เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน แต่อุดมการณ์ไม่เปลี่ยน มไม่กี่คน จากเหตุการณ์ ชุมนุม การเรียกร้อง ประชาธิปไตย ปี 53 การเปลี่ยนแปลงมาจาก รธน. 50 มาถึง 60 เหมือนกับ ย่ำอยู่กับที่ เวียดนาม ลาว ก้าวหน้า ด้านการศึกษา พัฒนาเชิงฏครงสร้างพื้นฐาน ล้ำหน้าไทยไปมากแล้ว..
เปิดเรียนวันแรกทั่วไทย รถติดในเมือง ตั้งแต่เช้า ผู้ปกครองต่างตื่นเต้นกับการรับส่ง อีกทั้งรถรับส่ง.. จะได้ให้หลานไปพักในเมือง(เช่าอยู่กับป้าหารสอง) ในการเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ชื่นชอบและติดตามมาตั้งแต่เด็กกับฟุตบอลทีมนี้ ที่ชื่อลิเวอร์พูล เมื่อคืนแข่งขันรอบชิงฯเอฟเอคัพกับเชลซี..รูปเกมเมื่อเริ่มการแข่งขันดูจะเป็นต่อ แต่พอซาล่าห์เจ็บ..ทุกอย่างดูมืดมน แต่สุดท้าย…ลิเวอร์พูลก็ชนะ..คว้าถ้วยสำคัญนี้มาครองได้
งานบวชที่ปรับเปลี่ยนการจัดงาน ดูและได้ร่วมงานนั่ง ลงบัญชี และ การแห่นาค ก็เรียบง่าย และบวช เช้า สาย เข้ามาฉันเพล และอุทิศบุญ จบ ในวัน ประหยัดเวลา เงิน ..ก็ดีอีกแบบ
สังคมกับ ทรัพย์ยากรมนุษย์ ที่มีตัวกลางเป็นยาบ้าที่เกลื่อนบ้านเมือง เยาวชน ติดยาบ้า พ่อลูกพ่อเมียหลายคน ติดยาเสพติดทำลายครอบครัว.. ประเทศจะพัฒนาไปทางไหน..
รัฐบาลไม่ได้มาสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น อีกทั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยปะละเลยเยอะ..หรือไม่ ยาทลักเข้ามาทางไหนคงรู้ดีคือเจ้าหน้าที่
ข้างบ้านพักเตรียมงาน บวช เช้าก็ได้ช่วยงานเหมือนญาติให้คำปรึกษากับการเตรียมงาน อีกเจ้าให้นั่งโต๊ะทะเบียน..รับบริจาค พรุ่งนี้ เช้า ก็ต้องลงทำงานต่อ
เขียน … ที่บ้าน
“…
ความพยายามจัดบ้าน ยังคงอยู่ในความพยายาม
เสื้อผ้า (เก็บ, แยกแยะ, บริจาค)
กระเป๋า (เก็บ, แยกแยะ, เลือกใช้)
เครื่องเกษตร (จัด, เก็บ, แยกแยะ)
หนังสือ (จัด, แยกแยะ)
ลดพลาสติกเข้าบ้าน
ของใช้เน้นไม้จริงมากขึ้น
ตัดแต่งกิ่งต้นไม้
ทำความสะอาดไปเรื่อย ๆ
นั่นแหละความหวังในช่วงฤดูร้อนปีนี้
…”
๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕
หลังสองยาม
เขียน … ที่บ้าน
“…
เมื่อโลกเปลี่ยนไป วิธีการผลิตครูก็ต้องเปลี่ยนตาม
โลกที่เปลี่ยนไป ทำให้เด็กมีพฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิดที่เปลี่ยนตามไป
การมีเทคโนโลยีชั้นสูงมาช่วยในการเรียนสอน อาจจะมีความคาดหวังว่า จะสามารถทำให้ความแตกต่างของเด็กลดลง หรืออาจจะเท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นแค่ความคาดหวังเท่านั้น มันยังคงมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เด็กยังคงห่างไกลกับคำว่าไม่แตกต่างมากมาย
ความยากจน การไม่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษา บ้านอยู่ห่างไกลเทคโนโลยี หรือแม้จะพยายามเอาเด็กมาอยู่ใกล้เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยี รัฐไม่ได้จัดการทำให้มันได้รับความเท่าเทียมกัน มันเป็นภาระของเด็กที่ต้องหาเทคโนโลยีเอง
อย่าเที่ยวไปคาดหวังจะเอาเทคโนโลยีมาทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน ทำให้ช่องว่างมันห่างน้อยกว่าไม่มีเทคโนโลยีพอพูดได้
ครูต่างหากที่คือทุกอย่าง ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีหรือไม่มีก็ตาม ขอเพียงแค่มีครูที่ทำเพื่อเด็กสักคน ช่องว่างที่เกิดขึ้นจะใกล้เข้าไปถึงจุดเท่าเทียมกันมากกว่าอีก
…”
๑๓ พ.ค.๖๕
หลังสองยาม