อนุทินล่าสุด


phrakhruparut วิสุทธิ์ นริสฺสโร ขาวเกตุ
เขียนเมื่อ
    วิสัยทัศน์ ( Vision )       

เป็นผู้ให้อย่างสมบูรณ์ เป็นศูนย์ช่วยเหลือ เพื่อการศึกษา พัฒนาความสุขแด่ชนส่วนใหญ่ พันธกิจ ( Mission )

                        ใช้ความสามารถของบุคลากรภายในวัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และสนับสนุนเทคโนโลยีที่นำมา 
                     พัฒนาระบบการบริหารอย่างเป็นระบบ
    เป้าประสงค์ ( Goals )     

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่สมบูรณ์ และสร้างทัศนะนิสัยใหม่กับผู้เข้ามาสู่วัด พัฒนาบุคลากรในวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป สร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง พัฒนาต้นแบบของการทำความดี

    กลยุทธ์หลักของวัด                                                                                                                                                                                                             จัดการอบรมผู้บริหารส่วนต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว ตื่นตัว ตลอดเวลา

๑. พัฒนาบุคลากรในวัดให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน กระจายหน้าที่ของแต่ละบุคคล ๒. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และการประชาสัมพันธ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๓. ระดมผู้อุปถัมภ์เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ๔. มีส่วนร่วมกับชุมชน พัฒนาอาชีพ พัฒนาแนวคิด จัดอบรมสร้างความเข้าใจด้านต่าง ๆ แก่ชุมชน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

phrakhruparut วิสุทธิ์ นริสฺสโร ขาวเกตุ
เขียนเมื่อ

ประวัติวัดบัวโรย วัดบัวโรยสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ โดยมีนายโชติ นางคล้อย ช่วงโชติ เป็นผู้ดำเนินการสร้างวัดได้ขนานนามว่า “วัดโชติบัว” เพื่อเป็นเกียรติอนุสรณ์ และศักดิ์ศรีแก่ผู้สร้าง สถานที่สร้างวัดนั้นมีบัวหลวงขึ้น อยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “วัดชวดบัว” เพราะตั้งอยู่ริมคลองชวดบัว

นามวัด   

ใช้ชื่อวัดบัวโรย ในคราวได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๒๔๕๗ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราว พ.ศ.๒๔๖๐ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๖๖ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัด มหานิกาย เนื้อที่ตั้งวัด

จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๒ งาน ๒๘ ตารางวา

เนื้อที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ ๑๐๙ ไร่ ๒ งาน ๔๑ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๖๔๔ และโฉนดเลขที่ ๑๗๓๓๑ อานาเขต

ทิศเหนือ    ยาว ๔ เส้น ๑๘วา     ติดต่อลำคลองชวดบัว
ทิศใต้      ยาว ๔ เส้น ๘ วา   ติดต่อบ่อปลาเอกชน
ทิศตะวันออก   ยาว ๔ เส้น ๓ วา   ติดต่อบ่อปลาเอกชน
ทิศตะวันตก  ยาว ๓ เส้น ๙ วา   ติดต่อลำคลองบางเสาธง

พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบต่ำอยู่ริมคลองชวดบัวทิศเหนือ และคลองบางเสาธงทางทิศตะวันตก แต่เดิมมีบัวหลวงขึ้นมากมาย ได้มีการพัฒนาและก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ปัจจุบันเลยไม่มีบัวหลวงให้เห็น

ศาสนวัตถุและถาวรวัตถุ

๑. อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ๒. พระพุทธรูป พระในอุโบสถ (หลวงปู่ภูศรี) และพระทรงเดินจรงกรม นามว่า “หลวงพ่อเพชร” สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ ๓. กุฏิสงฆ์ ลักษณะทรงไทย จำนวน ๑๓ หลัง ๔. ศาลาการเปรียญ ลักษณะทรงไทย สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ ๕. หอสวดมนต์ ลักษณะทรงไทย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖

ลำดับเจ้าอาวาส
        พ.ศ.๒๔๓๐    ถึง   พ.ศ.๒๔๔๐        พระอาจารย์ทั่ง
        พ.ศ.๒๔๔๑    ถึง   พ.ศ.๒๔๖๐        พระครูสังฆรักษ์(เจ๊ก)
        พ.ศ.๒๔๖๑    ถึง   พ.ศ.๒๔๘๙        พระครูนิโรจน์กิจการี (จี๊ด)
        พ.ศ.๒๔๙๒    ถึง   พ.ศ.๒๕๑๒        พระอธิการเฉลิม ทสฺสนธมฺโม
        พ.ศ.๒๕๑๓    ถึง   พ.ศ.๒๕๓๓        พระครูไพโรจน์สมุทรคุณ (หล่อ)
        พ.ศ.๒๕๓๔    ถึง   ปัจจุบัน        พระครูโกมุทธรรมธาดา

การปกครอง
        ๑.    โครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์
        ๒.    นามเจ้าอาวาส,ประวัติ,และหน้าที่ของเจ้าอาวาส

๓. โครงสร้างการปกครองสงฆ์ภายในวัด เป็นไปตามพระวินัย ,พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคม

        ๔.    จำนวน พระสงฆ์ – สามเณร และศิษย์วัด
    ๕.    การประชุม โดยมีการอบรมพระภิกษุและสามเณรทุกกึ่งเดือน
ศาสนศึกษา
        ๑.    การเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
            ๑.๑         การจัดการเรียนการสอน
            ๑.๒     วิธีการส่งเสริมการเรียนการสอน
            ๑.๓     สถิตินักเรียนส่งสอบ และสอบได้

การเผยแผ่
        ๑.    มีการจัดงานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี
        ๒.    มีการจัดงานบวชเนกขัมมะบารมีเป็นประจำทุกปี
        ๓.    มีการอบรมเยาวชนซึ่งมาจากโรงเรียนต่าง ๆ เป็นประจำ
        ๔.    มีการอนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง
        ๕.    มีการแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันธรรมสวนะ (วันพระ)

การสาธารณูปการ
        ๑.    งานก่อสร้าง
        ๒.    งานบูรณปฏิสังขรณ์
        ๓.    งานประจำปี
        ๔.    การจัดงบประมาณ
        ๕.    การบริหารรายได้และทรัพย์สินในวัด

การศึกษาสงเคราะห์
    ๑.    ดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิวัดบัวโรยเริ่มต้นที่วงเงิน หนึ่งล้านบาทท
        วัตถุประสงค์ นำดอกผล  บูรณปฏิสังขรณ์ และสนับสนุนการศึกษา
    ๒.    มีการมอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนระดับต่าง ๆ 
    ๓.    จัดหาทุนสร้างอาคารอเนกประสงค์ของโรงเรียน
    ๔.    จัดหาทุนสร้างโรงเรียน
    ๕.    จัดหาอุปกรณ์การศึกษาให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ
    ๖.    ตั้งทุนการศึกษาระดับ ประถม และมัธยม และมีการเพิ่มทุนทุกปี
    ๗.    มีการมอบข้าวสารให้แก่โรงเรียนในเขต จำนวน ๑๔ โรงเรียน
        โดยมอบปีละ ๗๙ กระสอบ ทุกปี
    ๘.    จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้แก่โรงเรียนเป็นประจำ 

ปัจจุบันมีจำนวน ๑๐๙ เครื่อง

การสาธารณะสงเคราะห์

    ๑.    สงเคราะห์แก่ชุมชน โดยการ จัดหาทุนสร้างถนน
    ๒.    สงเคราะห์หน่วยราชการ โดยการ ร่วมมือในการจัดอบรมราชการ
    ๓.    สงเคราะห์ด้านสุขภาพ โดยการจัดสร้างลานกีฬา
    ๔.    สงเคราะห์ด้านความรู้ โดยการให้คำปรึกษาในการติดต่อราชการ ฯลฯ

บทสรุป ๑. รวบรวมผลงาน,สถิติต่าง ๆ
๒. ปัญหาและอุปสรรค ๓. แนวโน้มในอนาคต
๔. แนวทางแก้ไข- การพัฒนาในอนาคต



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

phrakhruparut วิสุทธิ์ นริสฺสโร ขาวเกตุ
เขียนเมื่อ

คาถาบูชาพระพรหม โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัมทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ

คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ (หรือ วาละลุกัง สังวาตังวา)

คาถาบูชาพระพุทธชินราช กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสา วา เทวะนะคะเร จักกิวังสัสสะ ปัญจะมะมะหาราเชนะ ชินะราชะพุทธะรูปัง กะตัง นะมามิหัง (๓ จบ)

คาถาบูชาพระสังกัจจายน์ อิมินา สักกาเรนะ สาวะกะสังโฆ กัจจายะนะเถโร มะหาเตชะวันโต พุทธะโภคาวะโห ปาระมิตาโร อิทธิฤทธิ ติตะ มะณะตัง สะระณัง คัจฉามิ

คาถาท้าวเวสสุวรรณ (จุดธูป ๙ ดอก) อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ

คาถาพญายม ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขาโตจุติ จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ

คาถาหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) คาถาพระพุทธเจ้าตอนชนะมาร (ใช้ท่องเพื่อป้องกันอันตรายทั้งปวง ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก) ปัญจะมาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง

คาถาหลวงปู่ทวด (วัดช้างให้ ตำบลป่าไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี) นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา (๓ จบ)

คาถาหลวงปู่ศุข (วัดมะขามเฒ่า) สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ

คาถาหลวงปู่โอภาสี อิติ สุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปะฐะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง

คาถาหลวงปู่ครูบาธรรมชัย (วัดทุ่งหลวง จังหวัดเชียงใหม่) พุทธัง ธัมมัง สังฆัง จาติกันตัง มะระณะกัน ปาณาติกัน สารพัดกันกัน พุทธัง อะระหัง จังงัง ภาเว สัมปะฏิจฉามิ เม สัมมุขา สัพพาหะระติ เต สัมมุขา อิอะระนัง อะระหัง กุสะลา ธัมมา สัมพุทโธ ทุ สะ นะ โส นะโม พุทธายะ

คาถาหลวงพ่อเดิม (วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์) คาถาบูชาเทพยดาใช้เพื่อเสริมดวงชะตา โดยผูกดวงชะตาของท่านพร้อมเขียนชื่อ นามสกุลท่านไว้ใต้ดวงชะตา แล้ววางตั้งไว้ข้างฐานพระ ว่าคาถานี้เพื่อจะได้เกิดลาภสักการะ เป็นมงคลกับตัวท่านเอง นะโม เม สัพพะเทวานัง สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ ชีโว สุกะโร จะ มะหาลาภัง โสโร ราหูเกตุ จะ มะหาลาภัง สัพพะภะยัง วินาสสันติ สัพพะทุกขัง วินาสสันติ สัพพะโรคัง วินาสสันติ ลักขะณา อะหัง วันทามิ สัพพะทา สัพเพ เทวา มัง ปาละยันตุ สัพพะทา เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม

คาถาหลวงพ่อสด (พระมงคลเทพมุนี) วัดปากน้ำ สัมมาอะระหัง

คาถาหลวงพ่อโสธร (วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา) ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วว่าคาถานี้ทุกวันจะปลอดภัย ป้องกันอันตรายทั้งปวง ร่มเย็นเป็นสุขตลอดชีวิต อีกทั้งมีเมตตา มหานิยม ซื้อง่ายขายคล่อง นำมาซึ่งโภคทรัพย์ นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร ยะ ทรงอากาศ พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูพาลวินาศสันติ นะกาโร กุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ โมกาโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธกาโร กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต ธา กาโร ศรีศากกะยะมุนี โคตะโม ยะกันเน ยะกาโร อะริยะ เมตตรัยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง พุทธะบูชา มะหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มะหาปัญโญ สังฆะบูชา มะหาโภคะวะโห อะระหังพุทโธ อิติปิโสภะคะวา นะมามิหัง

คาถาหลวงพ่อปาน (วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) คาถาเสริมทรัพย์ ใช้สวดภาวนาเวลาตื่นนอน ๓ จบ เวลาใส่บาตร ๑ จบ ก่อนนอน ๓ จบ หรือเวลาว่าง จะทำให้มีโภคทรัพย์มากมาย พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (๑ จบ) วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณีมามะ พุทธัสสะ สะวา โหม

คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก (นมัสการและรวบรวมพลังพระธาตุทั่วอนันตจักรวาล) วันทามิ เจดิยัง สัพพัง สัพพัฎฐาเน สุปฏิษฐิตาสรีระธาตุงมหาโพธิง พุทธรูปัง สักการัง สัทธา นาคะโลเก เทวโลเก ดาวติงเส พรหมโลเก ชมพูทีเป ลังกาทีเป สรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อรหันตาธาตุโย เจดิยัง คันธกุฎี จตุราศี ติสสหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทเจดิยัง นะระเทเวหิปูชิตา อะหังวันทามิ ฑูระโต อะหังวันทามิธาตุโย อะหังวันทามิสัพพะโส

คาถาพระครูบาชุ่ม พุทธโก (วัดไชยมงคล) วิวะ อะวะ สุสะตะ วิวะสวาหะ

คาถามงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ปัจเจกะพุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ สังฆะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ

คาถายันต์เกราะเพชร อิระชาคะตะระสา ติหังจะโตโรถินัง ปิสัมระโลปุสัตพุท โสมาณะกะริถาโธ ภะสัมสัมวิสาเทภะ คะพุทปันทูทัมวะคะ วาโธโนอะมะมะวา อะวิชสุนุตสานุติ

คาถาเมตตามหานิยม (คาถาพระสีวะลี) พุทธังเมตตา นะ ชาลีติ ธัมมังเมตตา นะ ชาลีติ สังฆังเมตตา นะ ชาลีติ สีวะลีเมตตา นะ ชาลีติ โอมมะพะลัง วา ราชะกุมาโร วา ราชะกุมารี วา ราชา วา ราชินี วา คะหัฏโฐ วา ปัพพะชิโต วา สะมะโณ วา พราหมโณ วา อิตถี วา ปุริโส วา วาณิโช วา วาณิชา วา อุปาสะโก วา อุปาสิกา วา ทาระโก วา ทาริกา วา สัพเพ อิเม ชะนา พะหู ชะนา มัง ปิยายันตุ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิ จิตตัง ปิยัง มะมะ มะหาลาภะสักการา ภะวันตุ เม

คาถาบูชาแม่นางกวัก (ดีทางด้านค้าขาย เมตตา มหานิยม) ว่านะโม ๓ จบแล้วกล่าวดังนี้ โอมปู่เจ้าเขาเขียวมีลูกสาวคนเดียว ชื่อว่าแม่นางกวัก หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายรัก อยู่ทุกถ้วนหน้า เอหิมามะมะ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิมามะมะ จะค้าขายก็ขอให้เป็นเศรษฐี หนึ่งปีให้เป็นพ่อค้าสำเภาทอง จะค้าเงินขอให้เงินเข้ามากอง จะค้าทองขอให้ไหลมาเทมาเต็มบ้านเต็มเรือน จะค้าขายสิ่งหนึ่งประการใด ขอให้ซื้อง่ายขายคล่อง ขอให้ซื้อง่ายขายดี ขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิมามะมะ นะมะอะอุ นะชาลีติ อิกะวิติ พุทธะสังมิ ทุสะมะนิ อิธะคะมะ จะพะกะสะ นาสังสิโม สุมะโมโล นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ นะเมตตา โมขายดี พุทธไม่ต่อ ธาซื้อดี ยะใจดี มิใจอ่อน รักพุทโธ ปฏิรูปัง สัมปะฏิจฉามิ เพี้ยง สิทธิโภคา สิทธิพะลา สิทธิจะมหาเดชา นะชาลีติ เอหิจงมา พุทธะสังมิ นิมามะมามา มาช่วยกันค้า มาช่วยกันขาย กวักเอาเงินมา กวักเอาทองมา กวักเอาโชคลาภ แก้วแหวนเงินทองข้าวของ หน้าที่การงาน ผู้คน ชื่อเสียงเกียรติยศ ข้าทาสหญิงชายมา มาด้วยนะโมพุทธายะ ปฏิรูปัง สัมปะฏิจฉามิ เพี้ยง พุทธังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ธัมมังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี สังฆังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เตชะสุเนมะภูจะนาวิเวอิติ นะเยปะรังยุตเต ขอจงนำเอาโชคลาภ แก้วแหวนเงินทองข้าวของ มาสู่ในสถานที่นี้ด้วย เทอญ พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา พุทธังคุ้ม ธัมมังคุ้ม สังฆังคุ้ม เอหิพุทธานุภาเวนะ เอหิธัมมานุภาเวนะ เอหิสังฆานุภาเวนะ อายุ วรรโณ สุขัง พลัง

คาถาผูกใจ พระพุทธังร่วมจิต พระธัมมังร่วมใจ พระสังฆังหลงใหล ร่วมใจพระพุทโธ นะโมพุทธายะ

คาถาอารธนาพระเครื่อง พุทธัง อาราธะนานัง ธัมมัง อาราธะนานัง สังฆัง อาราธะนานัง พุทธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม

คาถาเงินล้าน (หลวงพ่อพระราชพรหมยาน - ฤๅษีลิงดำ) นาสังสีโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพ ยักขา ปะรายันติ พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม มิเตพาหุหะติ พุทธะมะอะอุ นะโม พุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม สัมปะฏิจฉามิ (ให้สวด ๙ จบ)

คาถามหาอำนาจ (ใช้เสกน้ำล้างหน้าทุกวันตอนเช้า แล้วจะมีอำนาจเป็นที่ยำเกรงของคนทั้งปวง) เอวัง ราชะสีโห มะหานาทัง สีหะนาทะกัง สีหะนะ เม สีละ เตเชนะ นามะ ราชะสีโห อิทธิถทธิ์ พระพุทธังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง อิทธิฤทธิ์ พระธัมมังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง อิทธิฤทธิ์ พระสังฆังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง

คาถามหาพิทักษ์ (ใช้ภาวนาตอนที่ใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่าง ป้องกันขโมย โจรผู้ร้ายได้ และมีโชคลาภมั่งมีเงินทอง) จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง

คาถาอิทธิฤทธิ์ (เวลาเจอศัตรูที่มีอาวุธ ให้ท่องว่าคาถาเพื่อป้องกันตัวดังนี้) พุทโธ พุทธัง นะกันตัง อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ อุทธัง อัทโธ นะโม พุทธายะ

คาถาสะเดาะเคราะห์ (ต่ออายุ) (ให้ภาวนาทุกเช้า เย็น คนที่ดวงชะตาไม่ขาดก็ใช้ได้ ถือเป็นการต่อดวงชะตาชีวิต มีอานุภาพให้เกิดโชคลาภ และปราศจากอันตราย) อิติปิ โส ภะคะวา พระอาทิตย์เทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระจันทร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระอังคารเทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระพุทธเทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระพฤหัสเทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระศุกร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระเสาร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระราหูเทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา พระเกตุเทวา วิญญาณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวา ภะคะวาติ คำบูชาพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ) (พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้โดยชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์

คำอาราธนาศีล ๕ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน)

คำอารธนาพระปริต วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง (ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตอันเป็นมงคลเพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้โรคทั้งปวงพินาศไป)

คำอาราธนาพระสีวลี สีวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา สีวะลี จะ มะหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โส ระโห ปัจจะยา ทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา สีวะลี เถระคุณัง เอตัง สวัสดิลาภัง ภะวันตุ เม

คำถวายพระพุทธรูป อิมัง มะยัง ภันเต พุทธะรูปัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมัง พุทธรูปัง ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย พระพุทธรูปแด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งพระพุทธรูปนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายข้าวพระพุทธ อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ (ข้าพเจ้าขอบูชาด้วยโภชนะข้าวสาลี พร้อมด้วยแกงกับและน้ำอันประเสริฐนี้แด่พระพุทธเจ้า)

คำลาข้าวพระพุทธ เสสัง มังคะลัง ยาจามิฯ (ข้าพเจ้าขอคืนเศษอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้าขอภัตต์ที่เหลือที่เป็นมงคลด้วยเถิด)

คำถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา (ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพานที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ)

คำจบทาน อิทัง เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ (ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้สิ้นอาสวะกิเลส) อิทัง เม ทานัง นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ (ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้ ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ ขอให้ได้สวรรค์สมบัติ ขอให้ได้นิพพานสมบัติ จะนึกประสงค์สิ่งใด ขอจงสมความปรารถนา ทุกประการ อันว่าโรคภัยไข้เจ็บ ความยากจนค่นแค้น และคำว่า "ไม่มี" ขออย่าให้ข้าพเจ้าประสบพบเลย)

คำกรวดน้ำ อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหตุ ญาตโย (ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายจงมีความสุขกายสุขใจเถิด)

คำจบเงินทำบุญ ทรัพย์ของข้าพเจ้านี้ได้มาโดยบริสุทธิ์ ขอบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยจิตจำนง ตรงต่อพระนิพพาน ขอให้ถึงเมืองแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้พบพระศรีอารย์ ในอนาคตกาลเทอญ

คำภาวนาก่อพระเจดีย์ทราย อิมัง วาลุกัง เจติยัง อะธิฏฐามิ

คำอธิษฐานเวลาปิดทองลูกนิมิต ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต อุโบสถ ทศพล เริ่มลูกต้น กลางโบสถ์ โชติตระการ เป็นนิมิต ลูกเอก เสกประสาท งามโอภาส มาศเฉลิม เสริมสัณฐาน เป็นนิมิต เตือนตา สาธุการ ท่ามกลางงาน บุญพิธี ผูกสีมา เกิดชาติหน้า อย่ารู้เข็ญ ได้เป็นใหญ่ รูปวิไล เป็นเสน่ห์ ดังเลขา ปิดนิมิต ลูกทิศ บูรพา ให้ก้าวหน้า เกียรติยศ ปรากฏไกล ปิดนิมิต ลูกทิศ อาคเนย์ ขอให้เท- วาประสิทธิ์ พิสมัย ปิดนิมิต ทิศทัก- ษิณศักดิชัย ให้สมใจ สมบัติ วัฒนา ปิดนิมิต ลูกทิศ หรดี ขอให้ชี- วิตมั่น ชันษา ปิดนิมิต ทิศประจิม อิ่มอุรา ปรารถนา ใดได้ ดั่งใจปอง ปิดนิมิต ทิศพายัพ ดับทุกข์โศก นิราศโรค นิราศภัย ร้ายทั้งผอง ปิดนิมิต ทิศอุดร กรประคอง ได้เงินทอง สมหมาย ทุกรายการ ปิดนิมิต ทิศอีสาน ประการท้าย ให้สมหมาย ได้สุข ทุกสถาน รวมเก้าลูก สุกใส ใจเบิกบาน กว่าจะถึง ซึ่งนิพพาน เมื่อนั้น เทอญ -โดยธรรมสาธก-

คำถวายเครื่องสังเวยพระภูมิเจ้าที่ นะโม เม พระภูมิเทวานัง ธูปะทีปะ จะ ปุปผัง สักการะ วันทานัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ สุขายะ สันติเทวา มะหิทธิกา เตปิ อัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

คำลาเครื่องสังเวยพระภูมิเจ้าที่ อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะสีละ เนกขัมมะปัญญา สะหะวิริยะ ขันตี สัจจาธิฏฐานะ เมตตุเปกขายุทธายะโว ทิสสาวินะติ อะเสสะโต

คำบูชาพระภูมิด้วยดอกไม้ธูปเทียนหรือพวงมาลัย ภุมมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภุมมา มะหิทธิกา เตปิ อัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

คำถวายของใส่บาตร อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิขูนัง นยาเทมิ สุทินัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจะ (ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานอันนี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ) หรืออาจกล่าวเป็นภาษาไทยเวลาจบขันข้าวใส่บาตรดังนี้ ข้าวของข้าพเจ้า ขาวดังดอกบัว ยกขึ้นเหนือหัว ถวายแด่พระสงฆ์ จิตใจจำนง ตรงต่อพระนิพพาน

คำถวายสังฆทาน อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวารทั้งหลาย เหล่านี้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายผ้ากฐิน อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะ ทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ทุติยัมปิ ...(อารธนาศีลห้า) ตะติยัมปิ ... (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และเมื่อรับแล้ว ขอจงกรานใช้กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายผ้าป่า อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆารัตตัง หิตายะ สุขายะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิษุสงฆ์ ขอพระภิษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุล จีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสิกะสาฏิกานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายผ้าไตร อิมานิ มะยัง ภันเต ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายหนังสือธรรมะ อิมานิ มะยัง ภันเต ธัมมะโปตถะกานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ธัมมะโปตถะกานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ (ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายหนังสือธรรมะกับทั้งของบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับหนังสือธรรมะกับทั้งของบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อมรรคผล นิพพาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ สิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายข้าวสาร อิมานิ มะยัง ภันเต ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ตัณฑุลานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ข้าวสารกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายยาพระสงฆ์ อิมานิ มะยัง ภันเต คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมานิ คิลานะเภสัชชานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญจะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายยาบำบัดความป่วยไข้ กับทั้งเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับยาบำบัดความป่วยไข้ และเวชภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ญาติทั้งหลาย มีมารดาและบิดาเป็นต้นด้วย สิ้นกาลนานเทอญ)

คำถวายเสนาสนะ สร้างกุฏิ วิหารให้สงฆ์ อิมานิ มะยัง ภันเต เสนาสะนานิ อาคะตานาคะตัสสะ จาตุททิสัสสะ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ เสนาสะนานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ)

คำภาวนาเวลารดน้ำศพ กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง สัมพะปาปัง วินัสสะตุ (กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ขอให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งต่อหน้าและลับหลังด้วยเทอญ)

คำภาวนาเวลาเผาศพ อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ภาวี เอวัง ธัมโม เอวัง อะนะตีโต (กายของเรานี้ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน มีอย่างนี้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้) (แบบที่ ๒) อะสุจิ อะสุภัง กัมมัฏฐานัง ภาเวติ (แบบที่ ๓) จุติ จุตัง อะระหัง จุติ

คำภาวนาเวลาทอดผ้าหน้าศพให้พระบังสุกุล นามะรูปัง อะนิจจัง นามะรูปัง ทุกขัง นามะรูปัง อะนัตตา (นามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)

คำถวายผ้าไตรอุทิศให้ผู้ล่วงลับ อิมานิ มะยัง ภันเต ติจีวะรานิ อัยยัสสะ เทมะ สาธุ โน ภันเต อะยัง ติจีวะระปูชาวิปาโก อัมหากัง มาตาปิตุอาทีนัง ญาตีนัง กาละกะตานัง สังวัตตะตุ อัมหากัง มาตาปิตุอาทะโย ญาตะกา ทานะ ปัตติง ละภันตุ อัมหากัง เจตะสา (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายไตรจีวรนี้แก่พระผู้เป็นเจ้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ อันว่าผลวิบากของการบูชาด้วยไตรจีวรนี้ จงเป็นไปเพื่อญาติทั้งหลาย มีมารดาบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นต้น จงได้ส่วนแห่งทานนี้ตามความประสงค์ของพวกข้าพเจ้าทั้งหลายเทอญ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท