คำตอบ


สบายดีไหม

ขจิต ฝอยทอง

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

ความไม่ชอบมาพากลของเว็บบอร์ดท่องเที่ยว(ทัวร์แอบแฝง)

ยางรถยนต์

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณมากครับ ที่ฝากเวปมาให้ผม ช่วงนี้ผมไม่ได้เข้า gotoknow มานานมากมากครับ ผมจะเข้าไปอ่านอย่างพิจารณาครับ เพราะเป็นเรื่องที่มีผลประทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบต่อหลายฝ่าย

ไม่ใช่เพียงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่การพัฒนาท้องถิ่นในลักษณะนี้จะต้องมีการประเมินผลกระทบทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ยินดีต้อนรับสู่ประเทศไทยครับผม

ขจิต ฝอยทอง

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณมากครับพี่ขจิต

ผมกลับถึงเมืองไทยบ่ายวันที่ 25 กันยายนแล้วครับ

ผมไม่สบาย เลยไม่ได้เข้าใช้อินเตอร์เนตเลยครับ  ตอนนี้ผมก็เริ่มกลับเข้าทำงานตามปกติแล้ว

ถ้ามีโอกาสผมคงได้พบพี่ครับ

 

กลับมาเมืองไทยเมื่อไร

ขจิต ฝอยทอง

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เรียนอาจารย์ขจิตครับ

  • ขอบคุณครับ
  • ผมจะกลับไปถึงเมืองไทยวันที่ 26 กันยายนนี้ครับ
  • แล้วกลับไปอยู่บ้านที่อุตรดิตถ์ และเริ่มกลับเข้าทำงานวันที่ 1 ตุลาคมครับ
  • ผมคงมีโอกาศได้ไปพบอาจารย์ขจิตที่ มอ สุรนารี เร็วๆ นี้แน่ครับ
  • ขอให้โชคดีในการสอบนะครับ

ผลสอบ

ขจิต ฝอยทอง

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สอบผ่านเรียบร้อยแล้วครับอาจารย์

ช่วงเวลานี้ ผมดีใจมากครับอาจารย์

ผมดีใจที่ผมได้ทำอย่างเต็มที่ และประสบความสำเร็จครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

แวะมาให้กำลังใจ

ขจิต ฝอยทอง

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เพิ่งกลับมาจากสอบนำเสนอวิทยานิพนธ์ที่ต่างจังหวัดครับอาจารย์ขจิต

ที่นี่สอบสามมหาวิทยาลัยพร้อมกัน โดยแต่ตั้งคณะกรรมการสอบจากทั้งสามมหาวิทยาลัยครับ  เป็นแบบเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ารับฟังได้

ผมสอบผ่านเรียบร้อยแล้วครับ ตอนนี้ก็เหลือแก้ไขที่กำลังจะได้ตีพิมพ์อีกสองเรื่องครับ ...อาจารย์ผมอยากให้เสร้จภายในวันจันทร์นี้

ผมก็เลยทำงานต่อเนื่อง ยังไม่มี holiday เลยครับ 

ขอบคุณมากครับอาจารย์ขจิตที่ให้กำลังใจกับผมเสมอมา

ขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงนะครับ

 

 

เรียนหนักหรือเปล่าครับ

ปภังกร

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ผมขอบคุณมากครับอาจารย์ปภังกร สำหรับความคิดถึงจากเพื่อน พี่และน้องใน gotoknow จากเมืองไทย

ผมดีใจมากครับสำหรับกำลังใจที่ให้มา ซึ่งมาได้ถูกจังหวะและเวลา...เป็นช่วงเวลาที่ผมต้องการอย่างมากครับ

-------------------------------------------------------------------------------------

ระบบของป. เอก ที่นี่ เราไม่ต้องเรียนรายวิชาน่ะครับอาจารย์ปภังกร  แต่ก็เปิดโอกาสให้นั่งฟังรายวิชาที่สนใจได้ (ถ้าเขาสอนเป็นภาษาอังกฤษ)..การเรียนแบบนี้นักศึกษาจะค่อนข้างเหนื่อยครับถ้ามีพื้นฐานความรู้มาจากสาขาอื่น   เนื่องจากเราต้องแสวงหาความรู้พื้นฐานนั้นด้วยตนเอง...

เรื่องไหนที่อ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจจริงๆ ก็สามารถไปสอบถามอาจารย์ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว อาจารย์มักจะแนะนำหนังสือเล่มอื่นให้ไปค้นคว้าเอาเอง...

  • อาจารย์จะทราบว่าความเข้าใจของเราถูกต้องหรือเปล่า ก็ตอนที่เขียนผลการศึกษาและอภิปรายผล เพื่อส่งไปลงวารสารน่ะครับ
  • เวลานั้นจะเป็นช่วงที่เรามีเวลาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์อย่างเต็มที่...กรณีของผม อาจจะแตกต่างไปจากนักเรียนคนอื่นในญี่ปุ่นบ้าง   เพราะอาจารย์ของผมเป็นรองอธิการบดี ทำให้มีเวลาค่อนข้างจำกัดกับการให้คำปรึกษาครับ

ผมเลยขอร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเรียนในมหาวิทยาลัยของผมพอประมาณนะครับ

  • สำหรับผม...ตอนนี้ถือได้ว่ามาถึงจุดที่ต้องเข้าใจสิ่งที่ตัวเองได้ศึกษามาทั้งหมด...ช่วงเวลาที่ผมทำการศึกษาเรื่องนี้มาตั้งแต่สามปีที่แล้ว  มีการเปลี่ยนแปลงจากที่ได้วางแผนไว้ในข้อเสนอโครงการอยู่ตลอดเวลา. ผมได้เรียนรู้สิ่งที่ทำผิดพลาดไปหลายๆ อย่างครับ...บางครั้งก็ดื้อกับท่านอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน
  • บางครั้งก็โดนว่าแรงๆ แต่นั้นไม่ได้ทำให้ผมท้อแท้เลยครับ...กลับดีใจซะอีกที่ท่านอุตสาห์เคี่ยวอุตสาห์เข็นผมมาจนถึงวันนี้...ก็เป็นแบบที่อาจารย์ปภังกรเคยเขียนไว้ในบันทึกของอาจารย์น่ะครับ.  

พอดีผมจะซ้อมนำเสนอเป็นครั้งสุดท้าย ในวันพรุ่งนี้ตอนเช้าครับ..ต้องขอตัวไปแก้ไข power point ก่อนนะครับ

รบกวนถาม

kanlaya

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

การวิเคราะห์ทางสถิติเช่น การวิเคราะห์ regression แบบต่างๆ นำมาใช้ร่วมกับ GIS ได้ดีครับ 

  • ผมยังไม่เคยใช้ idrisi ร่วมกับการวิเคราะห์ทางสถิติเลยครับ แต่ผมแน่ใจว่าสถิติใช้ร่วมกับโปรแกรม GIS ได้ทุกโปรแกรม โดยเฉพาะสามารถทำได้ใน Excel อย่างที่คุณกัลยากล่าวไว้ครับ

ผมขออนุญาตแนะนำ บางทีคุณกัลยาคงทราบแล้ว ว่ามีงานหลายชิ้นที่นำใช้การวิเคราะห์ discriminante หรือ k-means cluster มาใช้ร่วมกับเทคนิคทาง GIS   

ลิงค์ข้างล่างเป็นโครงการตัวอย่างที่ใช้ GIS ร่วมกับการวิเคราะห์ทางสถิติเกี่ยวกับเรื่องภัยแล้ง ของ รศ.ดร.ชฎา ณรงค์ฤทธิ์ และคุณสีใส ยี่สุ่นแสง จากมหาวิทยาลัยนเรศวรครับ 

 http://www.agi.nu.ac.th/research/Research_Water/default.htm

http://www.agi.nu.ac.th/research/Research_Water/Html/D_publication.htm

คุณกัลยาอาจจะติดต่ออาจารย์ชฎา หรือคุณสีใสก็ได้ครับ ขอทราบรายละเอียดได้ครับ

ขาดเหลืออะไรก็ติดต่อผมได้นะครับ  หลังจากสอบเสร็จแล้ว คงมีเวลามากขึ้นครับ

งานวิจัย

ขจิต ฝอยทอง

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

งานวิจัยของผมทำเกี่ยวกับ soil fertility status รวมทั้ง nutrient dynamic ในช่วงเวลาเพาะปลูกครับ หลังจากนั้นก็ทำ  Land Suitability Assessment 

  • ผมเลือกพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะเจาะจงที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เนื่องจากลักษณะการเกษตรโดยเฉพาะระบบไร่หมุนเวียน (บางครั้งผมก็ยังเรียกว่า ไร่เลื่อนลอย อยู่) แตกต่างจากภาคเหนือตอนบนที่เป็นภูเขาสูง และทางภาคอิสาน ซึ่งถือว่าตอนนี้แทบจะหาเอกสารของพื้นที่นี้ได้ยากมากครับ
  • ที่สำคัญระบบเกษตรแบบไร่เลื่อนลอยได้กำลังเกิด transition จาก traditional เป็น กึ่ง intensified กึ่ง sedentary  ทำให้คุณลักษณะต่างๆ ของดิน และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป
  • การศึกษานี้เป็น เหมือนกัน pilot study น่ะครับ เพราะเริ่มทำการศึกษาจากพื้นฐานจากศูนย์จริง ๆ  (เหมือนกับงานนิพนธ์ของปริญญาตรีเลยครับ)
  • แต่เพราะว่าปัจจุบันเราไม่สามารถจะอธิบายปรากฎการณ์ของการเกษตรในลักษณะเดิมๆ แบบที่ผ่านมาได้อีกแล้ว ผมก็เลยจำเป็นต้องเริ่มจาก clearify ลักษณะเบื้องต้นของทั้งการเกษตรและลักษณะดินใหม่น่ะครับ

ชื่อเรื่องการศึกษาของผมเต็มๆ คือ Soil Fertility Status and Land Suitability Assessment under Upland Farming Practices in Lower Northern Thailand ครับ

ผมก็เพิ่งศึกษาด้านเกษตรมาสองสามปีเอง ผมต้องการพี่เลี้ยงคอยแนะนำอย่างมากเลยครับอาจารย์  ทั้งทางด้านเกษตร และเรื่องการวางแผนการทำวิจัย

ขอคำปรึกษา

กัลยา

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ต้องขอโทษคุณกัลยานะครับที่ผมไม่ได้เข้ามาดูบล็อกเลย กำลังเตรียมสอบวิทยานิพนธ์ต้นเดือนสิงหานี้น่ะครับ

ขอบคุณอาจารย์ขจิตนะครับที่ แนะนำให้คุณกัลยาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ต้องเรียนคุณกัลยาครับว่า ผมเองเพิ่งศึกษางานด้านการเกษตรมาไม่ถึงสามปีเองครับ เรียกได้ว่าความรู้ยังด้อยนัก

  • งานกล้วยน้ำว้าที่ลงในวารสารกรมวิชาการเกษตรค่อนข้างมีจุดบกพร่องเยอะมากครับ   ผมเลยแก้ไขใหม่โดยเพิ่มในส่วนของ การหาพื้นที่ที่เป็นไปได้ (site selection) ครับ ลองดูข้อมูลจากลิงค์ข้างล่างนี้นะครับ

               http://www.horticultureworld.net/Jaruntorn.pdf

  • ในขั้นแรก ผมใช้ลักษณะการประเมินสภาพแวดล้อมในปัจจุบันของพื้นที่เป็นแบบ multivariables  โดยใช้ค่าความเหมาะสมอ้างอิงตัวเลขจากคู่มือการเกษตรและจากผู้เชี่ยวชาญ  แต่ลักษณะของวิธีนี้อาจจะไม่ค่อยดีนักก็ได้ครับ  เนื่องจากธรรมชาติของพื้นที่แต่ละแห่งมีคุณสมบัติค่อนข้างเฉพาะตัว
  • คุณกัลยาคงต้องเข้าใจและมีรายละเอียดด้านต่างๆ เกี่ยวกับอ้อยและมันสำปะหลังมากพอสมควรครับ
  • เมื่อจะเชื่อมโยงเข้ากับที่ตั้งโรงงานเอธานอล นั่นหมายถึงว่า มีโรงงานเอธานอลตั้งอยู่แล้วใช่ไหมครับ แต่ถ้ายังไม่มีโรงงาน ก็ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงาน ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีปฏิสัมพันธ์กัน

สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับประเมินความเหมาะสมพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการเกษตร มี model ที่เหมาะสม เผยแพร่ในอินเตอร์เนตครับ

ผมต้องขอโทษนะครับที่ไม่สามารถให้ข้อมูลอะไรได้มาก แต่ผมยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมกับคุณกัลยานะครับ

ผมเต็มใจครับ ถ้าสิ่งไหนที่ผมสามรถช่วยเหลือได้ กรุณาบอกกล่าวได้เลยครับ 

(ปล. หลังจากเดือนสิงหาคม ผมจะมีเวลาว่างมากขึ้นครับ ช่วงนี้วุ่นเรื่องเตรียมสอบวิทยานิพนธ์น่ะครับ)

 

แวะมาทักทาย

ขจิต ฝอยทอง

จรัณธร
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจของอาจารย์ขจิต ที่ส่งมาจากเมืองไทยครับ

ผมคิดถึงเมืองไทยมากครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท