ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล ได้ทำการตรวจสอบว่า มีความสอดคล้อง เหมาะสมและมีความเป็นปรนัยหรือไม่ อย่างไร

7. เมื่อผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ก็นำไปแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ได้เรียนเนื้อหาที่ใช้เขียนข้อสอบมาแล้ว เพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพเป็นรายข้อและคุณภาพทั้งฉบับต่อไป

ข้อแนะนำในการตรวจให้คะแนน ข้อสอบอัตนัย

1. พิจารณาคำตอบแต่ละข้ออย่างคร่าวๆก่อน ยังไม่ต้องให้คะแนน แบ่งคุณภาพของการตอบของผู้ตอบออกเป็นกลุ่มๆ เช่น ดีมาก ดี ปานกลาง ค่อนข้างดี ยังใช้ไม่ได้

2. ตรวจละเอียดแต่ละข้อ ของแต่ละกลุ่มอีกครั้ง แล้วให้คะแนน

3. ควรนำคะแนนตามข้อ 2 มาเรียงลำดับโดยวิธีการจัดอันดับคุณภาพ (Rating scale)

4. ควรตรวจทีละข้อของทุกคนจนหมดก่อน แล้วจึงตรวจข้อต่อไป

5. ควรสุ่มกระดาษคำตอบมาตรวจ โดยไม่ต้องดูชื่อผู้ตอบ เพื่อไม่ให้เกิดอคติในการตรวจ

6. ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ผู้ตรวจอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้ผลการตรวจถูกต้องเชื่อถือได้มาก

ลักษณะคำถาม ของข้อสอบอัตนัย

ข้อสอบแบบอัตนัย สามารถเขียนคำถามได้ ทุกระดับพฤติกรรม ดังนี้

1. ความรู้-ความจำ เช่น

- จงบอกประโยชน์ของ...มา 5 ข้อ

- จงบอกขั้นตอนของ...มาตามลำดับ

2. ความเข้าใจ

2.1 ถามให้เปรียบเทียบ เช่น

- จงเปรียบเทียบความแตกต่างของ....ระหว่าง....และ...

- จงเปรียบเทียบลักษณะอากาศของภาคเหนือกับภาคใต้

2.2 ถามให้บรรยาย เช่น

- จงอธิบายวิวัฒนาการของการ....ในประเทศไทย

- จงอธิบายสภาพการวิถีชีวิตชาวบ้านในหมู่บ้านของเรา

2.3 ถามให้สรุปความ เช่น

- จงสรุปเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการปฏิวัติในประเทศไทย

- ใจความสำคัญของ.... กล่าวไว้อย่างไร

3. การนำไปใช้

3.1 ถามให้คาดคะเนผลที่จะเกิด เช่น

- ผลที่ได้รับจากการมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ มาเที่ยวในประเทศไทยมากจะเป็นอย่างไร

- ผลกระทบที่ได้รับจาก....มีอย่างไรบ้าง

3.2 ถามให้หาความสัมพันธ์

- ทำไมจึงต้อง....ให้กับนักเรียน

- เหตุใด การสื่อสารทางโทรศัพท์ จึงมีความจำเป็นต่อวงการธุรกิจ

3.3 ถามให้ยกตัวอย่างจากเรื่องที่เรียนไปแล้ว

- จงยกตัวอย่างที่ใช้หลักการของ “ความร้อนทำให้เส้นลวดขยายตัว" ไปใช้ในชีวิตประจำวันมา 3 ตัวอย่าง

- จงยกตัวอย่างอาหารที่มีคุณค่าและราคาถูกในชีวิตประจำวัน และอธิบายด้วยว่ามีคุณค่าต่อร่างกายอย่างไร

3.4 ถามให้ประยุกต์หลักการและทฤษฎีในสถานการณ์ใหม่

- ถ้าเราต้องการขึงลวดเพื่อให้เป็นราวตากผ้าให้ตึงอยู่ตลอด เวลาจะทำได้อย่างไร

4. การวิเคราะห์

4.1 ถามให้บอกความสำคัญ เช่น

- อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยร้อนจัดในปีนี้

4.2 ถามให้บอกเหตุผล เช่น

- ถ้าจุดมุ่งหมายของ....เพื่อ... ดังนั้น....ด้วยเหตุผลใด

- อะไรน่าจะเป็นผลของ............

4.3 ถามให้หาหลักการ เช่น

- จงบอกหลักการที่สามารถอธิบายเหตุการณ์ต่อไปนี้.....

5. การสังเคราะห์

5.1 ถามเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการ เช่น

- จงเขียนแผนงานที่จะปรับปรุงบริเวณโรงเรียนให้สะอาด เรียบร้อยและปลอดภัย

5.2 ถามให้จัดรวบรวมข้อเท็จจริงใหม่ เช่น

- จากการเรียนวิชา....แล้ว นักเรียนคิดว่าจะนำเอาความรู้หรือข้อเสนอแนะอะไรไปใช้ในการ...พัฒนา...ของนักเรียน.....

5.3 ถามให้แสดงความคิดสร้างสรรค์ เช่น

- จงบอกวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียนให้มากที่สุด

- จงเสนอวิธีทำสื่อ...ด้วยเศษวัสดุ มาให้มากที่สุด

6. การประเมินค่า

6.1 ถามให้ตัดสินใจ เช่น

- การที่รจนาเลือกเจ้าเงาะ ถือเป็นความผิดหรือไม่เพราะเหตุใด

- ถ้าให้สอบปากเปล่ากับข้อเขียน นักเรียนคิดว่านักเรียนสามารถจะทำคะแนนอย่างไหนได้ดีกว่ากัน เพราะเหตุใด

6.2 ถามให้อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์

- จงอภิปรายบทบาทของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียน

- นักเรียนเห็นด้วยกับคำถามที่ว่า "..." หรือไม่ จงให้เหตุผลสนับสนุนความคิดของนักเรียน

การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย

1. การวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อหาคุณภาพเป็นรายข้อ

การวิเคราะห์ค่าความยากง่าย P มาจากภาษาอังกฤษ Difficulty จะวิเคราะห์โดยใช้สูตร

P= (PH+PL)/2

การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก rมาจากภาษาอังกฤษ Discriminationได้จาก

r=PH - PL

PHแทน คือ สัดส่วนของคะแนนที่ผู้สอบในกลุ่มสูงตอบได้ถูกต้องในข้อนั้นๆ

PLแทน คือ สัดส่วนของคะแนนที่ผู้สอบในกลุ่มต่ำตอบได้ถูกต้องในข้อนั้นๆ

นอกจากนี้ ยังมีสูตรที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก ดังนี้

การวิเคราะห์ค่าความยากง่าย P โดยใช้สูตร

การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก rโดยใช้สูตร

P แทน ค่าความยากง่ายของข้อสอบเป็นรายข้อ

r แทนค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบเป็นรายข้อ

แทนผลรวมคะแนนของกลุ่มสูงที่ตอบข้อสอบข้อนั้น

แทนผลรวมคะแนนของกลุ่มต่ำที่ตอบข้อสอบข้อนั้น

Smaxแทน คะแนนที่ทำได้สูงสุด ของข้อสอบข้อนั้น

Sminแทน คะแนนที่ทำได้ต่ำสุด ของข้อสอบข้อนั้น

Nแทน จำนวนคนที่ทำข้อสอบข้อนั้นในกลุ่มสูง (หรือกลุ่มต่ำ)

2. การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัยเพื่อหาคุณภาพทั้งฉบับ

ข้อสอบอัตนัยที่มีลักษณะเป็นแบบเรียงความ เขียนตอบหรือข้อสอบที่แต่ละข้อมีค่าน้ำหนักคะแนนไม่เท่ากัน หรือแบบวัดเจตคติ สามารถหาความเชื่อมั่น (Reliability) ได้ด้วยการวิเคราะห์ ค่าคงที่ภายใน ของ CoefficientAlpha ใช้ สูตร ดังนี้

สูตรความเชื่อมั่น =

K แทนจำนวนข้อสอบทั้งฉบับ (กี่ข้อ)

S2แทนคะแนนความแปรปรวนของแบบทดสอบทั้งฉบับ

Sร2 แทนคะแนนความแปรปรวนของข้อสอบแต่ละข้อ

SSร2แทนผลรวมของคะแนนความแปรปรวนของข้อสอบแต่ละข้อ

ขั้นตอนการหาค่าความเชื่อมั่น

1. นำแบบทดสอบที่ต้องการหา ไปทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากพอ

2. ตรวจให้คะแนนเป็นรายบุคคลและรายข้อ

3. บันทึกคะแนนและแทนค่าในสูตร

(http://www.gotoknow.org/posts/573474)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

เหตุปัจจัยอื่นที่ทำให้ผักผลไม้ และดอกไม้มีอายุการเก็บรักษาสั้น

คนส่วนใหญ่ทราบว่า หากวางพืชผักผลไม้รวมถึงดอกไม้สดทิ้งไว้ภายนอกที่อากาศร้อน ไม่นานนักผักผลไม้และดอกไม้เหล่านั้นจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว แต่มีน้อยคนที่ทราบว่า พืชผักผลไม้รวมถึงดอกไม้สดที่ถูกเด็ดหรือตัดจากลำต้นแล้วยังคงมีชีวิต และมีการหายใจ เสมือนว่าพืชผลเหล่านั้นยังอยู่กับลำต้นเดิม ซึ่งกระบวนการหายใจของพืชผลเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผักผลไม้สูญเสียความสด นอกจากนี้ยังมีเหตุปัจจัยอื่นที่ทำให้ผักผลไม้ และดอกไม้มีอายุการเก็บรักษาสั้น ได้แก่

ก๊าซเอทิลีน

เอทิลีนมีสูตรเคมี C2H4 เป็นก๊าซที่พืชบางชนิดผลิตออกมา เพื่อทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนกระตุ้น หรือเร่งให้ผลไม้เกิดกระบวนการสุกงอม ซึ่งผลไม้หลายชนิด เช่น กล้วย มะละกอ จะเกิดการสุกงอมเร็วขึ้นเมื่อได้รับก๊าซนี้ ดังนั้นในการขนส่งผลไม้ที่ใช้เวลานาน เช่น การขนส่งทางเรือสินค้า นอกจากผู้ประกอบการจะเก็บผลไม้ดิบไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ เพื่อชะลอกระบวนการหายใจของพืชแล้ว ยังต้องหาวิธีกำจัดก๊าซเอทิลีนที่ผลไม้ปล่อยออกมา เพื่อไม่ให้ผลไม้สุกก่อนกำหนดด้วย

เหตุผลสำคัญที่ต้องชะลอเวลาสุกงอม เนื่องจากการสุกงอมเป็นสภาวะสุดท้ายที่ผักผลไม้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เมื่อผ่านสภาพสุกงอมแล้วผักผลไม้จะเริ่มเหี่ยวหรือเกิดการเน่าเสีย ดังนั้นบรรจุภัณฑ์สำหรับผลไม้ที่สามารถปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมา จึงอาจมีการใส่สารบางชนิดที่สามารถดูดซับก๊าซเอทิลีนรวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์ (เช่น sachet of ethylene absorbing substance) หรือใช้สารนั้นเป็นองค์ประกอบในวัสดุบรรจุภัณฑ์ เพื่อดูดซับเอทิลีนที่ผลไม้ปล่อยออกมาระหว่างการบรรจุหรือขนส่ง เพื่อชะลอการสุกและการเน่าเสียของผลิตผล

ก๊าซออกซิเจน

โดยปกติก๊าซออกซิเจนเป็นก๊าซที่มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดไม่เว้นแม้แต่พืช แต่สำหรับพืชผักผลไม้รวมถึงดอกไม้ที่ถูกเก็บเกี่ยวหรือถูกตัดถูกเด็ดจากต้นแล้ว ระดับปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ปรากฏในบรรยากาศทั่วไป (~21%) ถือว่า เป็นระดับออกซิเจนที่มากเกินไปจนทำให้เกิดผลทางลบต่อพืชได้ เนื่องจาก

1.ก๊าซออกซิเจนเอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และเชื้อราต่างๆ ที่ทำลายผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว

2.โดยธรรมชาติหลังการเก็บเกี่ยวผักผลไม้สดยังคงมีการหายใจ ซึ่งต้องใช้ก๊าซออกซิเจน สารอาหาร และน้ำที่อยู่ในเซลล์พืชเป็นวัตถุดิบ ดังนั้นหากบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์มีระดับก๊าซออกซิเจนมาก พืชผักผลไม้จะมีหายใจตามอัตราปกติเหมือนตอนที่ติดอยู่ต้น ซึ่งส่งผลให้พืชผลเหี่ยวง่าย

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

โดยทั่วไปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเพียงผลิตผลที่เกิดจากกระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ และไม่น่าจะมีประโยชน์เท่าใด แต่สำหรับการถนอมรักษาความสดของผักผลไม้แล้ว ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรจุภัณฑ์ที่มีระดับความเข้มข้นเหมาะสมจะมีบทบาทสามารถช่วยถนอมความสดของพืชผักผลไม้ เนื่องจากก๊าซนี้ทำให้เกิดสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ และการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ต่างๆ ได้

ความชื้น

ความชื้นคือ ไอน้ำในบรรยากาศ ซึ่งมาจากการหายใจของผักผลไม้ รวมถึงปริมาณไอน้ำที่แฝงตัวอยู่ในบรรยากาศ ความชื้นในบรรจุภัณฑ์เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาผลิตผลสด รวมถึงอาหารในบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากหากอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงมาก ไอน้ำที่อยู่ภายในจะควบแน่นเป็นหยดน้ำในระหว่างขนส่งสินค้า และจะกลายเป็นปัจจัยที่เอื้อให้เชื้อราและจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตบนผลิตผลสด รวมถึงทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ

อุณหภูมิ

เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อความสด หากอุณหภูมิการเก็บรักษาสูง ผักผลไม้สดต่างๆ จะมีอัตราการหายใจมากขึ้น ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาพืชผักเมืองหนาวควรเก็บที่อุณหภูมิใกล้ 0 ºC ขณะที่ผักผลไม้เขตร้อน รวมถึงพืชผลต่างๆ ที่ปลูกในประเทศไทยควรเก็บรักษาที่อุณหภูมิประมาณ 10-13 ºC เหตุผลที่ไม่ควรเก็บผักผลไม้เขตร้อนไว้ที่อุณหภูมิต่ำเกินไปก็เพื่อหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์สะท้านหนาว (chilling injury)

(http ://www .mtec .or .th/index .php/2013-05-29-09-06-21/2013-05-29-09-39-49/1389-)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

เม็ดพลาสติกที่ใช้มากในประเทศไทย  มีอยู่ 4 ประเภท คือ โพลีเอธิลีน (polyethylene - PE) โพลีโพรพิลีน (polypropylene - PP) โพลีสไตรีน (polystyrene - PS) และโพลีไวนิลคลอไรด์หรือ พีวีซี (polyvinyl cholride - PVC) โดยเม็ดพลาสติกแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้าน คุณสมบัติ การใช้และการบริโภค

1. โพลีเอธิลีน (polyethylene – PE) เป็นเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติแข็งแรง เหนียว ทนทาน ป้องกันความชื้นมิให้ผ่านเข้าออกได้ แต่ให้ก๊าซต่างๆ ซึมผ่านได้ ทนกรดและด่างอ่อน ไม่ทนน้ำมันและไขมัน โดยเฉพาะน้ำมันก๊าซและน้ำมันเบนซิน มีน้ำหนักเบา ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 0.93 ในรูปแผ่นบาง สามารถพับงอได้ดี มีความยืดตัวได้สูง ฉีกขาดยาก เป็นฉนวนไฟฟ้าดีมาก ไม่สามารถทนความร้อนสูง แต่ทนความเย็นได้ถึง –100 องศาฟาเรนไฮต์ เม็ดพลาสติก PE แบ่งได้ตามเกรดเป็น 3 ชนิดคือ

-โพลีเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (low-density polyethylene - LDPE) ใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ เช่น กระสอบ ถุงเย็น ซองใส่ของ ตลอดจนเป็นวัตถุดิบผลิตของเล่นเด็กพลาสติกและฉนวนหุ้มสายไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ทำวัสดุเคลือบผิว (coating or lamination) และใช้กับงานขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติกโดยการเป่า (blow molding) เช่น ขวดพลาสติก คุณสมบัติเด่นของบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดนี้คือ มีความเหนียว และคงทน

-โพลีเอธิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (high-density polyethylene - HDPE) ใช้กับงานเป่าขึ้นรูป (blow moulding) โดยใช้ทำเป็นขวดพลาสติกและภาชนะบรรจุประเภทต่างๆ ที่ต้องทนต่อแรงดันและต้องมีแรงต้านทานสูง นอกจากนี้ยังใช้ในงานด้านการฉีดขึ้นรูป (injection) เช่น ผลิตของเล่นเด็ก และเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้าน ตลอดจนใช้ทำแผ่นฟิล์ม เชือก ฉนวนหุ้มสายไฟ ท่อ และรางน้ำ ทั้งนี้ ท่อที่ทำจาก HDPE สามารถใช้แทนท่อที่ทำจากพีวีซี เนื่องจากมีความทนทานใกล้เคียงกัน แต่มีราคาถูกกว่า

-โพลีเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (linear low-density polyethylene - LLDPE) เป็นวัสดุใช้ผสมกับ LDPE เพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับตัวผลิตภัณฑ์

2. โพลีโพรพิลีน (polypropylene - PP) เป็นเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติคล้ายโพลีเอธิลีน ยอมให้แสงผ่านได้ดี สามารถมองเห็นอาหารที่บรรจุอยู่ภายในได้ ทนความร้อนได้สูงกว่า PE ถึง 300 องศาฟาเรนไฮต์ รับแรงดึงได้ถึง 100,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และมีความเหนียวทนทานกว่า ในประเทศไทยใช้เม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีนเป่าเป็นถุงบรรจุเอนกประสงค์ ทั้งถุงร้อนและถุงเย็น รวมทั้งทำเป็นเชือก กระสอบ พื้นพรม สนามหญ้าเทียม ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

3. โพลีสไตรีน (polystyrene - PS) เป็นเม็ดพลาสติกที่เปราะ แตกหักง่าย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ แต่มีลักษณะโปร่งใส ทนกรด ทนด่าง กันการซึมของน้ำได้ดี ส่วนใหญ่ใช้ผลิตเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลับเทป กล่องบรรจุอาหาร และของใช้พลาสติกประจำวันทั่วไปที่ไม่ต้องการความทนทานมาก เป็นต้น

4. โพลีไวนิลคลอไรด์ (polyvinyl chloride - PVC) เป็นเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติแข็ง ทนต่อไขมัน ยืดหยุ่นได้ดี ใช้ผลิตเป็นอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง เช่น ข้อต่อ บานประตู ท่อ พลาสติกแผ่น วัสดุปูพื้น ฉนวนหุ้มสายไฟ และอะไหล่รถยนต์ เป็นต้น

บรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทถุงและกระสอบพลาสติกในประเทศไทยใช้วัตถุดิบคือเม็ดพลาสติก LDPE และ PP โดยเม็ดพลาสติก PP นิยมทำเป็นกระสอบและถุงร้อนเนื่องจากมีความเหนียวและทนความร้อนได้ดี ส่วนเม็ดพลาสติก LDPE ใช้ผลิตเป็นถุงเย็นและกระสอบพลาสติก นอกจากนี้ ยังใช้พลาสติกเก่าของถุงร้อนและถุงเย็นที่ใช้แล้วมาหลอมละลายใหม่ ส่วนมากใช้ผลิตแผ่นพลาสติกแทนใบตองเพื่อรองอาหารทั่วไปที่ไม่มีความร้อน

(www .thaifta .com/thaifta/Portals/0/file/vol4Ch_9_plastic.doc)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

ถุงก๊อบแก๊บ 

ทำมาจาก โพลิเอทธิลีนประเภทความหนาแน่นต่ำ; (Low Density Polyethylene, LDPE) เนื่องจากคุณสมบัติของพลาสติกชนิดนี้จะนิ่ม สามารถยืดตัวได้มาก และ มีความใส ต่างจาก HDPE ซึ่งจะมีเนื้อค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ไม่แตกง่าย นิยมทำพวกขวด หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

(http ://www .sahavicha .com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1066)

---------------------------------

ถุงบรรจุเอนกประสงค์ ทั้งถุงร้อนและถุงเย็น

โพลีโพรพิลีน (polypropylene - PP) เป็นเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติคล้ายโพลีเอธิลีน ยอมให้แสงผ่านได้ดี สามารถมองเห็นอาหารที่บรรจุอยู่ภายในได้ ทนความร้อนได้สูงกว่า PE ถึง 300 องศาฟาเรนไฮต์ รับแรงดึงได้ถึง 100,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และมีความเหนียวทนทานกว่า ในประเทศไทยใช้เม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีนเป่าเป็นถุงบรรจุเอนกประสงค์ ทั้งถุงร้อนและถุงเย็น รวมทั้งทำเป็นเชือก กระสอบ พื้นพรม สนามหญ้าเทียม ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

(www .thaifta .com/thaifta/Portals/0/file/vol4Ch_9_plastic.doc)

-----------------------------------

สำหรับคนทั่วไปในประเทศเราเมื่อพูดถึงถุงพลาสติกก็จะรู้จักกันอยู่ 2 อย่างคือ ถุงพลาสติกธรรมดา และถุงร้อน

- ถุงธรรมดานั้นทำด้วยแผ่นโพลีเอธีลีนบรรจุของร้อนจัดไม่ได้

- ส่วนถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารร้อนๆ นั้นทำจากแผ่นโพลีโปรลีน ซึ่งทนความร้อนได้ถึงอุณหภูมิของน้ำเดือด

(http ://www .healthcarethai .com)

----------------------------------

ถุงพลาสติกบรรจุอาหารทำมาจากอะไร. ถุงพลาสติกธรรมดา ได้แก่. - ถุงเย็น ทำมาจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ถุงมีลักษณะค่อนข้างใส นิ่ม ...

(atcloud .com/discussions/73935)

---------------------------------

ถุงร้อน (พีพี) กับถุงเย็น (พีอี) แตกต่างกันอย่างไร และนำไปใช้ใส่อะไร?

- ถุงเย็น ทำมาจากโพลีเอททิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) มีลักษณะใส นิ่ม และยืดหยุ่นได้สามารถใช้บรรจุของ เพื่อแช่แข็งได้ที่ อุณหภูมิต่ำสุดถึง –40 องศาเซลเซียส แต่ถุงเย็นไม่เหมาะที่จะใช้บรรจุไขมัน หรือน้ำมันต่างๆ

- ต่อมา จึงมีการผลิต ถุงร้อน ซึ่งผลิตจาก โพลีโพพิลีน (PP) มีลักษณะใสกว่า ถุงเย็น ไม่ยืดหยุ่น บรรจุพวกไขมันได้ดีรวมทั้ง ใช้ บรรจุ ของร้อนได้ถึงจุดน้ำเดือด แต่ใช้บรรจุของ เย็น ได้ที่อุณหภูมิต่ำสุดเพียง 0 องศาเซลเซียสเท่านั้น

(http ://www .fitplaspack .com/knowledge.php#t2)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

สุขภาพจิตดี ได้อย่างไร (สรุป)

คนที่มีสุขภาพจิตดี ก็คือ คนที่เข้าใจตนเอง สามารถปรับตัวปรับใจได้อย่างเหมาะสมกับสังคม และสภาพความเป็นจริง เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิตก็สามารถคิดแก้ไขได้อย่างถูกวิธี เทคนิคการดูแลสุขภาพจิตให้ดี มีดังนี้

1. ควรหมั่นฝึกควบคุมอารมณ์และจิตใจของตนเองให้มั่นคง สุขุม เยือกเย็น มีเมตตา รู้จักให้อภัยและเข้าใจคนอื่น มองโลกในแง่ดี

2. รู้จักปรับความคิดของตนเองให้เป็นคนมีเหตุมีผล ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ปรับตนเองให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงในสถานการณ์ต่าง ๆได้

3. สำรวจตนเองอยู่เสมอว่า มีข้อดีข้อเสียตรงไหน ข้อดีก็เก็บเป็นกำลังใจเพื่อพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น ส่วนข้อเสียก็ปรับปรุงแก้ไข

4. ฝึกทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม ผลการกระทำที่เกิดจากการช่วยเหลือสังคมหรือจากการกระทำคุณความดี ก็ส่งผลโดยตรงต่อจิตใจ ผู้กระทำนั้นก็มีความสุขใจ ภาคภูมิใจ และยังเป็นที่ยอมรับของคนอื่นด้วย

5. ฝึกยอมรับและเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ตามหลักพุทธศาสนาสอนว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีเกิดขึ้น ..ตั้งอยู่..และดับไป ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน จงใช้ชีวิตอย่างมีสติ และเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ

http ://www .jvkk .go .th/jvkkfirst/story/general/50.htm



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

u-Learning การเรียนรู้ทุกแห่งหนในยุคเว็บ 3.0

การเรียนรู้ทุกแห่งหน หรือ u-Learning หมายถึง การเรียนรู้ที่มีทุกหนแห่งตามที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลที่สามารถเฃื่อมต่อสัญญานอินเทอร์เน็ตได้ทั้งประเภทสายสัญญานและไร้สายได้ในทุกหนทุกแห่ง โดยการเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลและเนื้อหาเรียนรู้สามารถดำเนินการได้โดยใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่สะดวกต่อการพกติดตามตัว เช่น Mobile Phone or Smart Phone Tablet หรือ อาจเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ได้ในสภาพแวดล้อมทุกแห่งหน การเรียนรู้ แบบ u-Learning มีปัจจัยสำคัญคือ ความสะดวกของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สา่มารถติดต่อสื่อสารได้ในทุกๆ ที่และทุกเวลาทุกสถานการณ์ด้วยการเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีึประสิทธิภาพสูง ด้วยความก้าวหน้าของเว็บ 3.0 ที่เป็นเว็บที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอสารสนเทศทีตรงกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

u-Learning ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวการจัดการเรียนรู้ดังนี้

- ปรับเปลี่ยนห้องเรียนแบบปกติแบบดั้งเดิม ที่มีผู้เรียนใช้สื่อและเนื้อหา สารสนเทศการสอนจากผู้สอน เป็นแบบไม่มีชั้นเรียน สามารถเรียนได้ในทุกๆ ที่ทุกสถานการณ์ และทุกเวลา ผู้สอนปรับบทบาทเป็นสนับสนุนการเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวก ผู่เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน

- เตรียมผู้เรียนให้เป็นผู้ที่เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช่้อุปกรณ์เข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่สามารถติดตามตัวได้ตลอดเวลาและในทุกๆ ที เน็ตติดตามตัวเป็นเครื่องมือเข้าถึงแหล่งเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมเครือข่ายออนไลน์

- ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยสามารถเลือกเนื้อหา สาระ และอุปกรณ์ช่องทอง เครื่องมือ สื่อสังคมออนไลน์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง ตามความถนัดและความพึงพอใจของตนเอง ส่งเสริมการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้อย่างแท้จริง

- การเรียนรู้เป็นวิถึชีวิต เนื่องจากการดำเนินชีวิตในทุกขณะสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ในทุกๆ สถานการณ์ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต

(http ://www .gotoknow .org/posts/573225)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

หลักสำคัญในการทำงานเป็นทีม

1. มีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน (GOAL)

2. มีการแบ่งบทบาทความรับผิดชอบของสมาชิกที่ชัดเจน(Responsibility)

3. ทุกคนทำหน้าที่ตัวเอง

4. มีการจัดการภายในทีม(Organize) โดยผู้นำทีม เช่น การจัดการการมีส่วนร่วม การประชุม การสื่อสารกัน

(ความคิดเห็นส่วนตัวของผม หลังจากอ่านบันทึกเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมครับ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

ตัวอย่าง หัวข้อที่ควรใช้เป็นแนวทาง ในการจัดทำโครงการอนุรักษ์ดินในชุมชน

- รักษาคุณภาพดินให้อุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเพาะปลูก

- ปรับปรุงคุณภาพดินที่เสียไปให้ดีขึ้น

- ลดการกัดเซาะหรือป้องกันการพังทลายของดิน

- ให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนในชุมชน เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากดินอย่างชาญฉลาด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

เป้าหมายในการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 นั้น มีความชัดเจนในการพัฒนาทักษะ 5 ด้านด้วยกันคือ

1.ด้านทักษะความรู้

2.ด้านทักษะคุณธรรม

3.ด้านทักษะปัญญา

4.ด้านทักษะทางสังคม และ

5.ด้านทักษะการใช้สื่อสารสนเทศ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

การจัดการ คือ กระบวนการนำทรัพยากรบริหารมาใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยมีขั้นตอนการบริหาร คือ

1.การวางแผน
2.การจัดการองค์การ
3.การชี้นำ
4.การควบคุม
เพื่อให้งานที่ทำได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

..

(http ://engkm .eng .src.ku .ac .th/index.php?option=com_content&view=article&id=6:2011-07-07-01-52-33&catid=4:km&Itemid=2) 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

Home

-13-14/09/57 ส.-อา. = ไปวังน้ำเขียว เยี่ยม ก๊ก

-01/09/57 จ. = จ่ายค่าไปสิงคโปร์ให้ไอซ์ 13,500 บาท

-17/07/57 พฤ. -Ice ไปแข่งพูดภาษาอังกฤษจ.ศรีษะเกษ กลับเสาร์เย็น (ได้รางวัลเหรียญเงิน)

-14/07/57 -พี่ปรีดีมาเอาเงินค่าที่ ค่าโอน งวดสุดท้าย 3,000 บ.

-08/04/57 = พ่อแม่เบิร์ดมา รร. และบ้านสงยาง ขายปลาที่ตลาดกมลาไสย ได้ไป 6,000 บ.

-31-01/04/57 = ไปเขียนงานวิจัยเชื้อจุลินทรีย์มันสำปะหลัง ที่ จ.กาญจนบุรี

-20/03/57 = พี่ยี่ ป้อม ผิง มาเยี่ยม พาไปกินข้าวที่ รร.

- วันนี้ (พฤ.) เป็นวันที่ 4 แล้ว ที่น้องไอซ์เป็นไข้เลือดออก ตอนนี้นอนหลับอยู่ หลังจากลุกมาเล่นเน็ตได้สักพัก เมื่อวานก็สดชื่นดี วันนี้ก็พอปานกลาง ไม่เหมือน 2 วันแรก (จ.-อ.) ที่แย่มาก ๆ ... ตอนใกล้เที่ยงวัดชีพจร 110 ความดัน 85/51 อาการอื่นปกติ ไม่มีอาการ สัญญาณชีพ เป็นอย่างที่จะช็อก แต่มีไข้บ้าง ทานข้าวผัดปูได้นิดเดียว ดื่มโอวัลติน ผงเกลือแร่โออาร์เอส ผมเช็ดตัวด้วยผ้าชุ่มน้ำ....ผมไม่ได้ไปทำงานเต็มที่เลย เพราะต้องอยู่ดูแลลูก เรา 2 คนเท่านั้น แม่เค้าติดอบรมฯ... นักศึกษากลุ่มทำวิจัย โทร.มาถามไถ่ พร้อมแสดงน้ำใจว่า เลื่อนโปรแกรมงานได้ทันที แต่ผมเห็นว่า พวกเขาไปซื้อของมาแล้ว จะเสียหายง่าย เลยนัดเช้าตรู่พบกันที่ตึกสาขาฯ เพื่อสอนวิธีทำโดยใช้เวลาสั้น ๆ ...

- น้องไอซ์เป็นไข้เลือดออกตั้งแต่เที่ยงวันจันทร์ วันนี้(พุธ) อาการเริ่มทุเลา ผมเองก็มีอาการไอมากมาตั้งแต่เช้า เพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ จิบน้ำอุ่นพอทุเลา ...แม่น้องไอซ์ติดอบรมธรรมะของ สพฐ.พวกโครงการโรงเรียนในฝัน ค้างคืนหลายคืน... ผมเลยต้องอยู่ดูแลลูกตลอดเวลา..ตอนนี้ น้องไอซ์หลับอยู่ ผมต้องคอยเช็ดตัวถ้าตัวร้อนขึ้น แพทย์ให้ดูอาการฯ ...เป็นห่วงลูกมาก สงสารลูก อยากขอป่วยแทนลูก ไหว้พระไหว้เจ้าไปหมด ขอให้ลูกหายเร็ว ๆ เพราะข่าวกาฬสินธุ์เสียชีวิต 2 รายแล้ว...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

รร.ฟ้าสว่างพัฒนาการ

20/11/57 = สนง.เขตจะมาประเมิน รร. แต่ได้โทร.มายกเลิก เพราะ รร. ไม่มีปัญหา นร. ซ้ำซ้อน

-22-26/09/57 = สอบปลายภาคเรียนที่ 1/2557

-30/07/57 พ. = ส่งคำขออุดหนุนนม 2/2557, แบบสำรวจอาหารกลางวัน ให้ สช.

-29/07/57 อ. = ซื้อนม รร. 5 ลัง 1,826 บ.

-25/07/57 = ส่งเรื่องคืนเงินอุดหนุน 44 บาท

-ค่ามาตรฐาน = ซื้อนม รร. 5 ลัง 1,826 บ. / A4 used papers 4 b./kilo. / 3,192 b. for teacher fund.

-14/07/57 -บิลค่าน้ำ รร. 365.94 ชำระภายใน 15/07/57 -จ่ายเย็นนี้แล้ว

-30/06/57 = สช.(ผอ.อรวรรณ) มาประเมิน รร.

-29/04/57 = วิทยาเขตฯ (อ้อ,บิว, รวม 4 คน)มานิเทศนักศึกษาฝึกงานภายนอก ที่โรงเรียน

-28/04/57 = ไปประชุมผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เกี่ยวกับการบริหารจัดการในเรื่องต่าง ๆในรอบปีการศึกษา, การประเมิน, เงินอุดหนุนต่าง ๆ, ระบบPSIS ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีพังโคนพาณิชยการ จ.สกลนคร

-19/03/57 = รับเสด็จพระเทพฯ กพส. / สช.ให้ไปเข้าpsis v.2 / ท.โทร.แจ้ง สช. ขอไม่ไปทัศนศึกษากับ สช. 27-28 มี.ค.นี้

-01/02/57 = กลุ่มรอง ผอ., ผอ.เขตฯ เชิญไปแนะนำการดูแลสุขภาพ กดจุด และแนะนำการทำกรรมฐาน หลักสูตร 4 เดือนฉบับย่อ ที่บ้านพัก ผอ.เขต

-ส. 24/08/56 - ผมเข้ารับการอบรมการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ร่วมกับคณะคุณครู.. จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 1 อบรม 2 วันครับ.. ได้ความรู้และประสบการณ์มากครับ.. จะได้นำมาใช้ในโรงเรียนของตนเอง (โรงเรียนฟ้าสว่างพัฒนาการ) ด้วยครับ

-ศุกร์ 16/08/56 - เช้า ผมพบนักศึกษาที่จะทำวิจัยด้วย ได้มอบหมายงานเรียบร้อยแล้ว และพบหัวหน้าสาขาพืชฯ ขอเวลาไปเฝ้าไข้น้องไอซ์ ... - 17.00 น. -ผมไปร่วมงานเลี้ยง และคัดตัวนักกีฬาเปตอง ในนามทีมของคณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ที่บ้านพัก ผอ.สพป.กส.เขต 1 - ร่วมงานได้ประมาณชั่วโมงเศษ ก็ได้ขอตัวกลับก่อน เพื่อมาดูแลน้องไอซ์ที่บ้าน ซึ่งอาการดีขึ้นมาก ใกล้หายแล้ว แต่ยังทานข้าวได้น้อยอยู่ครับ...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชาสอน ป.โท 03-172-710 Crop Improvement and Production for Industrial Uses 3 (3-0-6)

1.หลักการพัฒนาสายพันธุ์พืชพืช

1.1.ความหมายของการพัฒนาสายพันธุ์พืช

1.2.ความสำคัญของการพัฒนาสายพันธุ์พืช

2.พันธุ์พืชเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร

2.1.ประเภทต่าง ๆ ของพันธุ์พืช

2.2.ลักษณะของพันธุ์พืชเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร

3.พันธุ์พืชในรูปแบบผลิตภัณฑ์สำหรับการบริโภคสด

3.1.ประเภทของผลิตภัณฑ์พืชสำหรับการบริโภคสด

3.2.ลักษณะของพันธุ์พืชสำหรับการบริโภคสด

4.การผลิตวัตถุดิบเพื่อการแปรรูปต่าง ๆ

4.1.ประเภทต่าง ๆ ของการแปรรูปวัตถุดิบ

4.2.ลักษณะของพันธุ์พืชเพื่อการแปรรูปต่าง ๆ

5.ผลิตภัณฑ์จากพืช

5.1.ความหมาย ความสำคัญของผลิตภัณฑ์จากพืช

5.2.ประเภทต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์จากพืช

6.เทคนิคการผลิตพัฒนาสายพันธุ์พืชเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร

6.1.หลักการผลิตพัฒนาสายพันธุ์พืชเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร

6.2.วิธีการต่าง ๆ ในการผลิตพัฒนาสายพันธุ์พืชเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร

7.ตัวอย่างการผลิตพัฒนาสายพันธุ์พืชเพื่อรูปแบบผลิตภัณฑ์สำหรับการบริโภคสด

7.1.ตัวอย่างการผลิตพัฒนาสายพันธุ์พืชเพื่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ในรูปน้ำดื่ม

7.2.ตัวอย่างการผลิตพัฒนาสายพันธุ์พืชเพื่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลวข้น

7.3.ตัวอย่างการผลิตพัฒนาสายพันธุ์พืชเพื่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ในรูปชิ้นเนื้อบริโภค



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชา ระบบปลูกพืช Cropping  System

บทที่ 7 การถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบปลูกพืชสู่เกษตรกร

7.1 หลักการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบปลูกพืชสู่เกษตรกร

1.ต้องเป็นระบบการปลูกพืชที่ได้ถูกสาธิตให้เกษตรกรได้เห็นว่ามีผลดีจริงๆ จึงจะน่าเชื่อถือ

2.ต้องเป็นระบบการปลูกพืชที่เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตนเอง จึงจะเกิดความเชื่อมั่น

7.2 กระบวนการทำงานในการการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบปลูกพืชสู่เกษตรกร

กระบวนการทำงานแบบ PDCA

เป็นกระบวนการทำงานที่เหมาะสมสำหรับงานขนาดเล็ก หรือไม่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำได้สะดวก และรวดเร็วมาก มีประสิทธิภาพสูงมาก

     P

A       D

    C

P = Plan

D = Do

C = Check

A = Action

ตัวอย่าง งานจัดประชุมเกษตรกรในหมู่บ้าน

P = จะจัดประชุมที่ศาลากลางบ้าน

D = ประกาศให้เกษตรกรในหมู่บ้านทราบ

C = สำรวจว่า มีเกษตรกรมาประชุมมากน้อยเพียงใด พบว่า ที่ไม่สะดวกในฤดูฝน

A = ครั้งต่อไป ย้ายที่ประชุมไปเป็นบ้านผู้ใหญ่บ้าน

--------------------------

(ชยพร แอคะรัจน์) 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชา ระบบปลูกพืช Cropping  System

บทที่ 6 การวิจัย ทดสอบ และประเมินผล ระบบปลูกพืช

6.1 หลักการวิจัยในระบบปลูกพืช

1.ต้องวิจัยเกี่ยวกับการจัดการที่ดี(Good Management Production)

2.ต้องวิจัยเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม (Good Environment)

6.2 วิธีดำเนินการวิจัยในระบบปลูกพืช

1.ทำการวิจัยที่สถานีทดลองเสียก่อน

2.ทำการวิจัยในระดับหมู่บ้าน

3.ทำแปลงสาธิต ในหมู่บ้าน

6.3 การวิจัยในระดับหมู่บ้าน

1.คัดเลือกตัวแทนเกษตรกรในหมู่บ้าน มาเป็นผู้ดำเนินการทดลอง

2.ใช้พื้นที่ของเกษตรกร

3.ถ้าได้ผลดี ให้ใช้เป็นแปลงสาธิตในหมู่บ้าน

6.4 การทำแผนการปฏิบัติงาน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

1.ประชุมเกษตรกร //////

2.ปลูกพืช ///////////////////////////////

3.เก็บเกี่ยว ////////

4.วิเคราะห์ผล ///

5.สรุป ///

6.เผยแพร่ ////////////

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

6.5 การประเมินผลระบบปลูกพืช

1.ประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ -ว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนในระบบการปลูกพืชนั้นๆหรือไม่ เพียงใด

2.ประเมินผลตอบแทนทางสังคม -ว่าระบบการปลูกพืชที่แนะนำนี้ ได้รับการยอมรับ, สอดคล้องกับการเมือง, การปกครองของท้องถิ่น, ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นอย่างไรบ้าง เป็นต้น

--------------------------

(ชยพร แอคะรัจน์)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชา ระบบปลูกพืช Cropping  System

บทที่ 5 การจำแนกเขตภูมิอากาศ และการวิเคราะห์ฝน สำหรับระบบปลูกพืช

5.1 การจำแนกเขตภูมิอากาศ

1.การแจกแจงชั้นของฟ้าอากาศ ( ภูมิอากาศ ) แบบคอปเปน ( The koppen climate classification )

กลุ่ม A ภูมิอากาศเขตร้อน ( Tropical climate )

กลุ่ม B ภูมิอากาศแห้งแล้ง ( Dry climate )

กลุ่ม C ภูมิอากาศเขตอบอุ่น ( Warm temperate climate )

กลุ่ม D ภูมิอากาศเขตหนาว ( Snow climate )

กลุ่ม E ภูมิอากาศแถบขั้วโลก ( Ice climate and polar climate )

5.2 การวิเคราะห์ฝน

มีฝนตกชุกในฤดูฝนโดยทั่วๆไปจะมีค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,550 มิลลิเมตร/ปี ในเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด จะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร/ปี

5.3 ผลของฝนต่อระบบปลูกพืช

1.ทำให้พืชพวกที่ออกดอกติดผล( Fruit crops ) ได้รับความกระทบกระเทือนในขณะที่มีการติดดอกออกผล ( Fruit setting ) เช่น ดอกร่วง ผลแตก เป็นต้น

2.ทำให้พืชพวกที่เป็นพืชใบอวบน้ำ ( Succulant crops ) เช่นผักกินใบต่างๆ เกิดอาการใบบอบช้ำ เกิดบาดแผล ทำให้เชื้อโรคพืชเข้าทำลายได้ง่าย

3.ทำให้พืชพวกที่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขัง ( Non - flooding resistant crops ) เช่น ข้าวโพดต่างๆ เกิดอาการเน่าตายได้

5.4 สภาพลมฟ้าอากาศของประเทศไทย( Climates of Thailand )

ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูด 5 - 20 องศาเหนือและเส้นลองติจูด 96 - 106 องศาตะวันออก มีสภาพลมฟ้าอากาศดังนี้

1.อุณหภูมิ

อุณภูมิสูงสุดในฤดูร้อนจะอยู่ระหว่าง 33 - 38 องศาเซลเซียส อุณภูมิต่ำสุดในฤดูหนาวจะอยู่ระหว่าง 10 - 20 องศาเซลเซียส ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค

2.แสงแดด

จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดของประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในแต่ละรอบปี คือในฤดูหนาวจะน้อยกว่า 12 ชั่วโมง/วันเพียงเล็กน้อย ส่วนในฤดูร้อนจะมากกว่า 12 ชั่วโมง/วันเพียงเล็กน้อยเช่นกัน คือไม่เกินประมาณ ครึ่งชั่วโมง

3.ลม

ลมฟ้าอากาศของประเทศไทย อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้เกิดฤดูกาลได้ 3 ฤดู คือ

1.ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน

2.ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม

3.ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม

ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

จะพัดอยู่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะนำเอาอากาศเย็นและแห้ง จากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าสู่ประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวจัด

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

จะพัดอยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม จะนำเอาอากาศที่อุ่นและชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้มีฝนตกชุกโดยทั่วไป โดยทางตอนเหนือของประเทศ ฝนจะตกชุกระหว่างเดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน ส่วนทางตอนใต้ของประเทศฝนจะตกชุกใน เดือนตุลาคม

นอกจากนี้ ยังมีกระแสลมอีกกระแสหนึ่ง ที่พัดแล้วนำลมร้อนจากทะเลจีนใต้ เข้าสู่ประเทศไทยทางทิศใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในระยะนี้ก็ตรงกับระยะที่ดวงอาทิตย์เลื่อนเข้ามาอยู่ในแนวเส้นรุ้ง ( เส้นนอน ) ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ จึงทำให้เป็นระยะที่มีความร้อน อบอ้าวมาก และเป็นฤดูร้อน

5.5 ผลของสภาพลมฟ้าอากาศต่อระบบปลูกพืช

1.ถ้าสภาพลมฟ้าอากาศในช่วงการเพาะปลูกพืชนั้นไม่เหมาะสม - การปลูกพืชจะไม่ได้ผลดี แต่จะทำให้ได้ราคาดีในท้องตลาด เพราะมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้น้อย

2.ถ้าสภาพลมฟ้าอากาศในช่วงการเพาะปลูกพืชนั้นเหมาะสม -การปลูกพืชจะได้ผลดี แต่จะทำให้ไม่ได้ราคาดีในท้องตลาด เพราะมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้มาก

----------------------------

(ชยพร แอคะรัจน์)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชา ระบบปลูกพืช Cropping  System

บทที่ 4 การบริหารงานฟาร์มกับระบบปลูกพืช

4.1. การบริหารงานในฟาร์ม

1.การวางแผน

2.การจัดองค์กร

3.การกำกับดูแล

การวางแผน

หมายถึง การตั้งวัตถุประสงค์และกำหนดทรัพยากรเพื่อให้สามารถดำเนินการไปจนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ เช่น การวางแผนการผลิตข้าว

การจัดองค์กร

หมายถึง กระบวนการในการแบ่งงาน และประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เช่น การประสานงานระหว่างฝ่ายเพาะปลูก และฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น

การกำกับดูแล

หมายถึง ตรวจดู ปรับปรุง กิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุผล เช่น การตรวจอัตราการให้ปุ๋ยแก่ข้าวในแต่ละเดือน เป็นต้น

4.2 หลักทั่วไปในการบริหารงาน

5 M ซึ่งได้แก่

1. Man -หมายถึง การบริหารคนที่เกี่ยวข้องในการประกอบการ เช่น คนงาน เป็นต้น

2. Money-หมายถึง การบริหารเงินทุนที่จะต้องใช้ในการดำเนินกิจการ

3. Materials-หมายถึง การบริหารโรงงาน เครื่องจักรกล วัสดุอุปกรณ์ หรือที่ดิน ที่เป็นจุดผลิตสินค้าหรือบริการ

4. Manager-หมายถึงการบริหารระบบการจัดการต่างๆ เช่น ระบบบัญชี ระบบคลังสินค้า ระบบควบคุมคุณภาพของสินค้า ระบบการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น

5. Market-หมายถึง การบริหารการตลาด ซึ่งเป็นแหล่งที่จะต้องนำสินค้า หรือบริการ ไปจำหน่าย

4.3 การบริหารงานฟาร์ม ระบบปลูกพืช

1.เลือกใช้พืชที่มีอายุสั้นหรือพันธุ์เบา

2.เลือกใช้พันธุ์พืชที่ปรับตัวได้กับสภาพแวดล้อมนั้นๆ

3.รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน

4.หลีกเลี่ยงการไถพรวน

5.ควบคุมการระบาดของโรคแมลง

6.ควบคุมวัชพืช

----------------------------

(ชยพร แอคะรัจน์)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท