ดอกไม้


พิไลวรรณ์ วัฒนากลาง
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้(102321)

1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชา

  • -การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง เทคนิคต่างๆ
  • -รูปแบบและวิธีการสอนต่างๆ ทำให้เราสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตในการเป็นครู
  • -เทคนิคการจัดห้องเรีบน การสอนโดยเน้นผู้เนีบย
  • -ความรู้เกี่ยวกับห้องเรียนแบบเก่าและห้องเรียนในศตวรรษที่ 21
  • -การรับมือกับเด็กและการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการเป็นครูในอนาคต

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียน และ/หรือ ผู้สอนในรายวิชา
ต่อการเรียน :วิชานี้มีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับการเป็นครู เพราะการที่จะเป็นครูไม่ใช่แค่สอนอย่างเดียวแต่ต้องรับมือกับสื่งที่จะเกิดทุกรูปแบบ ดังนั้นควรที่จะมีการปรับเปลี่ยนการสอนแบบเดิมให้ดีขึ้นและให้เด็กสนใจมากขึ้นตามด้วย
ต่อผู้สอนในรายวิชา :อาจารย์มีความน่ารัก มีการจัดการเรียนที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้ได้จริง เป็นกันเอง มีการกระตุ้นความสนใจ ทำให้ทั้งคาบไม่น่าเบื่อ

3.สิ่งที่ผู้เรียนปรับปรุง/พัฒนาให้ดีขึ้นมีอะไรบ้าง
-ควรศึกษาวิธีการสอนแบบต่างๆอย่างละเอียดมากขึ้น เพื่อที่จะได้พัฒนาและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

4.ข้อเสนอแนะ
-อยากให้มีหนังสือประกอบการเรียนในรายวิชานี้


12
7
ปาริสุทธิ์ ในทองหลาง
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชา 102321 การออกแบบและจัดการชั้นเรียน

1.สิ่งที่ได้รับจาการเรียนวิชานี้

-ได้รู้ว่าการจัดการชั้นเรียนที่ดีนั้น ต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนเป็นหลัก ให้ผู้เรียนได้รับความรู้มากที่สุด จากตัวของผู้เรียนเอง โดยที่ครูนั้นมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น แต่ใช่ว่าครูไม่สำคัญ เพราะหากเปรียบว่าครูเป็น โค้ช แล้วนั้น ครูย่อมสำคัญที่จะพาผู้เรียนซึ่งเป็นเหมือนลูกทีมของตนให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียน และ/หรือผู้สอนในรายวิชา

-ครูผู้สอน สอนโดยที่ไม่ให้ผู้เรียนกดดัน เปิดโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการทำงานเป็นทีม ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามการจัดการเรียนรู้วิธีต่างๆ เพื่อดูว่า ถ้าจบออกไปเป็นครู เมื่อสอนตามวิธีนั้นๆ ผู้เรียนของตนจะเกิดความรู้สึกหรือเกิดความรู้อย่างไร ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อนักศึกษาวิชาชีพครูอย่างดิฉัน

3.สิ่งที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น (ตนเอง)

-การกล้าแสดงออกที่มากกว่านี้ การเรียงร้อยถ้อยคำในการพูดให้เหมาะกับโอกาสหรือบริบทต่างๆ พัฒนาในเรื่องของการวางตัวให้เหมาะสมกับการเป็นครู


8
2
มณฑาทิพย์ อนุศรี
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้(102321)

1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชา
-รูปแบบและวิธีการสอนต่างๆ ทำให้เราสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต
-วิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
-ความรู้เกี่ยวกับห้องเรียนแบบเก่าและห้องเรียนในศตวรรษที่ 21

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียน และ/หรือ ผู้สอนในรายวิชา
ต่อการเรียน : วิชานี้มีความจำเป็นต่อผู้ที่จะศึกษาในวิชาชีพครู เพราะจะต้องนำความรู้และทักษะที่ได้นี้ไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนและจัดการศึกษาให้กับนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ พร้อมทั้งฝึกทักษะอย่างเต็มที่และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ต่อผู้สอนในรายวิชา :อาจารย์มีความน่ารัก เป็นกันเอง มีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย กระตุ้นความสนใจผู้เรียน ทำให้ไม่น่าเบื่อ

3.สิ่งที่ผู้เรียนปรับปรุง/พัฒนาให้ดีขึ้นมีอะไรบ้าง
-ควรอ่านหนังสือก่อนไปเรียน และเมื่อเรียนเสร็จแล้วควรกลับมาทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว

4.ข้อเสนอแนะ
-อยากให้มีหนังสือประกอบการเรียนในรายวิชานี้ค่ะ

20
9
Ilham Hayeechebu
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่กำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน คือ ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนายความสะดวก ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเองแล้วการเรียนก็จะเกิดขึ้นจากภายในใจและสมองซึ่งจะทำให้เด็กจำได้ดีกว่าการนั่งท่องจำเพราะเด็กได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งในอดีตนักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนวิชาต่างๆเพื่อต้องการเกรดและเพื่อให้ได้จบการศึกษาแต่ในปัจจุบันจะแตกต่างกันมาก เพราะการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เป็นการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการศึกษาตลอดชีวิตด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนเป็นคนเจ้าคิดเจ้าปัญญาที่ยังแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาแล้วก็ตาม และภาพของห้องเรียนจะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นมีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในห้องเรียนที่ดีและน่าอยู่ นักเรียนจะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้มีการทำงานที่เป็นกลุ่มและอิสระได้ โดยหลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับผู้เรียนทุกคนและจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งหลักสูตรที่ใช้จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทางแต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและปฏิบัติในโครงงาน ซึ่งการประเมินจะเป็นการประเมินที่ผู้ถกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย

ดังนั้น การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะจากกระบวนทัศนะแบบดั้งเดิมไปสู่กระบวนการใหม่ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้



อ้างอิง: http://lripsm.wixsite.com/21st/about_us.


23
8
ภาวนา รัตนศาลาแสง
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย โดยความรู้จะไม่จำกัดอยู่แต่ภายในห้องเรียน ในอดีตนักเรียนใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆเพื่อรับเกรดและเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันนั้นแตกต่างกันออกไปเพราะในปัจจุบันการเรียนการสอนจะช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการศึกษาตลอดชีวิตด้วยวิธีการสอนที่ยืดหยุ่นมีการกระตุ้นและจูงใจผู้เรียน

ครูในศตวรรษที่ 21 คือ ครูที่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ได้ทั่วโลกผ่านทางอินเทอร์เนต สามารถผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนได้หลากหลาย ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ครูมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะฝึกให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการสืบค้าข้อมูลในการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้จริงเพราะการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเองจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

นักเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นผู้ที่มีนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้ พยายามแสวงหาความรู้ ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศได้ มีทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ สามารถเล่นกีฬาและดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชนิด พร้อมเผชิญปัญหาและสามารถเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

การวัดผลประเมินผลในศตวรรษที่ 21 เป็นการวัดผลแบบ Constructivist assessment ซึ่งมักเรียกว่า การวัดผลเชิงประจักษ์ ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ โดยการเรียนการสอนและการวัดผลจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน การประเมนผลจะไม่เป็นเพียงแต่การทดสอบเท่านั้นแต่ยังมีการสังเกตนักเรียน ดูการทำงานของนักเรียนและมุมมองของนักเรียนด้วย ตัวอย่างการประเมิน เช่น การอภิปรายปากเปล่า แผนภูมิความคิด การลงมือทำ

การประเมินผลในศตวรรษที่ 21

1. สร้างความสมดุลในการประเมินผล

2. การนำผลการประเมินมาพัฒนา

3. การใช้เทคโนโลยีในการวัดผล

4. การประเมินตามสภาพจริง



20
4
สิดาพร ภิญโญทรัพย์
เขียนเมื่อ

หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21

หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทั้งความรู้และทักษะในการปฏิบัติ สอนให้ผู้เรียนเรียนรู้นวัตกรรมที่มีการบูรณาการด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและฝึกทักษะการคิดขั้นสูง อีกทั้งยังสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นภูมปัญญาชาวบ้านด้านต่างๆ และการให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

พบว่าหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้มีข้อแตกต่างจากหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 19 และ 20 คือ หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 19 และ 20 จะเน้นสอนให้ผู้เรียนมีความรู้เพื่อทำงานในองค์กรต่างๆ แต่หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้จะเน้นสอนให้ผู้เรียนทุกคนทำงานเป็นและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดก็ตาม

อ้างอิง : http://lripsm.wixsite.com/21st/about_us

https://prezi.com/hnfpul3qeb5e/21/

การวัดผลและการประเมินผลในศตวรรษที่ 21

การวัดผลและการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 มักถูกเรียกว่า “การวัดผลเชิงประจักษ์” เนื่องจากกระบวนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทั้งความรู้และทักษะ การวัดผลและประเมินผลจึงต้องดูที่ทักษะที่ผู้เรียนปฏิบัติได้จริง และยังเป็นระบบที่การเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการวัดผลและการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ใช่เพียงการทดสอบเท่านั้น แต่ยังมีทั้งการสังเกตผู้เรียน ดูการทำงานและประเมินถึงเรื่องอารมณ์และทัศนคติของผู้เรียนอีกด้วย

อ้างอิง : https://www.gotoknow.org/posts/589130

15
5
ภัทราภรณ์ แกมจินดา
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.docx
นางสาวภัทราภรณ์ แกมจินดา
ค.บ.ภาษาไทย ปี 3 หมู่ 1
5780107113

31
10
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท