อนุทินล่าสุด


ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

ขอมอบความรักและความปรารถนาดีแด่ท่านนายก ยิ่งลักษณ์ เนื่องในวันแห่งความรัก เนื่องในโอกาสวันแห่งความรัก ขอมอบความรักและความปรารถนาดีให้แก่ท่านนายก ยิ่งลักษณ์ ขอให้ท่านนายกยิ่งลักษณ์มีความรักประเทศชาติและคนไทยอย่างจริงใจ ตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนด้วยความบริสุทธิ์ใจ ท่านเป็นผู้ที่มีบุญวาสนา มีโอกาสได้ทำงานรับใช้ประเทศชาติ ท่านอยู่ในตำแหน่งผู้นำของประเทศไทย ตามทฤษฎีทุนมนุษย์ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ประกอบด้วย ทุน 8 K’s + ทุน 5 K’s ได้แก่ 1.ทุนมนุษย์ ได้แก่ทุนเริ่มต้นของมนุษย์ทุกคน ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นทุนที่ได้มาจากการกระทำในอดีตชาติ ทำให้มาเกิดในท้องของพ่อแม่ ที่มีความพร้อมแตกต่างกัน
2.ทุนทางปัญญา ทุนนี้เป็น ทุนที่ต้องสร้างด้วยตัวเอง สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาและคนรอบข้าง มีอิทธิพลกับการนำทุนทางปัญญาไปใช้ในทางดีหรือไม่ดี 3.ทุนทางจริยธรรม ทุนนี้เป็นทุนที่ต้องสร้างด้วยตัวเองล้วนๆ เป็นทุนที่ส่งเสริมในการนำ ทุนที่ 2 คือทุนทางปัญญาไปใช้ในทางที่ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพร้อง 4.ทุนแห่งความสุข ทุนนี้เป็นทุนที่สร้างด้วยตัวเองล้วนๆ เป็นทุนที่สำคัญที่สุด คนที่มีทุนนี้มาก คือคนที่มีทุน ที่ 1+2+3 เต็มสมบูรณ์
5.ทุนทางสังคม ทุนนี้เป็นทุนที่ได้รับอิทธิพลจาก ครอบครัว สถานศึกษา และคนรอบข้าง ส่วนจะพัฒนาให้มีทุนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชอบและความสามารถของแต่ละคน ในการมีบทบาทเป็นที่ยอมรับของสังคมนั้นๆ 6.ทุนแห่งความยั่งยืน ขึ้นอยู่กับการกระทำและประสบการณ์ของแต่ละคนที่มีผลกระทบต่อจิตใจของตัวเองและคนรอบข้างหรือคนที่มีส่วนได้เสียกับการกระทำของแต่ละคน 7.ทุนทางไอที ทุนในการนำ ไอที มาใช้เป็นเครื่องมือ ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและการทำงานของแต่ละคน 8.ทุนความรู้และทักษะและทัศนคติ ทุนนี้เป็นทุนที่ได้จากประสบการณ์ในการเรียนรู้ ในสถาบันการศึกษา สถานที่ทำงาน ชุมชนและเครือข่ายทางสังคม ตลอดจนในครอบครัวของตนเอง ทุนมนุษย์ทั้ง 8 เป็นทุนที่มนุษย์ทุกคนมี ส่วนใครจะมีมากน้อยแค่ไหน เป็นผลต่อการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล นอกจากทุน 8 K’s ที่ได้กล่าวไปแล้ว ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ยังเพิ่มให้อีก 5 ทุนเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ได้แก่ 1.ทุนแห่งการสร้างสรรค์ เป็นทุนที่คิดในด้านบวก สร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส คิดสิ่งใหม่ๆ 2.ทุนทางความรู้ เป็นทุนที่เพิ่มเติมจากความรู้อย่างผิวเผิน ความรู้ในมิติเดียว ให้เป็นความรู้อย่างลึกซึ่งและเป็นความรู้ในหลายมิติ 3.ทุนทาง นวัตกรรม ได้แก่ทุนที่ต่อยอดจากของเดิมทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม 4.ทุนทางอารมณ์ ได้แก่ทุนในการบริหารอารมณ์ ให้เกิดอารมณ์ที่สร้างสรรค์ มีอิทธิพลทำให้เกิดทุนทางปัญญา +ทุนทางจริยธรรม เป็นผลทำให้เกิดทุนทางความสุข +ทุนแห่งความยั่งยืน 5.ทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ทุนในการศึกษาเรียนรู้เรื่องคน ซึ่งเป็นคนในมิติที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและค่านิยมของแต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน ทั้งทุน 8 K’s และ ทุน 5 K’s เป็นทุนที่ผู้นำจะต้องมี ทุนที่สำคัญที่ทำให้ผู้นำมีคุณค่าเหนือผู้อื่น ได้แก่ทุนที่อยู่ภายในของผู้นำท่านนั้น ทุนที่อยู่ภายในจะถูกนำมาใช้เมื่อผู้นำท่านนั้นคิดและทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผลที่จะตามมาคือความสุขอย่างยั่งยืนของผู้นำท่านนั้น ท่านนายกยิ่งลักษณ์ต้องศึกษาประวัติของผู้นำหลายๆท่าน ตั้งแต่ก่อนเป็นผู้นำ ระหว่างเป็นผู้นำ และหลังจากลงจากการเป็นผู้นำ ผลที่ท่านนายกยิ่งลักษณ์ทำและจะทำในอนาคตมีผลต่อประเทศชาติ และประชาชนทั้งประเทศ บรรพบุรุษของเราที่สร้างชาติสร้างแผ่นดินและทิ้งมรดกไว้ให้พวกเรา ท่านเฝ้าติดตามดูแลประเทศไทยตลอดเวลา ไม่เคยทอดทิ้ง ถ้านายกยิ่งลักษณ์มีความจริงใจและบริสุทธิ์ใจต่อประเทศชาติ บรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตลอดจนประชาชนคนไทยจะไม่ทอดทิ้งท่านนายก แต่ถ้าท่านทำอะไรที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติโดยเห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวท่านและพวกพร้อง ท่านก็จะได้รับผลจากการกระทำของท่านในทางตรงกันข้าม หวังว่าท่านจะเลือกทางที่ถูกต้อง ที่ทำให้ท่านและประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 14 กุมภาพันธ์ 2555



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

กำหนดการสัมมนาและเปิดตัวหนังสือ* “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
13. 00 น. ลงทะเบียน 13.30 – 14.00 น. ชมวิดิทัศน์ “แนะนำสถาบันทรัพยากรมนุษย์” และ ชมวิดีทัศน์ “ความเป็นมาของ 8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” 14.00 – 14.15 กล่าวต้อนรับ

        โดย   รศ.ดร.พิภพ อุดร 
ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.15 – 14.35 น. เปิดการสัมมนาและกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง คนไทยและประเทศไทยที่พึงปรารถนาในมุมมองของข้าพเจ้า โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล*

                    เลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา

14.35 – 14.50 น. อาหารว่าง ชา กาแฟ 14.50 – 16.15น. เสวนา: 8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน 14.50 – 15.20น. ช่วงที่ 1: ประเทศไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดย อธิบดีกรมอาเซียน*

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ*
ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
        รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์    คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
นายอลงกรณ์ พลบุตร   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์
                                           อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์   
นายสมเกีรติ ศรลัมพ์*    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย 
        ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย.. 

รศ.ดร.พิภพ อุดร ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มธ. 15.20 – 15.50 ช่วงที่ 2: 8K’s+5K’s: สร้างทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียนอย่างไร? โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                            อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์   นายกสมาคมความคิดสร้างสรรค์ ความจำ และการเล่น
                            ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์  นักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2550                    ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย..
            ดร.วีรชัย กู้ประเสริฐ     กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

15.50 – 16.00น. ถาม – ตอบ 16.00น. ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน หมายเหตุ * หมายถึง อยู่ในระหว่างการเชิญและรอการยืนยัน สำรองที่นั่งฟรีได้ที่ 0-2619-0512-3 หรือ 089 – 200-1471 หรือ แฟกซ์ 0-2273-0181



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

การวางจานอาหารจองโต๊ะที่ Food Center ไว้ แล้วเดินไปซื้ออย่างอื่นเพิ่มเติม อาจเป็นอันตราย

ระวังตัวเองดีๆ นะ ด้วยความปรารถนาดีจาก Intelligent Living

นางผาสุก อายุ ๒๘ ปี เข้าไปจับจ่ายซื้อของที่ ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เมื่อรู้สึกหิว จึงแวะที่ ศูนย์อาหารของห้าง

ที่นั่นมีผู้คนพลุกพล่าน เธอจึงไม่ทันสังเกตถึงสายตา ประสงค์ร้ายสองคู่กำลังจับจ้องตนเองซึ่งมีเครื่อง ประดับมีค่าบนตัวเป็นเป้าหมาย

ผาสุกทิ้งอาหารไว้บนโต๊ะเพื่อไปซื้อเครื่องดื่ม จึงเป็นโอกาสของคนร้ายที่จะลงมือปฏิบัติการ จริยา(นังนกต่อ) 1 ในแก็งฟ้าสฟู้ด ซึ่งนั่งห่าง ออกไปไม่ไกลก็นักรีบเดินมาที่โต๊ะของผาสุก ทำทีเป็นหยิบทิชชูบนโต๊ะ ด้วยความรวดเร็วแอบเทยานอนหลับอย่างแรง ใส่ลงไปในอาหารที่ผาสุกวางทิ้งไว้ แล้วทำทีเป็นเดินเลือกซื้ออาหารตามร้าน

ผาสุกกลับมาที่โต๊ะพร้อมน้ำดื่มและเริ่มต้น รับประทานอาหาร ขณะที่จริยาก็หาที่นั่งที่ใกล้ที่สุด....ทำทีดื่มน้ำ

' ตอนนั้นไม่ได้สงสัยอะไร ที่ผู้หญิงคนนั้นเขามานั่งใกล้ ๆ เพราะ Food Center มันก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว อีกอย่าง เห็นว่าเขาเป็นผู้หญิงด้วยกัน ' ผาสุกให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เพียงเวลาไม่นานที่ผาสุกรับประทานอาหารผสมยานอนหลับเข้าไป เธอก็เริ่มง่วงและมึนศีรษะ และนั่นคือโอกาสของแก็งมิจฉาชีพ จริยาตรงรี่เข้าไปทันที ' ขอโทษค่ะ คืออยากจะถามว่า แผนกเครื่องสำอางนี่อยู่ชั้นไหน ' ผาสุกพยายามตั้งสติแต่ ความง่วงมึนงงมันก่อตัวขึ้นรวดเร็วจนควบคุมไม่ได้

" คุณเป็นอะไรไปคะ...ไม่สบายหรือคะ " จริยารีบเข้าประคองผาสุกให้ลุกขึ้น ซึ่งเธอก็หมดแรงจะขัดขืน " ฉันจะพยุงไปนะคะ สงสัยต้องไปโรงพยาบาลแล้วล่ะค่ะ " จริยา (นังนกต่อ) ประคองกึ่งลากผาสุกออกไปจากบริเวณนั้น โดยมีสายตาหลายคู่จ้องตามไป แต่ไม่มีใครสงสัย เพราะภาพที่เห็นทำให้คิดว่าผู้หญิงคนหนึ่งไม่สบาย และเพื่อนกำลังพาออกไปเท่านั้น ไม่มีใคร สังเกตก่อนหน้านี้ว่าใครเป็นใคร มาคนเดียว หรือมากับใคร นอกจากมิจฉาชีพเท่านั้น! ผาสุกให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไปว่า " ตอนนั้นเท่าที่จำได้ก็คือรู้สึกมึนงง เวียนหัว คล้ายจะเป็นลม หนังตามันจะปิดซะให้ได้ ฉันพยายามสู้กับมัน พยายามจะไม่หลับ แต่ก็ ไม่มีแรง รู้แต่ว่ามีคนประคอง "

จริยานางนกต่อพยายามพยุงเหยื่อที่ใกล้ หมดสติไปยังจุดนัดพบ ซึ่งที่นั้นไกรสร สมาชิกร่วมแก๊ง ทำทีเป็นคนขับวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง คอยท่าอยู่แล้ว ไกรสรตะโกนถาม " มอเตอร์ไซค์มั้ยพี่ "
จริยารีบตอบ " ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด " เพียงเท่านี้..ก็ขจัดความสงสัยของคนรอบๆ ไปได้แล้ว จริยาก็พยุงผาสุกขึ้นรถจักรยานยนต์ซ้อนสามไปด้วยกัน (บางแก๊งก็เป็นรถโดยสารประเภทอื่น) แน่นอน คนร้ายมิได้นำเธอส่งโรงพยาบาล แต่กลับพา ไปยังบ้านพักของตนเองที่ถนนลาดหญ้า เขตคลองสาน

เมื่อไปถึง..ผาสุกพยายามลืมตามองรอบๆ ก่อนจะอาเจียน ออกมาจนหมด สองมิจฉาชีพรีบประคองผาสุก เข้าไปภายใน มงคลหัวหน้าแก็งซึ่งรออยู่แล้ว ละลายยานอนหลับให้หญิงสาวดื่มอีก แต่คราวนี้ เธอปัดป้องจึงถูกจับกรอกแทน ทั้งคู่ช่วยกันปลดทรัพย์ จริยา(นางนกต่อ) หยิบกระเป๋าสตางค์ของผาสุกออก ดูบัตรประชาชน " อยู่ไหน " เสียงมงคลถาม " แถวเยาวราช " จริยาตอบ มงคลพยักเพยิดให้จริยาออกไปแล้ว จัดการปลดกระดุมเสื้อผาสุกหมายจะข่มขืน ซึ่งพวกมันมักจะทำเป็นประจำภายหลังจากรูดทรัพย์แล้ว แต่ครั้งนี้เหยื่อไม่มีท่าทีจะหมดสติเอาง่ายๆ

" ที่ฉันจำสถานที่ได้ เพราะฉันเคยไปมาก่อน และคง เป็นเพราะฉันอาเจียนออกมาหมดด้วย " ผาสุกให้การต่อไป " ตอนที่มาถึงบ้านคนร้าย ก็พยายามสำรวจว่าเราอยู่ที่ไหน รู้สึกว่ามันผิดปกติแล้ว แต่ไม่มีแรง พวกมันเอาน้ำมาให้กิน แต่คิดว่าเป็นยานอนหลับอีก ไอ้คนที่เป็นหัวหน้าพยายาม ลวนลาม ฉันเลยรวบรวมสติขัดขืน มันก็คงร้อนตัว "

เมื่อเห็นว่าเหยื่อยังมีสติ คนร้ายจึงรีบร้อนพาเหยื่อ ออกจากบ้านโดยเร็ว คราวนี้ด้วยรถแท๊กซี่ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน นำเธอไปทิ้งไว้ไม่ไกลจากบ้านของเธอเอง

" ตอนนั้นฉันเกือบจะไม่ได้สติแล้ว แต่ยังจำได้ว่า เป็นซอยบ้าน จึงพยายามเดินไปให้ถึง พอถึงบ้านก็หลับเป็นตายเลย "

ผาสุกสรุปคำให้การ.......เมื่อรู้สึกตัวอีกครั้ง ภายหลังจากที่พยายามทบทวนเหตุการณ์อย่างหนัก เธอก็จำได้ว่าสถานที่ที่ถูกพาไปรูดทรัพย์นั้น ตนเองเคยไปทำธุระมาก่อนเมื่อไม่นานมานี้ เธอจึงชวนน้องสาวไปแอบดูสถานที่เพื่อความแน่ใจ

" ใช่ ใช่ แน่แน่ นั่นไงมอเตอร์ไซค์ คันนั้น นั่นไงรอยอ้วกของพี่ "

พฤติกรรมของมิจฉาชีพเหล่านี้ จะยังสามารถกระทำ กับเหยื่อรายอื่นต่อไปได้อีกหลายครั้ง ถ้านางผาสุก ไม่ตัดสินใจเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความจริงตำรวจก็ได้รับข้อมูลพฤติกรรมและกำลัง ติดตามสืบแก๊งคนร้ายพวกนี้อยู่ แต่ที่ผ่านมา ไม่มีการแจ้งความ บางคนเป็นพยาบาล บางคนเป็นนักธุรกิจ ยิ่งถ้าโดนข่มขืนด้วยก็คงรู้สึกอับอาย เลยไม่มาแจ้งความ คราวนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจรวบตัวได้ทั้งแก๊ง พร้อมคำสารภาพ

" ผมจะคอยเฝ้าดูอยู่ที่ Food Center ตามห้างต่างๆ คอยดูคนที่มีทองเยอะ ๆ ท่าทางฐานะดี ทำมาหลายครั้ง กว่า ๒๐ ครั้งได้ ยานอนหลับจะใช้อย่างแรงเลย ซื้อจากร้านขายยาที่บางแค เอามาบดผสมน้ำ ที่ผ่านมามักจะเป็นผู้หญิง รูดทรัพย์แล้วก็ข่มขืนด้วย เพื่อให้เขาไม่กล้าแจ้งความ "



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

ทราบว่าขณะนี้ เจ้าของธุรกิจโรงแรม SMEs มีปัญหามาก เนื่องมาจากหลายสาเหตุ และสาเหตุใหญ่ๆจะมาจากการบริหารจัดการภายใน ระหว่างหุ้นส่วน เรื่องการตลาด เรื่องการรับช่วงระหว่าง พ่อ มายังลูก เจ้าของโรงแรม SMEs ส่วนมากบริหารเอง ขาดความเป็นมืออาชีพ และไม่ได้จ้างมืออาชีพมาบริหาร หรือหาผู้บริหารมืออาชีพ ไม่ได้ รุ่นพ่อประสบผลสำเร็จ แต่มารุ่นลูกหรือรุ่นหลาน จะมาปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ผมเข้าใจปัญหาและสามารถให้คำปรึกษาและเป็นโค้ชส่วนตัวให้กับลูกหลาน ที่จะเข้ามารับช่วงบริหารงานต่อจากรุ่นพ่อ ได้ แต่เพื่อให้ได้คุณภาพและรับรองผลสำเร็จ ผมสามารถรับงานได้แค่ปีละ 3 รายเท่านั้น สำหรับปี 2555 นี้ผมรับงานไปแล้ว 1 ราย ยังสามารถรับได้อีก 2 ราย จึงขอให้ท่านที่สนใจรีบติดต่อเข้ามาหาผมได้ที่ โทร 089-1381950 หรือ e-mail address: [email protected]



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

ตามที่ผมได้เขียนบันทึก "แผนธุรกิจโรงแรม" ลงใน blog ของ gotoknow เมื่อปีที่แล้ว และมีผู้สนใจติดต่อเข้ามาขอคำปรึกษาหลายท่านด้วยกัน ผมได้ตอบกลับไปทุกท่าน ส่วนมากจะเป็นคำถามคล้ายๆกัน และข้อมูลที่ถามกว้างมาก รายล่าสุดที่ถามมา เป็นคำถามเดียวกับที่ผมเลยตอบไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าท่านได้อ่านไล่การถามตอบใน blog ตั้งแต่ต้นหรือไม่ ผมอยากขอให้ท่านที่มีความสนใจจะทำอาชีพ ด้านการบริการห้องพัก และกำลังคิดจะลงทุน โปรดอ่านบันทึกของผมตั้งแต่ต้น และไล่อ่านข้อความของหลายๆท่านที่ถามมาและผมได้ตอบไป ในเบื้องต้น หลังจากนั้นถ้าท่านคิดจะทำธุรกิจอย่างจริงจังและสนใจปรึกษาผมเป็นเรื่องเป็นราว ขอได้โปรดนัดหมายติดต่อพบกันเพื่อให้คำปรึกษาอย่างละเอียด ผมคิดค่าบริการในการให้คำปรึกษาชั่วโมงละ 3,000 บาท ถ้าสองชั่วโมงคิด 5,000 บาท ในครั้งแรก หลังจากนั้นถ้าท่านยังสนใจจะทำธุรกิจบริการห้องพักอย่างจริงจัง และต้องการให้ผมเป็นที่ปรึกษาโครงการ หรือเป็นโค้ชส่วนตัวให้ท่าน ค่อยตกลงค่าบริการตามความเหมาะสมต่อไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

พระองค์ทรงมีรับสั่งว่าอย่าไปเรี่ยไรเขา แล้วพระองค์พระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มาให้ดำเนินงานจำนวนหนึ่ง เมื่อทำอะไรแล้วให้แจ้งข่าวสารเผยแพร่ให้ประชาชนรู้ และเมื่อเขาศรัทธา เขาก็จะให้เงินมาเอง เราจึงมีวารสารเผยแพร่ออกสื่อเป็นข่าวบ้าง หลังจากที่ทรงมีรับสั่งในวันนั้น เงินบริจาคเข้ามาตลอด เรียกได้ว่ามีจำนวนเพียงพอ แล้วก็ไม่เคยหยุด ไม่ว่าจะยามวิกฤตหรือไม่ก็ตาม จำนวนเงินที่ได้รับบริจาคก็ยังคงเส้นคงวาอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นคำว่า"ศรัทธา"จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา รวมถึงการพัฒนาและแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าแก้ตรงจุดนี้ไม่ได้ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ดังนั้น ต้องพัฒนาคนและอาศัย "ศรัทธา" การพัฒนาจึงจะประสบความสำเร็จ โดยตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ เป็นต้นมาจนกระทั่งปี ๒๕๔๒ ผมจึงมี ๒ มือถือ มือหนึ่งคือมือของหน่วยราชการ เป็นเลขาธิการ กปร ใช้งบของทางราชการ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งคือ เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ใช้งบส่วนพระองค์ ดังนั้นหลังจากตั้งมูลนิธิฯ ขึ้นมาแล้วงานจึงไม่สะดุด เนื่องจากมูลนิธิชัยพัฒนา สามารถทำงานได้ ๒๔ ชั่วโมง สามารถสั่งเดี๋ยวนั้นออกได้เดี๋ยวนั้นเลย หรือสามารถออกไปก่อน หรือจะใช้ไปเลยก็ได้ ถ้าทางนี้กระบวนการช้า จะมาใช้ทีหลังก็ยังได้ เพราะฉะนั้น ก็ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมาก

ผมดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯทั้ง ๒ แห่ง จนกระทั่งผมเกษียณในปี ๒๕๔๒ จึงแยกสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาออกมาอยู่ที่สนามเสือป่า แต่ว่างานก็ยังเดินคู่กันไป กล่าวคือ พอมูลนิธิชัยพัฒนาพบกับปัญหางานโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการใหญ่ๆ ต้องใช้งบประมาณมาก เราก็จะส่งไปที่ สำนักงาน กปร.ซึ่งจะรับช่วงต่อ ในมุมกลับกัน หากสำนักงาน กปร พบปัญหาอะไร เช่น ไม่สามารถเบิกงบประมาณได้ทัน แต่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ก็ส่งมาให้มูลนิธิชัยพัฒนา และพระองค์ทรงมีรับสั่งให้ทั้ง ๒ หน่วยงานไปอยู่ด้วยกัน โดยวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ เราก็จะย้ายสำนักงานไปอยู่ด้วยกันตรงบริเวณหลังอนุเสาวรีย์รัชกาลที่ ๘ เชิงสะพานพระราม ๘

ตลอดชั่วเวลาที่ได้ถวายงาน ทำให้ได้เรียนรู้อีกอย่างหนึ่งว่า ระหว่างที่พระองค์ทรงงานพัฒนาอยู่นั้น จะทรงสร้างระบบบริหารไปด้วย เป็นสิ่งที่น่าทึ่งที่นักพัฒนาทุกคนควรคำนึงถึงด้วย เช่น การพัฒนาชนบทควรใช้กระบวนการอย่างนี้ จะต้องสร้างกลไกอะไรบ้างเพื่อให้งานพัฒนาบรรลุผล ดังจะเห็นว่า ทรงให้จัดตั้งมูลนิธิต่างๆโดยแต่ละมูลนิธิมีหน้าที่ต่างกันไป เมื่อเกิดภัยพิบัติ น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือสึนามิ มูลนิธิต่างๆเช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์จะรีบออกไปแจกถุงยังชีพก่อน ช่วงนั้นแม้นจะไม่เห็นมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นข่าวในการให้ความช่วยเหลือ แต่แท้ที่จริงแล้วมูลนิธิชัยพัฒนาได้เริ่มงานแล้วโดยนำทีมลงไปสำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่ และให้ความช่วยเหลือในรายละเอียดในเรื่องอื่นๆที่ทุกคนคาดไม่ถึง เช่น การแจกเมล็ดพันธ์พืชเพื่อช่วยเหลือคนในพื้นที่ๆประสบภัย แต่ละคนจะได้รับไม่เหมือนกัน เราต้องศึกษาถึงความต้องการและความจำเป็นของเขาด้วย อาจจะแจกเมล็ดแตงโมไปสัก ๕ กล่อง สำหรับปลูกไว้ขาย เมล็ดผักบุ้งอีก ๒ กล่อง เมล็ดคะน้าอีก ๒ กล่อง สำหรับปลูกไว้กินและขายเป็นต้น

นอกจากนี้การให้ความช่วยเหลือจะต้องมีการบูรณาการ เห็นตัวอย่างได้ชัดจากเหตุการณ์สึนามิ ในเบื้องต้นต้องสร้างบ้านให้ประชาชนได้อยู่อาศัย แต่การสร้างนี้ไม่ใช่สร้างบ้านให้อยู่เท่านั้น ต้นแบบของบ้านที่มูลนิธิชัยพัฒนาวางไว้ สร้างไว้โดยคิดถึงวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งขณะนี้เหตุการณ์สึนามิผ่านไป กว่า ๖ ปี งานยังไม่สิ้นสุด แต่ยังต้องเชื่อมโยงบูรณาการถึงเรื่องการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำเด็กๆไปฝึกเรียนวิชาการโรงแรม เมื่อจบแล้วให้เขาใช้บ้าน ๑๐ หลัง มาทำเป็นโฮมสเตย์ ให้เขาจัดระบบบริหารจัดการกันเอง เพื่อยึดเป็นอาชีพอีกทางหนึ่ง โดยเขายังสามารถจับปลาไปขายได้ และเราก็มีโรงงานแปรรูปรับซื้ออยู่ นำมาแปรรูปเป็นกะปิ น้ำปลา ปลาหยอง แฮมปลา และสเต็กปลา ส่งขายโรงแรม เป็นอาชีพต่อเนื่องไปไม่รู้จบและครบรอบด้าน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

ทุกอย่างก้าวต้องระวังอย่างที่สุด พระองค์ทรงกำชับเสมอว่า อย่าลัดขั้นตอนเป็นพระราชดำริของพระองค์คือ การพัฒนาต้องเริ่มจากจุดเล็กๆก่อน ต้องพิถีพิถัน และก้าวไปที่ละก้าว รวมทั้งยังเป็นนักพัฒนาที่มีความเป็นศิลปิน ทำแล้วต้องสวยงามด้วย เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯทุกศูนย์จะสวยงามและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความคิดต้องสวยงามแล้วย้อนกลับมาพฤติกรรมต้องสวยงามด้วย เพราะฉะนั้น ย้อนมาตอนต้นเรื่องที่พระองค์ทรงสอนให้รู้จัก ดิน น้ำ ลม ไฟ ทรงสอนให้รู้จักคน ให้รู้จักเป็นคนที่รู้จักการให้ พระองค์ตรัสมาตลอดคือ ไม่นึกถึงตัวเราเป็นเบื้องต้น ให้นึกถึงคนอื่น คือให้เสียสละ

ในช่วงปี ๒๕๓๑ ขณะอยู่ที่จังหวัดสกลนคร มีเหตุการณ์หนึ่งคือ มีงานชิ้นหนึ่งล่าช้ามาก จนไม่ทันการณ์และส่งผลกระทบทำให้ผู้คนลำบาก และหลายครั้งเวลาเราไปทำงานแล้วต้องแข่งกับเวลา แข่งกับฤดูกาลของธรรมชาติ ไม่เช่นนั้นต้องรออีก ๔-๕ เดือน ประชาชนจะพลาดโอกาส ต้องรอวงจรอีกรอบ ต้องรอเริ่มต้นใหม่อีก เราจึงต้องรู้ช่วงจังหวะ ธรรมชาติ และธรรมะ ผมจึงมีธรรมอยู่ ๒ ข้อ คนธรรมดา และธรรมชาติ

เมื่อเกิดเหตุการณืเช่นนี้แล้ว พระองค์ตรัสถามผม "ทำแบบโง" เป็นหรือเปล่า ทรงมีพระอารมณ์ขัน ทรงให้ความรู้และทดสอบเชาว์แบบฉับพลัน โง คือทำแบบองค์กรเอกชน หรือ NGO นั่นเอง

ถ้าเช่นนั้นต้องสร้างเครื่องมือใหม่ เพื่อให้การพัฒนาครบวงจร จึงทรงให้จัดตั้งมูลนิธิขึ้นมาพร้อมพระราชทานชื่อ "มูลนิธิขัยพัฒนา" ซึ่งทรงรับสั่งว่า พระองค์จะทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯและโปรดเกล้าฯให้ผมเป็นกรรมการและเลขาธิการ

พระองค์ทรงมีรับสั่งว่า การแก้ปัญหาของประชาชนและประเทศชาติไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นงานยาก การเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา เหมือนกับการเข้าสงคราม แต่เป็นการทำสงครามที่ไม่ใช้อาวุธ เป็นการต่อสู้กับปัญหาเพื่อนำไปสู่ขัยชนะ โดยใช้กระบวนการพัฒนานำไปสู่ความสำเร็จ จึงเป็นที่มาของชื่อ "มูลนิธิชัยพัฒนา" ดังนั้น ในทัศนะของพระองค์ กระบวนการพัฒนาทั้งเรื่องสังคม การเมือง หรืออะไรก็ตาม ต้องพัฒนาคนด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

ตลอดระยะเวลากว่า ๖๕ ปี ที่ผ่านมา ทรงคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แน่นอนที่สุดประชาชนป้อนความต้องการเข้ามา เราสนอง แต่ในขณะที่เราสนองการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน น้ำ ลม ไฟ อาชีพ และปัญหาสารพัดที่แอบแฝงอยู่ ไม่ใช่โครงการที่รักษาหายหรือให้แล้วก็จบ พระองค์ทรงเป็นองค์ความรู้ ให้แต่ละแห่งที่ไปช่วย เกิดบทเรียนขึ้นมา ให้มีการถ่ายทอดต่อเนื่องกัน ด้วยเหตุนี้ แหล่งความรู้มีอยู่มากมายตามโครงการต่างๆซึ่งน่าเสียดายที่ทุกคนมองข้ามไป

ก่อนที่พระองค์จะพระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนา จะทรงทำการทดลองก่อน ทรงรวบรวมองค์ความรู้เป็นระบบ แล้วจึงทรงนำมาถ่ายทอด ทรงมีรับสั่งเสมอว่า การที่เราจะแนะหรือไปสอนเขาต้องระวังให้มาก เพราะหากพลาดไปแล้ว เราไม่ได้แย่นะ แต่เขาจะแย่ เช่น เราไปแนะนำให้เขาปลูกอะไรสักอย่าง ถ้าได้ผลก็ดีไป แต่ถ้าไม่ได้ผล เขาแย่ เพราะฉะนั้น เราต้องระวังให้มาก และที่แย่กว่านั้นคือ ต้นไม้ที่เราแนะให้เขาปลูก กว่าจะรู้ว่าสำเร็จหรือไม่ ใช้เวลา ๔-๕ ปี เพราะฉะนั้น เรื่องเกษตร ดิน น้ำ ลม ไฟ ต้องระวังอย่างมาก เพราะเมื่อพลาดแล้วฟื้นกลับคืนยาก ไม่เหมือนเรื่องอุตสาหกรรมหรือเรื่องอื่นๆ ที่สามารถไปกู้เงินมาดำเนินการต่อได้ เรื่องธรรมชาติฟื้นกลับมายากที่สุด

หากย้อนกลับไปดูประชาชนที่เราช่วยอยู่ ที่เขาพัฒนาตัวเองสำเร็จ และประชาชนได้มาเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น หรือที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ได้ช่วยเหลือประชาชนเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นสรุปรวมไว้ เราทำงานอย่างจริงจัง มีการบริหารจัดการ มีการทดลองหรือห้องทดลอง เริ่มจากในวังเป็นห้องทดลองส่วนพระองค์ และมีเป้าหมายสำคัญคือถ่ายทอดความรู้ ซึ่งก่อนเกษียรอายุราชการ ผมได้รวบรวมทฤษฎีและแนวความคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ จัดทำเป็นหนังสือทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งผมภูมิใจที่สุด เพราะยังสามารถใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ เช่น หากพบปัญหาดินอย่างนี้มีคำตอบ มีวิธีการซึ่งล้วนพิสูจน์แล้ว ถ่ายทอดไว้หมดว่า ล้มเหลวหรือสำเร็จอย่างไร

การดำเนินงานต่างๆ เหล่านี้จะว่าไปแล้ว เริ่มจากหน่วยงานเล็กๆที่สภาพัฒน์ผู้มีหน้าที่พัฒนาประเทศนั่นเองซึ่งได้ทำมาก่อนแต่ไม่ได้นำไปพัฒนาต่อยอด ทำตั้งแต่สมัยผมรับผิดชอบเป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานการพัฒนาชนบทแห่งชาติ โดยมีการนำปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้ รวมถึงจัดทำข้อมูลและตัวชี้วัดความยากจนต่างๆ รวบรวมเป็นข้อมูลพื้นฐาน แล้วผมก็นำงานจากสภาพัฒน์มาต่อยอดที่สำนักงาน กปร.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

งานที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริและทรงงานมาตลอด ช่วยรักษาแผ่นดินไว้ให้เรา ปัญหาสำคัญที่สุด คือ ทรัพยากรธรรมชาติได้แก่ คิน น้ำ ลม ไฟ ผมคิดว่าเราต้องรักษาดิน น้ำ ลม ไฟ ไว้ให้ได้ เพราะขณะนี้ถูกทำลายไปมาก น้ำเน่า ดินพังทลาย ป่าถูกเผา ต้นไม้ถูกตัด คนบุกรุกป่ากันทุกวัน ตลอดระยะเวลาที่ทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ การรักษา ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำอย่างไรให้ทรัพยากรที่เสื่อมโทรมแล้วฟื้นกลับคืนมาทั้งทรงแก้ไข ฟื้นฟู และบำรุงรักษา พระองค์ทรงมีรับสั่งแล้วทรงทำให้ดูด้วย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำไมต้องมี ๖ แห่ง ทั้งทางภาคกลาง เหนือ อีสาน ใต้ ตะวันออก และตะวันตก ก็เพื่อให้เห็นวิธีการแต่ละภาคไม่เหมือนกัน

การคิดโครงการแล้วนำมาทำเหมือนกันหมดทั้งประเทศ พระองค์ตรัสว่าไม่ใช่ แต่ละแห่งย่อมมีภูมิสังคม ดิน น้ำ ลม ไฟ กระทั่งคน แตกต่างกัน ทรงยึดถือเป็นอย่างมากว่า การพัฒนาใดๆ นั้น จะต้องให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนั้นๆ ทำอะไรให้คิดถึงภูมิประเทศก่อน และให้นึกถึงสังคมหรือคน เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปฎิบัติในแต่ละท้องที่ต้องให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และลักษณะของคนซึ่งมีเรื่องประเพณี หลักปฎิบัติ ค่านิยม แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเมตตา พื้นฐานของผมไม่ได้เรียนเกษตร แต่พระองค์ทรงมีความรอบรู้เชี่ยวชาญทางการเกษตร เพราะเป็นกิจกรรมที่พระองค์ทรงงานอยู่ ทรงสอนทุกอย่าง ให้เรารู้จักดิน น้ำ ลม ไฟ รู้จักธรรมชาติ รู้จักคน ซึ่งพระองค์ทรงสรุปให้ฟังในวันหนึ่งว่า ต้องเคารพภูมิสังคม ภูมิ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนสังคม คือ คน ซึ่งเป็นคนในมิติที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมของเขาด้วย พระองค์ทรงสอนให้เรารอบรู้หมดทุกอย่างในการทำงาน เช่น เวลาทำโครงการเราคิดแต่จะวางโครงการบนแผ่นกระดาษเท่านั้น แต่เมื่อได้ถวายงานจึงได้รู้ว่า กิจกรรมหรือโครงการนี้จะต้องมีครบทุกมิติ แต่ก่อนเราดูแต่มิติกายภาพ ดูเป็นถนน เป็นสะพาน เป็นตึกอาคาร เราดูเพียงแค่นั้น แต่พระองค์ทรงสอนให้เห็นถึงมิติของคน หรือความจริงที่ว่า "คน" คือผู้ใช้ถนนเป็นสิ่งมีชีวิต คนใช้เขาพร้อมจะใช้หรือเปล่า การไปลาดยางถนนในขณะที่เขาใช้เกวียนเป็นพาหนะอยู่ ถ้าลาดยางแล้วเขาจะใช้หรือเปล่า เหมาะสมหรือไม่ เพราะฉะนั้น ทรงสอนให้มองมิติต่างๆ อย่างครบถ้วน เวลาทำงานพัฒนาจึงต้องมองทุกมิติ ทุกอย่างต้องวางให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและสังคมที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ โครงการต่างๆ มีหลากหลายสาขา ต้องประสานงานกับหลายหน่วยงาน เริ่มต้นจากการสร้างแหล่งน้ำ จากแหล่งน้ำก็ต้องมีอาชีพ เรื่องเกษตร ปศุสัตวเข้ามา หน้าที่หลักๆของ สำนักเลขานุการ กปร อีกประการหนึ่งคือ เป็นตัวกลางคอยประสานเพื่อให้งานลุล่วงด้วยดี ซึ่งจะทำให้ดีได้ต้องเข้าใจพระราชดำริอย่างแท้จริง พระองค์ทรงมีพระราชกระแสหรือพระราชดำริอะไรต้องจดให้หมด ดังนั้น ในการตามเสด็จฯ กลับมาแต่ละครั้งจะต้องทำรายงานว่าวันนี้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งอะไรบ้าง เป็นคัมภีร์ ใครจะมากล่าวอ้างเป็นอย่างอื่นไม่ได้ รวมทั้งต้องทำบันทึกให้ทีมงานนำไปประสาน ถ้าหากจำเป็นจะต้องตั้งเป็นคณะทำงานหรือเป็นกรรมการในระดับโครงการในพื้นที่ ก็ทำเป็นโครงการเล็กๆ และประสานการจัดสรรงบประมาณจนครบถ้วนกระบวนการตามพระราชดำริ บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล หน้าที่ประการต่อมาคือ ติดตามประมวลผลและถวายรายงานทุก ๓-๔ เดือน ต้องประมวล ติดตามผลกระทบเป็นอย่างไร ประชาชนเขาเปลี่ยนไปไหม รายได้เป็นอย่างไร สภาพแวดล้อม ป่า น้ำ ได้รับการฟื้นฟูไหม ต้องติดตามประมวลผลอย่างใกล้ชิด ทำเป็นระบบและทูลเกล้าฯถวาย จะทำแบบหละหลวมไม่ได้ เนื่องจากพระองค์ทรงติดตามเรื่องด้วยพระองค์เอง บางปีถัดมาเสด็จฯ ซ้ำในพื้นที่เดิม ในพระหัตถ์จะมีรายงานนั้นอยู่ จริงไม่จริงทรงรู้ โดยทรงตรวจติดตามความก้าวหน้าของโครงการอีกครั้งด้วยพระองค์เอง ตลอดจนพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในการแก้ไขปัญหาของราษฎรเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ ใครๆ มักคิดว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไม่มีใครมาตรวจสอบ จริงๆ แล้วไม่ใช่ เราทำกันอย่างเข้มงวดมาก เพราะจะผิดพลาดไม่ได้ ต้องระมัดระวังเพิ่มอีกหลายเท่า เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ย่อมส่งผลต่อสถาบัน ต้องระวังทุกอย่างก้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กำชับให้หน่วยปฎิบัติห้ามอ้างว่าเป็นโครงการพระราชดำริ ต้องให้ประชาชนเขาทำด้วยความเต็มใจ ทุกโครงการต้องผ่านระบบราชการมีตรวจสอบไม่ได้มีอภิสิทธิ์อะไร จำได้ว่านำแบบฟอร์มให้คณะกรรมาธิการงบประมาณตรวจสอบ ซึ่งเขาเข้มงวดมากกับการติดตามประเมินผล เมื่อตรวจสอบแล้วคณะกรรมาธิการงบประมาณบอกว่า อยากให้การติดตามประเมินผลของสำนักงานเลขานุการ กปร เป็นต้นแบบให้กับหน่วยรายการทุกหน่วยดำเนินการตามนี้ด้วย นั้นคือ งานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงได้รับการเชื่อถือว่าทำอย่างรัดกุมรอบครอบที่สุด ไม่มีหน่วยราชการไหนจะทำละเอียดถี่ถ้วนทุกมิติเท่ากับที่สำนักงานเลขานุการ กปร.ทำ ทำให้ได้รับการยอมรับในเรื่องนี้มาก ถือได้ว่างานประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น มีสภาพัฒน์เป็นหน่วยงานเริ่มต้น เหมือนกับอีกหลายหน่วยงานในประเทศที่แตกรากมาจากสภาพัฒน์ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนโยบายและแผนพลังงาน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเมตตา พื้นฐานของผมไม่ได้เรียนเกษตร แต่พระองค์ทรงมีความรอบรู้เชี่ยวชาญทางการเกษตร เพราะเป็นกิจกรรมที่พระองค์ทรงงานอยู่ ทรงสอนทุกอย่าง ให้เรารู้จักดิน น้ำ ลม ไฟ รู้จักธรรมชาติ รู้จักคน ซึ่งพระองค์ทรงสรุปให้ฟังในวันหนึ่งว่า ต้องเคารพภูมิสังคม ภูมิ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนสังคม คือ คน ซึ่งเป็นคนในมิติที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมของเขาด้วย พระองค์ทรงสอนให้เรารอบรู้หมดทุกอย่างในการทำงาน เช่น เวลาทำโครงการเราคิดแต่จะวางโครงการบนแผ่นกระดาษเท่านั้น แต่เมื่อได้ถวายงานจึงได้รู้ว่า กิจกรรมหรือโครงการนี้จะต้องมีครบทุกมิติ แต่ก่อนเราดูแต่มิติกายภาพ ดูเป็นถนน เป็นสะพาน เป็นตึกอาคาร เราดูเพียงแค่นั้น แต่พระองค์ทรงสอนให้เห็นถึงมิติของคน หรือความจริงที่ว่า "คน" คือผู้ใช้ถนนเป็นสิ่งมีชีวิต คนใช้เขาพร้อมจะใช้หรือเปล่า การไปลาดยางถนนในขณะที่เขาใช้เกวียนเป็นพาหนะอยู่ ถ้าลาดยางแล้วเขาจะใช้หรือเปล่า เหมาะสมหรือไม่ เพราะฉะนั้น ทรงสอนให้มองมิติต่างๆ อย่างครบถ้วน เวลาทำงานพัฒนาจึงต้องมองทุกมิติ ทุกอย่างต้องวางให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและสังคมที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ โครงการต่างๆ มีหลากหลายสาขา ต้องประสานงานกับหลายหน่วยงาน เริ่มต้นจากการสร้างแหล่งน้ำ จากแหล่งน้ำก็ต้องมีอาชีพ เรื่องเกษตร ปศุสัตวเข้ามา หน้าที่หลักๆของ สำนักเลขานุการ กปร อีกประการหนึ่งคือ เป็นตัวกลางคอยประสานเพื่อให้งานลุล่วงด้วยดี ซึ่งจะทำให้ดีได้ต้องเข้าใจพระราชดำริอย่างแท้จริง พระองค์ทรงมีพระราชกระแสหรือพระราชดำริอะไรต้องจดให้หมด ดังนั้น ในการตามเสด็จฯ กลับมาแต่ละครั้งจะต้องทำรายงานว่าวันนี้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งอะไรบ้าง เป็นคัมภีร์ ใครจะมากล่าวอ้างเป็นอย่างอื่นไม่ได้ รวมทั้งต้องทำบันทึกให้ทีมงานนำไปประสาน ถ้าหากจำเป็นจะต้องตั้งเป็นคณะทำงานหรือเป็นกรรมการในระดับโครงการในพื้นที่ ก็ทำเป็นโครงการเล็กๆ และประสานการจัดสรรงบประมาณจนครบถ้วนกระบวนการตามพระราชดำริ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

คำสัมภาษณ์ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

ขณะนั้นผมทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการกองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจของสภาพัฒน์ จึงมีหน้าที่หลากหลาย และหนึ่งในนั้นยังเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รับผิดชอบงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วย หน้าที่ประการแรกของการเป็นเลขาธิการ กปร คือ ตามเสด็จฯ และเนื่องจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีหลากหลายรูปแบบมาก ทั้งที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชีพของประชาชน ปัญหาสังคม และพื้นที่ดำเนินการก็กระจายทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯและประทับในภูมิภาคต่างๆ ภูมิภาคละ ๒ เดือน ๔ ภาคก็๘เดือน ระยะแรกๆไม่กล้าตามเสด็จฯเข้าไปใกล้ๆ เพราะไม่มีกฏชี้ให้เราเข้าใจก่อนว่าเราควรอยู่ตรงไหน อย่างไร จำได้ว่าตามเสด็จฯครั้งแรกที่อำเภอชะอำ แล้วก็จังหวัดนราธิวาส ผมอยู่ท้ายขบวน ห่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก พอพระองค์ทรงรับสั่งไปตามถุงเงินมา เนื่องจากผมดูแลงบประมาณ พระองค์จึงทรงตั้งชื่อว่า "ถุงเงิน" ทุกคนก็เลิกลั่ก เพราะไม่มีใครรู้จัก ตอนหลังจึงรู้ว่าคือผมเอง ตั้งแต่นั้นมาถึงได้รู้ว่าตัวเองควรอยู่ตรงไหน คือ ให้อยู่ใกล้ๆพระองค์ จดทุกสิ่งทุกอย่างที่มีพระราชกระแสว่าพระองค์มีพระราชดำริอะไรบ้าง ผมจึงมักบอกกับใครๆเสมอว่า การถวายงานต้องศึกษาและเรียนรู้เอง คอยสังเกตและซึมซับการปฏิบัติงานต่างๆ ไม่มีใครมาสอน และก็ไม่มีใครสามารถสอนด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ คณะที่ปรึกษาเยาวชนและเยาวชนดีเด่น ณ.ศาลาผกาภิรมย์ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓ " ....คำว่า "พัฒนา" ก็หมายถึงทำให้มั่นคง ทำให้ก้าวหน้า การพัฒนาประเทศก็ทำให้บ้านเมืองมั่นคงมีความเจริญ ความหมายของการพัฒนาประเทศนี้ก็เท่ากับ ตั้งใจที่จะทำให้ชีวิตของแต่ละคนมีความปลอดภัย มีความเจริญ มีความสุข ฉะนั้น จึงเข้าใจได้ว่า การพัฒนาทุกอย่างเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ และความพอใจของแต่ละบุคคลในประเทศ...." "พระองค์ทรงรับสั่งว่า การแก้ปัญหาของประชาชนและประเทศชาติไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นงานยาก การเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา เหมือนกับการเข้าสงครามแต่เป็นการทำสงครามที่ไม่ใช้อาวุธ เป็นการต่อสู้กับปัญหาเพื่อนำไปสู่ชัยชนะ โดยใช้กระบวนการพัฒนานำไปสู่ความสำเร็จ จึงเป็นที่มาของชื่อ "มูลนิธิชัยพัฒนา" ... ...เพราะพระองค์ทรงรักแผ่นดิน ทรงรักประชาชน จึงทรงทำทุกสิ่งทุกอย่างให้แผ่นดิน ให้ประชาชนมีความสุข" หมายเหตุ: สัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล โดยคณะผู้บริหาร สศช และทีมงานจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเผยแพร่ในหนังสือ "พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขปวงประชา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นผู้ที่ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท โดยเมื่อครั้งปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) ได้รับผิดชอบเรื่องการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร) ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งสำนักงาน กปร ท่านได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯคนแรกและในปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ท่านได้กรุณาให้ผู้บริหารและทีมงานจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติเข้าพบเพื่อเรียนสัมภาษณ์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ.สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา แรกเริ่มเดิมทีผมรับราชการอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่เรียกสั้นๆว่า สภาพัฒน์ ในตำแหน่งหัวหน้ากองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ และปฏิบัติภารกิจในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง ในเขตกองทัพภาคที่ ๑-๔ จึงทำให้ผมได้มีโอกาสสัมผัสงานในพื้นที่ในเขตกองทัพภาคต่างๆ โดยทำหน้าที่เป็นเลขาของแม่ทัพภาคต่างๆ และแม่ทัพท่านหนึ่งที่ผมเคยไปปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาอยู่นั้นคือ ฯพณฯพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขณะนั้นท่านมียศเป็นพลโท ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๒ ก่อนหน้าปี ๒๕๒๔ นั้น ไม่มีองค์กรใดๆที่จะเป็นหน่วยงานประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงมีพระราชดำริ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะรับสนองพระราชดำริ จนบางครั้งเกิดความซ้ำซ้อน หรืออาจจะไม่มีพระราชดำริก็ไปอ้างว่ามีพระราชดำริ ในชั่วงนั้น จึงเกิดความสับสนพอสมควร พลเอก เปรม ในฐานะที่ท่านเคยเป็นแม่ทัพซึ่งคุ้นเคยกับงานในพื้นที่รับรู้ และทราบว่ามีปัญหานี้อยู่ เมื่อท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงมีดำริที่จะจัดตั้งสำนักงานเพื่อถวายงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ท่านจึงมอบหมายให้ ดร.เสนาะ อูนากูล เลขาธิการสภาพัฒน์ในขณะนั้น ศึกษาและกำหนดว่าควรจะเป็นองค์กรรูปแบบใดและมีระบบงานอย่างไร กปร องค์กรระดับชาติ กลไกเพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดร.เสนาะ ได้มอบหมายให้ผมศึกษา ด้วยสมมุติฐานง่ายว่า โครงการพระราชดำรินั้นส่วนมากอยู่ในเขตชนบทและแหล่งทุรกันดาร ซึ่งขณะนั้นผมรับผิดชอบงานพัฒนาชนบทอยู่ และบังเอิญอีกว่าผมมีประสบการณ์เรื่องการพัฒนาองค์กรความมั่นคง ผมจึงดำเนินการโดยยึดตามแนวระบบที่เคยดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรความมั่นคง คือออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี มีคณะกรรมการควบคุมดูแล โดยจะต้องมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานอันเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ เนื่องจากงานโครงการพระราชดำริมีลักษณะเหมือนการพัฒนาความมั่นคงที่ต้องการความฉับไว รวดเร็ว รวมทั้งได้ถอดแบบระบบบริหารการเงินมาด้วย ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีใครใช้มาก่อนคือ งบลอย (Floating Fund) เป็นงบที่ตั้งไว้ก่อนเหมือนงบของการพัฒนาเพื่อความมั่นคง เมื่ออาจารย์เสนาะนำไปให้ พลเอก เปรม พิจารณา ท่านบอกว่าดีแล้วและให้พิจารณาหาตัวบุคคลมารับงานนี้ อาจารย์เสนาะ จึงเสนอชื่อผมและเริ่มจัดตั้งองค์กรขึ้นตาม "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ.๒๕๒๔" ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๒๔ กำหนดให้มีองค์กรระดับชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกว่า "คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เดิมเราคิดกันไว้ว่าจะใช้ชื่อคณะกรรมการโครงการตามพระราชดำริ ตามที่เราคุ้นเคยกัน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงและรับสั่งว่า ไม่ได้หรอก เป็นเผด็จการ พระเจ้าแผ่นดินจะมาสั่งอะไรต่อมิอะไรไม่ได้ หน้าที่เราคือต้องคิด เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หน่วยงานราชการสามารถทำได้เต็มที่ ซึ่งทรงแสดงความเป็นประชาธิปไตย และทรงเน้นย้ำในระยะต่อมาหลายครั้งหลายหนว่า "หน้าที่ของพระองค์ทรงเป็นที่ปรึกษา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ กระทรวง ทบวง กรม พระองค์ไม่ทรงมีอำนาจอะไรที่จะมาสั่งงาน ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือประเทศชาติในฐานะที่ปรึกษา" เพราะฉะนั้น เมื่อตั้งองค์กรในระบบราชการมาก็ดีแล้ว ก็ลองพิจารณาเห็นด้วยก็ทำ ผลสุดท้ายชื่อจึงกลายมาเป็น "อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" แล้วทรงมีรับสั่งว่าต่อไปนี้ให้ใช้ชื่อในลักษณะนี้อย่างเดียว จึงได้มีการจัดตั้ง"คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร) ขึ้นในปี ๒๕๒๔ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และผมเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่ดำเนินการควบคุม อำนวยการ กำกับ ดูแล ติดตามผลประสานการดำเนินงาน นอกจากนั้นเป็นหน่วยปฏิบัติทั้งหมด กรรมการได้แก่ ปลัดกระทรวงสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานพระราชดำริ โดยมีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงานเลขานุการ กปร) สังกัดสภาพัฒน์ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

คำนิยม โดย พล.เอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ สิงหาคม ๒๕๕๔ หากจะกล่าวหรือบรรยายถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อชาติบ้านเมืองของเราแล้ว คงต้องรวบรวมและพิมพ์เป็นหนังสือเล่มหนามาก เนื่องจากมีมากมายเหลือคณานับ จึงเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง ที่สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ "สภาพัฒน์" ได้จัดทำหนังสือ "การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ซึ่งเป็นการรวบรวมประสบการณ์การถวายงานและตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงงานพัฒนาประเทศและช่วยเหลือพสกนิกรทั่วประเทศของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมายาวนานกว่า ๔๐ ปี และได้เกิดการเรียนรู้จนสามารถนำมารวบรวมและประมวลขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ อันจะเป็นองค์ความรู้ที่ช่วยให้ประชาชนได้ทราบถึงการทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการปฏิบัติงานในระดับต่างๆ และเกิดความซาบซื้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างหาที่สุดมิได้ ในการพัฒนาประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าเล่มหนึ่ง ที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงงานอย่างหนักและเหนื่อยยาก เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากความทุกข์ยาก โดยไม่ทรงเลือกว่าเขาเหล่านั้นเป็นใคร สมดังพระราชปณิธานที่พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการความว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มีโอกาสได้พบและฟังท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านเล่าเรื่องประสบการณ์การเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาท ทำให้ผมซาบซึ้งที่เกิดมาเป็นคนไทย ผมได้ถ่ายวีดีโอ บันทึกข้อมูลที่ท่านสุเมธ เล่าให้พวกเรา (คณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ นำทีมโดยท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) เพื่อเตรียมถอดคำเล่าของท่านเผยแพร่ให้คนไทยได้รับทราบและได้เรียนรู้จากการทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนลากลับท่านสุเมธ ได้มอบหนังสือ การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประสบการณ์การเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาท จัดทำโดย สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือน สิงหาคม ๒๕๕๔ จำนวน ๒๐๐๐ เล่ม หนังสือเล่มนี้มี ๑๔๕ หน้า เต็มไปด้วยความรู้มากมาย ผมเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง อยากให้คนไทยทุกคนได้อ่านและเก็บไว้เป็นสมบัติล้ำค่าเพื่อมอบให้เป็นมรดกของลูกหลานต่อไป เนื่องจากจำนวนพิมพ์แค่ ๒๐๐๐ เล่ม คนไทยเป็นจำนวนมากไม่มีโอกาสได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ ผมจึงอาสาที่จะพิมพ์ ข้อความที่ได้แบ่งไว้เป็นบทต่างๆ ทั้งเล่มนำออกเผยแพร่ในสื่อต่างๆที่ผมสามารถเผยแพร่ได้ เพื่อให้คนไทยได้รับทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงงานมากมายเพื่อพัฒนาประเทศชาติ คนไทยจะได้นำความรู้จากการทรงงานของพระองค์ตามคำบอกเล่าของ ท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ไปช่วยกันแบ่งเบาภาระของพระเจ้าอยู่หัวพัฒนาประเทศชาติร่วมกัน ขอขอบพระคุณ ท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ทำให้หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม ได้ปรึกษากับท่าน ผู้อำนวยการ และคณะบริหารของ วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย ในฐานะที่ผมได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการวิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย ได้หารือถึงแผนการศึกษาปี 2555 ที่จะทำให้นักศึกษาที่จบในแต่ละสาขาได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการและนักศึกษาถูกจองตัวก่อนจบการศึกษา จะมีการทำงานร่วมกันทั้งผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการ และสถานประกอบการ ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม พัฒนานักศึกษาให้มีความรู้และความสามารถในการทำงาน มีจริยธรรม และทัศนคติที่ดี เป็นกำลังสำคัญช่วยพัฒนาสังคมและเป็นคนดีของประเทศชาติ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

กิจกรรมสยามทัศน์สัญจร ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ “จิตรกรรมไทยเมื่อวันน้ำนองที่ย่านบางจาก-บางอ้อ” (รายได้จากกิจกรรมในครั้งนี้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบูรณะศาสนสถานหลังน้ำลด) เวลา กิจกรรม ๐๗.๓๐ – ๐๘.๐๐ น. พบกันในวันน้ำลด ที่เชิงสะพานซังฮี้ (สะพานกรุงธนบุรี - ฝั่งธน ฯ) ๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. บรรยายภาพรวมของวัดวาอารามฝั่งธน ฯ กับผู้คนที่ (เคย) อยู่กับน้ำ ๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐ น. เดินเท้าเข้าชมวัดเปา (วัดเปาโรหิตย์) ชมจิตรกรรมฝีมือครูช่างในสมัยรัชกาลที่ ๔ กับวันเวลายุคตื่นตะวันตก พร้อมภาพชาดกนอกนิบาตจุลประทุมชาดก ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ๑๐.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. ชม วัดใหม่เทพนิมิต (วัดริมคลองบางจาก) พบกับพระอุโบสถสมัยอยุธยาที่หาชมได้ยากเต็มทน ในวันนี้ พร้อมจิตรกรรมแบบขนบไทยประเพณี และภาพทศชาติชาดกฝีมือความวิจิตรระดับ วัดไชยทิศที่ควรค่าแก่การชม ๑๑.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ชม วัดภคนีนาถ วรวิหาร (วัดบางจาก) หรือวัดนอก วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ และปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงปรากฏการเขียนภาพเครื่องตั้ง-เครื่องแขวน เครื่องลายครามตามขนบนิยมแบบจีนที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง ๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน (ตามอัธยาศัย) ๑๓.๓๐ น. นัดพบหน้าซอยจรัลสนิทวงศ์ 86 (ตรงข้ามซอยจรัลสนิทวงศ์ 87 ชิดขวาเพื่อกลับรถ) ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. เข้าเยี่ยมชุมชนสุเหร่าบางอ้อ (สุเหร่าหลังงามริมแม่น้ำ) และย่านการค้า การล่องซุง และกิจการการเดินเรือเมล์บนลำน้ำเจ้าพระยาของอดีต ๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. และร่วมวงเสวนา “วิถีคนบนลำน้ำย่านบางอ้อ”

ร่วมเสวนาโดย ครูอาลี สิทธิสงวน การค้าไม้ซุงในวันวาน คุณอดุลย์ โยธาสมุทร ลูกหลาน (ขุนด่ำ) กับการเดินเรือเมล์เขียว คุณภูมิ ภูติมหาตมะ คนค้น (ผู้) คนที่บางอ้อ (น้องภูมิ กาแฟบ้านบางอ้อ) สุดารา สุจฉายา เปิดวงสนทนาพร้อมค้นหารากเหง้าและ วิถีในย่านบางอ้อ-บางพลัด พร้อมกับลิ้มรสวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น “ชาร้อนนมสด-แป้งกลอกจิ้มคั่ว” ในบรรยากาศเรา ๆ ก่อนอาทิตย์อัสดง ๑๗.๐๐ น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

  • กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม งานนี้ห้ามพลาดอย่างยิ่ง คงอีกนานจะกลับมาจัดอีกไม่จำกัดจำนวน แต่ต้อง e-mail มาบอกก่อนที่ [email protected] จะได้เตรียมเอกสารได้ถูกต้อง หมายเหตุ ทริปนี้เป็นทริปเดินตามปกติของชมรมสยามทัศน์ ไม่มีการจองล่วงหน้า มีค่าลงทะเบียนและเอกสาร ท่านละ ๑๕๐ บาท (๕๐ บาท สำหรับอาหารเรียกน้ำย่อยยามเย็น) และโปรดแต่งกายตามความเหมาะสมกับการเดิน ควรเตรียมร่มกันฝน แว่นตากันแดด และทาครีมกันแดด


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

เพื่อนส่งเอกสารมาให้เห็นว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จึงขออนุญาตนำเผยแพร่ เศรษฐกิจปี 55 โดย ท่านโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ 19/12/2554 ปัจจัยที่มีอิทธิผล มี 2 เรื่อง 1. มหาอุทกภัย – ผลกระทบไปอีก 12 เดือน 2. ความเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลก

ปัจจัยที่ 1 “มหาอุทกภัย” ส่งผลใน 2 ประเด็น 1.1 Loss – ส่วนที่หายไปแล้ว (ไปกับน้ำ) รายได้หายไป – รายจ่ายเพิ่มขึ้น 1.2 Damage - ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินต่างๆ - Damage มี 2 ระดับของผู้ประกอบการ 1. โดนน้ำท่วมโดยตรง
2. ทางอ้อม ไม่ท่วมแต่ Supply chain กระทบ,ส่งผลกระทบต่อผลผลิตมวลรวม GDP จะติดลบ

ขั้นตอนการฟื้นฟู -Big cleaning day – เพื่อให้กลับสู่ภาวะปกติ โดยเร็ว 80% อาจจะกลับมาได้ ใน 3 – 6 เดือน แต่อีก 20%ใช้เวลามากกว่า 6 เดือน -GDP. ในไตรมาสแรก ปี 55 อาจจะยังไม่ดีพอ เพราะยังไม่ปกติ -GDP. ในไตรมาสสอง ปี 55 ดีสุดก็แค่ปกติ -GDP. ในไตรมาสสาม ปี 55 อาจจะมากขึ้น -GDP. ในไตรมาสสี่ ปี 55 ชดเชยสิ่งที่หายไป

รายจ่าย / การจับจ่ายใช้สอย -จะอ่อนลงเพราะรายจ่ายจากความเสียหายของน้ำท่วมความต้องการอื่นๆจะลดลง ยกเว้นความต้องการที่จำเป็นในการฟื้นฟูน้ำท่วม แต่ไม่ใช่ Net Gain -เศรษฐกิจไทยปี 55 เฉลี่ย = 4.5% GDP. 6 เดือนแรกต่ำกว่า 5% และช่วง 6 เดือนหลังจะสูงกว่า 5%

ความเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลก 1. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย - มีแรงกดดันให้ฝากเงินสูง ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูง และดอกเบี้ยเงินกู้ ก็จะสูงตาม - ภาวะเงินเฟ้อ> 4% (อย่าตายใจ ถึงแม้ไม่น่าเป็นห่วง) - แน่ๆ คือไม่ใช่ดอกเบี้ยขาลง

  1. อัตราแลกเปลี่ยน – ผลจากระบบประกันภัยต่างชาติ เงินต่างชาติจะไหลเข้ามาไทย = บาทแข็ง -ขณะนี้ US$ โดนหมากบังคับ กลายเป็นสกุลที่ต้องเข็มแข็ง เพราะยุโรมีปัญหา และหยวนไม่มีความพร้อม จริงๆ แล้วบาทจะอ่อน แต่เงินต่างชาติเข้ามาจากการเคลมประกันภัยต่างชาติ บาทก็จะแข็ง = ผันผวน

2 ปัจจัยของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง** -เศรษฐกิจโลกจะชลอลงแน่นอน ทั้งจีน, อินเดีย ก็ชะลอตัว -เงินยูโร ไม่มีความชัดเจนว่าจะกลับมาเข็มแข็งได้อย่างไร = น่ากลัวมาก = คือโลกทั้งโลกจะขาดเงินสกุลหลักและเงินสกุลหลัก จะอ่อนแอ สรุป “ผันผวน,ผันผวน,ผันผวน” เกิดความกลัว เพราะไม่แน่นอน ทำให้เงินทุนชักเข้า-ออก เคลื่อนย้ายไป-มา -โลกกระทบแน่นอน ซัพพลายเชนโลกกระทบ เพราะไทยและไทยก็จะกระทบเพราะเศรษฐกิจโลกลดลง = การค้าไม่แข็งแรงนัก -พวกเรากำลังผ่านสภาพอากาศแปรปรวน ทุกท่านต้องรัดเข็มขัด = แรงต้านสูง จึงต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด -จริงๆ แล้วปี 54 เศรษฐกิจดีมากจนถึงเดือนตุลาคม 54 แต่ “เดชะกรรม” มหาอุทกภัยเกิดผลกระทบ “กว้าง – ลึก และยาว” ทำให้เกิดวาระสำคัญ 4 วาระ คือ วาระที่ 1 – จะต้องพึ่งรัฐบาล – ต้องระวัง + ดูแลเรื่องคอรัปชั่น, การบริหารจัดการ วาระที่ 2 – การปรับตัว 1. อะไรที่ต้องปรับตัวก่อน มหาอุทกภัยเกิดต้องปรับต่อ โจทย์เก่ต้องโจทย์เก่าคือ แรงงานหายาก! และค่าแรงสูงขึ้น ทางแก้คือ การใช้ความรู้ เช่น นวัตกรรม, การบริหารจัดการ = งานเข้า = งานวิจัย คือปัจจัยพื้นฐานทางปัญญา (ที่สำคัญ) เพื่อให้ประเทศชาติหลุดพ้นจากฐานะปานกลาง =>สูง -ค่าแรงสูงจะทำให้ความน่ารักของประเทศหายไป เพราะไทยไม่มีทรัพยากร,ไม่มีตลาด เพราะเป็นตลาดที่โตช้า และแข่งขันสูง = Target Value Added ต้อง Proactive เทียบกับอินโด, เวียตนามน่าสนใจกว่าเยอะมากๆๆ,ไทยต้องเป็นสังคมคน, แรงงานที่มีความรู้ วาระที่ 3 พื้นที่ขยายของอุตสาหกรรม - มีปัญหาในลุ่มน้ำเจ้าพระยา - ควรขยายในพื้นที่นอกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น นครราชสีมา, ขอนแก่น

วาระที่ 4 “เราสำคัญในซัพพลายเชนของโลก แต่เราต้องมีความพยายามให้มากขึ้นที่จะมีความสำคัญเข้ากับซัพพลายเชนในอาเซียนด้วย “นโยบายการเงิน & การคลัง กระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่ประสบการณ์ของประเทศใหญ่ในโลก เช่น US., EU. US. ใช้ Stimulus (กระตุ้น) หลายครั้ง (QE) = เศรษฐกิจยังติดลบอยู่

   ใช้ ดอกเบี้ย เกือบจะ =0%


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

วันที่ 11 มกราคม 55 ช่วงบ่ายเข้าประชุม คณะกรรมการ AEC Prompt ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีคุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล เป็นประธาน ก่อนเริ่มประชุม ดร.สุนทร ชัยยินดีภูมิ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ แขกรับเชิญ นำเสนอเรื่อง "ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน" หลังจากนั้นแขกรับเชิญท่านที่ 2 คุณชินชัย ชี้เจริญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตราฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำเสนอเรื่อง"ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน บรรยากาศของการประชุมเต็มไปด้วยสาระและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อช่วยกันทำให้ประชาคมอาเซียนบรรลุตามเป้าหมายและให้ประโยชน์ต่อประเทศชาติมากที่สุด ผู้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทยได้แก่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ความสำคัญกับการประชุมครั้งนี้มาก ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ เข้าร่วมประชุมด้วยความสนใจ ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดในการสร้างสรรค์ร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นๆ และตกลงให้ความร่วมมือและทำกิจกรรมร่วมกันในปี 2555 ในเชิงรุก และกำหนดว่าปี 2555 จะให้ความสำคัญกับธุรกิจบริการอย่างเต็มที่ หลังจากนั้น ท่านประธานได้สรุปผลงานที่คณะกรรมการดำเนินงานในปี 2554 และแถลงแผนงานในปี 2555 โดยจะเน้นที่ภาคธุรกิจบริการ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

วันที่ 11 มกราคม 2555 ช่วงเช้าได้เข้าร่วมสัมมนากับ TMA ในหัวข้อ "เมื่อน้ำท่วมศูนย์กลาง logistic ของประเทศ ความเสียหาย ผลกระทบ และแนวทางฟื้นฟู โดย ดร.สัมพันธ์ศิลปนาฎ ประธานสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และเป็นรองประธานบริษัท western digital จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้ได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยคิด เช่น คนที่คิดว่าเก่ง แต่เมื่อเกิดวิกฤตกลับไม่ได้เรื่อง ส่วนคนที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเด่นในยามปกติกลายเป็น ฮีโร ประธานบริษัทที่เป็นคนต่างชาติ เข้ามาดูและให้การช่วยเหลือ และสุดท้ายยอมรับว่า คนไทยมีน้ำใจและพิสูจน์ให้เห็นว่าพนักงานมีส่วนสำคัญมากในการแก้ปัญหาวิกฤต

ช่วงบ่ายไปประชุมที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาในภาคบ่ายได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

วันที่ 11 มกราคม 2555 ช่วงเช้าได้เข้าร่วมสัมมนากับ TMA ในหัวข้อ "เมื่อน้ำท่วมศูนย์กลาง logistic ของประเทศ ความเสียหาย ผลกระทบ และแนวทางฟื้นฟู โดย ดร.สัมพันธ์ศิลปนาฎ ประธานสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และเป็นรองประธานบริษัท western digital จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้ได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยคิด เช่น คนที่คิดว่าเก่ง แต่เมื่อเกิดวิกฤตกลับไม่ได้เรื่อง ส่วนคนที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเด่นในยามปกติกลายเป็น ฮีโร ประธานบริษัทที่เป็นคนต่างชาติ เข้ามาดูและให้การช่วยเหลือ และสุดท้ายยอมรับว่า คนไทยมีน้ำใจและพิสูจน์ให้เห็นว่าพนักงานมีส่วนสำคัญมากในการแก้ปัญหาวิกฤต

ช่วงบ่ายไปประชุมที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาในภาคบ่ายได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

วันที่ 10 ม.ค.2555 ได้เข้าร่วมสัมมนา "กลยุทธ์การฟื้นตัวของธุรกิจหลังวิกฤตการณ์น้ำ 2554 จัดโดย TMA หรือ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย กิจกรรมวันนี้เริ่มเวลา 13.30 น เป็น Panel Discussion ดำเนินรายการโดย คุณพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด ของ DTAC วิทยากร 3 ท่าน ประกอบด้วย ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พยากรณ์ว่าจากวิกฤตที่ผ่านมาคาดว่าประเทศไทยจะเสียหายประมาณ 4-5 แสนล้าน หรืออาจถึง 6 แสนล้าน และได้แจ้งที่มาที่ไปของตัวเลขที่คาดการณ์ และสรุปว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ มาก ได้แก่ธุรกิจบริการ สินค้าอุปโภค ราคาสูง ที่ไดรับผลกระทบระดับกลางได้แก่ เกษตร และสื่อสาร ส่วนที่กระทบน้อย ได้แก่การเงิน และก่อสร้าง วิทยากรท่านที่ 2 ได้แก่คุณวิสุทธ จงเจริญกิจ จากบริษัทเอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด พูดถึงการสื่อสารในภาวะวิกฤต ; ความท้าทายใหม่ขององค์กร ท่านที่ 3 ผู้จัดการบริษัท แซมโก จำกัด พูดถึงการฟื้นตัวหลังน้ำท่วม และแผนรองรับวิกฤตการณ์ที่คาดไม่ถึง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

วันนี้ได้รับ e-mail จากเพื่อนส่งมาให้ อ่านดูแล้วเห็นว่ามีสาระและเป็นคำสอนที่ดีมาก ควรที่จะพิจารณาทำความเข้าใจ จึงขออนุญาตินำมาลงไว้ ณ.ที่นี้ ธรรมาธิปไตย พระพรหมวชิรญาณ By thaipost Created 25 Dec 2554 - 00:00 ที่จริงหลักธรรมในทางพุทธศาสนา คือต้นแบบของการเมืองการบริหารการปกครอง ไม่ใช่พระพูดไม่ได้นะ พระก็มีสิทธิ์พูดได้ พูดโดยหลักธรรม แต่ภาษาพระท่านไม่เรียกว่าประชาธิปไตย เรียกว่า 'ธรรมาธิปไตย' ...อาตมาคิดว่ามันไม่มีทางอื่น จะให้ทหารสั่งก็ไม่ได้ ทหารปฏิวัติเขาก็ไม่เอาอีก อำนาจบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ตอนนี้ตุลาการจริงหรือเปล่าก็ไม่เชื่อกันอีก นิติบัญญัติก็ไม่เชื่อเขาอีก มันไม่ไว้วางใจกันเลยในสามอำนาจที่มี ...อัปมงคลที่มันเกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์ การเบียดเบียนทำลายล้างกัน แย่งอำนาจผลประโยชน์กัน มันร้ายยิ่งกว่าวิกฤติธรรมชาติ วิกฤติทางจริยธรรม ศีลธรรม มันรุนแรงกว่า วิกฤติธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรซับซ้อน แต่วิกฤติทางกิเลส วิกฤติศีลธรรม จริยธรรม มันมีปมมีเงื่อน ถึงขนาดที่ว่าทำความผิดไม่ต้องผิดกฎหมาย ทำความชั่วไม่ผิดกฎหมาย มันมีการปิดบังอำพราง มีวิธีการสลับซับซ้อน

สิ้นปีแล้ว เรื่องไม่ดีทั้งหลายให้มันผ่านไปได้ไหม แล้วมาเริ่มต้นใหม่กัน จะสมานฉันท์กัน จะปรองดองกัน มันไม่มีเวลาที่เราจะทำความชั่วอีกแล้ว มันไม่มีเวลาที่เราจะมัวทะเลากันอีกแล้ว ประเทศชาติมันเสียหายมาก เราเสียเวลากับการที่ไม่ได้รับการพัฒนาให้ชาติ ประชาชนพลเมืองของเราได้อยู่เย็นเป็นสุข ...เราก็รู้ว่าผลมันมาจากเหตุ ก็รู้ว่ามันมาจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา มานะ ทิฐิ รู้ว่ามันมาจากการแย่งชิงอำนาจผลประโยชน์กัน ก็พูดอย่างนี้กันมาตั้งนานแล้ว แต่เราก็ยังไม่ได้ทำลายสิ่งที่เป็นเหตุ และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอัปมงคลทั้งหลาย วิกฤตการณ์ทั้งหลาย ก็ยังไม่พอสักที ก็รู้กันทุกคนนี่ พอหรือยังล่ะ

พระพูดเรื่องบ้านเมือง
 ในยามที่สังคมเกิดวิกฤติทางจริยธรรม ศีลธรรม ที่รุนแรงและซับซ้อนยิ่งกว่าวิกฤติภัยธรรมชาติ ก็ไม่แปลกที่ พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม จะออกมาเตือนสติผู้ที่แย่งชิงอำนาจผลประโยชน์ ให้กลับมาสู่แก่นของพุทธศานา เพราะไม่ว่าจะปกครองด้วยระบบไหนก็ต้องยึด 'หลักธรรม'  

'มงคล' มิใช่ดลบันดาล

เริ่มต้นคุยเรื่องอันเป็นมงคล ในฐานะที่เจ้าคุณพรหมฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ให้กับโครงการสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี 2554-2555 ซึ่งนอกจากจะเกิดมงคลกับตัวเองแล้ว ยังจะส่งพลังด้านบวกให้ประเทศชาติด้วย
"ในอดีตสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จไปสวดพระปริตรในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดอุทกภัย มีเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ แม้แต่ในเรื่องของการมีภูตผีปีศาจเกิดขึ้น เบียดเบียนพระสงฆ์หรือญาติโยม พระพุทธเจ้าก็ไปสวดพระปริตร นั่นก็คือพระพุทธเจ้าแผ่เมตตา แต่ว่าในนั้นก็เป็นการให้สติบรรดาเทพารักษ์ ภูตผีปีศาจวิญญาณทั้งหลาย บทสวดที่นำมาสวดนั้นจะทำได้โดยสมบูรณ์ ก็ต้องใช้จิตที่เป็นสมาธิที่สงบ ความสงบสามารถที่จะรวบรวมเอาพลังของจิตที่บริสุทธิ์ มาใช้ให้เป็นอำนาจในการที่จะอธิษฐานให้เกิดพลังความศักดิ์สิทธิ์ ให้แก่บุคคลที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม รวมถึงประเทศชาติบ้านเมืองด้วย"
"การสวดมนต์ข้ามปีทำให้เราได้ระลึกรู้ ได้สติ สติมาปัญญาก็เกิด ว่าในอดีตปีเก่าที่ผ่านมา ระหว่างที่กำลังสวดมนต์ส่งท้ายปีเก่า เราก็จะได้มาพิจารณากันว่ามีสิ่งใดที่ขาดตกบกพร่อง และก็ทำให้เราตั้งสติในเรื่องของการ count down เหตุการณ์ที่ผ่านไปในเรื่องของกาลเวลา เรื่องอายุ เรื่องสังขาร และหลายๆ เรื่องที่เราจะได้ระลึกถึง และที่สำคัญก็คือ เราจะได้ไม่ต้องไปยึดติดในเรื่องอดีตจนเกินไป บางคนมีความทุกข์ความผิดหวังยังไม่ลืม กว่าจะซื้อรถมาได้คันหนึ่ง ตอนน้ำท่วมก็พัดไปเลย กว่าจะสร้างบ้านมาได้   มันแล้วไปแล้ว คนที่แต่งงานก็เหมือนกัน มันเลิกไปแล้วก็ให้มันแล้วไป นี่คือที่เราคิดในเรื่องของอดีต ในเรื่องของปีเก่าก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่ดีๆ มันก็มีในปีเก่า ในโลกนี้มันไม่มีสิ่งเลวร้ายตลอดทุกอย่าง และก็ไม่มีดีทุกอย่าง มีร้อนมีหนาว มีมืดมีสว่าง เราเอามาเป็นข้อคิด จะได้คติธรรมในช่วงส่งท้ายปีเก่าเริ่มต้นปีใหม่เยอะเลย ถ้าเราไม่คิดเราก็ไปเรื่อยๆ ไปเต้นรำไปอะไรต่ออะไร แต่ถ้าเราได้เข้ามาสู่ในแนวธรรมะ เราจะได้ปัญญา
บางทีคนเรากว่าจะได้สติได้ปัญญา มันต้องมาจากความทุกข์ก่อน จริงอยู่ความสุขมันไม่ได้ให้อะไรให้แต่ความเหลิง หลงไปตามแสงสี เสร็จแล้วห็หมอบเลย เพราะเมาเหล้าเมายา เสียเวลา แต่ในการเข้ามาสงบจิตใจสวดมนต์ ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาในธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้แสดงไว้ ที่นักปราชญ์ครูบาอาจารย์ได้แสดงไว้มาพิจารณา มันก็ต้องได้ไม่มากก็น้อย ในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เราก็เคยเห็นอุบัติเหตุมันเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ พวกที่ไปเสพสุขต่างๆ เกิดพิษภัยที่ไปตามแหล่งอบายมุขเท่าไหร่ มันมองเห็นได้ชัดเลย เพราะฉะนั้นในส่วนหนึ่งที่ได้เข้ามา ทำวันเวลาในวันที่ย่างเข้าสู่ปีใหม่ให้เกิดประโยชน์จึงเป็นเรื่องที่ควรแก่การอนุโมทนาสาธุการเป็นอย่างยิ่ง เราจะได้ทบทวนกันว่า สิ่งที่แล้วมาเรามีข้อผิดพลาดอะไร"  
เจ้าอาวาสวัดยานนาวายื่นกระดาษที่ท่านได้ลงมือพิมพ์ "มงคล 38 ประการ" เพื่อให้คนไทยได้ใช้นำทางชีวิตให้ดู
"มงคลก็คือโชคดี ความดี ความงาม ความสำเร็จ ความสุข ความเจริญ ตรงข้ามกับคำว่าอัปมงคล ที่แปลว่าเคราะห์ ความขัดข้อง อุปสรรคปัญหาต่างๆ ความไม่สำเร็จ หายนะต่างๆ ที่เป็นอัปมงคล ความเดือดร้อน ปกติอัปมงคลมันอยู่ในฝ่ายความเสื่อม ความเสื่อมมันเป็นธรรมชาติของกฎไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง เป็นสภาพที่อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ความไม่ใช่ตัวตน นี่คือกฎของไตรลักษณ์ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป สิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เรามี เราเป็นศัพท์ของธรรมะ ท่านถือว่าเป็นเพียงสิ่งสมมติหรือมายา แต่ว่าของแท้มันคือธาตุ 4 ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม พอเรามีการปรับปรุง เอามาทำเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมา เราก็สมมติว่าเป็นนั่นเป็นนี่ แม้แต่ตัวคนและสัตว์ทั้งหลายก็ถือว่าเป็นสิ่งสมมติ สมมติว่าเป็นคนนั้นคนนี้ เป็นชายเป็นหญิง นี่คือศัพท์ทางธรรมะ แต่ว่าที่แท้ในที่สุดแล้วก็กลับไปที่เดิม ตายลงไปก็กลับไปที่ ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม
นี่คือกฎของธรรมชาติ ไม่ต้องไปทำอะไรมันก็เป็นของมันอยู่แล้ว เรื่องของความเสื่อม ยิ่งถ้าเราไปทำขึ้นมา ไปเพิ่มในส่วนที่มันไม่ดี มันก็เป็นไปเร็วขึ้น เสื่อมเร็วขึ้น เป็นอัปมงคลเร็วขึ้น อย่างเรื่องภัยพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยอะไรก็ตาม โดยเฉพาะเป็นฝีมือของมนุษย์ เราที่มีกิเลส ซึ่งก็คือความโลภ โกรธ หลง มันเป็นตัวเหตุตัวปัจจัยต่อเนื่องที่ออกมาเป็นผล เช่น การที่เราไปทำลายธรรมชาติ แต่ภาษาของเราเข้าใจว่าเป็นการพัฒนา เพื่อตามใจเราเพื่อประโยชน์ใช้สอย พอไปเปลี่ยนแปลงมันขึ้น น้ำมันเคยอยู่ในที่ของมัน เราไปเปลี่ยนแปลงก็เท่ากับเราไปพัฒนา แต่ในทางธรรมชาติเขาไม่ได้มองว่าเราไปพัฒนา แต่เราไปเบียดเบียนเขาไปทำลายเขา ต้นไม้เคยเติบโต เราก็ไปถากไปถาง ไปทำลายป่าทำลายต้นไม้ รากที่เคยอุ้มดินยึดดิน พอไม่มีต้นไม้เวลาฝนตกดินก็ไม่อุ้มน้ำ หรือพอป่าถูกทำลายมากๆ ก็แล้ง เกิดไฟไหม้ ก็เป็นน้ำเป็นไฟเป็นลม นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยธรรมชาติ เราอยู่ในโลกเราไปทำลายธรรมชาติ ธรรมชาติเดือดร้อนเขาก็ต้องการที่อยู่ของเขา เหมือนกับเราก็ต้องการที่อยู่ของเรา ต่างคนต่างทำลายกันมันก็มีปัญหา เวลาเราทำลายธรรมชาติเราไม่นึก เราไปทดลองนิวเคลียร์ทดลองปรมาณู มันรุนแรงมาก เพราะฉะนั้นภัยธรรมชาติที่เขาเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง เขาก็ไม่คิดว่าเขาจะรุนแรง แต่นั่นก็เป็นพลังของเขา ส่งผลกระทบกับมนุษย์เรา นี่ยกตัวอย่างเรื่องเหตุปัจจัยในทางธรรมะ"
"อัปมงคลที่มันเกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์ การเบียดเบียนทำลายล้างกัน แย่งอำนาจผลประโยชน์กัน มันร้ายยิ่งกว่าวิกฤติธรรมชาติ วิกฤติทางจริยธรรม ศีลธรรม มันรุนแรงกว่า วิกฤติธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรซับซ้อน แต่วิกฤติทางกิเลส วิกฤติศีลธรรม จริยธรรม มันมีปมมีเงื่อน ถึงขนาดที่ว่าทำความผิดไม่ต้องผิดกฎหมาย ทำความชั่วไม่ผิดกฎหมาย มันมีการปิดบังอำพราง มีวิธีการสลับซับซ้อน ยิ่งมีความรู้สูงแต่ถ้าขาดธรรมะมันยิ่งร้าย ขาดศีลธรรม จริยธรรม แต่เอาความรู้นั้นไปใช้ในทางเบียดเบียน ทำลายกัน ยิ่งกว่าคนที่ไม่มีความรู้ คนไม่มีความรู้เขาจะคิดจะพูดอะไรก็ซื่อๆ แต่ถ้าเรามีความรู้แต่ขาดธรรมะ ปากกับใจไม่ตรงกันหรอก ยากที่จะหยั่งรู้ได้ สายน้ำหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก นี่คือในเรื่องของคำว่าเคราะห์หรืออัปมงคล โลกมันมีอยู่ 2 ส่วน คือส่วนดำและส่วนขาว ส่วนชั่วและส่วนดี บาปและบุญ บุญอยู่ในส่วนของมงคล ในส่วนของความดี เพราะฉะนั้นศาสดาทั้งหลายในโลกนี้ ได้เล็งเห็นถึงความวิบัติ ความหายนะของธรรมชาติของมนุษย์ รวมทั้งนักปราชญ์ทั้งหลาย จึงพยายามเก็บสถิติในเรื่องความชั่วความดีนี้ไว้ แล้วเอาในส่วนของสิ่งไม่ดีนั้นมาสอนว่าอย่าทำเลย แล้วเอาส่วนที่ดีมาสอนให้คนได้ช่วยกันทำ จริงอยู่ในความชั่ว คนชั่วเขาก็อยู่กันได้ในความชั่ว แต่มันก็เบียดเบียนกันทำลายกัน มันทำให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน สู้ในเรื่องของความดีไม่ได้ ความดีเป็นความเย็น เป็นความยุติธรรม เพราะฉะนั้นศาสดาต่างๆ รวมถึงพระพุทธเจ้าจึงอุบัติขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของปวงชนและชาวโลก จึงนำเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งามมาเปิดเผย ให้รู้ว่าควรจะละเว้น และเอาสิ่งที่ดีมาเปิดเผย ว่าเป็นสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความสำเร็จความสุขและความเจริญก้าวหน้า"
"เพราะฉะนั้น เมื่อเราพูดถึงว่าทำอย่างไรเราจึงจะได้รับมงคลชีวิต เราถึงจะเป็นมงคลในโอกาสใดๆ ก็ตามที่เราสามารถที่จะยกมาเป็นวาระ เป็นประเด็นที่จะทำให้เราได้เริ่มต้นในการทำความดี และนิยมกันไม่ว่าจะเป็นในโอกาสใดๆ ก็ตามที่ถือว่าเป็นโอกาสอันควรของเรา ของพ่อแม่ ของญาติพี่น้อง ของครูบาอาจารย์ เราก็นิยมทำความดีกัน ถ้าเราไม่มีจุดเริ่มต้นที่เราจะยกเหตุการณ์ ยกบุคคล ปูชนียบุคคลที่เราเคารพบูชา ยกมาเป็นเหตุของการที่จะให้เราได้ทำความดีได้ แต่พวกที่ฝ่ายไม่ดีเขาก็มีวันของเขาเหมือนกันนะ วันที่จะไปทำลายอะไรต่างๆ คตินิยมของความเชื่อพระพุทธเจ้าเน้นความสำคัญมาก พระพุทธเจ้าสอนในเรื่องมรรค 8 จะเริ่มต้นด้วยสัมมาทิฐิก่อน ความคิดเห็นนี่สำคัญมาก ความเห็นต่าง ความเห็นแย้ง ความเห็นผิด อันตรายมากเรื่องความคิด เพราะฉะนั้นท่านถึงให้ปรับความคิด เริ่มต้นมรรค 8 ด้วยสัมมาทิฐิ
พระพุทธเจ้าเป็นอัจฉริยะจริงๆ เป็นบุคคลมหัศจรรย์จริงๆ ศาสดาทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน คือท่านแต่ละท่านได้อุทิศชีวิตทำงานเพื่อปวงชนชาวโลก พระพุทธเจ้าเป็นมหาบุรุษที่อัจฉริยภาพมาก ทั้งชีวิตนี่เราเรียนยังไม่จบเลย ความรู้ที่พระองค์ได้ทรงสั่งสอน 45 พรรษา พระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ เราสรุปยอดเหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือข้อห้าม ไม่ให้ละเมิด ไม่ให้เบียดเบียนกัน ถ้าเราปฏิบัติได้ตามนั้นเราก็เป็นผ้าขาว แต่ต้องเติมธรรมเข้าไปด้วยกัน ศีลกับธรรม ไม่เบียดเบียนก็ต้องมีเมตตา ธรรมะพระพุทธเจ้ามีทั้งขั้นพื้นฐานสำหรับคนสามัญทั่วไป และก็สำหรับคนระดับกลาง ระดับสูง ระดับสูงก็คือคนที่พ้นโลกแล้ว ส่วนคนที่อยู่ในโลกยังทำบาปทำกรรม ก็เป็นปุถุชนหนาด้วยกิเลส แต่ถึงแม้ว่าหนาด้วยกิเลสแต่เราสามารถพัฒนาได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้เอาตอมาบวชนะ ท่านเอาคนที่ยังมีกิเลสอยู่มาบวช บวชเพื่อจะฝึกหัดเพื่อจะขัดเกลากิเลส บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายอยู่ในขั้นของการขัดเกลากิเลส ใครจะประพฤติได้มากน้อยแค่ไหนก็จะได้ผลสมควรแก่การปฏิบัติ แม้แต่โยมก็เหมือนกัน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ใครสามารถปฏิบัติได้แค่ไหน มันต้องประกอบทั้งเหตุและปัจจัยที่ต้องดำเนินอยู่ต่อเนื่อง ถ้ามีเหตุแต่ขาดปัจจัยก็ไม่ได้ผล หลักพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์เลย"
"ถามว่าทำอย่างไรชีวิตปี 2555 จึงจะเป็นงคล มงคลไม่ได้เกิดขึ้นจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาล ความเชื่อถือของบุคคลในลัทธิศาสนาใดๆ ที่นิยมกันว่ามีพระอินทร์พระพรหม นั่นเป็นแต่เพียงสมมติเฉยๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีว่า มีสิ่งนั้นสิ่งนี้มาช่วยให้เราได้ยึดเหนี่ยว แต่ว่าถ้าเพียงให้เป็นสื่อ ไม่ใช่ให้หลงงมงายจนกระทั่งคิดว่าตัวเองไม่มีศักยภาพ ไปหลงเชื่อว่าอำนาจภายนอกจะดลบันดาลให้เราได้ แต่ถ้าเราได้ใช้สติความระลึกรู้ ใช้ปัญญาความเข้าใจตามความเป็นจริงแล้ว เอาศรัทธามาปรับ ศรัทธามันยังกลางๆ ยังเป็นมิจฉาศรัทธาได้นะ เพราะฉะนั้นต้องเป็นสัมมาศรัทธา ความเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อตามผลแห่งกรรม หลักธรรมพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นในเรื่องของมงคลก็เช่นเดียวกัน เมื่อก่อนจะพูดถึงมงคล คนจะสงสัยว่าทำอย่างไรจะแสวงหามงคล โอ้ยจะไปเอาไม้มงคล 9 เอาโน่นเอานี่หาสิ่งมงคล พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ไปแตะต้องเขาที่เชื่อในเรื่องของวัตถุมงคล แต่ว่าพระพุทธเจ้าจะสอนเน้นไปในเรื่องธรรมมงคล ว่ามงคลนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติทั้ง 38 ประการนั้น ส่วนจะทำได้แค่ไหนก็ถือว่าเป็นขั้นประถม มัธยม อุดมฯ"
ต้องยอมรับว่าปีที่ผ่านมา มีสิ่งอัปมงคลเกิดขึ้นกับประเทศมากมาย ปีหน้ายังมีวิกฤติอะไรที่เราต้องเตรียมรับมือ
"ก็มีการเตือนการกล่าวถึงในเรื่องของการดำเนินชีวิต แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเราถ้ายังไม่เห็นโลงศพก็ไม่หลั่งน้ำตา เราจะไปแก้ที่ปลายเหตุกัน เราก็รู้ว่าผลมันมาจากเหตุ ก็รู้ว่ามันมาจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหา มานะ ทิฐิ รู้ว่ามันมาจากการแย่งชิงอำนาจผลประโยชน์กัน ก็พูดอย่างนี้กันมาตั้งนานแล้ว แต่เราก็ยังไม่ได้ทำลายสิ่งที่เป็นเหตุ และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอัปมงคลทั้งหลาย วิกฤตการณ์ทั้งหลาย ก็ยังไม่พอสักที ก็รู้กันทุกคนนี่ พอหรือยังล่ะ ที่พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่าพอเพียงๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเอาแค่นี่พอแล้ว แต่ว่าให้คุณทำเต็มความสามารถ แค่ไหนแค่นั้น สมมติว่าคนหนึ่งเขาหาเงินได้ปีละล้าน แต่เขาไม่พอ เขาต้องการใช้เงิน 100 ล้าน ก็คอรัปชั่นหรือทำอะไรก็แล้วแต่ที่ได้มาโดยไม่สุจริต นี่คือไม่พอเพียง
 ขยายผลไปถึงผู้ที่ทำงานบริหารบ้านเมืองในส่วนต่างๆ ตั้งแต่ราชการไปถึงสูงสุด ทำอย่างไรมันถึงจะทำให้เราได้มีจิตสำนึกในสิ่งที่ดี สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนไว้ก็ดี สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาท ไม่มีอะไรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่พระราชทานเลย ถ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินประเทศอื่นไม่ต้องทำงานขนาดนี้ จะใช้รถยี่ห้ออะไรก็ได้ แต่เห็นไหมพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ดินสออยู่เลย ทำให้เป็นแบบอย่าง พวกเราต้องหันกลับมา ไม่ใช่ไปกระโดดโลดเต้นตามกระแสสังคม วัตถุนิยม ส่วนใหญ่เราจะมาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะฉะนั้นถึงบอกว่าถ้าเราสามารถเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการคิดดี พูดดี ทำดี เริ่มให้จริงๆ จังๆ ไม่ใช่เพียงวาทกรรมแห่งความจงรักภักดี ต้องลงมือทำ"
ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างด้วย
"ดูอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระองค์เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว ทุกคนที่อยู่ในส่วนของผู้มีอำนาจ อำนาจคืออะไร อำนาจคือที่มาของผลประโยชน์ ผลประโยชน์ก็คืออำนาจ มีอำนาจเพื่อผลประโยชน์ มีผลประโยชน์เพื่ออำนาจ มันวนอยู่อย่างนี้ แลกไปแลกมาอย่างนี้ แต่จะจัดระบบอย่างไร อาตมาเคยไปใช้ชีวิตอยู่ยุโรปอยู่อเมริกา ประชาชนบ้านเขาไม่ได้มีความแตกต่างเหมือนเรา ของเรามันมีความแตกต่างระหว่างคนจนคนรวย แต่เขาเท่าๆ กัน แต่เรานี่ขนาดคนจนๆ ใช้ของดีๆ ทั้งนั้นเลย แต่เมืองนอกของที่ใช้ๆ อยู่มาตรฐานเท่ากันหมด เรานี่ยังเรียนมหาวิทยาลัยไม่จบรู้จักหมดแล้วแบรนด์เนมยี่ห้ออะไรๆ และก็ไปแสวงหาในทางที่ผิด นี่เราเป็นอะไรกัน เพราะบ้านเราไม่ได้เคารพตัวเอง ไม่ได้เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นไทย สมัยจอมพล ป. เราเคยมีประเพณีนิยมใช้ของไทย ขณะนี้ลองไปศึกษาประเทศเกาหลีใต้สิ เขากำลังแข่งกับญี่ปุ่นกับอเมริกาในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม น่าศึกษามาก ไม่ใช่ว่าอาตมาจะจ้องว่าแต่ประเทศไทย แต่มันกลัวเหลือเกินว่าตายไปแล้วเกิดมาอีกชาติ เราจะยังเป็นอย่างนี้อยู่หรือเปล่า"  
คนไทยอยู่กับความขัดแย้งแตกแยกมาหลายปี แต่ส่วนใหญ่ยังมีความหวังว่าจะกลับคืนสู่ความสงบ สามัคคี
"ถ้าเรารู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เช่น บรรดานักพยากรณ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านโหราศาสตร์หรือด้านธรณีวิทยา ที่ออกมาพยากรณ์กันเรื่องภัยธรรมชาติ พอเรารู้แล้วเราก็ต้องเตรียมตัวระมัดระวังสิ นี่ไม่ใช่รู้แล้วก็ยังไม่ยอมกัน ยอมแบบไม่ยอม ใครจะได้มากได้น้อย อาตมาเสียดายนะทรัพยากรบุคคลของไทยเราไม่ได้ด้อยกว่าฝรั่งทั้งหลาย แต่ละคนนี่ไม่ใช่ธรรมดา แต่คนไทยเราพอรวมกันเราตาย แยกกันเราอยู่ รวมกันไม่ได้เลย มันไปติดอยู่ที่เรื่องอำนาจผลประโยชน์ ตัวกิเลสนั่นเอง ไม่ไว้ใจกัน คิดแต่ว่าใครจะได้มากได้น้อย อย่างที่ท่านพุทธทาสบอกว่า ตัวกูของกูมันมาก มันยึดมั่น ถ้าเราไม่ติดในเรื่องกูนะ แบ่งปันกันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เห็นทุกคนเป็นญาติพี่น้อง ไม่แย่งชิงอำนาจผลประโยชน์กัน แต่นี่ทุกวงการมันเป็นหมด ใครมือยาวสาวได้สาวเอา ถึงเวลาได้กูต้องเอา ทั้งๆ ที่มันไม่ควร บอกอย่าเลยก็ยังไม่ฟัง
สิ้นปีแล้ว เรื่องไม่ดีทั้งหลายให้มันผ่านไปได้ไหมแล้วมาเริ่มต้นใหม่กัน จะสมานฉันท์กันจะปรองดองกัน มันไม่มีเวลาที่เราจะทำความชั่วอีกแล้ว มันไม่มีเวลาที่เราจะมัวทะเลาะกันอีกแล้ว ประเทศชาติมันเสียหายมาก เราเสียเวลากับการที่ไม่ได้รับการพัฒนาให้ชาติ ประชาชนพลเมืองของเราได้อยู่เย็นเป็นสุข ทุกวันนี้ภัยธรรมชาติมันไม่ใช่เพิ่งจะเกิด มันเกิดมาหลายครั้งหลายหนแล้ว พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระราโชบายให้ตั้งแต่ปี 2538 ทำอย่างนั้นๆ แต่ก็ไม่ได้ทำกัน เราก็เปลี่ยนกันบ่อยเหลือเกินรัฐบาล มันขาดความเชื่อมั่นในการที่จะทำการพัฒนา คนต่างชาติเขาเห็นอย่างนี้จะกล้ามาได้อย่างไร พระเจ้าอยู่หัวเคยรับสั่งไว้ว่าพอแล้วนะคอรัปชั่น ประเทศมันทรุดขนาดนี้แล้ว ก็ยังทำกันอีก หนักกว่าเดิมอีก"
เป็นไปได้ยากที่จะปรองดอง เพราะแต่ละฝ่ายก็รับเงื่อนไขกันไม่ได้
"ก็ต้องไปหาทาง เดินเข้าไปพบกันคนละครึ่งทาง ใครเสียก็เสีย มันต้องยอมกัน อย่าจองเวรกัน เวรไม่สงบด้วยการจองเวร-ก็รู้ คนไทยส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ เรียนธรรมะก็รู้กัน แต่มันไม่ได้ปฏิบัติกัน ไม่ยอมปล่อยอำนาจผลประโยชน์ รู้ทั้งนั้นไม่ใช่ไม่รู้ เขาบอกว่าเราเก่งแต่วาทกรรม รู้แต่ไม่ทำ แล้วจะทำอย่างไร ตราบใดที่เรายังเป็นอยู่อย่างนี้บ้านเมืองมันไปไม่ได้ เราขาดในเรื่องของศีลและธรรมด้วย มีคำอยู่ 2 คำที่เราใช้กันแต่ไหนแต่ไรมา ในการบริหารแผ่นดินบริหารประเทศชาติบ้านเมือง คือเรื่องพระเดชและพระคุณ พระเดชคือระเบียบวินัย ก็ไม่มีอีก เรียบ-วินัย เรามีแต่พระเดชคือปฏิวัติเลย แต่พระเดชก็คือกฎหมาย ระเบียบวินัยให้มันเป็นมาตรฐาน ไม่ใช่สองมาตรฐานหรือหลายมาตรฐาน หรือไม่มีมาตรฐาน ส่วนพระคุณก็คือเรื่องความยุติธรรม ความเป็นธรรม หรือความเมตตา มันก็ต้องมีทั้งสองอย่าง ธรรมะของผู้นำก็ต้องใช้"
หากไม่จองเวรตามหลักธรรมะ การล้างความผิดทั้งสองฝ่ายน่าจะเป็นทางออก
"เป็นทางออก ต้องยอมกัน เอาไงดีล่ะ จะยอมกันหรือจะฆ่ากันเลย ปล่อยฆ่ากันเลยไหม มันทำไม่ได้ เราคนไทยด้วยกัน ที่มักจะพูดกันบอกว่า เมื่อก่อนประเทศไทยปกครองด้วยระบบราชาธิปไตยมาตั้งแต่ตั้งประเทศสยาม มาเปลี่ยนแปลงมาเป็นประเทศไทยเมื่อสมัยจอมพล ป.นี่เอง เมื่อก่อนพระเจ้าแผ่นดินปกครองโดยทศพิธราชธรรม แต่ราษฎรมาปกครองไม่ได้เอาทศพิธราชธรรมมาด้วย เอาแต่พระเดชมา บางคนก็ตึงบางคนก็หย่อนจนเกิดหลายมาตรฐาน ก็เกิดวิกฤติการเมืองขึ้น"
แต่สังคมก็จะเกิดคำถามว่า คนทำผิดไม่ต้องรับโทษ-กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ 
"ตอนนี้เราต้องหันกลับมาสู่จุดที่ว่า ขณะนี้ประเทศไทยเราปกครองด้วยอะไร ถ้ากลับไปที่เดิมปกครองโดยระบบราชาธิปไตย ก็แล้วแต่พระเจ้าอยู่หัว เอาสิจะกลับไปเหมือนเดิมก็ได้ แต่ถ้าเรายังปกครองอยู่ในระบบประชาธิปไตย ก็นำหลักประชาธิปไตยมา ตอนนี้เขากำลังคิดกันอยู่ว่าไม่เอา ส.ส.มาลงมติว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือลงมตินิรโทษกรรม แต่ต้องการประชามติจากประชาชน เอาสิก็ทำเลย  ให้มันเอาอะไรสักอย่างหนึ่ง เป็นหลักคิดเป็นหลักปฏิบัติเท่านั้นเอง ต้องหาทางออกให้ประเทศชาติ ต้องหาทางออกให้ส่วนรวม มันต้องคิดกัน ประเทศไทยไม่ใช่กระจอก คนมีความรู้ตั้งเยอะแยะทำไมไม่ทำกัน จะให้พระเจ้าอยู่หัวลงมาเหรอ พระองค์ท่านลงมาก็หาว่าพระองค์ท่านอยากจะเป็นราชาธิปไตย ไม่ลงมาก็บอกเป็นพ่อเป็นแม่ไม่เห็นดูแลบ้านเมือง พระองค์ท่านลงมาเข้าข้างไหนก็ไม่ได้ เราต้องนึกถึงหัวอกของพระองค์ท่าน นี่จะมาขอให้พระองค์ท่านตัดสินได้อย่างไร มันไม่ใช่ระบบราชาธิปไตย มันเป็นระบบประชาธิปไตย ก็ว่ากันสิจะเอาอย่างไรก็เอา และพระองค์ท่านไม่ได้ว่าอะไรนี่ ก็ทะเลาะกันเองนี่ ลูกทะเลาะกัน ลูกแย่งของกินของใช้กัน เปรียบเทียบง่ายๆ เพราะฉะนั้นอย่าไปยุ่งกับพระองค์ท่านเลย ในเมื่อระบอบมันมาอย่างนี้ ไปขอพระองค์ท่านว่าอยากจะเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะทำอะไรก็ทำมันเสียเวลามานานแล้ว แต่ในความคิดว่าจะปรองดองนั้น วิธีปรองดองก็มีความคิดต่าง แต่ไม่ต้องสนใจคนไหนพรรคไหน เอามติประชาชนเลย ใครจะทำอย่างไรก็ลองไปทำดู ถ้าได้ประชามติออกมาว่าจะทำอย่างไรก็เอาตามนั้น"
ตรงนี้แหละที่ยาก เพราะตั้งใครมาตั้งต้นกระบวนการประชามติ ก็จะถูกดิสเครดิตว่าเป็นคนของฝ่ายนั้นฝ่ายนี้
"อย่าให้ใครเป็นคนบงการว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าหนึ่ง สอง สาม ลงประชามติเลย เอาตามนั้นเลย อาตมาคิดว่ามันไม่มีทางอื่น จะให้ทหารสั่งก็ไม่ได้ ทหารปฏิวัติเขาก็ไม่เอาอีก อำนาจบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ตอนนี้ตุลาการจริงหรือเปล่าก็ไม่เชื่อกันอีก นิติบัญญัติก็ไม่เชื่อเขาอีก มันไม่ไว้วางใจกันเลยนี่ในสามอำนาจที่มี ทางออกมันมีอยู่ทางนี้เท่านั้น การที่พวกเรามาถามอาตมา ความจริงมันก็เสี่ยงๆ นิดหนึ่ง มันเป็นการเมือง แต่ว่ามันเป็นเรื่องต่อเนื่องกันกับเรื่องมงคลสำหรับชีวิตในปีใหม่ของคนไทยทุกคน บังเอิญไปเกี่ยวข้องกับเรื่องความอยู่รอดของประเทศ ความอยู่เย็นเป็นสุขของบ้านเมือง มันก็คือเรื่องการปกครอง ก็คือการเมือง มันเกี่ยวข้องกันอยู่ ที่จริงหลักธรรมในทางพุทธศาสนาคือต้นแบบของการเมืองการบริหารการปกครอง ไม่ใช่พระพูดไม่ได้นะ พระก็มีสิทธิ์พูดได้ พูดโดยหลักธรรม แต่ภาษาพระท่านไม่เรียกว่าประชาธิปไตย เรียกว่าธรรมาธิปไตย เพราะว่ามันมีหลักอัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และก็ธรรมาธิปไตย
อัตตาธิปไตยคือเผด็จการ โลกาธิปไตยเขาไปเทียบได้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งโลกาธิปไตยชาวโลกเป็นใหญ่มันก็ยังไม่ถูกต้อง เพราะว่าในหลักของโลกาธิปไตยหรือประชาธิปไตย ถ้าคนส่วนใหญ่กินเหล้าก็ต้องบอกว่าดี แต่บางทีมันไม่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นหลักของพระพุทธเจ้าคือธรรมาธิปไตย ส่วนใหญ่เห็นว่าความถูกต้องคืออะไร ก็เอาหลักนั้นมาเป็นความถูกต้อง อาตมานี่มีทุกพรรคการเมืองมา เพราะอาตมาไม่ใช่คนของพรรคไหน เราเป็นพรรคธรรมาธิปไตย เราอยู่กับหลักธรรมพระพุทธเจ้า หลักว่าอย่างไรก็ว่าตามนั้น"

โหรากุศโลบาย

 เจ้าคุณพรหมฯ ถือเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีลูกศิษย์ลูกหานักการเมืองทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาล ยังไม่นับข้าราชการและนักธุรกิจ ที่ต่างก็แวะเวียนไปพบไม่เคยขาด ว่ากันว่าหากท่านทำนายทายทักอะไรแล้วต้องหยุดฟัง เพราะแม่นยำยิ่งนัก
"ก็มีมาตลอด มาทุกยุคสมัย ตั้งแต่สมัยจอมพล ป.เรื่อยมา จอมพลสฤษดิ์ ก็รู้จักคุ้นเคยกันเรื่อยมา ไม่ใช่แค่อาตมา แต่พระผู้ใหญ่จะมี มาถึงเราก็มีให้ความคิดเห็นว่าควรจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ปรึกษาหารือกัน ถ้าสมมติว่าเราไม่ได้ปรึกษาหารือกันอย่างนี้จะหนักกว่านี้อีก บางครั้งบางคราวอาตมาก็ขอร้องกัน มันจะไม่ยอมกัน ลองเปรียบเทียบดูสิ พี่น้องในครอบครัวที่แย่งมรดกกัน มีใครยอมผิดบ้าง อันนี้มันมาจากอะไร มาจากความโลภ โกรธ หลง ตัณหา มานะ ทิฐิ เมื่อไหร่เราจะทำลายทิฐิมานะ ความเห็นแก่ตัวให้มันเหลือน้อยที่สุด ให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมประเทศชาติบ้านเมืองเป็นสำคัญ ทำไมสมัยพระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทาน การเสียสละ การแบ่งปัน เอาแค่ 3 ข้อนี้ ทาน-ศีล-ภาวนา เรายังไม่ทำกันเลย การให้มันทำลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว พระพุทธเจ้าวางหลักไว้เป็นเรื่องที่ดีมาก มีแนวทางปฏิบัติอยู่แล้ว แต่เราไม่ทำกัน"
 ผู้นำของไทยกับความเชื่อเรื่องเสริมบารมีแยกกันไม่ออก และมักจะขอให้พระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงช่วยทำพิธีอยู่เป็นประจำ
"ตามหลักแล้ว มงคล ความสำเร็จ ความเจริญ มันมาจากกรรมดี ส่วนกรรมไม่ดีก็เป็นอัปมงคล เป็นเคราะห์ เป็นความเดือดร้อน แต่กุศโลบายในการที่จะทำให้คนมีจิตสำนึกให้เกิดสติขึ้นมามันต้องมีอุบายวิธี เช่นเมื่อก่อนก็ไม่สนใจเรื่องโหราศาสตร์ นอกจากไม่เชื่อแล้วยังต่อต้านด้วย แอนตีพระหมอดูพระพรมน้ำมนต์ เพราะโดยหลักจริงๆ กรรมสำคัญที่สุด แรงอะไรไม่เท่ากับแรงกรรม แต่เราจะผันเรื่องอัปมงคลให้เป็นมงคลก็ด้วยการเตือนสติ สมมติเขาไปดูดวงมาว่าดวงไม่ดี อยากจะทำบุญทำให้เกิดสิริมงคล ก็ต้องให้อุบายวิธีที่จะทำให้เพื่อจะได้เป็นการเตือนสติว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปให้ระวังนะ มันก็ได้ผลคือเกิดความระมัดระวังตัว ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตหรือการลงทุน มันก็จะเบาลง นี่ก็เป็นอุบายวิธีทำให้คนได้ละความชั่วทำความดี หันมาตั้งสติระมัดระวัง"
"เมื่อขณะที่ยังเป็นเณร มีหมอดูมาดูสิว่าเณรจะสอบตกไหม อาตมาก็บอกดูไปทำไม ถ้าดูหนังสือก็สอบได้ ไม่ดูหนังสือมันก็สอบตก แต่ว่าในขณะนั้นอาตมาเรียนเก่งในชั้น เวลาครูไม่อยู่อาตมาจะต้องไปสอนพระสอนเณรแทน เอ๊ะเราจะสอบตกได้ไง พอถึงปลายปีสอบตกจริงๆ แต่ก็คิดว่าหมอดูเดาแม่น คนที่ไม่เคยสอบตกแล้วตกนี่จะเสียใจมาก อาตมาก็เหมือนกัน คิดว่าจะสึกดีไหม บุญบวชเราไม่มี แม่บอกว่าอย่าสึกเลย ก็เลยไปหาซื้อหนังสือมาอ่าน มีทั้งประวัติศาสตร์ กวีนิพนธ์ ตำราโหราศาสตร์ อ่านไปอ่านมาเอ๊ะเราตกเกณฑ์ไม่ดีนี่ ตำราว่าอย่างนี้ ก็พอดีมีพระบวชใหม่มาบอกดูให้หน่อย บังเอิญพระองค์นั้นกำลังจะสึกออกไปแต่งงาน อาตมาก็ดู บอกหลวงพี่ดวงกำลังเคราะห์ร้ายนะ อย่าซื้อเงินทองของรักนะ ตามเกณฑ์บอกอย่างนี้ ท่านก็บอกเคราะห์อะไร ผมสึกไปก็จะแต่งงาน ปีนั้นปรากฏว่าเกิดกบฏแมนฮัตตัน หลวงพี่ที่บวชเขาเป็นทหารเรือก็สึกไป เรามาเจอกันอีกครั้งเขามาบอกเณรๆ ทายแม่นนะ ผมไม่ได้แต่งงานหรอก คู่หมั้นตายแล้ว ตอนกบฏระเบิดมันลง แล้วแกก็ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏ กระเซอะกระเซิงไปอรัญประเทศ หลังจากนั้นเขาก็พาเพื่อนมาดู ไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราวหรอก แต่ก็ศึกษาเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ มา แต่เราก็ไม่ได้งมงาย ถือว่าเป็นศาสตร์สถิติอย่างหนึ่ง และเอามาใช้เพื่อเป็นข้อเตือนใจ ถ้าช่วงไหนดวงดีก็รีบทำนะ ถ้าดวงไม่ดีก็ต้องระมัดระวัง ไม่ได้เอามาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวเป็นเรื่องงมงาย เพราะคิดอยู่เสมอว่าถ้าดวงดีถ้านักเรียนไม่ดูหนังสือจะสอบได้ไง แต่มันก็มีบางคนเวลาดวงไม่ดีพูดดีๆ ก็หาว่าไปด่าเขา เวลาดวงดีไปด่าเขาแท้ๆ เขายังบอกว่าไปสอนเขา อย่างนี้เป็นเรื่องที่ภาษาจีนเขาบอกว่า เฮงกับเก่ง ต้องประกอบกัน เหตุดี ปัจจัยดี ผลออกมาดี มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ"
แล้วถ้าผู้นำเฮงแต่ไม่เก่ง บ้านเมืองจะมีความหวังหรือ
"การบริหารบ้านเมืองมันไม่ใช่ง่ายๆ เรื่องใหญ่ มันไม่เหมือนบริษัทส่วนตัว ไม่เหมือนครอบครัว มันเป็นเรื่องของส่วนรวมทั้งประเทศทั้งหมด เพราะฉะนั้นการทำอะไรมันต้องทำร่วมกันหมด แต่องค์ประกอบของแต่ละรัฐบาลมันไม่เหมือนกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อม แล้วแต่องคาพยพองค์ประกอบของรัฐบาลนั้นๆ เป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นในเรื่องเหล่านี้จะไปโทษนายกฯ คนเดียวไม่ได้ มันทำงานร่วมกันเป็นทีม และศักยภาพจริงๆ ของท่านนายกฯ ท่านเป็นนายกฯ จริงหรือเปล่า เราก็ต้องรู้ ความจริงพวกเรารู้ว่ามันเป็นอย่างไร แต่โดยรวมแล้วก็คือ ร่วมกันในการที่จะบริหารประเทศชาติบ้านเมืองในนามของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วม ที่จะไปควบคุมการบริหารจัดการในระบบราชก


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

เข้าร่วมประชุมการปรับปรุงร่างข้อเสนอเปิดตลาดการค้าบริการ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย ในวันที่ 9 มกราคม 2555 พิจารณา "เรื่องข้อเสนอเปิดตลาดการค้าบริการในธุรกิจ call center" ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เชิญผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจ call center มาร่วมประชุมเพื่อทราบความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ประธานที่ประชุม คุณเก็จพิรุณ ทำหน้าที่ประธานได้ดีมาก เตรียมเอกสารและทำการบ้านมาอย่างดี ถือว่าเป็นการประชุมครั้งแรกกับผู้ประกอบการธุรกิจ call center ผู้เข้าร่วมประชุมต่างให้ข้อคิดและแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจของแต่ละองค์กรให้ที่ประชุมทราบ ที่ประชุมลงความเห็นตรงกันว่า ธุรกิจ call centerมีบทบาทต่อการทำธุรกิจสมัยใหม่มาก ถ้ามีการลงทุนธุรกิจนี้ในประเทศไทย คนไทยจะได้ประโยชน์จากการจ้างงานมากขึ้น แต่ในส่วนของผู้ประกอบการบางราย ยังยึดความคิดเก่าๆที่ไม่อยากให้มีต่างชาติมาแข่งขันกับธุรกิขของตัวเอง เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถหาแรงงานได้เพราะถูกผู้ประกอบการต่างชาติซื้อตัวไปหมด ได้มีการแสดงความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยกับการยอมให้คนอินเดียเข้ามาลงทุนได้ถึง 60% และผู้ที่ไม่เห็นประโยชน์ที่จะให้อินเดียเข้ามาลงทุนได้ถึง 60% วันนี้ยังไม่มีการลงมติ โดยท่านประธานได้ขอความกรุณาให้แต่ละตัวแทนในภาคธุรกิจ นำไปปรึกษาหารือและตอบกลับมาตามเอกสารที่จัดไว้ให้ และขอให้นำส่งภายในวันสิ้น เดือน มกราคม นี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ชาญโชติ
เขียนเมื่อ

วันที่ 23 ธันวาคม 2554 เป็นวันที่ผมมีความสุขมากได้เข้าร่วมงานสัมมนาจัดโดยกรมการท่องเที่ยว และวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอชมเชยทางกรมการท่องเที่ยวที่มอบหมายให้ ทีมคณะทำงานของวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีคุณพาวิณี ศุนาลัย เป็นผู้จัดการโครงการ ผมมีความประทับใจในการนำเสนอของทีมงานวิจัยมาก ทางทีมงานได้แบ่งการนำเสนอออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ "สรุปการวิเคราะห์ประเด็น ปัญหา และโอกาสจากการเปิดเสรีบร...ิการท่องเที่ยว" นำเสนอโดย ดร.นพันธ์ (ต้องขอประทานโทษถ้ากล่าวนามท่านผิด) กับ "ร่างแผนพัฒนาบริการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยวของกรมการท่องเที่ยว" นำเสนอโดย คุณพาวิณี ทั้งสองท่านได้นำเสนอ ได้สมบูรณ์ มาก เปรียบเทียบกัยการนำเสนอก่อนหน้านี้ ถือว่าทางคณะได้ทำการบ้านอย่างดี และพัฒนาการวิจัยและการนำเสนอได้อย่างไม่มีที่ติ นอกเหนือจากนั้น ผมได้พบและสนทนากับท่านอธิบดีกรมการท่องเที่ยว คุณสุพล ศรีพันธ์ เป็นครั้งแรก ผมมีความประทับใจท่านมาก ท่านไม่ถือตัวเข้ามาสนทนาร่วมกับพวกเราอย่างเป็นกันเอง วิสัยทัศน์และการสนทนาของท่าน แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นคนทำงาน รู้จริง เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ที่ผมประทับใจมากที่สุดคือ ท่านมาเปิดงานแล้วต้องออกไปงานอื่น แต่ท่านให้ความสำคัญ โดยขอยกเลิกงานอื่นและอยู่ร่วมฟังสัมมนากับพวกเราตลอดเวลา ท่านได้แสดงความคิดเห็นและชี้แจงเป็นระยะ ที่ตรงประเด็น ผมในฐานะที่มีการท่องเที่ยวอยู่ในสายเลือด นอนตาหลับแล้วครับ เมื่อได้พบท่านอธิบดี และได้ฟังการนำเสนอของทีมงานวิจัย ขอให้นำข้อเสนอของงานวิจัยไปทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และถ้าจะมีการทำวิจัยเรื่องท่องเที่ยว ก็ขอให้ใช้การวิจัยที่นำเสนอในวันนี้ไปต่อยอด สุดท้ายของแสดงความยินดีกับผู้จัดด้วยความจริงใจ บรรยากาศในงานดีมาก ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน มีผู้ให้ข้อคิดและเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก

ลิงก์ถาวร



ความเห็น (2)

ประเด็น ปัญหา อุปสรรคต่อการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยว

๑.ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์

๒.ผู้ประกอบการ SMEs ขาดความพร้อมและความสามารถในการแข่งขัน

๓.บุคคลากรและแรงงาน

๔.การศึกษา

๕.หน่วยงานภาครัฐ

๖.แหล่งท่องเที่ยว

ติดตามหาข้อมูลรายละเอียดได้ที่ www.citu.tu.ac.th

ร่างแผนพัฒนาบริการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยวของกรมการท่องเที่ยว

๑.จัดตั้ง Tourism Knowledge Management Center เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการเปิดเสรีที่เป็นประโยชน์

๒.การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยว SMEs

๓.การพัฒนายกระดับคุณภาพของบุคคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

๔.การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรกรมการท่องเที่ยวในการขับเคลื่อนการเปิดเสรีการท่องเที่ยว

๕.การพัฒนานวัตกรรมการวางแผนและบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

ค้นหารายละเอียดได้ที่ www.citu.tu.ac.th

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท