อนุทินล่าสุด


ชัยยา ตุ่นมี
เขียนเมื่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวนั้นมีมาอย่างยาวนาน ประเทศของพวกเราทั้งสองมีความใกล้ชิดกันมากทั้งภาษา เชื้อชาติ ศาสนารวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชาติ โดยประเทศไทยและประเทศลาวได้เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันในปี 2493 และเราก็มีความสัมพันธ์กันอย่างมิตรประเทศมาโดยตลอด

ในด้านความมั่นคง ประเทศไทยและประเทศลาวมีความร่วมมือกันมาโดยตลอดดังจะเห็นได้จากความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนการเยือนจากกลุ่มผู้นำประเทศ หรือ แม้กระทั่งทางการทหาร นอกจากนั้นประเทศไทยและประเทศลาวยังได้จัดคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC : (Joint Border Commission ) ในการกำกับดูแลเขตแดนในภูมิภาคที่มีปัญหาในการจัดทำหลักเขตแดนร่วมกัน ซึ่งเขตแดนส่วนใหญ่อยู่ติดแม่น้ำโขง นอกจากนั้นประเทศไทยและประเทศลาวยังมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการป้องกันปละปราบปรามยาเสพติดซึ่งมักมีการลำเลียงขนส่งตามบริเวณชายแดน ดังนั้นจากข้อมูลขั้นต้นเราจะพบว่าประเทศไทยและประเทศลาวมีความใกล้ชิดอย่างมากสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ มีความเป็นมิตรที่ดีต่อประเทศไทย ความสัมพันธ์ในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่น มีการผลักดันในความร่วมมือและแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างสันติวิธี

ด้านการเมืองและความมั่นคง

เป็นการร่วมมือทางด้านการทหาร กองทัพไทย-ลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ทั้งสามารถใช้ชายเเดนไทย-ลาวอย่างมีความสงบเรียบร้อย ชายแดนไทย-ลาวถือเป็นชายแดนแห่งมิตรภาพ สันติ และมีความมั่นคง

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว

ด้านเศรษฐกิจ

การค้าของไทย-ลาว สินค้าที่ไทยส่งออกได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภคยานพาหนะและอุปกรณ์ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้านำเข้าจากลาวได้แก่ ไม้และไม้แปรรูป เชื้อเพลิงสินแร่โลหะนอกจากนั้นมีความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่ง กระทรวงคมนาคมไทยและลาวได้ร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติต่างๆอาทิเช่น เรื่องสัญจรของยานพาหนะ การขนส่งผ่านชายแดน ความร่วมมือทางด้านการเงินและธนาคารความร่วมมือด้านการพัฒนาเครือข่ายคมนาคม ความร่วมมือทางด้านการจ้างแรงงาน ด้านการต่อด้านการมนุษย์

ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวมีมูลค่าการลงทุนและการค้าขายเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี โดยประเทศไทยมักเป็นฝ่ายได้เปรียบในเรื่องของดุลการค้า โดยมีสินค้าด้านเชื้อเพลิง ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นตัวนำ และประเทศไทยก็นำเข้าสินค้าจากลาวหลักๆ ได้แก่ไม้แปรรูป พลังงานและสินแร่โลหะ โดยในอีก 2 ปีข้างหน้าหรือในปี 2558 ประเทศลาวจะลดการนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศไทยหลังจากที่สร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าเสร็จสิ้น โดยจะส่งผลให้ความต้องการไฟฟ้าจากการนำเข้าลดต่ำลงเหลือน้อยกว่า 1% ทำให้ประเทศลาวไม่จำเป็นต้องพึงพาการนำเข้าไฟฟ้า จากประเทศไทยอีก ตรงข้ามกับความต้องการไฟฟ้าในประเทศไทยของเราที่มีแนวโน้มจะไม่เพียงพอในอนาคต

นอกจากนั้นประเทศไทยยังถือเป็นประเทศที่ลงทุนในประเทศลาวสูงเป็นอันดับที่ 2 ร่วมกับประเทศจีน โดยมีประเทศเวียดนามเป็นอันดับที่ 1 ในการลงทุนในประเทศลาวด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณ 4900 ล้านดอลลาร์ โดยประเทศไทยและจีนนั้นมีการลงทุนอยู่ที่ 4000 ล้านดอลลาร์ และ 3900 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ

1. การค้าไทย-ลาว

ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของ สปป.ลาว การค้ารวมในปี 2552 มีมูลค่าสูงถึง 71,989.38 ล้านบาท (2,105.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 12.02 โดยเป็นการส่งออกจากไทย 56,045.34 ล้านบาท (1,642.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และเป็นการนำเข้าจาก สปป.ลาว 15,944.04 ล้านบาท (462.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) อย่างไรก็ดี สัดส่วนการค้าไทย-ลาวเทียบกับการค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศทั้งหมดเพิ่มจาก ร้อยละ 0.67 เป็นร้อยละ 0.74

สินค้าส่งออกไปลาวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์, เครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักร, ผ้าผืน, , เคมีภัณฑ์, ยานพาหนะอื่นๆ และส่วนประกอบ, เครื่องดื่ม, เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ปูนซิเมนต์, ผลิตภัณฑ์ยาง, ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม, ผลิตภัณฑ์เซรามิค, เม็ดพลาสติก

สินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์, เชื้อเพลิงอื่น ๆ, ไม้ยุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์, พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช, ลวดและสายเคเบิล, ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, ถ่านหิน, รถยนต์นั่ง, เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, ผลิตภัณฑ์โลหะ, ยานพาหนะอื่น ๆ, เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์, รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก

กลไกความร่วมมือทางการค้าไทย-ลาว ได้แก่ คณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ลาว (Joint Trade Committee) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเยือนลาวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อเดือนมกราคม 2540 และการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนกันยายน 2540 การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า ครั้งที่ 1 มีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2541 ที่กรุงเทพมหานคร มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและการท่องเที่ยวลาวเป็นประธานร่วม ต่อมากลไกนี้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าไทย-ลาว มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย-ลาวเป็นประธานร่วม ได้จัดประชุมครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 24-28 ธันวาคม 2549 ณ นครหลวงเวียงจันทน์

ไทยมีนโยบายสนับสนุนการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งลาว โดยให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าทั้งในกรอบอาเซียน และ ACMECS เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาวทั้งในรูป ของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences – AISP) และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 187 รายการและเพิ่มเป็น 300 รายการในปี 2548-2549 และ 301 รายการ ในปี 2550-2552

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เริ่มมีผลบังคับใช้ สปป.ลาวสามารถส่งสินค้าไปประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมรวมทั้งไทยได้โดยไม่ต้อง เสียภาษี (ยกเว้นสินค้าบางรายการ) ส่วน สปป.ลาว และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่อื่นๆ คือ พม่า กัมพูชา และเวียดนามจะลดภาษีสินค้านำเข้าตามข้อกำหนดของเขตการค้าเสรีอาเซียนภายในปี 2558 นอกจากนี้ สปป.ลาว กำลังปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเตรียมสมัครเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก

ความร่วมมือในกรอบพหุภาคีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจไทยและลาว

1) อาเซียน - ลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ได้เป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนเมื่อกรกฎาคม 2547 ไทยได้ให้ความร่วมมือแก่ลาวเพื่อให้สามารถมี ส่วนร่วมในอาเซียนได้อย่างทัดเทียมกับประเทศสมาชิกอาเซียนเก่า ทั้งในกรอบความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (IAI) การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (AISP) และการให้ความร่วมมือแก่ลาวเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 โดยได้จัดการดูงานให้เจ้าหน้าที่ลาว สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดตั้งศูนย์ข่าว มูลค่าประมาณ 11.80 ล้านบาท และให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อปรับปรุงสนามบินวัดไตมูลค่าประมาณ 320 ล้านบาท

2) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS) - ลาวมีส่วนร่วมในกรอบ ACMECS อย่างแข็งขันโดยได้เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับ ACMECS Plan of Action และทบทวนโครงการความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2549 ที่กรุงเทพฯ และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ACMECS ระดับรัฐมนตรีที่เมืองดอนโขง แขวงจำปาสัก ระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549 โครงการความร่วมมือไทย-ลาวในกรอบ ACMECS ที่มีความคืบหน้า อาทิ โครงการ Contract Farming และการให้ทุกฝึกอบรม เป็นต้น

3) ความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต – ลาวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2546 ที่แขวงจำปาสัก ที่ประชุมได้เห็นชอบปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวซึ่งมีสาระ สำคัญมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อช่วยกระตุ้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และได้กำหนดพื้นที่ความร่วมมือ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา และภาคใต้ของลาว ทั้งนี้ ไทยได้จัดสรรงบประมาณ 2 ล้านบาท ในโครงการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมมรกตที่แขวง จำปาสักด้วย

2. การลงทุนของไทยใน สปป.ลาว

ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนสะสมอันดับหนึ่งใน สปป.ลาว ระหว่างปี 2543-2552 โดยมีทั้งหมด 207 โครงการ คิดเป็นมูลค่าสะสมประมาณ 1,581 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โครงการขนาดใหญ่ อยู่ในสาขาพลังงานและเหมืองแร่มากที่สุด ประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสะสมใน สปป.ลาวลำดับรองลงมา ได้แก่ จีน เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ แคนาดา รัสเซีย อย่างไรก็ดี ตั้งแต่กลางปี 2553 จีนและเวียดนามได้กลายเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสะสมมากที่สุดอันดับที่ 1 และ 2 ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 3

สาขาที่ลาวได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด คือ พลังงานไฟฟ้า มีทั้งหมด 44 โครงการ มูลค่า 3,940.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 35.5 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ สาขาเหมืองแร่ ภาคบริการ การเกษตร อุตสาหกรรม-หัตถกรรม การค้า การก่อสร้าง โรงแรมและร้านอาหาร

3. พลังงาน

รัฐบาลลาวมีนโยบายให้ สปป.ลาวเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” หรือแหล่งพลังงานสำรองในอนุภูมิภาค โดย สปป.ลาวมีศักยภาพที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 23,000 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ภายในปี 2563 จะสามารถดำเนินโครงการพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่แล้วเสร็จจำนวน 29 โครงการ ผลิตไฟฟ้าได้ 8,657 เมกะวัตต์ สปป.ลาวมีเขื่อนที่ดำเนินการโดยเอกชน 2 แห่ง คือ เทินหินบุนที่บอลิคำไซ และห้วยเหาะที่จำปาสัก-อัดตะปือ

ความร่วมมือด้านไฟฟ้าและพลังงานไทย-ลาว

รัฐบาลไทยและสปป.ลาวได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้าน การพัฒนาไฟฟ้าในลาวเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2536 ให้ความร่วมมือพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าใน สปป.ลาวเพื่อจำหน่ายให้แก่ไทยจำนวน 1,500 เมกะวัตต์ภายในปี 2543 และต่อมาได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 และฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว เป็น 3,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2549 และ 5,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 ตามลำดับ

เนื่องจาก สปป.ลาวมีศักยภาพที่จะพัฒนาโครงการพลังงานไฟฟ้าอีกหลายโครงการและ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของไทยปี 2550 (Power Development Plan หรือ PDP 2007) ได้ประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นในช่วงปี 2550-2554 ประมาณ 1,400 เมกะวัตต์ต่อปี และช่วงปี 2555-2559 ประมาณ 1,700 เมกะวัตต์ต่อปี รัฐบาลไทยจึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว ฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2550 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ตกลงขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาวเพิ่มจาก 5,000 เมกะวัตต์เป็น 7,000 เมกะวัตต์ ภายในหรือหลังปี 2558

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาว อย่างไม่เป็นทางการที่แขวงจำปาสักและจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้คงมีความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยฝ่ายไทยจะยังคงใช้หลักการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement – PPA) เป็นพื้นฐานในการรับซื้อไฟฟ้าจากลาวเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน

ปัจจุบัน มีโครงการไฟฟ้าใน สปป.ลาว ที่ไทยลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว 5 โครงการ รวมกำลังการผลิต 2,101 เมกะวัตต์ แยกเป็นโครงการที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ กฟผ. แล้ว 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเทิน-หินบุนและโครงการห้วยเหาะ รวมกำลังการผลิต 346 เมกะวัตต์ และโครงการที่กำลังก่อสร้าง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำเทิน 2 โครงการน้ำงึม 2 และโครงการเทิน-หินบุน (ส่วนขยาย) รวมกำลังการผลิต 1,755 เมกะวัตต์

โครงการที่ไทยลงนาม Tariff MOU กับสปป.ลาวแล้วมี 5 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำเทิน 1 โครงการน้ำงึม 3 โครงการน้ำเงี้ยบ โครงการหงสาลิกไนต์ และโครงการน้ำอู รวมกำลังการผลิต 3,739 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ดี Tariff MOU ของทั้ง 5 โครงการได้หมดอายุหรือมีการยกเลิกแล้วเพื่อขอเจรจาปรับราคาซื้อขายไฟฟ้าใหม่ มีเพียงโครงการหงสาลิกไนต์ที่มีการลงนาม Tariff MOU ฉบับใหม่ ระหว่าง กฟผ. กับผู้พัฒนาโครงการเหมืองถ่านหินหงสาลิกไนต์ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ที่กรุงเทพฯ

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่มีศักยภาพ ซึ่งผู้พัฒนาโครงการอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของโครงการหรือกำลังให้ราย ละเอียดโครงการแก่ กฟผ. 6 โครงการ กำลังการผลิตประมาณ 2,335-2,830 เมกะวัตต์

4. การให้ความช่วยเหลือแก่ สปป.ลาว เพื่อพัฒนาเครือข่ายคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน

โครงการที่ดำเนินเสร็จแล้ว (มูลค่า 2,517.71 ล้านบาท)

1. โครงการปรับปรุงสนามบินหลวงพระบาง วงเงินให้เปล่า 217 ล้านบาท

2. โครงการก่อสร้างถนนในเวียงจันทน์ จากแยก กม.3 ถนนท่าเดื่อ-เรือนรับรองรัฐบาล-สามแยกโพนทัน ระยะทาง 3.97 กม. วงเงินให้เปล่า 103 ล้านบาท นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และนายสีสะหวาด แก้วบุนพัน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว เป็นประธานร่วมในพิธีมอบ-รับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2543 ทางการลาวตั้งชื่อถนนเส้นนี้ว่า “ถนนลาว-ไทย”

3. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหือง จ.เลย-แขวงไซยะบุลี และถนนเชื่อมจากสะพานสู่ถนนสายหลัก ตั้งอยู่ที่ ต.นากระเซ็ง อ.ท่าลี่ จ.เลย ฝั่งลาวคือเมืองแก่นท้าว แขวงไซยะบุลี วงเงินให้เปล่า 43.07 ล้านบาท นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว เป็นประธานร่วมในพิธีมอบ-รับเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 จากแขวง ไซยะบุลีสามารถเดินทางต่อไปเมืองหลวงพระบางได้ ระยะทาง 363 กิโลเมตร

คาราวานจักรยานข้ามสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองจัดโดยสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพร่วมกับจังหวัดเลยและองค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

4. โครงการก่อสร้างทางลาดขึ้น-ลง (ramp) ท่าเทียบเรือแขวงคำม่วน วงเงินให้เปล่า 34.65 ล้านบาท

5. โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมจากท่าเทียบเรือแขวงคำม่วนไปยังถนนหมายเลข 13 ระยะทาง 1.85 กม. วงเงินให้เปล่า 29.85 ล้านบาท

6. โครงการปรับปรุงสนามบินวัดไต นครหลวงเวียงจันทน์ วงเงิน 320 ล้านบาท (ให้เปล่าร้อยละ 30 และให้กู้ร้อยละ 70) โครงการแล้วเสร็จเมื่อกุมภาพันธ์ 2549

7. โครงการก่อสร้างร่องระบายน้ำและปรับปรุงถนนสาย T2 ในนครหลวงเวียงจันทน์ ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 160 ล้านบาท (ให้เปล่าร้อยละ 30 และให้กู้ร้อยละ 70) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีลาว เป็นประธานร่วมในพิธีมอบ-รับโครงการเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551

8. โครงการก่อสร้างเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง หรือ R3 ไทย จีน และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ให้ความช่วยเหลือลาวในรูปเงินกู้เพื่อพัฒนาเส้นทางดังกล่าวคนละส่วน ในส่วนของไทย ให้ลาวกู้วงเงิน 1,385 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างถนนจากเมืองห้วยซาย แขวงบ่อแก้ว ถึงแขวงหลวงน้ำทา ระยะทาง 84.77 กม. เส้นทาง R3 เป็นส่วนหนึ่งของ North-South Economic Corridor ในกรอบความร่วมมือ Greater Mekong Sub-region (GMS) ทำพิธีเปิดใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2551ในช่วงการประชุมสุดยอด GMS ครั้งที่ 3 ที่ สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพ (ดูรายงานการสำรวจถนน R3 จัดโดยสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ เมื่อวันที่ 10-13 กรกฎาคม 2551)

9. โครงการปรับปรุงถนน ระยะทาง 1.5 กม.ในหลวงพระบาง เชื่อมถนน 13 เหนือกับถนนสังคโลก วงเงินให้เปล่า 18 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเมื่อกุมภาพันธ์ 2551 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ ดร.ทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการประทรวงการต่างประเทศลาวเป็นประธานร่วมใน พิธีมอบ-รับเมื่อ 25 มีนาคม 2552 ถนนเส้นนี้มีชื่อว่า “ถนนมิตรภาพลาว-ไทย”

10. โครงการก่อสร้างทางรถไฟจากกึ่งกลางสะพานมิตรภาพหนองคาย-ท่านาแล้ง ระยะทาง 3.5 กม. (โครงการระยะที่ 1) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ความช่วยเหลือลาวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ลงนามในสัญญาให้ความช่วยเหลือเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และนายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศลาว เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดเดินรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ไทย-ลาวเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552

- ศึกษาและออกแบบรายละเอียด วงเงินให้เปล่า 3.67 ล้านบาท

- มอบรางรถไฟใช้แล้วพร้อมอุปกรณ์ วงเงินให้เปล่า 3.47 ล้านบาท

- การก่อสร้างทางรถไฟ วงเงิน 197 ล้านบาท (ให้เปล่าร้อยละ 30 และให้กู้ร้อยละ 70) รถไฟเทียบชานชาลาที่สถานีท่านาแล้ง ปัจจุบันมีรถไฟให้บริการระหว่างสถานีหนองคายและสถานีท่านาแล้งวันละ 2 เที่ยว สปป.ลาวมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟส่วนต่อขยายจากสถานีท่านาแล้ง ระยะทาง 9 กม. ซึ่งรัฐบาลไทยเห็นชอบในหลักการที่จะให้ความช่วยเหลือก่อสร้างแล้ว อย่างไรก็ดี ฝ่ายลาวได้ขอชะลอโครงการดังกล่าวไว้ก่อนเนื่องจากขนาดรางรถไฟเล็กกว่ารางมาตรฐานของโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะสร้างจากชายแดนจีนมานครหลวง เวียงจันทน์ โดยอาจพิจารณาเปลี่ยนเป็นการสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงสำหรับรถไฟความเร็ว สูง เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟความเร็วสูงของไทยแทน

11. โครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ (ระยะที่ 1) คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 อนุมัติให้ความช่วยเหลือ แก่ สปป.ลาว ดำเนินโครงการระยะที่ 1 ลงนามสัญญาให้ความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 วงเงิน 320 ล้านบาท (ให้เปล่าร้อยละ 30 และให้กู้ร้อยละ 70)

โครงการที่กำลังดำเนินการ (มูลค่า 4,142 ล้านบาท)

1. โครงการปรับปรุงถนนสายห้วยโก๋น (จ.น่าน) -เมืองเงิน-ปากแบ่ง แขวงอุดมไซ ระยะทาง 49.22 กิโลเมตร คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ความช่วยเหลือแก่ สปป.ลาว เมื่อ 1 กรกฎาคม 2546

- ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม/ออกแบบรายละเอียด วงเงินให้เปล่า 12 ล้านบาท

- การปรับปรุงเส้นทาง วงเงิน 840 ล้านบาท (ให้เปล่าร้อยละ 30 และให้กู้ร้อยละ 70)

2. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 เห็นชอบในหลักการให้ความช่วยเหลือแก่ สปป.ลาว ในรูปเงินให้เปล่าสำหรับดำเนินโครงการดังกล่าว วงเงิน 1,400 ล้านบาท และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 28 ตุลาคม 2551 อนุมัติงบโครงการเพิ่มเป็น 1,885 ล้านบาท วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 กำหนดเสร็จภายในพฤศจิกายน 2554

- ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม วงเงินให้เปล่า 20 ล้านบาท

- ออกแบบรายละเอียด/เวนคืนที่ดิน วงเงินให้เปล่า 30 ล้านบาท

- การก่อสร้างสะพาน วงเงินให้เปล่า 1,885 ล้านบาท

3. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ให้ความเห็นชอบให้ความช่วยเหลือแก่ สปป.ลาว ร่วมกับจีนในรูปเงินให้เปล่าร้อยละ 50 ของวงเงินโครงการ สะพานดังกล่าวจะ เป็นจุดเชื่อมสำคัญในแผนพัฒนาตามระเบียงเศรษฐกิจเหนือ – ใต้ (North – South Economic Corridor) ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS ที่เชื่อมโยงจังหวัดเชียงราย – แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว – คุนหมิง ประเทศจีน และทำให้ใช้ประโยชน์จากเส้นทาง R3 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ดูรายละเอียดและภูมิหลังโครงการ)

- ออกแบบรายละเอียด วงเงินให้เปล่า 35 ล้านบาท

- การก่อสร้าง (มูลค่าโครงการประมาณ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยรับผิดชอบร่วมกับจีนฝ่ายละครึ่ง ฝ่ายละประมาณ 1,000 ล้านบาท)

4. โครงการพัฒนาสนามบินสะหวันนะเขต ที่ประชุม ครม.ร่วมไทย-ลาว เมื่อวันที่ 20 มีนาคม2547 สนับสนุนให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสนามบินสะหวันนะเขตเพื่อใช้ ประโยชน์ร่วมกันตามทิศทางการส่งเสริความร่วมมือแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวัน ออก-ตะวันตก (EWEC) และโครงการเมืองคู่แฝดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต โดยได้มีการประชุมระดับ จนท.ไทย-ลาวเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์จากสนามบินร่วมกัน

5. โครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 11 (R11) จากสามแยกบ้านตาดทอง เมืองสีโคดตะบองไปเมืองสังทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ระยะทาง 82 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2553 ได้มีพิธีลงนามสัญญาเงินกู้จำนวน 1,392 ล้านบาท ที่นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมีนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายเป็นสักขีพยาน

โครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 11 นี้ เป็นโครงการสำคัญที่รัฐบาล สปป.ลาวให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากหนึ่งในเส้นทางยุทธศาสตร์ด้านการเมืองการทหาร และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ สปป.ลาว เป็นเส้นทางเลียบแม่น้ำโขงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางหมายเลข 4 (เมืองปากลาย แขวงไซยะบุลี – หลวงพระบาง) ซึ่งเป็นเส้นทางหลักอีกสายหนึ่งสำหรับการคมนาคมในภาคเหนือของ สปป.ลาว นอกจากนี้ เมืองสังทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ยังเป็นเมืองเกษตรกรรมที่เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ ขณะเดียวกัน ก็เป็นหนึ่งใน 9 เมืองทุกข์ยากของนครหลวงเวียงจันทน์ และหนึ่งใน 47 เมืองทุกข์ยากของ สปป.ลาว ดังนั้น การพัฒนาเส้นทางหมายเลข 11 จึงจะมีส่วนสำคัญยิ่งในการนำพาท้องถิ่นดังกล่าวให้หลุดพ้นจากความยากจน

Tariff MOU เป็นบันทึกความเข้าใจในการรับซื้อไฟฟ้าซึ่งจะมีการระบุอัตราค่าฟ้าและ เงื่อนไขที่สำคัญไว้สำหรับการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPA ต่อไป

โครงการห้วยเหาะเป็นการร่วมทุนระหว่าง Hemaraj Land and Development จากไทย ถือหุ้นร้อยละ12.75 บริษัท Glow Energy ถือหุ้นร้อยละ 67.25 และการไฟฟ้าลาว (EDL) ถือหุ้นร้อยละ 20

ด้านสังคมและวัฒนธรรม

ด้านสังคม

ไทยได้มอบร่างความตกลงความร่วมมือด้านวัฒนธรรมให้ฝ่ายลาวพิจารณาเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางการร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกันไทย-ลาว ก็มีโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอไทย-ลาว ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงต่างประเทศได้จัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมร่วมกันกับสมาคมมิตรภาพลาว-ไทย เป็นประจำทุกปี ซึ่งถือเป็นการดำเนินความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมระหว่างไทย-ลาว อีกรูปแบบหนึ่ง

การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

เพื่อตอบสนองต่อนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ดำเนินบทบาทด้านการประสานงานระหว่างฝ่ายไทย คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับฝ่ายลาว คือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพื่อจัดทำกิจกรรมและความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ เช่น การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม การประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการทำงานและการสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือในระดับรัฐบาล และมีโครงการนำร่องระหว่างเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่น คือ ระหว่างจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขตด้วย

ความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของทั้งสองประเทศที่ประสงค์จะให้มีการจ้างแรงงานอย่าง เป็นระบบ และส่งเสริมให้แรงงานเดินทางเข้า-ออกประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ มีภารกิจในการตรวจลงตราประเภท “Non – LA” ให้กับบุคคล ที่ผ่านกระบวนการของกระทรวงแรงงานของทั้งสองประเทศ และมีภารกิจในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานไทย-ลาว และการประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานซึ่งจัดขึ้นทุกปี เพื่อหารือเรื่องแนวทางความร่วมมือ อุปสรรคที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่ออำนวยความสะดวกและ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในระบบดังกล่าว

ความร่วมมือด้านเด็ก สตรี คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในภาคประชาชน และเพื่อให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นไปอย่างทั่วถึง สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ จึงให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สตรี คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ในลักษณะต่างๆ อาทิ

: การสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนและนักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ หรือ ที่ด้อยโอกาส ผ่านทาง “มูลนิธิส่งเสริมการศึกษา” ของลาว

: การมอบเครื่องช่วยพยุงขาที่ได้รับมาจากผู้ผลิตซึ่งเป็นภาคเอกชนไทยและบริจาคเงินเพื่อให้ “ศูนย์ฟื้นฟูคนพิการแห่งชาติลาว” นำไปสนับสนุนคนพิการที่ดูแลอยู่ในด้านการกีฬา การบำบัด และ การรักษา

: การจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับผู้แทนจากศูนย์กลางสหพันธ์ แม่หญิงลาว เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเสริม และถ่ายทอดวิชาชีพที่ได้รับให้กับคนในชุมชนของตนต่อไป

: การส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กพิการทางหูและสายตาของ “โรงเรียนโสตศึกษา” สังกัด ศูนย์ฟื้นฟูคนพิการแห่งชาติลาว ได้ไปฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตร 9 เดือน ที่ศูนย์ฟื้นฟูคนพิการจังหวัดหนองคาย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ความสัมพันธ์ภาคประชาชน ประเทศไทยและประเทศลาวมีประชาชนที่มีการเดินทางไปมาหาสู่กันเป็นจำนวนมาก มีการแรกเปลี่ยนด้านแรงงาน การลงทุน การค้า ภาคธุรกิจ การศึกษามาโดยตลอด ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความเป็นมิตรกันด้วยดีในภาพรวม แต่มันกลุ่มย่อยยังอาจจะพบเจอปัญหาการแบ่งแยกฐานะทางสังคมและวัฒนธรรมอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

สรุป

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับไทย-ลาว ได้รับการส่งเสริมเกื้อกูลจากปัจจัยหลายประการได้แก่ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อยืนยันว่าจะเคารพในเอกราชและไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน รวมทั้งระงับข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี

สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว 1

ด้านการเมืองและความมั่นคง 1

ด้านเศรษฐกิจ 1

ความร่วมมือด้านไฟฟ้าและพลังงานไทยกับลาว 5

ด้านสังคมและวัฒนธรรม 10

ความสัมพันธ์ภาคประชาชนประเทศไทยและประเทศลาว 11

สรุป 11

อ้างอิง 12



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท